ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

‘ซองโด’ เมืองอัจฉริยะที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์

เกาหลีใต้ไม่ได้มีดีแค่โซล แทกู หรือปูซาน แต่ยังมีเมืองใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ‘ซองโด’ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเมืองนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

‘Kowloon Walled City’ อดีตสลัมลอยฟ้าแออัดติดอันดับโลก

The City of Darkness ดินแดนสนธยาแห่งนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่แออัดยัดเยียดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้กำแพงตึกสูงกว่า 14 ชั้น กลายเป็นแหล่งซุกซ่อนความลึกลับน่ากลัวเอาไว้มากว่า 27 ปี แต่ผู้คนในเมืองนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น เมื่อเรื่องราวของ Kowloon Walled City ถูกลบออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์ฮ่องกงไปตลอดกาล เหมือนเป็นการเซ่นไหว้ให้กับความเจริญที่กำลังคืบคลานเข้ามาพร้อมการปรับภูมิทัศน์ประเทศครั้งใหญ่ราวกับว่าไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นที่นี่ ปัญหาแหล่งอาศัยที่สวนทางกับประชากร ‘ฮ่องกง’ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจแห่งภูมิภาคเอเชียที่มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และขึ้นชื่อในเรื่องค่าครองชีพที่แพงหูฉี่ติดอันดับต้นๆ ของโลก นอกจากปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นและเหมือนจะหยั่งรากลึกจนเกินจะถอนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรทั้งหมด ด้วยประเทศฮ่องกงมีพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 1,100 ตารางกิโลเมตร แต่กลับมีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยเพียงแค่ 77 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งเท่ากับ 1 คน ต่อ 10 ตารางกิโลเมตร จากจำนวนประชากรทั้งหมดกว่า 7.5 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากและคงไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตอีกด้วย ซ้ำร้ายอัตราค่าเช่าก็ดันสวนทางกันกับขนาดของพื้นที่อยู่อาศัย ด้วยราคาที่ดินและอสังหาฯ ของประเทศนี้พุ่งทะยานสูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้มีชาวฮ่องกงน้อยมากที่จะสามารถมีบ้านเป็นของตัวเองได้ เพราะประชากร 1 ใน 5 ของประชากรฮ่องกงมีฐานะที่ค่อนข้างยากจน คนกลุ่มนี้จึงเหมือนถูกกดหัวให้เป็นแค่พวกชายขอบที่ไม่มีใครสนใจ จึงเป็นที่มาของเรื่องราวในอดีตของ ‘Kowloon Walled City’ […]

‘มิวนิก’ เมืองที่เป็นมิตรกับคนเดิน นักปั่น และมีพื้นที่สาธารณะดีจนคนอยากใช้ชีวิตนอกบ้าน

วิธีการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะของเมื่อมิวนิค ประเทศเยอรมนี ที่ทำได้ดีและเป็นมิตรกับคนเมืองจนชาวมิวนิคกว่า 66% ออกมาใช้รถสาธารณะ เดินเท้า และปั่นจักรยาน รวมทั้งนั่งเล่นที่สวนกลางเมืองกันอย่างสุขใจ

‘ไถจง’ เมืองที่ออกแบบให้คนใช้ชีวิตนอกบ้าน

ไถจง (台中) คือเมืองแห่งอุตสาหกรรมและศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับสามของเกาะไต้หวัน ตั้งอยู่ภาคกลางของเกาะ และเป็นที่ที่หากใครจะไปเที่ยว Sun Moon Lake ทะเลสาบสีมรกตสุดฮิตก็ต้องมาแวะที่นี่ก่อน แต่ถ้าได้ใช้เวลาทำความรู้จักไถจงเพิ่มสักวันสองวัน เดินเล่นในย่านใจกลางเมืองและแวะดูพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Spaces) ที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะกันแล้ว จะพบว่าไถจงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้เราได้เก็บแรงบันดาลใจกลับไปเต็มกระบุง

‘Loreto Bay Village’ ชุมชนยั่งยืนที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม

‘Loreto Bay Village’ การพัฒนาและวิธีการจัดการชุมชนของเขาจะเป็นอย่างไรที่จะยืนหยัดอยู่บนคำว่า ‘ยั่งยืน’ ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง

‘ฝรั่งเศสเมือง 15 นาที’ เดินได้ ปั่นดี เข้าถึงทุกความจำเป็นในการใช้ชีวิต

เคยคิดกันไหมว่า 15 นาที เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ? ที่ไม่ใช่แต่ติดแหง็กอยู่บนท้องถนน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.