DESIGN
บอกต่อเรื่องแวดวงศิลปะและศาสตร์การออกแบบ ตั้งแต่ตัวตนศิลปิน แนวคิด เทคนิค ไปจนถึงพื้นที่แสดงออก เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญและเปลี่ยนความคิดให้ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน
‘ศูนย์พักคอยตันปัน’ เปลี่ยนตึก 30 ปีเป็นที่ที่ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้วไม่เครียดกว่าเดิม
01 ปัดฝุ่นตึกเก่าอายุ 30 ปี ให้เป็นพื้นที่ช่วยคน 30 กว่าปีที่แล้ว อาคารสูง 8 ชั้น ประดับด้วยเสา และฟอร์มสไตล์โรมันตั้งเด่นอยู่ทางเข้าย่านสถานบันเทิง RCA เคยเป็นสตูดิโอถ่ายรูปแต่งงาน ที่หนุ่มสาวแถวนั้นแวะเวียนมาใช้บริการเมื่อถึงวันสำคัญ และตึกนี้ยังเป็นตึกแรกในชีวิตที่ ตัน ภาสกรนที ซื้อมาทำธุรกิจส่วนตัว “ตึกนี้ติดถนนใหญ่ ชั้นละสี่ร้อยตารางเมตร มีดาดฟ้า และ Penthouse เล็กๆ ข้างบน ผมใช้สอยพื้นที่เป็นร้านถ่ายรูปแต่งงานได้สบาย โดยกลุ่มลูกค้าเราก็คือคนที่มาเที่ยว RCA ที่วันหนึ่งแต่งงานก็จะนึกถึงเรา แต่พอเวลาผ่านไป ผมพบว่าจริงๆ ตึกนี้ไม่ใช่สไตล์ผมเลย ขัดกับตัวเองสุดๆ ก็เลยปล่อยเช่าไปยาวๆ” นักธุรกิจอย่างเขา ปล่อยเช่าให้คนอื่นทำธุรกิจแทนจนแทบไม่ได้ไปเหยียบตึกเก่าที่เคยซื้อไว้ในอดีต กระทั่งได้ยิน สรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรายการ เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตัวเลขคนตายไม่ได้มีแค่ที่โรงพยาบาล แต่ตายที่บ้านก็มี ตายข้างถนนก็มี “สถานการณ์ในประเทศหดหู่มาก ประชาชนพบปัญหาเดียวกันคือไม่มีเตียง เพื่อนผมเองก็โทรมาถามว่า คุณตันรู้จักใครไหม ช่วยหาเตียงหน่อย ซึ่งเราก็หาให้เขาไม่ได้ ผมก็คิดว่า ถ้าเป็นผมที่ติด จะไปหาเตียงที่ไหน […]
อ่างแก้วใหม่ในสายตา ‘เบิ้ล นนทวัฒน์’ สถานที่เยียวยาจิตใจในประเทศที่มีแต่เรื่องหัวค*ย
‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ คือผู้กำกับสารคดีชาวไทยที่มีโอกาสได้เทียวไปเทียวมาจากกรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่อยู่หลายหน ด้วยโปรเจกต์งานสารคดีเรื่อง ‘ดินไร้แดน’ ‘ดอยบอย’ และอื่นๆ ที่ทำให้เขาต้องเดินทางมาทำงานที่นี่บ่อยๆ นอกจากลงพื้นที่ทำหนัง เวลาที่เบิ้ลต้องใช้ความคิดหรือเขียนบทเกี่ยวเนื่องกับโปรเจกต์ หรือในบางครั้งที่เขาอยากมาพักใจเฉยๆ เชียงใหม่กลายเป็นปลายทางหนึ่งที่เบิ้ลมาเยี่ยมเยียนแทบตลอดมา และช่วงที่เขาอยากพักผ่อนจากงานตรงหน้า ‘อ่างแก้ว’ คือหนึ่งใน Public Space ปรับปรุงใหม่ที่เขามีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยียน ในฐานะผู้กำกับหนังและช่างถ่ายภาพ เขาจึงใช้กล้องที่พกติดตัวไปทุกที่ บันทึกภาพสิ่งที่เขาเห็นแล้วชอบกลับมาให้เพื่อนๆ ได้ดู แน่นอน เราแอบขอภาพเขาบางส่วนมาแบ่งปันทุกคนด้วย
Space Shift คอนกรีตยักษ์เป็นบ้านพัก Sci-fi ของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ปี 54
Space Shift ผลงานภาพถ่ายของ มิติ เรืองกฤตยา นำเสนอสถานที่ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นบ้านพักชั่วคราวสำหรับประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในละแวกชานเมืองของกรุงเทพมหานคร เมื่อปี 2554
ตั๊ก ฉันทนา กับการทำหนังแบบเลิกพรีเซนต์ว่าคนอีสานโง่ แต่ม่วน & จ้วดคักๆ สั่นดอกเด้อ
ตั๊ก ฉันทนา กับการทำหนังแบบเลิกพรีเซนต์ว่าคนอีสานโง่ แต่ม่วน & จ้วดคักๆ สั่นดอกเด้อ
ฉันยังจำได้ – Remember ชุดภาพถ่ายที่เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’
ภาพถ่ายชุด ‘ฉันยังจำได้’ เกิดขึ้นจากการสูญเสีย ‘อาม่า’ บุคคลอันเป็นที่รักมากในชีวิต ผมจึงหยิบเอาความรักและความผูกพันของผมกับอาม่า ห้องครัว เพื่อนำมาถ่ายทอดความรู้สึกและความทรงจำผ่านเกี่ยวกับเรื่องราวในสถานที่ต่างๆ ที่ตัวเองและอาม่าได้เคยใช้เวลาร่วมกันมา ซึ่งแม้เวลาจะผ่านไปนานมากแค่ไหนก็ตาม พื้นที่ในอดีตเหล่านี้ ก็ยังคงมีความทรงจำที่แสนอบอุ่นใจ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกและรำลึกอยู่เสมอว่า ‘อาม่ายังไม่ได้จากไปไหน’
Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง
การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]
Mob T-shirts อุดมการณ์และตัวตนบนเสื้อผ้า
เมื่อต้นปี 2563 การชุมนุมในไทยได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวของผู้ไม่ยอมจำนน คนที่ไม่ยอมถูกกดขี่เริ่มออกมาส่งเสียงเรียกร้อง ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ตะโกนจากปาก ปรากฏการณ์บีบแตรรถยนต์ยาวนับหลายกิโลเมตร แฮชแท็กในโลกออนไลน์ การชูป้ายข้อความ หรือแม้กระทั่งสิ่งที่อยู่แนบชิดติดตัวที่สุด นั่นก็คือเสื้อผ้า
The Drowned Dreams ไฟฝันของชาวลาวที่ดับหายด้วยสายน้ำเหนือเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยให้ไทยได้ไฟสว่าง
The Drowned Dreams ภาพถ่ายชุดนี้คือความพยายามในการบันทึกความฝันของผู้คนในประเทศที่ต้องแลกไปกับความฝันของรัฐบาล
Once Upon a Book ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ที่ให้ใครก็ได้มาปล่อยเช่า
กาลครั้งหนึ่ง ‘ร้านเช่าหนังสือ’ เคยเป็นแลนด์มาร์กที่ทำให้บางคนพบหนังสือเล่มโปรดราวกับว่าเป็นพรหมลิขิต และเป็นสถานที่อัปเดตนิยายแจ่มใส มังงะโชโจ ค้นหนังสือคลาสสิกจนมือเปื้อนหมึก คุยกับเฮียเจ้าของร้านจนได้ส่วนลด หรือเป็นแหล่งนัดเจอชาวแก๊งหลังเลิกเรียนยอดฮิต…พูดแล้วก็คิดถึง จากที่เคยเป็นพื้นที่เบาใจของนักอ่านหนังสือ เผลอแป๊บเดียวช่วงหลายปีมานี้ ราคาหนังสือสูงขึ้นสวนทางกับค่าครองชีพที่ต่ำ ร้านเช่าหนังสือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยกระชับช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และทำให้ผู้คนเข้าถึงความรู้ที่หลากหลาย กระตุ้นให้คนเข้าถึงหนังสือได้โดยไม่ต้องจ่ายราคาเต็ม ต้องปิดตัวลงเพราะเศรษฐกิจประเทศซบเซา วันที่ไม่สามารถบอกเพื่อนได้ปุ๊บปั๊บว่า “มึง วันนี้ไปยืมหนังสือร้าน…กัน” และแทบหาร้านเช่าหนังสือใกล้บ้านได้ยาก ‘Once Upon a Book’ ธีสิสร้านเช่าหนังสือออนไลน์ของ ไข่มุก-แพรวา สุจริตกุล แพรว-พลอยไพลิน เมืองสิทธิ์ และ มายด์-รัชนนท์ สามารถ บัณฑิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม เอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะเป็นพื้นที่ทวงคืนเรื่องเล่ากาลครั้งหนึ่งในหนังสือให้กลับมาโลดแล่นในใจนักอ่านอีกครั้งด้วยราคาที่เอื้อมถึง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน คุณสามารถเลือกเช่าหนังสือได้บนเว็บไซต์ และไม่ว่าคุณจะเป็นนักสะสมหนังสือตัวยงที่ชั้นเก็บหนังสือเต็มแล้ว ร้านเช่าหนังสือออนไลน์แห่งนี้มีบริการให้คุณ และใครก็ได้มาปล่อยเช่า 01 หนอนหนังสือที่โตมากับร้านเช่าหนังสือ ไข่มุก แพรว มายด์ เป็นยอดนักอ่านที่ทุกงานเทศกาลหนังสือจะเจอพวกเธอขนหนังสือกลับบ้านอย่างต่ำ 10 เล่ม อย่างมาก 80 เล่ม จนแทบจะต้องใช้กระเป๋าลากมาช่วยขน ‘ไข่มุก’ ชอบอ่านหนังสือเชิงปรัชญา หรืออะไรก็ได้ที่ภาษาสละสลวย […]
Bangkok Lockdown, August 2021
“คิดถึงกันมั้ย” ถ้ากรุงเทพฯ พูดได้ ในนาทีที่ทั้งเมืองทั้งคนถูกล็อกดาวน์อย่างไม่รู้จุดสิ้นสุด คงถามเราประมาณนี้ ส่วนเรา ก็อยากบอกกรุงเทพฯ เหมือนกันว่า “คิดถึงนะ” ในขณะที่ทุกคนกำลังคร่ำเคร่งหาทางออกจากวังวนวิกฤต สถานที่ในความทรงจำคนหลากช่วงวัยกำลังเข้าสู่จุดสงบนิ่งหรือกำลังถูกพิษเศรษฐกิจค่อยๆ กลืนหายไป Urban Creature จึงอยากพาคนกรุงไปทบทวนความทรงจำ ยังสถานที่ที่เป็นจุดเชื่อมต่อความรู้สึกใครหลายๆ คน ว่าตอนนี้มันเป็นยังไงบ้าง จากสถานที่สร้างประสบการณ์บางอย่างของเรา กลับเหลือเพียงเศษฝุ่นเกรอะ การรื้อถอนทิ้งร้าง ความเงียบงัน ภาพเหล่านี้ทำให้ความทรงจำที่มีอยู่ในที่นั้นเลือนลางลงบ้างมั้ย
The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก
ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้ มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]
thecayennepeppers | อินสตาแกรมรวมภาพถ่ายจากกล้องฟิล์มตัวจิ๋วจากมุมมองของนางแบบไทย
นางแบบชาวไทยคนหนึ่งที่ใช้พื้นที่นำเสนอตัวตนของเธอผ่านภาพถ่ายด้วยกล้องฟิล์มคอมแพกต์ตัวจิ๋ว