CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ครบรอบ 120 วัน ไทยพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?
ถึงเส้นตายของ ‘พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ กับทิศทางและนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลจะลงมือทำ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อม (?) เปิดประเทศภายใน 120 วัน! จะ ‘พัง’ หรือ ‘รอด’?
กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง
Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557 ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]
ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ
5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง
วิจารณ์รัฐด้วยคำหยาบ ผิดฐานหมิ่นประมาทไหม
หมิ่นประมาทรัฐบาล-คำหยาบ-วิจารณ์การทำงาน
“สกาลา ต้องเป็น Public Space ไม่ใช่ห้างฯ” เนติวิทย์ ชวน Save ลมหายใจของสกาลา
คนไทยโบกมือลา ‘สกาลา’ โรงหนังสแตนด์อะโลนอายุ 52 ปี แห่งเดียวที่หลงเหลือในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 1 ปีเต็ม เนื่องจากผู้บริหารทนสู้ต่อไปไม่ไหว ยิ่งไปกว่านั้นคือการขาดรายได้ช่วงโควิด-19 เพราะรัฐบาลสั่งปิดพื้นที่แบบไร้ซึ่งมาตรการเยียวยา ส่งผลให้อุตสาหกรรมหนังไทยทั้งองคาพยพต้องสั่นคลอน ซ้ำร้ายยังบงการประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าการ์ดตก ในขณะที่ผู้คนและผู้ประกอบการพยายามกุมลมหายใจเฮือกสุดท้ายของตัวเองไม่ให้ถูกพรากไป เก่งแต่สั่งห้าม แต่ไม่ยอมส่งต่อความเจริญให้ประชาชนทุกคนสักที แม้สกาลาปิดม่านลงอย่างถาวร แน่นอน ความทรงจำของผู้คนที่ตบเท้าเข้ามาซื้อตั๋วหนัง หรือเดินผ่านต่างจดจำได้ว่าอาคารนี้มีเสน่ห์ล้นเหลือ และเป็นแลนด์มาร์กสำคัญที่อยู่คู่สยามมายาวนาน Philip Jablon เจ้าของเพจ The Southeast Asia Movie Theater Project ผู้ออกเดินทางตามล่าความทรงจำเกี่ยวกับโรงหนังสแตนด์อะโลนทั่วภูมิภาค ยังยกย่องให้สกาลาเป็นโรงหนังที่งดงามที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าวันนี้สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าสไตล์ Art Deco และพื้นที่ความทรงจำแห่งนี้กำลังจะสูญหายไปตลอดกาล ‘สกาลา’ อาจจะจากไปแบบไม่มีวันหวนกลับ หากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่หยุดโครงการรื้อ ทุบ และพัฒนาอาคารแห่งนี้โดยปราศจากการให้คนในสังคมมีส่วนร่วมตัดสินใจ สกาลาอาจกลายเป็นห้างฯ แห่งใหม่ ที่มีอยู่รอบจุฬาฯ จำนวนมาก ในขณะที่ประเทศแทบจะไม่มีพื้นที่สาธารณะรองรับชีวิตประชาชน อืม…แล้วจะหยุดสร้างห้างฯ ได้หรือยัง? หรือเห็นว่าประชาชนมีพื้นที่สาธารณะเพียงพอแล้ว คุยกับ เนติวิทย์ […]
LIFE ASOKE HYPE ไฮป์กับชีวิตแนวตั้งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ
รูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนและพัฒนาไปตามกาลและเวลา จากเดิมที่เคยอยู่บ้านหลังใหญ่ที่มีสวนอยู่หลังบ้านและใช้ชีวิตกันในแนวราบ ความเป็นเมืองค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในแนวตั้งมากขึ้นอาทิ ตึกแถว อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมในที่สุด จนเกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Vertical Living’ ซึ่งข้อดีของการอยู่อาศัยในวิถีชีวิตแนวตั้ง คือการที่เราสามารถเลือกทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยได้หลากหลาย สามารถเลือกอยู่ใจกลางย่าน CBD ที่อุดมไปด้วยแหล่งงานและการศึกษา ที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึง ช่วยลดความตึงเครียดจากการเดินทางในระยะไกล เข้าถึงระบบสาธารณสุข หรือปัจจัยพื้นฐานอย่างอื่นได้ง่ายตามไปด้วย และเมื่อการอยู่อาศัยแบบ Vertical Living กลายมาเป็นปัจจุบันและอนาคตในการใช้ชีวิตของมนุษย์ โจทย์ของที่อยู่อาศัยยุคใหม่จึงต้องไม่ใช่แค่การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่หมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยแบบ Vertical Living ให้ดีขึ้นด้วย การออกแบบจึงต้องสามารถเชื่อมแนวคิดความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิด ทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ของคอนโดฯ ให้เข้ามาสู่ธรรมชาติให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในเวลาเดียวกัน เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักความตื่นเต้น ไม่เหมือนใครในการอยู่อาศัยไปกับ LIFE ASOKE HYPE โดยบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บูทีกคอนโดฯ แห่งแรก ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สะดุดทุกสายตาตั้งแต่ดีไซน์ภายนอกแรกเห็นด้วยตัวอาคารสี RED HYPE สีแดงเข้มสุดพิเศษ จากห้องแล็บสีของโจตัน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มอบความรู้สึกกระตือรือร้น […]
หนี้สาธารณะ ภาระหนี้ที่ส่งผลต่อทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่น จนอาจยาวนานถึงหลับตาตาย
‘หนี้สาธารณะ’ คำคุ้นหูที่ทำหลายคนส่ายหัว และอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าบอกว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อค่ารถสาธารณะที่เราใช้บริการทุกวัน หรือค่าอาหารกลางวันที่เรากินทุกมื้อ สิ่งเหล่านี้มีราคาต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ คือมีเงินเท่าเดิม แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้น แล้วแบบนี้หนี้สาธารณะยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไหม? หนี้สาธารณะกำลังอยู่รอบตัวเรา และอาจทำให้โปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างรัฐสวัสดิการ อินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อประชาชน ระบบขนสาธารณะราคาถูก ระบบการศึกษาที่ดี อาจเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป รายงานล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2564 สะท้อนว่าปัจจุบันคนไทยกำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับหนี้สาธารณะที่เกาะบนหลังจำนวนกว่า 8,825,097.81 ล้านบาท เมื่อเทียบสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) จะอยู่ที่ 55.20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขเหล่านี้ทวีความสำคัญกับชีวิตของเรามหาศาล เราจึงต้องรู้และเข้าใจข้อมูลชุดนี้แบบห้ามละสายตา เรื่องยากๆ ชวนปวดหัวเหล่านี้ทำให้เราต้องไปพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัต สุขกำเนิด’ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อคลายข้อสงสัย และเปลี่ยนเรื่องหนี้ให้กลายเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น หนี้สาธารณะ หนี้ที่ไม่ได้ร้องขอ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยจ่ายทุกสลึง กล่าวให้ง่ายที่สุด หนี้สาธารณะตอนนี้คือหนี้ที่รัฐบาลก่อ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐใช้เงินในแต่ละปีมากกว่ารายได้ที่หามา เรียกง่ายๆ ว่า ‘งบประมาณขาดดุล’ หรือภาษาชาวบ้านว่า เงินช็อต สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเงินไม่พอใช้ คือการที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างสมดุลของบัญชีรายรับ-รายจ่าย […]
2029 Start Up เอเชียจะปัง ส่วนไทยอาจจะพัง?ชวนมองปัจจัยที่ทำให้ไทยไม่ตกขบวน
รู้หรือไม่ว่า ตอนนี้เราอยู่ในช่วง 10 ปีทองของธุรกิจสตาร์ทอัปในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเตรียมพร้อมหรือยังนะ ที่จะคว้าโอกาสนี้! ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ และต่างชาติเองก็เริ่มทยอยถอนตัวการลงทุนในไทย อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ของ KKP Research เกียรตินาคินภัทรปี 2021 กล่าวว่าในปัจจุบันไทยเริ่มไม่ใช่จุดสนใจของโลก และต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง ด้วยการพัฒนาคนและเทคโนโลยีต่ำ รวมไปถึงกฎระเบียบไม่เอื้อในการส่งเสริมการตลาด เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งที่เริ่มฟื้นฟูตัวได้อย่างเวียดนามสวนทางกับวงการสตาร์ทอัปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ในช่วงเติบโตอย่างทวีคูณไปจนถึงปี 2029 อ้างอิงข้อมูลจากบริษัท ดิสรัปท์ เทคโนโลยี เวนเจอร์ จำกัดปี 2021 รวมถึงรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2564 (Asian Development Outlook 2021) ให้ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศเอเชียกำลังพัฒนาและคาดจะเติบโต 7.7% ในปี 2021 และ 5.6% ในปี 2022 10 ปี เอเชียแหล่งเวลคัม ‘เทคโนโลยีใหม่’ สาเหตุที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายเป็นแหล่งเนื้อหอมในยุคนี้ อ้างอิงข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของ Kevin Aluwi ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Gojek ปี 2021 เผยว่าแถวบ้านเรามีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก และมีไลฟ์สไตล์เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ใช้ในพื้นที่มากมาย […]
The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?
ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]
ตำนานสาย 8 สุดซิ่งจาก พ.ศ. 2498 สู่รถแบบใหม่ล่าสุดของไทยโดย ขสมก.
สาย 8 เจ้าเก่ามีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถ้าพูดถึงรถเมล์กรุงเทพฯ ที่คนจดจำมากที่สุดสายหนึ่ง เชื่อว่าผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงต้องมี ‘สาย 8 แฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธ’ อย่างแน่นอน… ตำนานรถเมล์สายซิ่ง ที่ขึ้นชื่อลือชาขนาดนี้…ก็เพราะรถเมล์สาย 8 แห่งกรุงเทพมหานคร ถูกขนานนามเป็นรถโดยสารที่ให้บริการด้วยความไวดุจสายฟ้า บูมเมอร์สรู้ มิลเลนเนียลส์รู้ เอ็กซ์แพต (Expat) บางคนยังรู้ ผมเองก็ไม่ทันถามคนรุ่นคุณปู่เหมือนกันว่ารถเมล์สาย 8 ยุคแรกๆ วิ่งแรงแซงทุกคันขนาดไหน แต่ภาพสาย 8 เกิดอุบัติเหตุจนหน้าบู้บี้นี้มีให้เห็นตั้งแต่สมัยเป็นภาพฟิล์มขาวดำแล้ว และไม่ว่าภาพขาวดำนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันความเก๋ามาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อยังเด็ก หรือเป็นแค่เหตุการณ์เดียวที่บังเอิญมาตรงกับความรู้สึกในใจของคนยุคปัจจุบัน แต่ในปีนี้…ภาพลักษณ์ของรถเมล์สาย 8 จะเปลี่ยนไป หลังจาก ขสมก. กลับมาวิ่งรถเมล์สายนี้เองอีกครั้งในรอบสามสิบกว่าปี… วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อาจเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของสาย 8 ก็ว่าได้ หลังเอกชนผู้เดินรถปรับอากาศเจ้าเดิมอย่าง บริษัท ซิตี้บัส จำกัด ผลัดใบให้หน่วยงานรัฐอย่าง ขสมก. เข้ามาเดินรถแทนที่ ซึ่งงานนี้ ขสมก. ก็ทุ่มทุนด้วยการนำรถเมล์ปรับอากาศรุ่นใหม่เข้ามาให้บริการถึง […]
ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์
โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]
The Lost Year : เด็กไทยสูญเสียอะไรบ้างในยุคโควิด-19?
เริ่มต้นวันเสียงนาฬิกาปลุก เราลุกขึ้นจากที่นอนด้วยความขี้เกียจจะใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปอีกวัน หยิบโทรศัพท์เข้าทวิตเตอร์เป็นอย่างแรกเพื่ออ่านเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนี้เหมือนกับอ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า และเป็นอีกวันที่เราเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ และตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มขึ้นอีกแล้ว เพิ่มขึ้นทุกวันๆ ทวีตขอความช่วยเหลือทั้งหาเตียงให้ผู้ป่วยโควิด ข่าวการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือไม่ทันเวลา โพสต์ขายของที่เห็นได้ทั่วไปบนทวิตเตอร์ที่ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตโรคระบาดนี้มาก็เริ่มแยะขึ้นทุกวัน จนเราเกิดคำถามว่า เราอยู่กับโควิดกันมานานแค่ไหนแล้วนะ? คำตอบคือ 1 ปี 6 เดือน 30 วัน และที่น่าเศร้ายิ่งกว่าคือสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดูจะไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้ บ้านที่ตอนนี้เป็นทั้งที่กิน ที่นอน ที่เรียน ที่เล่น ที่ทำงานก็คงจะมีสถานะเช่นนี้ไปอีกนาน มองออกไปนอกหน้าต่างก็เห็นเพียงถนนว่างเปล่า จากถนนที่มักจะคึกคักด้วยรถราในช่วงสายไปจนถึงเย็นของวัน ออกจากบ้านแต่ละครั้งเราไปได้ไกลสุดแค่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ไม่รู้ว่าคุณป้าที่ขายผักที่ตลาดแล้วสนิทกับคุณยายเราจะเป็นอย่างไรบ้าง คุณพี่รถไอติมที่มักเข้ามาขายช่วงบ่ายของวันก็ไม่เจอเป็นเดือนแล้ว หรือคุณลุงขายผลไม้ที่กินประจำตอนไปเรียนที่คณะจะยังสบายดีอยู่ไหม ทุกคนได้รับผลกระทบและสูญเสียสิ่งสำคัญในชีวิตไปกับวิกฤตโรคระบาดในรูปแบบที่ต่างกัน คนกลุ่มหนึ่งที่เรานึกถึงอยู่เสมอคือผู้คนวัยเดียวกับเรา ตั้งแต่การระบาดในระลอกแรกพวกเราถูกจำกัดพื้นที่ในการใช้ชีวิตมานาน ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย สูญเสียโอกาสใช้ชีวิตให้เต็มที่สมวัย ถูกพรากความฝันและตัวตนไปไม่ต่างกับผู้คนวัยอื่นๆ วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประกาศให้เป็น ‘วันเยาวชนสากล (International Youth Day)’ เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงเสียงและการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเรื่องต่างๆ ของเยาวชน เราในฐานะนิสิตที่เรียนออนไลน์มานาน กำลังจะเรียนจบ […]