คุยกับ พีทีที สเตชั่น ในวันที่ปั๊มไม่ได้แค่เติมน้ำมัน แต่กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน

ย้อนกลับไปราว 30 ปีที่แล้ว การเข้าปั๊มน้ำมันแต่ละครั้งแทบจะไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเติมน้ำมัน ย้อนมาใกล้อีกหน่อยสัก 10 ปี เราเข้าปั๊มน้ำมันทั้งที่น้ำมันยังเหลืออีกตั้งครึ่งถังเพื่อเข้าห้องน้ำ แวะทานข้าว ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ หรือหากาแฟมาคลายง่วงที่ คาเฟ่ อเมซอน ย้อนกลับไปไม่กี่เดือน หุ้นโออาร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะนักลงทุนเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดค้าปลีก เราจึงขอบิดกุญแจสตาร์ทรถขึ้นทางด่วนไปลงที่ถนนวิภาวดีรังสิตแล้วแวะเข้าสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่นเพื่อสนทนากับคุณบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)(OR) ถึงพัฒนาการของ พีทีที สเตชั่น ที่จะไม่ได้มีไว้แค่เติมน้ำมัน ไม่ได้แค่ห้องน้ำสะอาด แต่เป็นศูนย์กลางให้ชุมชน และพร้อมปรับตัวให้สอดรับกับเทรนด์โลก ธุรกิจน้ำมันต้องเผชิญ Disruption จากหลายทิศทาง แต่หุ้น OR ยังได้รับความนิยมสูงมาก แปลว่าคนยังเชื่อใน พีทีที สเตชั่น หุ้นจะดีหรือไม่ดีก็มีหลายปัจจัย ตลาดก็มีหลายอย่างที่คาดเดาไม่ได้ (หัวเราะ) ผมว่าเขามองเห็นการเติบโตของธุรกิจมากกว่า สัมผัสสิ่งที่เราทำได้อย่างเป็นรูปธรรมทุกครั้งที่เข้าปั๊ม โควิดทำให้หลายอย่างมาเร็วขึ้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัว มันทำให้ปั๊มน้ำมันต้องปรับตัวยังไงบ้าง ทุกคนเข้ามาลุยในสมรภูมินี้ แต่ก็แข่งกันอยู่ไม่กี่เรื่อง เช่นห้องน้ำใครดีกว่ากัน และตัวน้ำมันเองแข่งไปแข่งมาก็หาข้อแตกต่างได้ยากแล้ว อย่างที่บอกว่าปั๊มไม่ได้มีแค่เติมน้ำมันแล้ว […]

FYI

Tomorrow. Reimagined. พฤกษาสร้างนิยามใหม่ของที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร

จะดีแค่ไหน ถ้า “บ้าน” สถานที่ที่เราใช้ชีวิตตั้งแต่ตื่นเช้าไปจนถึงเวลาเข้านอน เรียกว่าเป็นศูนย์รวมทุกกิจกรรมของชีวิตตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป กับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เวลาเราเลือกบ้านสักหลังต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “Lifestyle Disruption” ผู้คนมองหานวัตกรรมมาเพิ่มความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย หรือ “Sustainable Development” ความยั่งยืนในแง่ของสิ่งแวดล้อม สังคม และการอยู่อาศัย ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้ชีวิต แต่รวมไปถึงส่งต่อสภาพแวดล้อมที่ดีให้คนรุ่นต่อไปได้ สุดท้ายคือ “Health & Wellness” การเข้าถึงบริการสุขภาพและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน เพราะคนไม่ได้มองหาแค่ “การรักษา” แต่การดูแลสุขภาพกายและใจคือสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น เพื่อการเลือกบ้านที่ตอบโจทย์มากที่สุด แนวคิด “Tomorrow. Reimagined.” ของ พฤกษา ที่นำความต้องการของผู้บริโภคมาเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบ เพื่อ “อนาคต” ของลูกบ้าน และเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของแบรนด์ว่า “พฤกษา ใส่ใจ…เพื่อทั้งชีวิต” ในการสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับลูกบ้านอย่างแท้จริง สุขภาพมาก่อนเสมอ ช่วงปีที่ผ่านมาเราต่างประสบกับสิ่งรุมเร้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นชนวนให้หลายคนเล็งเห็นความสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องสุขภาพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจเรื่องของ Health & Wellness […]

Fine Robusta ลบภาพจำ 3 in 1 ในโรบัสตา และมีความพิเศษในแบบที่อาราบิกาทำไม่ได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกที่พลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์หลากชนิดเช่นสิ่งทอได้เครื่องจักรเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากจนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงเครื่องจักรไอน้ำที่ทำให้เกิดโรงงานใหม่ขึ้นจำนวนมาก  แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมของกาแฟโรบัสตาในยุคนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการผลิตในปริมาณมหาศาล ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มนานาชนิด แต่หันมาโฟกัสที่รสชาติและคุณภาพเหมือนที่รุ่นพี่อย่างอาราบิกากรุยทางเอาไว้ Urban Creature ชวนสองผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟอย่าง เคเลบ จอร์แดน นักพัฒนากาแฟเมืองน่านที่ปลูกปั้นกาแฟมณีพฤกษ์จนติดระดับประเทศ และ กรณ์ สงวนแก้ว Head Roaster & Green Buyer จาก Roots ร้านกาแฟที่เอาจริงเอาจังในสิ่งที่ตัวเองทำและให้ความสำคัญเกษตรกร มาคุยกันถึงการเติบโตของโรบัสตาที่กำลังเฉิดฉายนอกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการมาอยู่ในคาเฟ่ที่เน้นกาแฟคุณภาพดี หรือโรงคั่วชั้นนำที่เริ่มปล่อยโรบัสตาเบลนด์ใหม่สู่ตลาดเป็นระยะ ห้าปีมานี้กาแฟไทยโดยเฉพาะอาราบิกาเติบโตอย่างก้าวกระโดด และโรบัสตากำลังจะตามไป และอาจมีสิทธิ์ก้าวไปไกลกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องเผชิญกับคู่แข่งมหาโหดจากทั่วโลก และไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านภูมิประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่พร้อมผลักดันแต่ปัจจัยสำคัญอาจจะอยู่ที่ผู้บริโภค ดูคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่าง ถึงภาพจำและความนิยมจะสู้ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเปิดที่ทำให้คอคาเฟอีนรู้จักกาแฟนั้นมาจากโรบัสตาซะเป็นส่วนใหญ่ Head Roaster ของ Roots บอกว่า ดื่มกาแฟผงครั้งแรกก็เป็นโรบัสตา กาแฟ 3 in 1 ก็เป็นโรบัสตา โตขึ้นมากินกาแฟกระป๋องก็โรบัสตา กระทั่งกินเค้กรสกาแฟก็เป็นโรบัสตาอีกเหมือนกัน  “เรามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อเมล็ดกาแฟอยู่ภาคใต้ พอถูกปลูกเพื่อขายเข้าไปในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรมก็เลยไม่ได้ใช้ความดูแลมากขนาดนั้น และคนที่ปฏิเสธโรบัสตาก็มีจริง พอมาถึงจุดหนึ่งเราไม่ได้กินกาแฟที่แปรรูปเป็นผงหรือเป็นน้ำอีกแล้ว แต่ดื่มกาแฟที่ชงจากเมล็ดซึ่งส่วนมากจะเป็นอาราบิกา เราเริ่มเข้าใจกาแฟและให้ความสำคัญกับรสชาติมากขึ้น […]

NDV-HXP-S วัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ราคาไม่แพง ผลิตได้เองโดยนักวิจัยไทย

หลายเดือนมานี้เราตั้งคำถามกับ ‘ความมั่นคง’ ของประเทศ เมื่อนานาชาติสลัดหน้ากากอนามัยและออกมาใช้ชีวิตแบบที่คุ้นเคย ระบบสาธารณสุขที่เคยวิกฤตเริ่มกลับเข้าร่องเข้ารอย ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยยังคงต้องหาทางออกกันต่อไป เมื่อความมั่นคงของประเทศก้าวไปไกลกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่ากันด้วยเรื่องเทคโนโลยีและ ‘สาธารณสุข’ Urban Creature จึงพาไปสนทนากับ ศ. พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าโครงการวิจัยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังวิจัยความปลอดภัยให้ประเทศผ่านการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ที่ได้ความร่วมมือจากองค์กรนานาชาติในการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤต จนออกมาเป็นวัคซีนที่ราคาไม่แพง กระบวนการไม่ซับซ้อน และผลิตได้เองในประเทศไทย วัคซีนจากไข่ไก่ การผลิตวัคซีนสามารถนำวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยหรือผลิตออกมาแล้ว มาปรับปรุงหรือต่อยอดได้หากมีโรคใหม่เกิดขึ้น แต่เดิมศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยวัคซีนหลากชนิดเป็นทุนเดิมทั้งหัด โปลิโอ เอดส์ หรือมะเร็ง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว องค์การเภสัชกรรมได้รับเทคโนโลยีวัคซีนไข่ไก่ฟัก (Egg-based Flu Vaccine) จากประเทศรัสเซีย จนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมื่อหลายปีก่อนเราไม่มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ เพราะว่าการผลิตวัคซีนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการลงทุนเยอะมาก ในการคิดค้นปกติแล้วต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนมหาศาล  “สมมติว่าเราคิดหรือค้น Antigen (สารก่อภูมิต้านทาน) ขึ้นมาตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารตัวนี้จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรคได้ บางครั้งพบเป็นร้อยตัวก็ยังไม่สำเร็จ” […]

Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก

อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016  ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics)  ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]

Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ

Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว

NIA องค์กรนวัตกรรมที่อยากลบภาพจำหน่วยงานรัฐ มี พนง. 80% เป็นคนรุ่นใหม่และ First Jobber

คำอธิบายที่เข้าใจง่ายของนวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ จึงไม่แปลกที่คนทำงานด้านนี้จะไม่ยอมอ่อนข้อต่ออดีต สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ว่าตัวเองเป็นองค์กรหัวก้าวหน้า และเมื่อได้พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก็พบว่าพวกเขากำลังพยายามล้างภาพจำหน่วยงานรัฐที่เคยติดตา และมีกลไกสำคัญคือ พนักงานถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ และ First Jobber ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามนายสั่ง เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่บอกว่าทุกคนเสนอโครงการได้เท่าที่อยากทำ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเรียนรู้ทุกกระบวนการของงานชิ้นนั้นตั้งแต่เริ่มต้น วัฒนธรรมและวิธีการทำงานหลายอย่างที่ราวกับลบภาพจำหน่วยงานราชการที่คุ้นเคยกันไปโดยสิ้นเชิง NIA มีการสนับสนุนให้คนทำงานอ่านติดตามทุกข่าวสารทั้งแบบภาพรวมและเจาะลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องก้าวให้ทันคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัปที่ผุดขึ้นทุกวัน หรือองค์กรเอกชนที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และตัวผู้บริหารสูงสุดยังไม่ปิดกั้นหากเก่งจากที่นี่แล้วจะไปโตที่อื่น เปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเองได้เต็มที่ ภายใต้ความเป็นมืออาชีพ เพราะอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง NIA คืออะไร หน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ทำงานกับภาคเอกชนและภาคสังคมเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่อยากนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาแปลงเป็นนวัตกรรมและสามารถใช้งานได้จริง เป้าหมายของเราคือทำให้ประเทศมีระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์อนาคตในระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยระบบที่แข็งแกร่ง คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเข้ามาอยู่ในระบบ หรือผู้ที่อยู่มานานแล้วก็ต้องมีการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาคือคน ถัดมาคือการมีแพลตฟอร์มแล้วก็โครงสร้างที่เอื้อให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ NIA ทำงานร่วมกับ ‘คนรุ่นใหม่’ […]

Vivin Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่รวมวัตถุดิบ Local มาตรฐาน Global จากทั่วไทยไว้ที่เอกมัย

VIVIN Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่อยากขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไทยคุณภาพให้คนไทยชิม และรู้ว่าของไทยก็มีดี

‘ปลาสลิดบางบ่อ แม่อำนวย’ ผู้บุกเบิกปลาสลิดบางบ่อ ของดีในคำขวัญจังหวัดสมุทรปราการ

เริ่มต้นขายราว พ.ศ. 2500 ผู้บุกเบิกปลาสลิดตากแห้ง ปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นที่ 3 การันตีความอร่อยหอมมันเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีโปรดักต์หลากหลายให้เลือกสรร

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

ศรีแสงดาว แบรนด์ข้าวรางวัลระดับโลกที่กู้ชีพข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ด้วยเทคโนโลยี

ข้าวสวยขาวๆ ร้อนๆ หอม นุ่ม ทำให้นึกถึงตอนเด็กที่แม่ชอบสอนว่า “กินข้าวอย่าให้เหลือนะ สงสารชาวนา” และหลายครั้งที่เรามักได้ยินประโยค “ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ” ผ่านจอทีวี ซึ่งเป็นวาทกรรมที่พร่ำบอกว่า เกิดเป็นชาวนาต้องอดทนหลังขดหลังแข็ง ชวนตั้งคำถามว่า “ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ได้ไหม”

Diffuse Energy กังหันไซซ์พัดลม พลังงานทางเล็ก (เลือก) ที่สร้างมาท้าชนดีเซลในออสเตรเลีย

ในโลกอันกว้างใหญ่จะมีที่ยืนสำหรับคนตัวเล็กหรือเปล่า ถ้าพูดถึงขนาดเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าความเล็กเป็นจุดขายในหลายอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือเคยแข่งกันให้มีขนาดเล็กที่สุด แล็ปท็อปยิ่งบางก็ยิ่งดึงดูดสายตาผู้บริโภค แม้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะมีแต่ขยายโรงงาน สร้างเขื่อน หรือเพิ่มฟาร์มกังหัน แต่ความเล็กก็กำลังโดดเด่นขึ้นมาเช่นกัน  ชวนมาดูความเล็กที่ยิ่งใหญ่ของ Diffuse Energy สตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ที่ไม่อยากสู้เรื่องความใหญ่โตมโหฬารกับบริษัทพลังงานที่ไหน กับกังหันลมที่ขนาดราวพัดลมตั้งพื้นตามงานวัด เบาจนสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันดีเซลได้มหาศาล  พลังงานทางเล็ก (เลือก)  ก่อนจะไปถึงเรื่องราวของ Diffuse Energy ขอย้อนอดีตต้นกำเนิดของกังหันลมผลิตไฟฟ้ากันสักเล็กน้อย เพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมและแรงบันดาลใจในการผลิตกังหันลมขนาดเล็กมากขึ้น  พลังงานลมอยู่คู่กับมนุษยชาติมาเนิ่นนาน ย้อนกลับไป 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนใช้กังหันลมในการโม่แป้ง กระโจนข้ามมาเร็วๆ ที่ ค.ศ. 1930 นักประดิษฐ์ควบตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยานามว่า พอล ลา คัวร์ ได้คิดค้นกังหันลมผลิตไฟฟ้าสมัยใหม่ โดยใช้ไฟฟ้าจากกังหันลมป้อนเข้าเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน และยังตีพิมพ์ The Journal of Wind Electricity วารสารที่ว่าด้วยการใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าเล่มแรกของโลกอีกด้วย  หลังหมดยุคของพอล มีนักประดิษฐ์มากมายเดินตามรอยเท้าของเขา และความนิยมของพลังงานทางเลือกชนิดนี้ที่ทั้งสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็พัดไปไกลทั่วโลก ต้นศตวรรษที่ 21 เยอรมนีผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมราว 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งพลังงานลมถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็วและประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากที่สุดคือจีนที่ […]

1 7 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.