การออกแบบที่ดีต้องดูไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ คุยกับ 3 ทีมสถาปนิกไทยที่ไปคว้ารางวัลไกลถึงญี่ปุ่น จากงาน TOSTEM Asia Design Award 2023

การออกแบบที่ดีต้องมาพร้อมกับการเลือกใช้วัสดุอย่างพิถีพิถัน ยิ่งเป็นการออกแบบบ้านและสิ่งปลูกสร้างในไทยที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ยิ่งจำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์อาคารจำพวกประตู หน้าต่าง หรือผลิตภัณฑ์นอกตัวบ้านให้ดี เพราะถือเป็นสิ่งสร้างความสมดุลระหว่างภายในและภายนอกตัวบ้าน และระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าพูดถึงแบรนด์ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ก็คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘ทอสเท็ม’ (TOSTEM) แบรนด์ชั้นนำสำหรับผลิตภัณฑ์อาคารที่อยู่อาศัยจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้าใจความต้องการของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพื่อส่งมอบ ‘โซลูชันที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์’ (Lifestyle Solutions) ให้การใช้งานมีความยืดหยุ่นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกครั้งที่ใช้งาน ด้วยการออกแบบโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ พัฒนาเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการในทุกยุคสมัย จนทำให้ TOSTEM ดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 100 ปี และเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีนี้เอง ทาง TOSTEM จึงจัดกิจกรรมการประกวด TOSTEM Asia Design Award 2023 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส่งผลงานการออกแบบของสถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการใช้สินค้าของทาง TOSTEM เข้ามาแข่งขัน งานนี้มีสถาปนิกผู้สนใจจากทั่วภูมิภาคเอเชียส่งผลงานเข้าร่วมถึง 133 ผลงาน และที่น่าดีใจไปกว่านั้นคือ มีผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวไทยสามารถสร้างชื่อเสียงคว้ารางวัลมาได้ถึง 3 ผลงานด้วยกัน จากผู้ที่ได้รับรางวัลทั้งหมด 10 รางวัล วันนี้ Urban Creature ชวนทุกคนไปพูดคุยกับ 3 เจ้าของผลงานที่ได้รับรางวัล […]

ตามไป Art Hopping กับ ‘meanlee’ นักวาดชาวไทยที่สถาบันเกอเธ่ฯ ส่งไปเสพงานศิลปะที่เบอร์ลิน

ความฝันของคนเป็นศิลปินทุกคน นอกจากจะมีพลังสร้างงานศิลปะของตัวเองออกมาได้อย่างต่อเนื่องและ Enjoy the Process อยู่เสมอ หลายคนคงปักหมุดในใจว่าอยากเสพงานศิลปะที่หลากหลาย เปิดหูเปิดตามากเท่าที่จะทำได้ และบางครั้งอาจฝันถึงการไปเยือนเมืองแห่งศิลปะสักครั้งในชีวิต ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ ก็เคยฝันแบบนั้น เธอคือศิลปิน กราฟิกดีไซเนอร์ และนักวาดภาพประกอบฟรีแลนซ์ที่ชีวิตผูกติดกับการวาดมาตลอด อาจเพราะสีสันฉูดฉาด ลายเส้นที่ดึงดูดสายตา และข้อความทางการเมืองบางอย่างที่ซ่อนไว้ในงานของมีน เธอจึงได้โอกาสจากสถาบันเกอเธ่ฯ สถาบันที่นอกจากโด่งดังเรื่องการสอนภาษาเยอรมันแล้ว ยังเป็นสะพานเชื่อมต่อให้คนไทยและศิลปินเยอรมันได้ใกล้ชิดกัน ผ่านกิจกรรมและโครงการพิเศษมากมาย กรณีของมีนก็นับเป็นหนึ่งในนั้น มีนถูกเลือกจากสถาบันเกอเธ่ฯ ที่สนับสนุนการเดินทางไปเข้าร่วมงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ที่ประเทศเยอรมนีเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งเธอออกปากว่าเป็นประสบการณ์พิเศษที่ไม่เหมือนประสบการณ์ไหนในชีวิต หญิงสาวถูกเลือกจากสถาบันเกอเธ่ฯ ได้อย่างไร และทริปเสพงานศิลปะของเธอจะเปิดโลกให้กับศิลปินคนหนึ่งได้แค่ไหน เราขอชวนมาฟังประสบการณ์ของเธอในบรรทัดต่อจากนี้ From Dreamer to Artist มีนรักการวาดภาพมาตั้งแต่จำความได้ เธอจึงมุ่งมั่นเดินทางสายนี้จนเข้าเรียนที่ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาก็ยังคลุกคลีกับงานออกแบบและลายเส้น หญิงสาวนิยามงานของเธอว่าเป็นสไตล์ Pop Art สีฉูดฉาด ใช้ลายเส้นเยอะ และเริ่มเสียดสีสังคมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ “ช่วงเราเรียนจบใหม่เป็นช่วงเลือกตั้งปี 2019 ที่การเมืองดุเดือด […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

Colors of Everyday Life in Bangkok สีสันรายวันของกรุงเทพฯ

เราชอบดูงานศิลปะมาก ไม่ว่าจะเป็นงานภาพถ่าย ภาพวาด งานจิตรกรรม หรืองานแขนงอื่นๆ แต่ในทุกครั้งจะมีองค์ประกอบหนึ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ ‘สี’ เพราะสีเป็นสิ่งหนึ่งที่ให้อารมณ์ที่หลากหลาย เช่น สนุก เศร้า ผ่อนคลาย มีความหวัง ทั้งยังสื่อสารกับความรู้สึกของผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านผมจะพกกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน โดยจะนำเสนอผ่านสไตล์ที่ผสมผสานกัน นั่นคือ Minimal, Abstract, Art และให้ ‘สี’ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจและสนุกมากขึ้น ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสีสัน ไม่ว่าเดินไปทางไหนเราจะพบเจอตึกรามบ้านช่อง พาหนะ การแต่งกายของผู้คน ที่ล้วนแล้วแต่น่าสนใจและมีความงามซ่อนอยู่ในทุกๆ ที่ จากมุมมองนี้ทำให้ผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะเจอเรื่องดีหรือไม่ดี สุขหรือเศร้า อย่างน้อยก็เป็นสีสันของชีวิต หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Bloom in My Mind ผลิบานในจินตนาการ

ผลงานภาพถ่ายเซตนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของฉันผ่านต้นเฟื่องฟ้า ช่วงชีวิตที่เติบโตและเบ่งบานตั้งแต่วัยเยาว์จนเป็นฉันในทุกวันนี้ วัยมัธยมฯ ที่ชีวิตเหมือนเติบโตอยู่ในกระถาง ผลิบานแต่หันไปทางไหนก็เหมือนกันไปหมด ช่วงมหาวิทยาลัยที่ได้เห็นความหลากหลายของผู้คน ทั้งเบ่งบาน กำลังเบ่งบาน หรือมีบ้างที่ร่วงโรยไปตามกระแสสังคม และกระทั่งช่วงเวลาที่ชีวิตมืดมน ฉันก็ยังเห็นดอกไม้บานท่ามกลางความรู้สึกเหล่านี้ จนเมื่อถึงเวลาที่ออกไปจากความมืดมนตรงนั้นและต้องเติบโตอีกครั้ง ฉันก็เชื่อว่าต่อจากนี้ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด ฉันจะเบ่งบานได้ด้วยตัวของฉันเอง ถึงแม้สุดท้ายเฟื่องฟ้านี้จะต้องร่วงโรยในสักวันหนึ่งก็ตาม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

Photo Mode บันทึกความสวยงามในเกมผ่านภาพถ่ายจากเกม

จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่ได้เพียงทำให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้นเท่านั้น แต่สื่อบันเทิงก็ได้ผลพลอยได้ตรงนี้ด้วย เราต้องยอมรับก่อนว่าทุกวันนี้วิดีโอเกมได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคนไปแล้ว ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจเล่นเกมเพราะความบันเทิง บางคนอาจเล่นเป็นอาชีพ หรือแม้กระทั่งบางคนเล่นเกมเพื่อซึมซับความสวยงามจากศิลปะในเกมเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพ แสง สี เสียง ที่ถูกจำลองออกมาได้อย่างสมจริง ราวกับว่าเราได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่หรือเหตุการณ์เหล่านั้นด้วย ผลงานชุด Photo Mode ของ ‘เก่ง-กฤษฎา ศรีพรหม’ คือการใช้โหมดถ่ายภาพจากเกม เพื่อบันทึกความสวยงามและความประทับใจจากในเกม เช่น เหตุการณ์ ภูมิทัศน์ และตัวละครสำคัญ จนออกมาเป็นภาพชุดนี้ ติดตามผลงานของ กฤษฎา ศรีพรหม ต่อได้ที่ twitter.com/Keng_console และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

#เหล็กดัดfun

#เหล็กดัดfun เป็นผลพวงของการเดินเล่นอย่างจริงจังตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ความสนุกของการเก็บภาพเหล็กดัดเหล่านี้อยู่ที่ความไม่คาดฝันว่าจะได้เจอ บางครั้งถนนเส้นเดิมที่เดินผ่านทุกวัน เพียงเงยหน้ามองตามนกที่บินตัดหน้าไปก็เจอว่าเหล็กดัดลายประหลาดอยู่ตรงนั้นมาตลอด แม้เหล็กดัดจะอยู่บนวัตถุที่กั้นขวางผู้คนออกจากกัน ประกาศอาณาบริเวณ ขีดเส้นความเป็นส่วนตัว แต่เหล็กดัดกลับเชื่อมโยงเราเข้าไว้กับความเป็นเมือง ทุกครั้งที่มีโอกาสได้เยี่ยมเยียนจังหวัดที่ไม่เคยไป สถานที่ที่ไม่รู้จัก หรือแม้ในพื้นที่ที่เขาว่ากันว่าไร้แลนด์มาร์กดึงดูดใจ จึงไม่เคยเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับเรา เพราะขอเพียงให้มีโอกาสได้เดินเล่น ก็รับรองว่ามีโอกาสพบเห็นเหล็กดัดที่ทำให้ใจเต้นรัวได้ไม่ยาก หน้าต่างบ้าน ซุ้มทางเข้าวัด รั้วมัสยิด กรอบหน้าต่างศาลเจ้า ในชุมชนคริสต์ ในชุมชนมุสลิม ประตูสถานที่ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลาด ร้านค้า ตึกแถว ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวที่ต้องการจะบอกเล่าให้เราฟังเสมอ ใครเจอเหล็กดัดลายสนุกๆ มาแบ่งกันดู ผลัดกันชมผ่าน #เหล็กดัดfun และแฮชแท็กของเพื่อนร่วมส่องเหล็กดัดอย่าง #grillsofthailand กับ #grillsoftheworld ได้เลย ติดตามผลงานของ สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล ต่อได้ที่ Instagram : ciawush และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Eye Contact สบสายตา

เมื่อการออกเดินทางเพื่อไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ จากความตั้งใจ กลับกลายเป็นความบังเอิญในการค้นพบและได้ทำความรู้จักกับสิ่งที่แปลกใหม่ ที่ทั้งพิเศษและแตกต่างออกไปจากข้อจำกัดเดิมที่มี ราวกับว่าได้สบตากับบุคคลแปลกหน้าโดยบังเอิญ และได้รับรู้เรื่องราว คำบอกเล่า และประสบการณ์ต่างๆ จากคนแปลกหน้าผู้นั้น ‘Eye Contact’ ในความหมายโดยทั่วไปคือการที่ดวงตาของบุคคลทั้งสองฝ่ายเกิดการสบตาระหว่างกันและกัน แต่สำหรับตัวเรานั้นความหมายกลับต่างออกไปโดยสิ้นเชิง การสบตาไม่ได้เป็นแค่เพียงการจ้องมองกันระหว่างสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่ดวงตาของเราได้ผสานเข้ากับบางสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดึงดูด แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต ราวกับว่าสิ่งนั้นกำลังสื่อสาร ถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ออกมา โดยไร้ซึ่งดวงตาที่ขยับเคลื่อนไหวหรือบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดได้ แต่กลับเป็นตัววัตถุที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและบรรยากาศต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นตัวเชื่อมโยง สื่อสาร และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างเช่น กระจกในพุ่มหญ้าที่สะท้อนเข้ากับแสงแดด เศษแจกันที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้น หรือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมรั้วท่ามกลางเศษไม้ใบหญ้า สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วๆ ไป แต่ถ้าหากเราลองหยุดอยู่นิ่งๆ และลองสัมผัสไปกับบรรยากาศรอบๆ เราอาจจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่กำลังพยายามสื่อสารกับเราอยู่ จนเราเองก็อดไม่ได้ที่จะจินตนาการถึงเรื่องราวและที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ ติดตามผลงานของ ณปภัช โสภณวิชาญกุล ต่อได้ที่ Instagram : hatebbroccoli และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

07:00 AM สภากาแฟและอาหารเช้า

ในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม จากการพยากรณ์อากาศพบว่ามีฝนตกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แทบทุกวัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างผมมันเป็นปัญหาไม่ใช่น้อยกับการต้องเดินทางไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการหาอาหารเช้าทาน ด้วยช่วงเวลาอันเร่งรีบบางครั้งก็ทำให้เราไม่มีตัวเลือก จนต้องจำใจกดแอปพลิเคชันสั่งอาหารผ่านร้านเดิมๆ เมนูเดิมๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่ายไปในที่สุด อนึ่งปัญหาของผมกับการสั่งอาหารเช้านั้นมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาเสาะหาเลือกร้านและเมนูอาหาร เพราะด้วยตัวเลือกที่เยอะ ทำให้ผมนั่งๆ นอนๆ ไถหน้าจอมือถืออยู่นานจนไม่สามารถตัดสินใจได้สักทีว่าจะกดสั่งอะไรดี ไหนจะปริมาณอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในตอนเช้า และปัญหาสุดท้ายที่หนักหนาสาหัสสำหรับผมก็คือ เมื่อรับอาหารจากไรเดอร์มาแล้ว ผมก็ทำได้เพียงแค่นำมันขึ้นมานั่งทานบนห้องเงียบๆ คนเดียว โดยมีรัฐสภาและการจราจรบนท้องถนนเป็นฉากนอกหน้าต่าง ทำหน้าที่เป็นวิวทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวที่ผมสามารถใช้พักสายตาได้ ผมใช้ชีวิตซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นกิจวัตร ความเบื่อหน่ายและความเหงาค่อยๆ กัดกินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็ตัดสินใจที่จะคุยกับใครสักคน ผมกดเบอร์โทรศัพท์อย่างคุ้นเคย…ปลายสายรับสาย “ฮัลโหล ว่าไงวิน… “ทำไมไม่ลองหาเวลาออกจากคอนโดฯ ไปพวกร้านกาแฟหรือร้านอาหารเช้าดูล่ะ มันก็มีนะที่ไม่ไกลจากคอนโดฯ เอ็ง” เสียงแนะนำจากปลายสายแนะนำอย่างต่อเนื่อง และกระตือรือร้นเมื่อได้ฟังรูทีนชีวิตที่แสนน่าเบื่อของผม “สมัยก่อนตอนเอ็งเรียนอยู่ประถมฯ หลังจากไปส่งที่โรงเรียนเสร็จ ป๊าก็นั่งรถเมล์สาย 56 ไปร้านหนึ่งที่อยู่ตรงแยกวิสุทธิกษัตริย์ ‘ร้านเฮี้ยะไถ่กี่’ เป็นร้านเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว สมัยก่อนตอนป๊าทำงานธนาคารแถวนั้นก็แวะไปนั่งกินประจำ เมื่อก่อนร้านนี้ถือว่าเป็นสภากาแฟเลยนะ เพราะหลายครั้งที่พวกคอลัมนิสต์มานั่งคุยกันเรื่องนู้นเรื่องนี้ และถกเถียงกันเรื่องข่าวสารหรือการเมือง “อีกร้านคือ ‘ร้านหน่ำเฮงหลี’ ตรงแยกหลานหลวง เอ็งจำได้ไหมว่าสมัยก่อนเวลาที่เอ็งเดินไปซื้อหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ร้านเขาจะอยู่แถวนั้น เอ็งเดินมานิดหนึ่งก็เจอเลย อยู่ตรงแยกพอดี ร้านนี้สังขยาอร่อยลองไปกินดู […]

ดนตรีให้อะไรมากกว่าที่คิด” คุยกับ ‘วงหน้าโรงเรียน’ ผู้ชนะเลิศแห่งเวที THE POWER BAND 2023 Season 3

เผลอแป๊บเดียว เวทีประกวดดนตรีสากลที่หลายคนรอคอยอย่าง ‘THE POWER BAND 2023 Season 3’ ก็ปิดฉากลงไปอย่างชื่นมื่น อบอวลไปด้วยบรรยากาศของเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม คราบน้ำตา มิตรภาพ และรางวัลแด่นักดนตรีช่างฝัน เวทีนี้เริ่มประกวดกันมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2566 จนได้วงดนตรีทั้งหมด 30 วง จาก 5 ภูมิภาคทั่วไทย แบ่งเป็น Class A (รุ่นมัธยมศึกษา) 15 วง และ Class B (รุ่นบุคคลทั่วไป) อีก 15 วง ที่ผ่านเข้าไปฉายแสงแสดงความเจ๋งบนเวทีให้ทุกคนได้ฟัง มาถึงวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ในที่สุดเราก็ได้รายชื่อวงดนตรีที่ชนะเลิศในรายการนี้กันไปเป็นที่เรียบร้อย โดย Class A รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ‘วงเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา’ จากกรุงเทพมหานคร และ Class B รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ‘วงหน้าโรงเรียน’ จากจังหวัดศรีสะเกษ […]

1 4 5 6 7 8 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.