รถโรงเรียนในต่างประเทศ ออกแบบอย่างไรถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสาร

จากกรณีรถบัสนักเรียนทัศนศึกษาเกิดไฟไหม้ท่วมคัน จนมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 ราย ทำให้สังคมกลับมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของยานพาหนะที่ใช้สำหรับขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งเด็กนักเรียนกันมากขึ้น เพราะตั้งแต่เด็ก ‘รถโรงเรียน’ ที่เรารู้จักมักมาในรูปแบบรถตู้ รถสองแถว หรือรถหกล้อแบบดัดแปลง แตกต่างกับต่างประเทศที่มีรถบัสคันสีเหลืองที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรับ-ส่งเด็กนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้การเดินทางของเด็กในต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยมาก เห็นได้จากสถิติเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถโรงเรียนเฉลี่ยเพียง 6 คนต่อปีเท่านั้น คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูรูปแบบรถโรงเรียนและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในต่างประเทศว่า เขามีการออกแบบหรือข้อบังคับอย่างไร ถึงปลอดภัยกับเด็กๆ ที่โดยสารได้อย่างทุกวันนี้ ออกแบบเพื่อความปลอดภัยของเด็ก ความแตกต่างแรก เริ่มจากในต่างประเทศมีผู้ผลิตรถโรงเรียนโดยเฉพาะให้เลือกหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น Blue Bird, Thomas Built Buses หรือ IC Bus ที่ทำให้รถยนต์ได้รับการออกแบบมาเพื่อโดยสารเด็กโดยเฉพาะ แตกต่างจากไทยที่ต้องดัดแปลงรถให้กลายเป็นรถโรงเรียน การออกแบบที่เห็นอย่างเด่นชัดคือ ภายนอกตัวรถจะทาด้วยสีเหลืองสดใส มีไฟส่องสว่าง เพื่อให้คนมองเห็นได้ชัดเจนและแยกออกทันทีว่าคือรถโรงเรียน เพื่อระมัดระวังในการขับขี่ รวมไปถึงรถโรงเรียนแต่ละคันจะติดตั้งป้ายหยุด (Stop Arm) บริเวณด้านข้าง ที่เมื่อรถหยุดบริเวณป้ายจอดรับ-ส่งนักเรียน ป้ายหยุดจะถูกกางออกมาทันที ขณะที่ภายในออกแบบมาในลักษณะที่นั่งหันหน้าไปทางเดียวกัน ยึดติดกับตัวรถอย่างแน่นหนา บุด้วยวัสดุดูดซับแรงกระแทก มีพนักพิงสูงเพื่อป้องกันศีรษะและคอในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะเว้นทางเดินภายในรถให้กว้างมากพอเดินสวนกันสะดวกและลุกออกได้ง่าย มีราวจับช่วยในการทรงตัวระหว่างรถเคลื่อนที่ มีช่องเก็บของเหนือศีรษะหรือใต้ที่นั่งสำหรับเก็บสัมภาระ […]

เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

ถอด 7 ประเด็นน่ารู้เรื่องการพัฒนาเมืองจากนโยบาย Car Free Day ที่ กทม. พยายามผลักดัน

แนวคิด Car Free หรือแนวคิดปลอดรถยนต์ คือการลดการขับขี่รถยนต์ เพื่อลดปัญหารถติด มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางเสียง รวมถึงเป็นการคืนพื้นที่ถนนให้คนเมือง ด้วยการใช้การเดินทางในรูปแบบการเดินเท้า ปั่นจักรยาน และขนส่งสาธารณะ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็นำมาใช้งานกับเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ จนได้ผลที่น่าพอใจไปแล้วไม่น้อย ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เองมีความพยายามผลักดันนโยบาย Car Free มาตลอด อาจจะเป็นรูปแบบของการเชิญชวนบ้าง การรณรงค์บ้าง หรือการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานบ้าง แต่ในปีนี้ แนวคิด Car Free ดูจะเป็นรูปเป็นร่าง มีการนำมาทำให้เห็นภาพมากขึ้นจากกิจกรรม Car Free Day ที่ กทม.ร่วมมือกับภาคีเปลี่ยนถนนบรรทัดทองในระยะทาง 350 เมตรให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จัดกิจกรรมอื่นๆ ให้คนเมืองได้ออกมาพักผ่อนหย่อนใจ และมองเห็นความเป็นไปได้ของการลดพื้นที่ถนน แล้วนำมาสร้างความเป็นไปได้อื่นๆ ในการพัฒนาเมือง หลังจบกิจกรรม แน่นอนว่าย่อมมีเสียงสะท้อนที่หลากหลายจากคนเมือง ทั้งในแง่ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย Urban Creature จึงนัดคุยกับ ‘วันพัฒน์ มาตังคะ’ และ ‘ศิรดา ดาริการ์นนท์’ สถาปนิกผังเมืองอาวุโสของ Healthy Space […]

เปิดไอเดียเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ตามแนวคิด ‘Inclusive Tourism’

การท่องเที่ยวสำหรับหลายคนคือการพักผ่อน ปลดล็อกตัวเองออกจากพันธนาการในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้พิการ การท่องเที่ยวคือความลำบากอันยิ่งยวด “อยากเห็นโบราณสถานว่าเป็นอย่างไรก็เห็นไม่ได้ แต่อยู่ด้านหน้า เพราะเราเข้าไปไม่ได้ อะไรอย่างนี้คือสิ่งพื้นฐานที่เราเจอประจำเวลาเที่ยว” ‘นำโชค เพชรแสน’ นักวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารดิจิทัลของโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นคนที่มีใจรักในการเดินทางเป็นทุนเดิม ทว่าการออกเดินทางสำหรับเขาช่างเป็นเรื่องยาก ต้องคิดหนักหลายตลบ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่ได้ไยดีกับตัวเขาที่เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและต้องใช้ชีวิตอยู่กับวีลแชร์ “ถ้าเป็นคนไม่พิการ อยากไปไหนก็เดินทางไปได้เลย แต่ผมเสียเวลามากนะ เพราะต้องหาข้อมูลดูว่าจะเดินทางไปสถานที่นั้นอย่างไร มีรถขนส่งสาธารณะที่ผู้พิการใช้ได้ไหม โรงแรมเป็นอย่างไร ทำการบ้านเยอะมาก หลายข้อมูลก็ไม่ได้มีในเว็บไซต์ทั่วไป ต้องเปิดดูวิดีโอรีวิวที่คนถ่ายไว้เพื่อให้รู้ว่าเราจะไปได้หรือเปล่า” ชีวิตของนำโชคคงไม่ได้อยู่ในโหมด Very Hard ถ้าสภาพแวดล้อมที่ท่องเที่ยวไม่พิกลพิการ จนทำคนอย่างเขาต้องหนักใจทุกทีเวลาหอบเป้พเนจร และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แนวคิด ‘Inclusive Tourism’ หรือ ‘การท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เป็นแนวคิดสำคัญที่ทุกคนควรคำนึง Inclusive Tourism เพราะทุกคนควรได้ท่องเที่ยว Inclusive Tourism หรือการท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นแนวคิดที่มองว่าทุกคนสมควรเข้าถึงการท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในปี 2565 UNICEF ประเมินว่า ประเทศไทยมีผู้พิการอยู่มากถึง 4.19 ล้านคน หรือกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศ หากสถานที่ท่องเที่ยวออกแบบมาโดยเห็นความสำคัญของผู้พิการ คนกว่าสี่ล้านคนก็จะไม่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

ทำไมซอยแคบถึงเป็นตัวร้ายในการพัฒนาเมือง และเมืองที่จัดการกับความคับแคบให้กลายเป็นประโยชน์

‘ความแคบ’ เป็นคำที่ฟังดูไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่ หลายต่อหลายคนเกลียดความแคบจนเกิดเป็นโรคกลัวที่แคบ เพราะใครจะอยากนำตัวเองเข้าไปในที่แสนอึดอัด โดยเฉพาะ ‘ซอยแคบ’ ที่ทั้งเดินเท้าลำบาก รถยนต์เข้ายาก แต่ดันง่ายต่อการหลงทางอย่างที่ Google Maps ก็ช่วยไม่ไหว ทางแคบเหล่านี้เกิดจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว และขาดการจัดการผังเมืองที่ดีจนนำไปสู่ปัญหาซอยขนาดเล็กผุดขึ้นทั่วทั้งเมือง รวมถึงซอยตันซึ่งเกิดจากเอกชน เมื่อดินเริ่มพอกหางหมู ปัญหาอื่นๆ ก็เดินเท้าเรียงตามกันมา แต่ทุกเมืองย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน ในบางครั้งซอยแคบดันกลายเป็นฮีโร่ในการแก้ปัญหาอย่างคาดไม่ถึงทั้งเรื่องความปลอดภัยและมลภาวะ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมองว่าซอยแคบเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ดังนั้นคอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลงเดินสำรวจซอยแคบทั่วโลก เพื่อส่องปัญหาและการจัดการในแต่ละบริบท จนไปถึงด้านสว่างของซอยแคบ ซอยแคบ ซอยตัน กับการเป็นปัญหาเรื้อรัง ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ’ คือความโกลาหล ซอยเล็กถนนน้อยหรือตึกพาณิชย์ที่ตั้งติดกับบ้านคน อาจเรียกได้ว่าเราเริ่มผิดตั้งแต่กระดุมเม็ดแรก ซึ่งซอยแคบคือหนึ่งในผลพวงที่ตามมา ทั้งการจราจรที่ติดขัดในซอย ความปลอดภัยในการเดินเท้า ขนส่งสาธารณะที่เข้าไม่ถึง ทำให้รถยนต์กลายเป็นสิ่งจำเป็น ยังไม่นับรวมความแออัดของชุมชน ลามไปถึงรถพยาบาล รถกู้ภัย หรือรถดับเพลิงที่บางครั้งไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเพราะความคับแคบของถนน ‘ปัญหาเมืองแตก’ เรื้อรังอยู่กับกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน อีกทั้งการคิดแก้ปัญหาโดยการวางผังและรื้อเมืองใหม่ทั้งหมดยิ่งฟังดูเป็นไปไม่ได้เข้าไปใหญ่ ตัวอย่างเมืองในต่างประเทศที่เผชิญปัญหาคล้ายๆ กันคือ อิตาลีกับการมีซอยแคบในเขตเมืองเก่า ที่เกิดจากการตัดถนนในสมัยที่ยังไม่มียานพาหนะขนาดใหญ่ แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากสำหรับรถยนต์ในการสัญจรบนทางรถม้าที่คับแคบและถนนไม่เอื้ออำนวย ทำให้บางซอยแคบเสียจนยานพาหนะปัจจุบันไม่สามารถผ่านได้ ส่งผลให้จราจรติดขัดอยู่เป็นครั้งคราว แต่จะให้มองเพียงแง่ร้ายคงไม่ได้ เพราะซอยแคบตัวแสบกลับใช้ข้อจำกัดของตัวเองสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้อย่างน่าสนใจในหลายๆ […]

ผ่อบ้านเก่า แอ่วเมืองแป้ แลโบราณคดีชุมชน กับเมือง ‘แพร่’ ที่ไม่ได้มีแค่ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์

จุดหมายปลายทางของคนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือ มักจะหยุดอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย หรือถัดออกมาหน่อยคงเป็นน่าน แต่สำหรับ ‘แพร่’ จังหวัดเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสี่ทิศ อาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ ของใครหลายคน แต่ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบการเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชุมชน และสนใจเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี เชื่อเถอะว่าถ้าได้มาเยือนจังหวัดแพร่ด้วยตัวเองสักครั้งจะต้องติดใจ อยากกลับมาอีกแน่นอน เพราะที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคเหนือที่มีภาคประชาสังคมที่แข็งแรง และพร้อมผลักดันเมืองที่เต็มไปด้วยมนตร์เสน่ห์แห่งนี้ให้ก้าวไปข้างหน้า คอลัมน์ Neighboroot ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับแพร่ในแง่มุมต่างๆ ผ่าน 3 สถานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,500 ปี ‘อาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน (บ้านเขียว)’ พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของชาวแพร่ที่ถูกบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ และ ‘กาดกองเก่า’ กาดแลงประจำวันเสาร์ที่กลายเป็นจุดนัดพบของคนในท้องถิ่น ว่าสถานที่เหล่านี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร และเพราะอะไรจึงไม่ควรพลาดหากได้ไปเยือน เปิด ‘บ้านนาตอง’ โบราณคดีชุมชน แหล่งเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินทางครั้งนี้เราตั้งต้นกันที่ตัวเมืองแพร่ เพื่อนัดเจอ ‘ลุงไกร-วุฒิไกร ผาทอง’ หนึ่งในสมาชิกข่ายลูกหลานเมืองแพร่ เครือข่ายภาคประชาสังคมของจังหวัดแพร่ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนที่มีความรักในท้องถิ่นเมืองแพร่ ผู้จะเป็นคนนำเราไปเรียนรู้เรื่องราวของเมืองแพร่ในแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยมี ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ เป็นจุดหมายแรกของเราในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ถัดออกไปจากตำบลช่อแฮ ที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ […]

เจาะเวลาหาอดีตที่ถูกลบเลือน อนาคตที่ไร้หนทาง และความหวังที่จะก้าวต่อไป ในหนังไซไฟไทย ‘Taklee Genesis ตาคลี เจเนซิส’

การเดินทางข้ามเวลา ไคจู ไดโนเสาร์ โลกอนาคต ความไซไฟทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาดูเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏบนประวัติศาสตร์หนังไทย และน้อยครั้งมากที่จะประสบความสำเร็จในด้านคำวิจารณ์และรายได้ หลายครั้งที่คนทำหนังไทยริอ่านท้าทายขนบ ทะเยอทะยานจินตนาการถึงสิ่งเหล่านี้ แต่สุดท้ายล้วนแล้วแต่ออกมาเป็นภาพที่เกินฝันชาวไทยเสมอ และต้องเจอข้อครหามากมายรอบด้านจนต้องละทิ้งความฝันนี้ไปในที่สุด ทั้งที่หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไซไฟเชื้อสายไทยนั้นก็ไม่ได้มีให้พบเห็นบ่อยมากอยู่แล้ว นับตั้งแต่ ‘มันมากับความมืด’ (2514), ‘ขอชื่อ สุธี สามสี่ชาติ’ (2532), ‘กาเหว่าที่บางเพลง’ (2537), ‘สลิธ โปรเจกต์ล่า’ (2566) มาจนถึง ‘Uranus 2324’ (2567) แต่ดูเหมือนความฝันในการพยายามเนรมิตไซไฟแบบไทยๆ จะยังไม่หมดลงแต่อย่างใด ผู้กำกับ ‘มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล’ ที่แม้จะเพิ่งผ่านผลงานที่มีความเป็นไซไฟผสมอยู่อย่าง ‘มอนโด รัก | โพสต์ | ลบ | ลืม’ (2566) มาไม่นาน ก็ขอสานต่อความกล้าที่จะท้าทายผู้ชมชาวไทยด้วยผลงานไซไฟเต็มรูปแบบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน ‘Taklee Genesis’ ซึ่งถือว่าเป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์หนังไทย ที่จะมีทั้งผู้กำกับไทย และค่ายหนังอย่าง ‘เนรมิตรหนัง ฟิล์ม’ ร่วมด้วยสตูดิโอระดับโลกอย่าง ‘Warner Bros.’ ที่กล้าบ้าบิ่นกันขนาดนี้ […]

เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย

‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]

Warhammer 40K สำรวจ Hive City มหานครแห่งสหัสวรรษที่ 41 ในจักรวาลที่มีแต่สงครามและความมืดมิด

‘จงลืมเรื่องความก้าวหน้าและความเข้าใจใดๆ สงครามคือสิ่งเดียวในอนาคตอันมืดมิด จะไม่มีสันติสุขใดในมวลหมู่ดาว มีเพียงความบ้าคลั่งของสงครามนิรันดร์ และเสียงหัวเราะของทวยเทพผู้หิวกระหาย’ ตอนนี้จักรวาลของ Warhammer 40K ได้เฉิดฉายขึ้นมาเป็นกระแสหลัก หลังจากการปล่อยเกม Warhammer 40K : Space Marine 2 และการประกาศฉายแอนิเมชัน Secret Level บนสตรีมมิง Amazon Prime Warhammer 40K เล่าถึงช่วงสหัสวรรษที่ 41 หลังจากที่มวลมนุษยชาติได้เดินทางสู่ห้วงอวกาศอันไร้ที่สิ้นสุด เหล่ามนุษย์ก่อตั้งอาณานิคมบนหมู่ดาวนับล้านดวง แต่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มวลมนุษย์ในจักรวาลถูกตัดขาดจากกัน ชายผู้หนึ่งตั้งตนเป็นจักรพรรดิแห่งมวลมนุษย์ (The Emperor of Mankind) โดยมีพันธกิจอันยิ่งใหญ่ ตั้งใจรวบรวมมนุษย์ที่กระจัดกระจายอยู่ในจักรวาลให้กลับมาอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน ร่วมกับกองทัพชายหญิงผู้กล้าหาญในจักรวาลที่มีแต่ภยันตรายรอบด้าน คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะมารับบทนักวิชาการแห่งหน่วยงาน Adeptus Administratum เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ สังคมเมืองในสหัสวรรษที่ 41 ในมหานครซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยหลักของมนุษย์ เรียกกันว่า ‘Hive City’ เมืองหอคอย Hive City เป็นมหานครแนวตั้งขนาดใหญ่ […]

4,000 Miles การเดินทางอันแสนยาวไกลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

การเดินทางอันแสนยาวไกลกว่า 4,000 ไมล์ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เราได้พบกับสิ่งที่เหนือความคาดหมาย หลังจากทำงานบ้าระห่ำอย่างแทบเป็นแทบตายในช่วงชีวิตที่เราสามารถซักซ้อมในการเป็นผู้ใหญ่ได้ รู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเรือสำราญขนาดยักษ์ที่มีทั้งหมด 12 ชั้น นำพาผู้โดยสาร 4,000 กว่าชีวิตมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันในทริปนี้ ภายในห้องนอนมองเห็นวิวน้ำสีฟ้าของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่องประกายระยิบระยับจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ ในช่วงฤดูร้อนของยุโรปใต้ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 40 องศาเซลเซียส รูตนี้เริ่มเดินทางจากเมือง Corfu ประเทศกรีซ โดยล่องเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มุ่งหน้าสู่ประเทศมอลตาที่เป็นเกาะเล็กๆ สีครีม มีขนาดเพียง 316 ตร.กม. อัดแน่นไปด้วยเรือสีขาวน้อยใหญ่ที่จอดเทียบท่าเรียงกันเหมือนรูปในโปสต์การ์ด ในคืนนั้นเอง เรือของเราได้เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่เมือง Taormina แคว้น Sicily หรือที่รู้จักกันในนามเกาะมาเฟีย ประเทศอิตาลี ต่อด้วยเมือง Crotone ที่เป็นเมืองฮิตในการพักผ่อน เพราะมีทั้งโซนเมืองเก่าและโซนชายหาด ตามรายทางมีขายอาหารทะเลสดๆ บาร์ พร้อมร่มชายหาดสีเขียวสลับเหลืองเรียงเต็มอาณาบริเวณ  คืนนั้นเรือของเราแล่นออกจากท่าอีกครั้งเพื่อไปให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นที่เมือง Olympia ประเทศกรีซ หากใครเป็นสาย Myth คงฟินน่าดูที่ได้ไปเยือน Olympia ในช่วงที่มีการจัดแข่งขัน Olympics 2024 พอดิบพอดี แหล่งรวมซากปรักหักพังเป็นเครื่องยืนยันว่า ในอดีตบริเวณนี้เคยมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมากขนาดไหน  ถัดมาที่เมืองสุดท้ายในวันที่ […]

1 2 3 4 5 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.