ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

FYI

แนวคิดของสยามพิวรรธน์ที่ใช้ Universal Design ออกแบบศูนย์การค้าให้เท่าเทียมกับทุกคน

Universal Design แนวคิดสร้างความเท่าเทียม เบื้องหลังการสร้างศูนย์การค้าให้เข้าถึงง่าย มาจากแนวคิด “อารยสถาปัตย์” (Universal Design)การออกแบบสิ่งต่างๆ ทั้งโครงสร้างอาคาร สภาพแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ เพศ คนพิการหรือคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายก็สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียม  การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ราวจับบนทางเดินสำหรับผู้สูงอายุ ทางลาดชันที่มีความชันในระดับมาตรฐานที่คนนั่งวีลแชร์สามารถเข็นขึ้นลงเองได้ การออกแบบป้ายหรือปุ่มต่างๆ บนผนังให้อยู่ในระยะคนนั่งรถเข็นใช้งานคล่องตัว หรือจะเป็นการใช้วัสดุพื้นกันลื่นในสนามเด็กเล่น เพื่อให้เจ้าตัวเล็กไม่ลื่นเจ็บตัวบ่อย ไอคอนสยาม ดีไซน์ครอบคลุมทุกการใช้งาน ด้วยความตั้งใจของสยามพิวรรธน์ในการหยิบแนวคิด Universal Design มาใช้กับอาคารต่างๆ เริ่มต้นด้วยไอคอนสยาม ศูนย์การค้าย่านฝั่งธนบุรีที่สามารถมาเที่ยวได้ทั้งรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนครหรือจะนั่งเรือมาลงที่ท่าเรือไอคอนสยามเข้าอาคารได้ทันที การดีไซน์ใส่รายละเอียดโดยคำนึงถึงการใช้งานตั้งแต่ทางเดินต่างๆ เชื่อมจากระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่ภายในอาคาร ไปจนถึงอาคารจอดรถ เพราะคิดถึงไลฟ์สไตล์ของคนมาเที่ยวไม่ได้แวะเล่นแค่โซนใดโซนหนึ่ง แต่คิดเผื่อพวกเขาว่ามาจากไหนหรือต้องไปเจอกับอะไรบ้างให้ครอบคลุมการใช้งานทั้งหมด เช่น หากคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือ คนตั้งครรภ์ มาจากท่าเรือ ต้องออกแบบสะพานข้ามฝั่งให้มีความชันและความสูงของราวจับพอดีเพื่อให้รถเข็นรถไม่หกล้ม หรือผู้สูงอายุนั่งวีลแชร์อยากขึ้นไปดูสินค้าต้องขึ้นบันได ก็มีทางลาดชันที่รถเข็นขึ้นได้สบายๆ พื้นที่จอดรถแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งรถและทางเดิน หากนำรถยนต์มาเที่ยวเอง แล้วกลัวจะหาช่องจอดรถที่ไม่สะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีเด็กเล็กต้องดูแลเป็นพิเศษ ไอคอนสยามจึงสร้างโซนจอดรถ Priority Parking แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนแยกไว้ชัดเจนใกล้กับทางเข้าอาคาร ลงจากรถเพียงไม่กี่ก้าวก็เข้าอาคารได้เลย นอกจากนั้นยังมีดีเทลเล็กๆ อย่างขนาดทางเท้าที่มีความกว้างเพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายรถเข็นได้ทุกประเภทอีกด้วย […]

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

‘บ้านหมากม่วง’ จากร้านขายมะม่วงข้างทางปากช่องสู่ Destination ของคนรักมะม่วง

“เรียนจบมาทำอะไรเหรอ กลับมาเป็นแม่ค้าข้างทางนี่นะ” คือประโยคคำถามเชิงเสียดสีที่ วราภรณ์ มงคลแพทย์ หรือแนน ถูกถามอยู่เสมอเมื่อคนแถวบ้านรู้ว่าหลังเรียนจบเธอจะกลับมาเปิดร้านขายมะม่วง แต่ความฝันของเธอมีน้ำหนักมากกว่าคำดูถูก เธอค่อยๆ เปิดร้านมะม่วงเล็กๆ ด้วยผลผลิตจากฟาร์มของคุณพ่อที่เธอมั่นใจในรสชาติและคุณภาพ เพราะคุณพ่อตั้งใจผลิตให้คนอื่นได้กินมะม่วงรสชาติดี ด้วยการวิธีดูแลเสมือนมะม่วงทุกลูกเป็นคนในครอบครัว จากร้านขายมะม่วงข้างทางในวันนั้น เธอได้ค่อยๆ เปลี่ยนมันเป็นสถานที่เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้มะม่วงของคุณพ่อ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจขายส่งมะม่วงสู่ธุรกิจค้าปลีก จนกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่า Mango Lover ประจำปากช่องที่ต้องแวะมากินสักครั้งในชีวิต ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อว่า ‘บ้านหมากม่วง’ จุดเริ่มต้นแห่งรสชาติหอมหวาน ตั้งแต่เด็กๆ แนนเห็นคุณพ่อคุณแม่ลำบากบนเส้นทางอาชีพชาวสวนมะม่วง เธอเห็นตั้งแต่ครอบครัวไม่มีอะไร ตอนเธออายุประมาณ 5 ขวบ ที่บ้านขายมะม่วงอยู่ข้างทาง หลังจากนั้นครอบครัวเล็กก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นด้วยอาชีพนี้ คุณพ่อจึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และเธอก็เริ่มคิดว่า คำว่า ‘เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง’ นี้แหละเป็นสิ่งที่เธอหลงรัก แม้ว่าคุณพ่อจะประสบความสำเร็จมากพอสมควร แต่เธอก็คิดคำนึงว่า ไม่รู้ว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างไร ต่อไปอีก 10 20 ปีข้างหน้าเราจะยังมีมะม่วงของพ่อให้กินอยู่หรือเปล่า เธอจึงตัดสินใจรักษาสวนมะม่วงของคุณพ่อด้วยวิธีของเธอเอง กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตัดสินใจไปเรียนสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร เพื่อที่จะกลับบ้านมาพัฒนาสวนของคุณพ่อต่อ “ช่วยเล่าเรื่องความผูกพันระหว่างแนนกับมะม่วงให้เราฟังหน่อย” เราย่างเท้าก้าวแรกเข้าสวนมะม่วงด้วยคำถามถึงเด็กหญิงที่โตเพราะมะม่วง และโตมากับมะม่วง “ถ้าพูดถึงความผูกพันไม่รู้จะต้องพูดยังไง แต่คงต้องเริ่มจากการบอกว่า แนนมีวันนี้ได้เพราะมีคุณพ่อ คุณแม่ […]

‘Vulcan Coalition’ สตาร์ทอัป AI ที่เปิดให้คนพิการทำงานด้วยศักยภาพ ไม่ใช่ความน่าสงสาร

ด้วยความสามารถเฉพาะตัวและความใส่ใจในการทำงานที่ไม่แพ้ใคร พวกเขาเหล่านี้จากทั่วประเทศไทยจึงมีหน้าที่เตรียมข้อมูลเรื่อง AI เพื่อสอนให้คนนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เชื่อเถอะ หลังจากอ่านบทความนี้ เราทุกคนจะตาสว่างกับประโยคคร่ำครึที่ว่า คนพิการทำอะไรไม่ค่อยได้!

Supha Bee Farm ฟาร์มผึ้งแห่งแรกๆ ของไทยจากงานอดิเรกขำๆ ของคู่สามีภรรยาในเชียงใหม่

เคยคิดกันบ้างไหมว่างานอดิเรกที่เราลองทำเล่นๆ ในวันเสาร์-อาทิตย์จะกลายเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัว เลี้ยงปากท้องของคนในชุมชน และยังช่วยกระตุ้นให้ระบบนิเวศดียิ่งขึ้น

‘CHVA’ แบรนด์ที่พลิกวัชพืชอันตรายเป็นวัสดุกันกระแทกแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากช้อปปิง Online

ชวนคุณไปจัดการกองผักตบชวาที่ลอยค้างในลำคลอง มาแปรรูปเป็นโปรดักต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทดแทนการใช้พลาสติกกันกระแทกให้น้อยลงแล้ว แถมยังสร้างความหมายให้กับชุมชนอีกด้วย

สวย ≠ ขาว SeaSun Society แบรนด์สกินแคร์สัญชาติไทยที่ขอท้าทาย Beauty Standard ในตลาดเอเชีย

คุณรู้สึกว่าตัวเองสวยไหม ถ้าไม่…แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สึกว่าตัวเองสวย Beauty Standard หรือมาตรฐานความงามที่สังคมคาดหวังไว้นั้นกลายเป็นเรื่องร้อนที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เพราะเราต่างตระหนักชัดว่า ‘รูปร่างหน้าตา’ ส่งผลอย่างมากต่อโอกาสในการใช้ชีวิต เราอาจได้เห็น Movement ที่น่าสนใจจากทางฝั่งตะวันตกที่ผลักดันให้ความงามมีความหลากหลายมากขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ชุดชั้นในชื่อดังที่เลือกนางแบบ Plus-size ขึ้นไปเดินบนเวทีใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน การเติบโตขึ้นของจำนวนโมเดลผิวสีบนหน้าปกนิตยสาร หรือแม้แต่วงการบันเทิงเอง เราก็ได้เห็นความพยายามทลายกรอบทั้งความงามและเชื้อชาติผ่านการคัดเลือกนักแสดงที่มีรูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น กลับมามองใกล้ตัวอีกนิด ในเอเชียหรือในประเทศไทยเอง สังคมของเรามีการรับรู้ที่เปลี่ยนไปอย่างไรในประเด็น Beauty Standard นี้บ้าง ลองมาฟังจาก มาดี้ รอซ (Madi Ross) และ ลักษณ์-สิริลักษณ์ กุลธรรมโยธิน สองสาวผู้ทำงานในวงการความงามมานาน จนหันมาขับเคลื่อนเรื่องมาตรฐานความงามผ่านธุรกิจ Skincare ของตัวเอง ภายใต้แบรนด์ SeaSun Society ที่ขอท้าทายความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่า สวยเท่ากับผิวขาว สวย ≠ ขาว ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน มาดี้กับลักษณ์ได้พบกันผ่านงานของทั้งคู่ มาดี้เป็นนางแบบที่เดินทางไปทำงานทั่วโลก ส่วนลักษณ์คืออดีตนางแบบที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดการให้เธอ ชีวิตของทั้งคู่จึงวนเวียนอยู่ในวงการความสวยความงามอย่างไม่ต้องสงสัย และสิ่งที่ทั้งคู่มองเห็นตรงกันจากประสบการณ์ทำงานในประเทศไทยหรือเอเชียก็คือการตั้งมาตรฐานความงามที่ไม่โอบรับความแตกต่างของผู้คน […]

FYI

เปลี่ยนการสั่งของจากจีนให้เป็นเรื่องง่ายด้วย 4 แอปพลิเคชัน และผู้ช่วยฟรีแลนซ์จาก Fastwork

ใครๆ ก็บอกว่าสินค้าจากจีนราคาถูกมาก แต่การจะได้ของถูกมากมาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษา การพูดคุย สินค้าไม่ตรงปก เป็นต้น ยิ่งถ้าคิดจะทำธุรกิจสินค้าจากประเทศจีนอย่างการซื้อมาขายต่อ เพื่อลดต้นทุนสินค้า และทำกำไรได้เพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสื่อสารกับต้นทางได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่จะไปเรียนภาษาจีนเพิ่มหรือศึกษาข้อมูลทั้งหมดด้วยตัวเอง อาจไม่ทันใจหรือยากเกินไป จะดีกว่าไหมหากมีผู้เชี่ยวชาญจาก Fastwork มาดำเนินการในส่วนนี้ให้เราแทน เพราะ Fastwork คือแหล่งรวมฟรีแลนซ์มืออาชีพ ที่มีฟรีแลนซ์เกี่ยวกับการจัดการร้านค้าออนไลน์ พร้อมให้บริการรับสั่งสินค้าจากจีนด้วยราคาที่เป็นมิตรต่อการลงทุน  หากพูดถึงบริการรับสั่งของจากจีน หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมเป็นการขายของออนไลน์แล้วละก็ คงเคยผ่านตากันมาบ้างแน่นอน เพราะปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ต่างเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งของจากจีนช่วยด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราขอหยิบเอา 4 แอปพลิเคชันดีๆ ที่คัดมาแล้วว่าหากใครต้องการสั่งของจากจีน แอปพลิเคชันเหล่านี้แหละที่จะทำให้สะดวกสบายมากที่สุดมาฝากกัน AliExpress | แอปฯ รับสั่งของจากจีนยอดนิยมของชาวไทย ‘AliExpress’ แอปพลิเคชันรับสั่งของจากประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย เนื่องจากรองรับการให้บริการด้วยภาษาไทย สินค้ามีการจำแนกประเภทอย่างชัดเจน ทั้งยังอัปเดตสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างทันท่วงที เหมาะกับการนำเข้าสินค้ามาขายต่อเป็นอย่างมาก และที่ขาดไปไม่ได้เลยคือช่วงเวลา Flash Sale ลดกระหน่ำกันทุกวัน Vcanbuy | อัปเดตสินค้าตามเทรนด์ แยกหมวดหมู่ชัดเจน ‘Vcanbuy’ อีกหนึ่งเว็บไซต์สั่งของราคาส่งจากจีนที่ใช้งานด้วยภาษาไทย พร้อมบริการติดต่อหาสายด่วนได้ตลอดเวลา ตอบโจทย์ผู้ใช้งานคนไทยที่อาจไม่ถนัดภาษาจีนเป็นอย่างดี แถมยังจัดโปรโมชันสุดพิเศษในทุกๆ […]

Corsair ธุรกิจพลิกโฉมรีไซเคิล เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเติมรถ & สารผลิตพลาสติกอีกครั้ง

ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกระแสหรือสถานการณ์ที่ไม่อาจเลี่ยงหรือเปล่า เพราะเรามักเห็นบริษัทเฉพาะทางที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงสุดยอดสตาร์ทอัปที่สร้างเทคโนโลยีดูดจับคาร์บอนลงดิน หรือบทความเกือบล่าสุดเกี่ยวกับแบรนด์เย็บซ่อมเสื้อผ้าที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังในระดับที่ทุกคนเข้าถึงได้ วันนี้ Urban Creature ขอนำเสนอเรื่องราวของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร กับ Corsair บริษัทที่พัฒนาโซลูชันธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม  พูดแบบนี้อาจจะไม่เห็นภาพใช่ไหมครับว่าเขาทำอะไร อย่างแรกที่ลงมือแล้ว คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมันชีวภาพ ซึ่งทำงานกับโรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือองค์กรใดก็ตามที่อยากขยับตัวเรื่องปัญหาพลาสติกที่ล้นโลกเหลือเกินในตอนนี้ เขายังออกบริการ Plastic Credit มารอเทรนด์ที่คาดว่าจะมาถึงในอีกไม่กี่ปีนี้ด้วย  ที่จริง Corsair ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นน้ำมันอย่างเดียว เพราะ ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา (Jussi Veikko Saloranta) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ของ Corsair ยืนยันเต็มปากเต็มคำตั้งแต่คำถามแรกเลยว่า นี่คือบริษัทที่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโลก ส่วนคำถามถัดมาที่ว่าทำได้อย่างไร แก้ปัญหาอะไรบ้าง ช่วยโลกได้จริงหรือเปล่า เราลองไปฟังจากเจ้าตัวกันดีกว่าครับ  เปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน ชาวฟินแลนด์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากว่า 15 ปี อย่างยูสซี เริ่มต้นด้วยการอธิบายบริษัทของตัวเองอย่างเรียบง่ายเหมือนที่เราพูดไปข้างต้นว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลักๆ ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ แต่สิ่งที่โฟกัสตอนนี้คือปัญหาพลาสติก “ภารกิจของเราคือการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตอนนี้เรามุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาพลาสติกเป็นหลัก พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีต้นกำเนิดมาจากน้ำมัน เราก็แค่เปลี่ยนมันกลับไปเป็นสถานะเดิมแค่นั้นเอง” ขยะของคุณคือขุมทรัพย์ของเรา คำนิยมยอดฮิตในโลกสินค้ามือสองหรือโลกแห่งการรีไซเคิล สำหรับ […]

1 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.