CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
เปลี่ยน King’s Landing ใน House of the Dragon ให้ปลอดภัย ไม่แออัด และยกระดับชีวิตของทุกคน
ขอต้อนรับเข้าสู่ King’s Landing เมืองที่โสมมที่สุดในเจ็ดอาณาจักร หากใครเป็นแฟนซีรีส์ Game of Thrones และ House of the Dragon ก็ต้องรู้จัก ‘มหานคร King’s Landing’ เมืองหลวงซึ่งเป็นที่ตั้งของบัลลังก์เหล็ก ศูนย์กลางการปกครองแห่งทวีป Westeros เป็นอย่างดี นอกจากความเจริญรุ่งเรืองที่ได้เห็นใน King’s Landing กันแล้ว เมืองนี้ยังมีชื่อเสียงด้านลบเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องของความปลอดภัย ความแออัดของเมือง หรือแม้แต่ความสกปรก ชนิดที่ว่าหากไม่ใช่คนในพื้นที่ก็คงจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ ถึงขนาดที่ว่า Lady Olenna Tyrell หัวหน้าตระกูล Tyrell หนึ่งในเจ็ดตระกูลใหญ่ของเรื่องต้องเอ่ยปากเมื่อพูดถึง King’s Landing ว่า “คุณสามารถได้กลิ่นเหม็นเน่าในระยะห้าไมล์จากเมืองนี้” เลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะสวมบทบาทเป็น ‘หัตถ์แห่งพระราชา’ ผู้คอยให้คำปรึกษางานบริหารบ้านเมืองในด้านต่างๆ แก่พระราชา ผู้ซึ่งมีอำนาจเป็นอันดับสองในทั้งเจ็ดอาณาจักร โดยเราจะแก้ปัญหาในเมือง King’s Landing ให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น […]
ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก
เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]
ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’
แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]
ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]
สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี
วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]
เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก
คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]
หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่
คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]
เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง
เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]
บัตรคนจน ช่วยคนจนหรือสร้างความเหลื่อมล้ำ?
เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีการเปิดรับลงทะเบียน ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ หรือ ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่ในปี 2565 โดยครั้งนี้คณะรัฐมนตรีวางเป้าหมายคนลงทะเบียนบัตรประเภทนี้ไว้ 20 ล้านคน เพื่อเยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้คนตกงานมากมาย และคนหันไปทำงานอิสระมากกว่าเคย จึงคาดการณ์ว่าจะมีคนจนมากกว่าแต่ก่อน รวมถึงคาดว่าจะมีคนรับสิทธิ์จริงประมาณ 17 ล้านคน ซึ่งตั้งงบประมาณเอาไว้ 5,337 ล้านบาท ว่าด้วยตัวเลข 20 ล้านคนที่คณะรัฐมนตรีตีกรอบเอาไว้สำหรับคนที่ลงทะเบียนบัตรคนจนปี 2565 เมื่อย้อนดูสถิติจำนวนคนถือบัตรคนจนตั้งแต่ปี 2560 – 2564 จากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2560 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2561 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 11 ล้านคนปี 2562 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 15 ล้านคนปี 2563 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2564 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 13 ล้านคนปี 2565 ครม.ตั้งเป้าไว้ 20 ล้านคน (คาดว่ารับจริง […]
เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ
ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]
ทำไมคนไทยเชื่อหมอดูมากกว่าจิตแพทย์? เพราะงมงายหรือเข้าถึงง่ายกว่า
เวลาคุยกับหมอดู คุณถามว่าอะไรกันบ้าง?ช่วงนี้เครียดกับเพื่อนร่วมงานมาก งานนี้จะรอดไหม?ที่ทำงานบีบเงินเดือนสุดๆ ปีนี้จะรวยไหม?ทุ่มเทให้เขาขนาดนี้ เขาจะรักเราบ้างไหม? คำถามเหล่านี้ต่างเป็นปัญหาสุดกลุ้มใจของใครหลายคน หากให้เลือกปรึกษาระหว่างจิตแพทย์กับหมอดู เชื่อว่าส่วนใหญ่ขอพุ่งเข้าหาแม่หมอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันศาสตร์ทำนายอนาคตฮิตในบ้านเรา และทุกวันนี้มีธุรกิจสายดวงผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะบริการดูดวงออนไลน์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย เช่น YouTube, Facebook, Twitter หรือ TikTok จนทำให้บางคนที่ชอบดูดวงมองว่า หมอดูก็สามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจและรู้สึกมีความหวังในวันที่เขาหลงทาง รวมทั้งให้คำปรึกษาคล้ายกับจิตแพทย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ดูดวง ที่พึ่งยามยากที่เข้าถึงง่าย ความนิยมการดูดวงไม่ใช่เรื่องคิดไปเอง จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี และเป็นโสด สาเหตุที่เลือกดูดวงเนื่องจาก 1 ใน 3 พบว่ารู้สึกเครียดและต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ จึงต้องการรับรู้เรื่องอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจการตัดสินใจในปัจจุบัน เรื่องที่คนเมืองมักจะปรึกษาแม่หมอมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2) การเงินและการค้า และ 3) เรื่องโชคลาภ […]
Stray Cat in the Sick City รับบทเป็นแมวส้มในเกม Stray ผจญภัยและเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ล่มสลาย
ชีวิตในเมืองที่แสนเหนื่อยยากและโลกที่วุ่นวาย ทำให้เราเคยมีความคิดที่แวบขึ้นมาว่า อยากลองเกิดเป็นหมาแมวดูบ้างสักวัน แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งเราได้อิเซไกมาเป็นเจ้าแมวส้มจาก Stray เกมที่ให้เราสวมบทบาทเป็นแมวหลง ที่มีคู่หูอย่างเจ้าโดรนจิ๋ว B-12 คอยช่วยเหลือและนำทาง พร้อมกับผจญภัยไปด้วยกันในโลกแห่งอนาคตที่ล่มสลายด้วยฝีมือของมนุษย์ เหลือเพียงหุ่นยนต์ที่วิวัฒนาการขึ้นมาให้มีความนึกคิดและจิตใจ ในเมืองที่ถูกทิ้งร้างไร้ผู้คน Stray เป็นเกมจากค่าย BlueTwelve Studio ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดให้เล่นทั้งในแพลตฟอร์ม Steam, PlayStation 4 และ PlayStation 5 พร้อมกับคะแนนวิจารณ์ที่ดีที่สุดในปีนี้จากผู้เล่นใน Steam หลังจากเปิดตัวไปได้เพียงไม่กี่วัน สำหรับคนที่เคยเล่นเกมนี้มาแล้ว หรือคนที่ยังไม่เคยเล่นก็ตาม สิ่งที่จะทำให้ทุกคนตกหลุมรักเกมนี้ได้ง่ายๆ ก็คือความน่ารักของเจ้าแมวส้ม นอกจากนั้นก็คงจะเป็นความน่าสนใจของการเมืองผ่าน Perspective ของแมว และเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เราจะได้พบเจอตลอดการเดินทาง พร้อมกับดีเทลเล็กๆ เฉพาะคนรักแมวเท่านั้นที่จะรู้ ถ้าแมวส้มจากเกม Stray ตัวนี้ได้มาร่อนเร่ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ที่สุดแสนจะวุ่นวายและใกล้ล่มสลาย น้องจะได้พบเจอกับอะไรบ้าง และทางออกของปัญหาเหล่านั้นควรจะเป็นอะไร เรามาร่วมลุ้นและผจญภัยไปด้วยกัน Walk Through the Cityเมื่อเจ้าแมวออกเดินทาง การจะเป็นเมืองที่เดินได้ จะต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งบนทางเท้าและท้องถนน และควรมีความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย การมีทางเท้าที่ดี สะพานลอยหรือทางม้าลายที่ปลอดภัย ไฟข้างทางที่ส่องสว่าง […]