ประจำจังหวัด
ตำราธุรกิจฉบับประจำจังหวัด ที่มีวิธีการขายเฉพาะตัว มีวัตถุดิบไม่เหมือนใคร หรือมีเคล็ดลับอะไรที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้
ความงามเป็นของทุกคน Celine เครื่องสำอางฮาลาลที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิม
Urban Creature x UN Women คนจะงาม งามที่ใจใช่ใบหน้า ทำไมสุภาษิตไทยช่างไม่เข้าใจแล้วก็ใจร้ายใจดำกับพวกเราได้ขนาดนี้ ยิ่งในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่าเราเชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงหรือใครคนใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะดูดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น และสำหรับญาญ่า-สุไรยา แวอุเซ็ง เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางฮาลาล Celine และบรรดาสาวงามทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ถ้าได้ความสวยงามที่มาพร้อมความสบายใจ ก็คงไม่ได้ขออะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว Celine คือเครื่องสำอางที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนสามจังหวัดโดยแท้จริง อย่างแรกคือผลิตมาแบบหลักศาสนาจะได้ใช้งานกันอย่างสบายใจ อย่างที่สองคือตอบโจทย์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน และหนาวเย็นในเวลากลางคืน ทำให้เหมาะกับพื้นที่มากกว่าเครื่องสำอางยี่ห้ออื่นตามท้องตลาด “เราปิดหน้าแต่ก็ยังปัดแก้ม ทาปาก แต่งหน้าอยู่นะ” ญาญ่าเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี และบอกว่าสำหรับเธอสิ่งสำคัญที่สุดของ Celine อาจจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิมลุกขึ้นมาดูแลตัวเองมากกว่าเรื่องของธุรกิจเสียอีก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของ Celine เป็นเรื่องธรรมดา ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง Celine มีตำราธุรกิจที่เข้ากับพื้นที่อย่างมาก เพราะมีวิธีการขายแบบสามจังหวัดชายแดนใต้ แบบฉบับที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและใกล้ชิด แถมธุรกิจนี้ยังช่วยสร้างอาชีพให้กับเหล่าแม่บ้านมุสลิม และส่งออกไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอีกมากมาย มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า เครื่องสำอางก็มีมาตรฐานฮาลาลเหมือนอาหารด้วยหรือ หรือว่าทำไมผู้หญิงที่ใส่ฮิญาบต้องแต่งหน้าด้วย เราชวนมาทำความเข้าใจบริบทนี้ไปพร้อมกัน ด้วยเนื้อหาข้างล่างนี้เลย สาวงามสามจังหวัด หญิงสาวในผ้าคลุมฮิญาบเล่าให้พวกเราฟังว่า ย้อนกลับไปราว 10 ปีที่แล้ว เครื่องสำอางที่มีตราฮาลาลยังไม่มีวางขายตามท้องตลาด มีแต่สินค้าประเภทเคาน์เตอร์แบรนด์ ซึ่งไม่ทราบว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง และไม่มั่นใจว่าจะถูกต้องตามหลักศาสนาหรือเปล่า […]
Tiffany’s Show เพชรแห่งพัทยาที่อยากเอาใจลูกค้าพอๆ กับสร้างอาชีพให้ชาว LGBT+
Urban Creature x UN Women นึกถึงพัทยา คุณนึกถึงอะไร ต้นมะพร้าว ตลาดน้ำ หาดจอมเทียน หรือชีวิตกลางคืน พัทยาในความคิดของทุกคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าถามฉัน ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ และได้ยินชื่อสถานที่แห่งนี้มานาน-ฉันนึกถึง Tiffany’s Show นับตั้งแต่เปิดการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ.2517 Tiffany’s Show กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนมาเยือนพัทยาต้องนึกถึง แต่มากกว่าสาวสวย รวยความสามารถ และการแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งเป็นภาพจำของใครหลายคน ที่นี่ยังถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง มากกว่านั้นคือสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมถึงชาว LGBTQ+ ที่เดินทางจากทั่วประเทศหลายร้อยชีวิต สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือโรงละคร Tiffany’s Show, เวทีประกวด Miss Tiffany’s Universe และ Miss International Queen นั้นควบคุมงานโดย จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง และผู้บริหารหญิงที่ยกระดับให้โชว์แห่งนี้โด่งดังไกล ผลักดันให้ LGBTQ+ ไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คอลัมน์ประจำจังหวัดคราวนี้ ฉันจึงอาสาพาทุกคนมาหาลมทะเลพัทยา ก้าวเข้าไปในโถงโอ่อ่าของ Tiffany’s Show เพื่อพูดคุยกับอลิสาถึงประวัติศาสตร์ของโรงละครตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง […]
‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน
Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้ ผ้าทอสามัญประจำบ้าน พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]
‘วุ้นเป็ดธนัน’ ของฝากแห่งสมุทรสงคราม วุ้นในตำนานที่ทุกคนสงสัยว่าทำไมเป็น ‘เป็ด’?
ใครรู้จัก ‘วุ้นเป็ด’ บ้าง? คนไม่รู้จักอาจนึกภาพไม่ออกว่าหน้าตาของวุ้นเป็ดเป็นยังไง ทำมาจากเนื้อเป็ดหรือเปล่า ส่วนใครเคยกินก็ต้องร้องอ๋อ เพราะมันคือวุ้นกะทิมะพร้าวอ่อนทรงเป็ดน้อยอวบอ้วน ของฝากยอดฮิตที่หาซื้อได้ทั่วประเทศไทย แม้ว่าวุ้นเป็ดจะมีขายตามร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า ออริจินัลของขนมไทยเนื้อหอมนี้มาจาก ‘สมุทรสงคราม’ ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ต้นตำรับวุ้นเป็ดที่มีความโดดเด่นเรื่องรสชาติ ความสดใหม่ และราคาที่จับต้องได้ วุ้นเป็ดธนันจึงกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไทยที่ยืนหนึ่งเรื่องวุ้นกะทิมะพร้าวหอมมากว่า 10 ปี ทีม Urban Creature จะพาทุกคนมุ่งหน้าไปที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพูดคุยกับ ‘คุณธนภร เล็กเครือสุวรรณ’ หรือ ‘แม่จิ๋ม’ ผู้ให้กำเนิดวุ้นเป็ดธนัน จากการทำวุ้นขายเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง จนตอนนี้กลายเป็นแบรนด์วุ้นเป็ดที่ติดตลาดไปแล้ว เคล็ดลับความสำเร็จคืออะไร สไตล์การทำธุรกิจเป็นแบบไหน และทำไมวุ้นต้องเป็น ‘เป็ด’ เราจะพาทุกคนไปฟังคำตอบจากแม่จิ๋ม ณ บัดนี้! เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 8 โมงเช้า ใช้เวลาไม่นานราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง รถก็ไปจอดอยู่ที่หน้าอาคารพาณิชย์สองคูหาติดถนนสมุทรสงคราม-บางแพ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ข้างหน้าร้านมีเป็ดยักษ์ตัวหนึ่งยืนอยู่ ส่วนกระจกร้านมีโลโก้อักษรสีชมพูเขียนว่า ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ทำให้รู้ทันทีว่า เรามาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เมื่อลงจากรถ […]
กาดเกรียงไกรมาหามิตร การกลับมาของโรงงานกระเทียมดองเก่าแก่เพื่อเป็นกาดช่วยชุมชนแม่ริม
“ว่ากันว่าใครก็ตามที่มีโอกาสเคยได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกินกว่าครึ่ง ถ้าได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่อื่นจะต้องอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่เชียงใหม่อีกครั้ง” นี่คือประโยคของ ตุ้ย-เนรมิต สร้างเอี่ยม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังของไทย อดีตผู้บริหารบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการคอนโดมิเนียมแบรนด์ยูดีไลท์ โครงการบ้านบ้าน วิภาวดี 20 ที่ได้รับรางวัลโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อคุณภาพชีวิตดีเด่น ประจำปี 2562 ที่ไม่กี่ปีมานี้เขาเลือกที่จะวางตำแหน่งของเขาลง และย้ายชีวิตของเขากลับมาอยู่ที่เชียงใหม่ แถมยังเข้าซื้อกิจการโรงงานผักและผลไม้ดองเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ยอดขายกำลังซบเซา …เขาคิดอะไรของเขาอยู่ ไม่นานมานี้ตุ้ยได้ตอบข้อสงสัยนั้นด้วยการประกาศเปิดตัว ‘กาดเกรียงไกรมาหามิตร’ ตลาดของฝากที่รวมงานคราฟต์ สินค้ายะด้วยใจ๋ (ทำด้วยใจ) ของผู้คนในอำเภอแม่ริม ซึ่งตอนนี้กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่ผู้คนต้องแวะเมื่อมีโอกาสมาเที่ยวที่อำเภอแม่ริม แถมการอุดหนุนสินค้าต่างๆ ของที่นี่ยังทำให้คุณได้มีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมชุมชนต่างๆ ในอำเภอแม่ริมให้แข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย คุณเนรมิตสามารถเนรมิตโรงงานผักและผลไม้ดองที่กำลังซบเซาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งอย่างไร วันนี้ตุ้ยจะพาคุณทำความรู้จักกับตลาดแห่งนี้ทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่หน้าตลาดจนถึงท้ายตลาดที่เป็นเบื้องหลังการเกิดขึ้นของกาดเกรียงไกรมาหามิตร กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นิยาย ความตาย ความรัก เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นจากความรู้สึกอยากกลับมาอยู่ที่เชียงใหม่… “เดิมผมเป็นคนกรุงเทพฯ สมัยเป็นนักเรียนผมจะต้องนั่งรถข้ามสะพานพุทธทุกวันเพื่อไปโรงเรียน เวลาข้ามสะพานผมจะเห็นตึกต่างๆ ที่อยู่ริมน้ำ ก็เกิดความคิดกับตัวเองขึ้นมาว่าสักวันถ้าเรามีลูกแล้วได้บอกลูกว่าตึกนี้พ่อเป็นคนทำมันคงจะรู้สึกดีนะ หลังจากนั้นเลยทำให้ผมตัดสินใจที่จะเลือกเรียนด้านวิศวะ และต้องเป็นวิศวะโยธาเท่านั้น “ทีนี้ผมเคยอ่านนิยายเล่มหนึ่งเกี่ยวกับความรักนักศึกษาในรั้วมหา’ลัยที่ดังมากๆ เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขาเขียนบรรยาย มช. ไว้ได้โรแมนติกมากๆ เราไม่เคยเห็นหรอกตอนนั้น แต่จินตนาการภาพตามจากตัวหนังสือ เลยทำให้ตอนสอบเข้าผมตัดสินใจเลือกสมัครที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไว้ด้วย ซึ่งพอได้เข้าไปเรียน มช. ก็โรแมนติกจริงๆ […]
‘บุญบันดาล’ ข้าวอินทรีย์ของพ่อลูก ที่ทำให้ชาวนามหาสารคามไม่ต้องขายข้าวราคาถูกอีกต่อไป
โครงการไทยเด็ด ของ พีทีที สเตชั่น เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” จากความเชื่อในพลังของธุรกิจท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนแบบได้ โครงการไทยเด็ดจึงอยากเป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นฝ่ามรสุมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาด้วยการเชิญชวนธุรกิจท้องถิ่นทั่วประเทศไทยร่วมส่งเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ โดยทำการคัดเลือกแบรนด์ที่มีทั้งวิธีคิดที่น่าสนใจ และมีปณิธานในการทำงานกับชุมชน มาเปิดห้องเรียนไทยเด็ด Mentor เพื่อช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ดียิ่งขึ้น โดยยังคงเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ดั้งเดิมและสามารถต่อยอดแบรนด์ให้ไปได้ไกลขึ้น เราตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตะวันยังไม่ออกมาทักทาย และเดินทางจากกรุงเทพมหานครตั้งแต่เช้าตรู่เพื่อตรงดิ่งไปยังใจกลางของภาคอีสาน พอถึงช่วงบ่ายแก่ คณะของเราก็เดินทางมาถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ที่ได้รับการระบุว่าเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ ที่อดีตเคยแห้งแล้ง แต่ปัจจุบันกลับมีท้องนาที่รวงข้าวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองคอยต้อนรับฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่กำลังจะมาถึง เราเดินทางมาที่นี่เพราะมีนัดหมายกับข้าวบุญบันดาล ข้าวสารจากเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าน้อย ในเขต GI (Geographical Indications) แหล่งภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ต้องการจะรักษาระบบนิเวศของที่ดิน เป็นผลิตภัณฑ์ที่คนปลูกข้าวตั้งใจจะรักษาสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมกับชุมชน ที่มีความตั้งใจอยากชวนคนรุ่นใหม่กลับไปพัฒนาบ้านเกิด และยกระดับข้าวอินทรีย์ให้ไปสู่สากล ความมุ่งมั่นและเรื่องราวของข้าวบุญบันดาล ได้เอาชนะใจคณะกรรมการจากโครงการไทยเด็ด พีทีที สเตชั่น จนได้รับเลือกไปเข้าห้องเรียน ไทยเด็ด Mentor เพื่อพัฒนาแบรนด์ โดยรักษาจิตวิญญาณดั้งเดิมไว้ หลังผ่านการโค้ชทั้งในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง รวมทั้งต่อยอดในเรื่องของมาร์เก็ตติ้ง ทีม Urban Creature […]
‘ไร่ไม่จน’ แบรนด์ท้องถิ่นราชบุรีที่เปลี่ยนภาพจำน้ำอ้อยให้เด็ด จนดังไปไกลระดับโลก
สินค้าดีๆ ในแต่ละท้องถิ่นไทยนั้นมีอยู่มากมาย “พีทีที สเตชั่น” จึงขอสนับสนุนพื้นที่ส่วนหนึ่งภายในสถานีเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการหยิบยกสินค้าจากท้องถิ่นขึ้นสู่ระดับประเทศผ่าน “โครงการไทยเด็ด” อีกหนึ่งโครงการที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจที่ดีแก่ชุมชน เติมเต็มความสุขให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนภายใต้แนวความคิด “การเป็นศูนย์กลางที่จะร่วมเติมเต็มความสุขและเติบโตไปพร้อมกับชุมชน (Living Community)” ของพีทีที สเตชั่น ด้วยการสนับสนุน แบ่งปันพื้นที่โอกาส และสร้างรายได้ให้แบรนด์เด็ดของแต่ละจังหวัดได้นำเสนออัตลักษณ์ วัฒนธรรม และของดีประจำถิ่น ณ ทุก พีทีที สเตชั่น ทั่วไทย ใครที่เคยเดินห้างฯ แถวบ้าน น่าจะคุ้นกับตู้ปั่นน้ำอ้อยเกล็ดหิมะหรือน้ำอ้อยวุ้นที่มีขายอยู่แทบทุกบิ๊กซี โลตัส เห็นความสำเร็จแบบนี้ ใครจะรู้ว่าตู้ปั่นๆ นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความสำเร็จอีกขั้นที่น่าจะสร้างเป็นหนังได้อีกเรื่อง เพราะมันซ่อนการลุกขึ้นมาแก้ปัญหาเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การตีโจทย์ธุรกิจไร่อ้อย หรือการเรียนรู้เทคโนโลยีพาสเจอร์ไรซ์ซึ่งเป็นเรื่องใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อนของชายวัยใกล้เกษียณ หรือใครที่เคยเข้าพีทีที สเตชั่น และเห็นสินค้าของชุมชนบนชั้นวางสินค้าโครงการไทยเด็ดหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป น่าจะพอสะดุดตากับเจ้ากระป๋องสีเหลืองอมเขียวรูปทรงคล้ายกับปล้องอ้อยอยู่บ้าง รู้ไหมว่าเบื้องหลังของขวดนี้คือการพลิกชีวิตน้ำอ้อยเกล็ดหิมะที่กำลังจะถึงทางตัน ให้กลับมามีอนาคตที่สดใสอีกครั้ง สองความคุ้นนี้คือผลผลิตของ ‘ไร่ไม่จน’ ที่เริ่มต้นจากความพยายามของ คุณประกอบ เหรียญทอง ซึ่งส่งต่อมาให้ คุณปุ๋ม-ปภัสราภรณ์ เหรียญทอง ทายาทที่ตั้งใจจะพาไร่ไม่จนไปเป็นแบรนด์ระดับโลก ถ้าใครจะดูเบาว่าจะไหวเร้อ เราขอการันตีด้วยฉายาแบรนด์น้ำอ้อยพาสเจอร์ไรซ์เจ้าแรกของไทยพ่วงเจ้าของรางวัลดีไซน์แพ็กเกจจิ้งระดับโลกเลยเอ้า ยืดอายุน้ำอ้อย ยืดอายุธุรกิจ ชาวไร่อ้อยไม่ได้มีเงินรายเดือนเหมือนอาชีพอื่น จะมีก็แต่ […]
Sunne Voyage เรือนำเที่ยวมิติใหม่ในระยองชูดีไซน์ร่วมสมัยและงานคราฟต์ระดับเทพฝีมือช่างต่อเรือ
Sunne Voyage เรือท่องเที่ยวลำใหม่จากจังหวัดระยองที่ชุบชีวิตเรือประมงเก่าด้วยดีไซน์ของคนรุ่นใหม่ และฝีมือของช่างเรือประมงรุ่นเก๋าที่มิกซ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว
Vivin Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่รวมวัตถุดิบ Local มาตรฐาน Global จากทั่วไทยไว้ที่เอกมัย
VIVIN Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่อยากขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไทยคุณภาพให้คนไทยชิม และรู้ว่าของไทยก็มีดี
‘ปลาสลิดบางบ่อ แม่อำนวย’ ผู้บุกเบิกปลาสลิดบางบ่อ ของดีในคำขวัญจังหวัดสมุทรปราการ
เริ่มต้นขายราว พ.ศ. 2500 ผู้บุกเบิกปลาสลิดตากแห้ง ปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นที่ 3 การันตีความอร่อยหอมมันเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือมีโปรดักต์หลากหลายให้เลือกสรร
‘ขนมจีบวรวิทย์’ ร้านขนมจีบยุคจอมพล สฤษดิ์ ความอร่อยแห่งชลบุรีที่เยาวราชยังต้องง้อ
“เฮีย เอาขนมจีบยี่สิบบาท” “ใส่ซอสกินเลยเปล่า” “กินเลยเฮีย” เสียงทุ้มติดสำเนียงจีนดังขึ้นหน้าตึกแถวโบราณยาม 7 โมงเช้าในตลาดล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี มองเข้าไปเห็นบรรยากาศความเก่าแก่ของครอบครัวคนจีน ด้านหน้ามีตู้กระจกใสซึ่งมีขนมจีบเรียงราย เคียงด้วยซึ้งหลังใหญ่ปล่อยควันโขมง และเมื่อควันค่อยๆ จางลงตามสายลม ก็ปรากฏภาพ เก๊า-วรวิทย์ วิจิตรกุลสวัสดิ์ อากงวัย 80 เจ้าของบทสนทนาข้างต้นที่มีรอยยิ้มแต้มใบหน้าเสมอ และเป็นเจ้าของ ขนมจีบวรวิทย์ (เก๊า) ชลบุรี ร้านเก่าแก่ในตำนานอายุ 62 ปีที่อยู่คู่เมืองชลฯ มาตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “มาแล้วเหรอหนู เดินเข้าไปดูข้างในได้ไม่เป็นไร บ้านเก่าหน่อยนะ” อากงว่าหลังเราเอ่ยทักทาย ก่อนเดินนำเข้าไปในบ้านเพื่อพบกับ อาม่าไพลิน วิจิตรกุลสวัสดิ์ ที่กำลังนั่งห่อขนมจีบอย่างคล่องแคล่วอยู่กับหลานสาวอย่าง หนิง-พจนา แซ่ลิ้ม และใกล้กันนั้นมี ต้น-ปิติ วิจิตรกุลสวัสดิ์ ลูกชายคนโตกำลังเทขนมจีบร้อนๆ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งจากซึ้งใส่ถาด บรรยากาศครอบครัวอบอุ่น ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ สร้างความรู้สึกประทับใจให้เราตั้งแต่แรกเห็น พลางคิดในใจว่า คุ้มค่าแล้วที่ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อเดินทางมาเยือนร้านขนมจีบวรวิทย์แต่เช้าตรู่ จีบของตระกูล เราหย่อนตัวลงบนม้านั่งไม้โบราณ ตรงข้ามคืออาม่าที่สองมือกำลังหยิบแผ่นแป้ง หรือที่เรียกว่าเปลือกขึ้นมาตัดขอบให้ได้ขนาดพอดี […]
SHUND แบรนด์เมืองแพร่ที่เปลี่ยนภาพจำไม้สักผีสิงเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากับบ้านทุกหลัง
รางวัลของดีประจำจังหวัดและดาวเด่นประจำกูเกิล (เมื่ออยากรู้ว่าไม้สักที่ไหนปังสุด) เพราะเสิร์ชว่า ‘ไม้สักเมือง…’ หรือ ‘ไม้สักจังหวัด…’ ก็ขึ้นมาเป็นชื่อแรกๆ ได้แก่ แทม แท แด แดม แทม แถ่ม แทม แทม แท้มมมมม ‘ไม้สักเมืองแพร่’ นั่นเอง! (ปรบมือ) “มีผีไหมอะ” “หมดยุคไปแล้วเปล่า” เป็นปกติค่ะท่านผู้อ่าน มีคนรักก็ต้องมีคนชัง ถ้าย้อนไปหลายทศวรรษ ไม้สักแทบเป็นไอเท็มสร้างรายได้แก่ประเทศไทยมากที่สุด ยิ่งเป็น ‘แพร่’ จังหวัดศูนย์รวมช่างฝีมือไม้สักยิ่งไม่ต้องพูดถึง ได้ยินชื่อไม้สักต้องนึกถึงแพร่ไปโดยปริยาย แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแต่ไม้สักไม่เปลี่ยนตาม ยังคงลวดลายแกะสลักดอกไม้ ลายไทย ทาสีเข้มปรี๊ด และฝากความดึกดำบรรพ์ไว้ตามหนังผี หรือละครพีเรียด จนทำให้ไม้สักเป็นทางเลือกสุดท้ายของคนรุ่นใหม่ที่อยากซื้อเฟอร์นิเจอร์มาแต่งบ้าน ฉะนั้น! ไม่เปลี่ยนภาพจำคร่ำครึตั้งแต่วันนี้ก็ไม่รู้จะวันไหน ‘เจตน์ สุขสกล’ ทายาทรุ่นสี่ลูกหลานช่างไม้สักเมืองแพร่ประจำโรงงานไม้อายุ 50 ปี จึง Rebrand, Remindset และ Redesign ไม้สักเดิมๆ ให้เป็น ‘SHUND’ (ชุนด์) แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่แต่ละชิ้นมีชิ้นเดียวบนโลกเพราะลายไม้ไม่เหมือนกันสักชิ้น ดีไซน์ร่วมสมัยเห็นแล้วไม่กลัวผีโผล่ […]