Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

ไม่ให้เงินพ่อแม่ เราจะเป็นคนอกตัญญูไหม

ถ้าไม่มีเงินให้พ่อแม่ เราจะกลายเป็นคนอกตัญญูไหม เชื่อว่าประโยคข้างต้นเป็นคำถามที่ติดอยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนวัยเริ่มต้นทำงานในยุคที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงลิ่วสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือน้อยลง บางคนอาจจะเอาตัวรอดเลี้ยงดูตัวเองได้สบายๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องรัดเข็มขัดให้แน่นหรือใช้ชีวิตเข้าเนื้อพอสมควร ปัญหาของคนรุ่นใหม่หลายคนที่เริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่เพียงแค่จัดการเงินเลี้ยงดูตัวเองให้อยู่รอดในแต่ละวัน แต่ยังต้องแบ่งให้ครอบครัวส่วนหนึ่ง ด้วยค่านิยมที่ปลูกฝังกันมายาวนานว่า ‘ให้เงินพ่อแม่ = เด็กกตัญญู’ แม้ว่าถ้าให้เงินไปแล้ว พวกเขาอาจจะใช้ชีวิตลำบากมากกว่าเดิม แต่ถ้าไม่ให้ก็อาจจะโดนสังคมมองว่าเป็น ‘เด็กอกตัญญู’ แนวคิดดังกล่าวเริ่มทำให้เราตั้งคำถามในใจว่า หากเราไม่มีเงินมากพอที่จะให้พ่อแม่ใช้จ่ายอย่างสุขสบาย หรือเราไม่ให้เงินพวกท่านเพราะรู้สึกยังไม่พร้อมทางการเงิน ท้ายที่สุดแล้วเราจะกลายเป็นคนไม่ดีในสายตาคนรอบตัวหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนไปหาคำตอบเหล่านี้พร้อมกัน กตัญญูกตเวทีคืออะไร อ้างอิงจากวารสารมานุษยวิทยาศาสนา (Journal of Religious Anthropology : JORA) อธิบายความหมายของคำว่า ‘กตัญญูกตเวที’ คือ ผู้ที่รู้ระลึกคุณของผู้มีพระคุณและทำคุณประโยชน์ตอบแทน โดยความกตัญญูในสังคมไทยมักมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) การทำความดีเพื่อหวังผลประโยชน์ คือการตอบแทนคนที่ช่วยเหลือเรา ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการตั้งนิยามในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต สังเกตได้จากค่านิยมการมีลูกสมัยก่อนที่ว่า ‘มีลูกเพื่อให้พวกเขาเลี้ยงดูตอนแก่’ 2) การทำความดีด้วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ลักษณะนี้สอดคล้องกับคำว่า ‘บุพการี’ ในพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลประโยชน์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมีภาพจำความกตัญญูกตเวทีกับรูปแบบแรกที่ต้องตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา  […]

‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ

‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]

บัตรคอนเสิร์ตราคาแพงขึ้น 30% แฟนเพลงจ่ายไหวไหม

แม้จะดีใจทุกครั้งเวลาศิลปินที่ชื่นชอบมาจัดการแสดงที่ไทย แต่ก็แอบเศร้าทุกทีที่เห็นบัตรคอนเสิร์ตราคาแรงขึ้นจนต้องคิดหนักตอนกดจ่ายเงิน เพราะทุกวันนี้ราคาบัตรคอนเสิร์ตทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2019 ช่วงก่อนเกิดโควิด ยกตัวอย่าง KCON งานคอนเสิร์ตสไตล์เกาหลี K-pop ปี 2019 จัดที่ประเทศไทย มีราคาที่นั่งแพงสุด 6,000 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง ปัจจุบันปี 2022 ราคาที่นั่งแพงสุด 8,900 บาท/ที่นั่ง/รอบการแสดง หมายความว่าค่าบัตรเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ราคาบัตรพุ่งจนฉุดไม่อยู่ คอลัมน์ Curiocity ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบด้วยกัน อัตราเงินเฟ้อสูง เหตุการณ์โควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่ตามมาคือ อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงมากกว่าเดิม และผลกระทบจากสงครามและวิกฤตทางการเมือง ที่ทำให้ราคาสินค้า การผลิต และการขนส่งต่างๆ ปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมคอนเสิร์ตก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วย สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ‘ญาณกร อภิราชกมล’ กรรมการบริหาร บริษัท ครีเอท อินเทลลิเจ้นซ์ จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและเทศกาลไทยให้สัมภาษณ์กับ The Standard Wealth ว่า […]

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

‘Sharenting’ พ่อแม่ยุคใหม่ โพสต์รูปลูกอย่างไร ไม่ให้ละเมิดสิทธิเด็ก

คุณจำได้ไหมว่ามีแอ็กเคานต์โซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองตอนอายุเท่าไหร่ หากย้อนกลับไปในวันที่เริ่มมีตัวตนบนโลกออนไลน์สำหรับหลายๆ คน เราคิดว่าน่าจะเป็นช่วงประถมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมต้นที่เริ่มสมัคร Facebook และอัปโหลดรูปตัวเองบนโลกออนไลน์เป็นครั้งแรก แต่กับสมัยนี้ หลายบ้านเริ่มสร้างตัวตนให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ รูปอัลตราซาวนด์กลายเป็นรูปแจ้งเกิดในโลกออนไลน์ของเด็กรุ่นใหม่ แถมพอโตขึ้นมาหน่อย ไม่ว่าจะทำอะไรก็มักถูกพ่อแม่บันทึกไว้เป็นรูปภาพและวิดีโอโพสต์ลงบนออนไลน์เต็มไปหมด ‘ใครๆ เขาก็ลงรูปลูกตัวเองกันทั้งนั้น’‘บ้านไหนจะโพสต์รูปลูกตัวเองก็เรื่องของเขา อย่าไปยุ่ง’‘ทำไมพ่อแม่ถึงจะไม่มีสิทธิ์โพสต์รูปลูกตัวเองล่ะ’ จากความคิดเห็นเหล่านี้ คอลัมน์ Curiocity ขอชวนกลับมาตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วการที่พ่อแม่ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะผลกระทบอาจไม่ตกอยู่ที่ครอบครัวใดครอบครัวหนึ่งเท่านั้น พ่อแม่ยุคใหม่ ให้ชาวเน็ตช่วยเลี้ยงลูก ย้อนกลับไปในปี 2010 พ่อแม่ทั่วโลกต่างโพสต์รูปลูกตัวเองลงบนออนไลน์เป็นเรื่องปกติ จนสำนักข่าว ‘Wall Street Journal’ คิดค้นศัพท์ใหม่อย่าง ‘Sharenting (n.)’ เพื่อใช้นำเสนอปรากฏการณ์นี้ ก่อนได้รับการบันทึกลงใน Collins English Dictionary เมื่อปี 2016 และใช้อย่างกว้างขวางต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน Sharenting เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่าง Share และ Parenting เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของพ่อแม่ยุคใหม่ที่โพสต์ภาพและวิดีโอของลูกตัวเองบนโซเชียลมีเดียจนเกินพอดี  จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2010 พบว่า มีทารกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และเด็กอายุน้อยกว่า 2 […]

จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush

จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก  วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]

มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?

เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา  ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช  ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]

ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เวิร์กจริงไหม

ในแต่ละสัปดาห์ กว่าหลายคนจะผ่านพ้น 5 วันทำงานไปได้ก็แทบจะไม่เหลือเรี่ยวแรง ร่างกายเหนื่อยล้าแบบสุดๆ จนอดใจรอวันหยุดสุดสัปดาห์แทบจะไม่ไหว แต่ช่วงวันหยุด 2 วันก็ผ่านไปไวเหลือเกิน ยังไม่ทันจะเคลียร์งานบ้าน พักผ่อนให้หายเหนื่อย ก็ต้องกลับไปสู่วงจรการทำงานอีกแล้ว หากสัปดาห์ไหนมีวันหยุดพิเศษเพิ่มมาให้อย่างน้อย 1 วัน ก็รู้สึกเหมือนโชคหล่นทับ เพราะรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจได้ชาร์จพลังจนเต็ม พร้อมสู้งานในสัปดาห์ต่อไปอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว แล้วถ้าได้ทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน ทุกสัปดาห์ และยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม จะช่วยให้เราพร้อมสู้งานกว่านี้ไหมนะ เชื่อว่าในปัจจุบันหลายคนคงจะเริ่มตระหนักถึง Work-life Balance หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและชีวิตส่วนตัวมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกใจที่คนยุคใหม่จะมองว่า การทำงานโดยมีวันหยุดเพียง 2 วัน/สัปดาห์นั้นไม่ตอบโจทย์และไม่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนหรือลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เลย หลายคนและหลายองค์กรคงเคยนึกถึงการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเมื่อวันทำงานลดน้อยลงแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะยังมีเท่าเดิมไหม หรือหากจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลดลงจะมีผลต่อรายได้หรือเปล่า แนวคิดการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์นี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า สรุปแล้วมันเวิร์กสำหรับสังคมการทำงานจริงๆ หรือไม่ หลายประเทศทั่วโลกทดลองลดวันทำงาน ประเด็นการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์โควิด-19 หลายองค์กรก็ต้องปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’

แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]

1 2 3 4 5 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.