Mitsubishi Electric ชวนมองปัญหาโลกร้อนในมุมมองสัตว์โลก ผ่านแคมเปญ ‘#MEเธอแล้วโลกโอเค’

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจนทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของมนุษย์โลก ซึ่งบางครั้งเราเองอาจไม่ได้ทันนึกว่าสิ่งของรอบตัวจะเป็นส่วนที่ทำให้อายุของโลกสั้นลง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเหตุให้สภาพอากาศแย่ลงไปด้วย ในฐานะของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืน ‘Mitsubishi Electric’ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อยู่เสมอ จึงมีแนวทางในการดำเนินงานด้วยความใส่ใจทั้งคุณภาพสินค้า คุณภาพชีวิตผู้ใช้งาน และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่มีความทนทานเพื่อลดปริมาณขยะลง ใช้วัสดุรีไซเคิล และเพิ่มระบบประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยลดโลกร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของแบรนด์ รวมไปถึงยังมีการนำเสนอเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบวงกว้างของปัญหาโลกร้อนต่อสัตว์โลก ที่นอกเหนือจากความร้อนแล้ว เราอาจไม่รู้ว่าปัญหาโลกร้อนนั้นส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างไรบ้าง กับแคมเปญ #MEเธอแล้วโลกโอเค โดยนำเสนอผ่าน Documentary Film 3 เรื่อง ได้แก่ ต้าวหมาขี้ร้อน VS ทาสผู้หวังดี เล่าถึงสุนัขพันธุ์โกลเดนรีทรีฟเวอร์ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ที่ต้องออกไปใช้เวลาสนุกสนานกับเจ้าของบ้าน ซึ่งอากาศภายนอกนั้นเต็มไปด้วยมลภาวะที่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ แถมยังร้อนจนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นฮีตสโตรกให้กับน้องหมา แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องหมาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ด้วยผลิตภัณฑ์ของ Mitsubishi Electric ที่ช่วยดูแลสภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ทั้งคนและสัตว์เย็นสบาย หายใจรับอากาศสะอาดภายในบ้านอย่างเต็มปอด หมีแท้ VS หุ่นหมี ภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลแค่น้ำแข็งขั้วโลกละลายเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฤดูหนาวที่อาจหนาวยาวนานขึ้นหรือสั้นลง จนหมีที่จำศีลได้รับผลกระทบถึงขั้นตายได้ ถึงแม้ว่าหมีขั้วโลกจะดูเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไกลตัวเรามาก แต่ในฐานะมนุษย์ เราสามารถช่วยเหลือเจ้าหมีพวกนี้ได้ด้วยการใช้ Mitsubishi Electric […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

เมื่อการซื้อดอกไม้หรือของเล็กๆ น้อยๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลือง มีความสำคัญในความสัมพันธ์กว่าที่คิด

ในเดือนแห่งความรัก ผู้เขียนขอชวนคุยเรื่องความรัก ที่บางครั้งก็ดูเหมือนน้อยนิดแต่กลับยิ่งใหญ่ นั่นคือการให้ของขวัญแทนการบอกรัก ที่บางคนก็ตั้งหน้าตั้งตารอ อยากได้เหลือเกิน โดยเฉพาะในทุกเทศกาลพิเศษ แต่บางคนกลับมองว่านี่เป็นสิ่งไร้สาระและไม่จำเป็น บ้างยังบอกว่าเป็นสิ่งสิ้นเปลือง ท้าทายอำนาจทุนนิยม ถ้ามองแบบคนไม่โรแมนติกเลยก็เข้าใจได้ว่า การรู้สึกโดนกระตุ้นจากสังคมกลุ่มหนึ่งที่กดดันให้เราต้องเชื่อว่า ‘สิ่งของนอกกาย’ นั้นมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่น อาจทำให้เรารู้สึกต่อต้านได้ โดยเฉพาะหากของสิ่งนั้นโดนบวกราคาขึ้นหลายเท่าเมื่ออยู่ในบางเทศกาล เช่น ดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์ การต้องจ่ายเงินที่เยอะเกินปกติเพื่อทะนุถนอมความสัมพันธ์ที่มันควรเป็นแค่เรื่องของเรา ก็คงทำให้รู้สึกหงุดหงิดจริงๆ นั่นแหละ แต่ความรู้สึกของอีกคนล่ะ เราอาจต้องมองทะลุไปให้เห็นถึงจิตใจของเขาหรือเปล่า ความน้อยใจจากสังคมในโซเชียลมีเดีย เราอยู่ในยุคที่โลกจริงถูกกลืนเข้าไปอยู่ในโลกโซเชียลมากขึ้นทุกที จนหลายคนยังหลงคิดเลยว่า ถ้าฉันไม่โพสต์รูปลงโซเชียลมีเดีย คนอื่นจะรู้ไหม แล้วถ้าคนอื่นไม่รู้ เรื่องของเรามันจะเป็นเรื่องจริงไหม ด้วยแพลตฟอร์มที่สร้างมาให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบกัน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากในการวัดค่าความรักของตัวเองผ่านเรื่องราวของคนอื่น เช่น การรู้สึกไม่ไว้ใจหากแฟนตัวเองไม่ลงรูปคู่ หรือความรู้สึกน้อยใจที่เห็นแฟนไม่ซื้อดอกไม้มาให้ ทั้งๆ ที่คู่อื่นเขาโชว์ดอกไม้ช่อใหญ่กันเกลื่อนอินสตาแกรมไปหมด ผลกระทบจากโซเชียลมีเดียอาจทำให้ฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่เป็นที่รักมากพอ และอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้สึกกดดันที่ต้องแสดงออกซึ่งความรักมากขึ้น ซึ่งปกติเขาอาจไม่ใช่คนที่ทำแบบนั้น อะไรเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้อาจกำลังบั่นทอนความสัมพันธ์อยู่ โดยที่ทั้งคู่ไม่ทันฉุกคิดก็ได้ สิ่งที่อยู่ในใจมีมากกว่าแค่ของที่ซื้อให้กัน ผู้หญิงคนหนึ่งอาจโกรธมากที่แฟนลืมซื้อน้ำผลไม้ปั่นที่เธอชอบมาให้ ทั้งๆ ที่เขาขับรถผ่านร้านนั้น ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดูงี่เง่า แต่ลึกๆ แล้วมันไม่ใช่แค่การเจ็บใจที่ไม่ได้ทานของโปรด แต่คือความโดดเดี่ยวในความรู้สึกที่ไม่ได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษจากคนรักของตัวเอง ไม่ต่างกัน อีกคนหนึ่งอาจงอนมากที่คนรักไม่เคยซื้อของขวัญอะไรให้เลย […]

Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

จำลองสถานการณ์แบบไทยๆ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘Gate’ จากเรื่อง Solo Leveling เปิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ

เอาล่ะ เหล่า ‘ฮันเตอร์’ ผู้ถูกปลุกพลังทั้งหลาย ในช่วงที่ฮันเตอร์จินอูและสมุนเงาในเรื่อง Solo Leveling กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากมันฮวาสุดฮิตของ KAKAO WEBTOON กลายเป็นแอนิเมชันฉายทาง Netflix และ TrueID งานนี้ Urban Creature เลยขออิเซไกไปในโลกสุดแฟนตาซี ลองคิด Scenario ขึ้นเล่นๆ ว่า ถ้าอยู่ดีๆ เกิดเหตุประตู ‘เกต’ (Gate) เปิดขึ้นใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างโลกของเรากับ ‘ดันเจี้ยน’ อีกฝั่งที่เต็มไปด้วยเหล่า ‘มอนสเตอร์’ เหมือนในเรื่อง ‘Solo Leveling’ ขึ้นมาจริงๆ จะเป็นยังไงกันนะ Step 1 ปรากฏการณ์ไทยมุง แม้ไม่มีเกาหลีมุงเหมือนในมันฮวา แต่ประเทศไทยเรามี ‘ไทยมุง’ กับเขาแน่นอน อันนี้รับประกัน แถมยิ่งเป็นเกตระดับสูงเท่าไหร่ เชื่อว่าคนจะมามุงเยอะเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาคือฮันเตอร์แรงก์สูงสุดเท่น่ะสิ! งานนี้จะได้มีเรื่องไปเมาท์กับเพื่อนต่อยาวๆ Step 2 ทวิตเตอร์ (X) คือแหล่งข่าวชั้นดี ว่าแต่จะไปเมาท์ที่ไหนดี […]

ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จัก ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’

นัดเพื่อนเก่ากินข้าวว่ายากแล้ว นัดไปเดินสำรวจเมืองด้วยกันคงเป็นเรื่องยากกว่า งั้นจะง่ายกว่าไหม ถ้าเราลองไปเดินดูเมืองกับเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยพบหน้าค่าตามาก่อน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วม ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’ ที่มีคอนเซปต์เก๋ไก๋ด้วยการพาไปพบเจอเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน กิจกรรมนี้เกิดจากการจับมือกันระหว่าง ‘ไอแอลไอยู’ และ ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เพิ่งจบไป เกิดเป็นทริปในรูปแบบ ‘Self-guided Tour Manual’ หรือการเดินเที่ยวเองตามคู่มือโดยไม่มีไกด์นำทัวร์ เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้คนที่ชอบท่องเที่ยวให้ลองซอกแซกเข้าซอยนู้น โผล่ซอยนี้ได้อย่างอิสระ ไปพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมทางแปลกหน้า รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา ทำให้ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ จากเดิมที่มีเพียงการสุ่มสถานที่เท่านั้น กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชัน 2.0 โดยเพิ่ม 4 เส้นทางตัวแทนเรื่องราวในย่าน ไม่ว่าจะเป็น Nameless Street Food เส้นทางนักกิน, Back to the 90s เส้นทางบันเทิง, Caffeine Calling เส้นทางกาแฟ และ History Nerds เส้นทางประวัติศาสตร์ ในครั้งนี้เราและเพื่อนใหม่ถูกสุ่มให้เจาะเวลาเดินทางย้อนไปในเส้นทาง History Nerds […]

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

1 2 3 4 5 6 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.