‘อัครา นักทำนา’ ช่างภาพที่ทำนิตยสารจนโตมาเป็น CTypeMag Gallery ให้ทุกคนมีพื้นที่แขวนรูป

ช่างภาพสตรีทที่หันมาจับนิตยสารออนไลน์อย่าง CTypeMag ตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเขากระโดดจากออนไลน์มาทำแกลเลอรีเล็กๆ ชื่อ CTypeMag Gallery ในซอยภูมิจิตร ย่านพระโขนง

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

‘หาตึกทุบยากเป็นเพราะ COVID-19 เพราะฉะนั้นขอทุบ COVID-19 แทนละกัน’

โฆษณามาดกวนที่พร้อมมอบรอยยิ้มให้แก่ผู้พบเห็นในคอลัมน์ Ad on Street คราวนี้ ถูกส่งเข้าประกวดจากป้ายโฆษณาของเฮียศักดา เจ้าของกิจการทุบตึกเจ้าดังของประเทศ ที่ออกมาประกาศว่าจะไม่ทนอีกต่อไป และขอประกาศเป็นศัตรูกับเจ้าไวรัสตัวร้าย เฮียเล่นคำว่า ‘ทุบ’ คำง่ายๆ แต่ความหมายสุดลึกล้ำ ที่คนอ่านแปลความได้ว่านอกจากจะมาทุบโควิดแล้ว เขายังรับทุบตึกด้วยนะ ผ่านการสอดแทรกการขายอย่างไม่เนียนในระหว่างบรรทัด ได้อย่างลงตัว ถือว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่สอบผ่าน เพราะอิงกับสถานการณ์ที่ผู้คนสนใจ และยังทำให้ผู้อ่านรู้ว่าเฮียแกขายอะไรได้อย่างลงตัวในป้ายเดียว Ad on Street ชิ้นนี้ทำให้เราเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์มีอยู่บนทุกตารางนิ้วของท้องถนน และใครจะไปคิดว่าป้ายโฆษณาทีเล่นทีจริงนี้ อาจจะกลายเป็นหมุดหมายบอกช่วงเวลาความยากลำบากทางประวัติศาสตร์ของเราได้ในอนาคต จนเราอยากอุทานออกมาว่า แหม่! ทำไปได้

8 ลิสต์หนัง เพลง การแสดงสด ผลงานคนไทยที่ เอม ภูมิภัทร แนะนำ

ใครที่ดูแนนโน๊ะแล้วอินสุดๆ โดยเฉพาะ EP.5 กับบทบาทพี่ว้ากเถลิงอำนาจอย่าง ‘เค’ ที่แสดงโดย ‘เอม ภูมิภัทร’ ผู้สร้างความประทับใจด้านการแสดงที่คนดูต่างยกนิ้วให้ว่าเล่นโคตรถึง!  Urban Creature ขอประเดิมตัวแรกในคอลัมน์ Add to My List กับ ‘เอม ภูมิภัทร’ ที่เราอาสาพาทุกคนไปรู้จักความชอบ ความสนใจ ที่สะท้อนความคิดความอ่านของเขา ผ่านภาพยนตร์ สารคดี เพลง หนังสือ และการแสดงสดทั้งหมด 8 เรื่อง ที่เจ้าตัวจัดลิสต์มาให้ พร้อมเอ่ยปากว่าหลังจากอ่านบทสัมภาษณ์ของเขาจบ เราสามารถกดอุดหนุนผลงานฝีมือคนไทยผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย 01 Flu-Fool / B-Floor (การแสดงสด) “เรื่อง Flu-Fool จากคณะ B-Floor เป็นเรื่องที่ผมอยากให้ทุกคนได้ดู เนื้อหาของมันลากยาวมาตั้งแต่การก่อตั้งเสาหลักเมือง มาจนถึงการต่อสู้ครั้งล่าสุดของคณะราษฎร ซึ่งหลังดูเสร็จผมรู้สึกว่าทุกอย่างมันถูกอัดเข้าไปในร่างกายของเราพร้อมๆ กัน  “ผมประทับใจการเล่นกับ Daily Life Object ของ B-Floor มาเสมอ ตั้งแต่ไม้ไผ่ท่อนเดียว ม้วนกระดาษ […]

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

“เสียงของคุณมีความหมาย” 5 อีเวนต์ลงชื่อขับเคลื่อนสังคม

คุณเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยวิธีไหน? บางคนไปชุมนุมเพื่อแสดงพลัง บางคนใช้สมาร์ตโฟนในมือเป็นช่องทางแชร์ข้อมูลข่าวสาร บางคนใช้เสียงของตัวเองโพสต์ถึงปัญหาบ้านเมืองให้คนได้คิดตาม และบางคนใช้ศิลปะหรือเนื้อเพลงขับเคลื่อนสังคม สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าคุณมี ‘สิทธิ์’ อยู่ในมือ โปรดจงเชื่อมั่นในเสียงของตัวเอง  Urban Creature ขอเป็นหนึ่งเสียงแสดงจุดยืนอยู่ข้างประชาธิปไตย จึงอยากแนะนำหนึ่งวิธีแสดงพลังที่เห็นเป็นรูปธรรม นั่นคือการ ‘ลงชื่อ’ คัดค้าน เรียกร้อง และเสนอร่างเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเราเชื่ออย่างเต็มหัวใจว่าลายเซ็นของทุกคนเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นที่อยากเห็นคนในประเทศไทยทุกคนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพราะอนาคตที่ดี ใครๆ ก็อยากมี และคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรมี 01 #NoCPTPP #คัดค้านCPTPP CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership คือความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก  แม้ข้อดีของ CPTPP จะเพิ่มโอกาสการส่งออกของไทยไปยังประเทศที่ไม่เคยมีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย เช่น แคนาดา และเม็กซิโก ดึงดูดการลงทุนจากประเทศสมาชิก CPTPP และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียที่ตามมา Greenpeace ประเทศไทย ได้สรุปผลกระทบหากประเทศไทยเข้าร่วมภาคี CPTPP ไว้ว่า ถือเป็นการยอมรับอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV […]

ภารกิจ Zero Waste เริ่มต้นได้ที่บ้าน

ท่ามกลางชีวิตของเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยผู้คน รถยนต์ และความวุ่นวายในแต่ละวัน ความเรียบง่ายจึงกลายมาเป็นกุญแจสำคัญในการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นแนวคิด Minimalism ที่ผู้คนโหยหาความสงบและความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ด้วยการตัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออก เมื่อเรามีสิ่งของน้อยชิ้นลง ก็จะเกิดความปลอดโปร่งและเป็นระเบียบทั้งภายในบ้านและภายในจิตใจ แต่ปัจจุบันสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องการเติมเต็มความสุขของตัวเอง แต่ยังรวมถึงการหันกลับมาใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นความรับผิดชอบของมนุษย์ทุกคน คงจะดีหากเราสามารถผสานวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเข้ากับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อคืนประโยชน์ให้โลกใบนี้ได้ในเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้เราต่างประสบกับภัยพิบัติต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ที่ทำร้ายโลกอย่างไม่เคยคิดถึงผลของการกระทำ ท่ามกลางภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ผู้คนจำนวนมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่เรียกว่าโลก ในฐานะการเป็นบ้านของสรรพชีวิต แนวคิดการอยู่อาศัยที่เรียกว่า Eco-living จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในยุคปัจจุบัน แต่การจะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ยิ่งใหญ่เกินตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นได้จากสิ่งเล็กๆ ที่แทรกซึมอยู่ในการใช้ชีวิตของเรา สิ่งที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนั้น ประกอบไปด้วยคำว่า ‘Profit’ ‘Planet’ และ ‘People’ สามองค์ประกอบที่จะทำให้ชีวิตที่มีความสุขทั้งกับตัวเราเอง และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างลงตัว จุดเริ่มต้นแห่งความสมดุลแรกคือ ‘Profit’ หรือกำไร ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงกำไรทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงกำไรชีวิตจากการอยู่อาศัยได้ด้วยเช่นกัน หากจะให้พูดถึงบ้าน Como Bianca จากอารียา พรอพเพอร์ตี้ คงต้องยกให้ความสะดวกสบายด้วยทำเลโครงการที่อยู่ติด Mega Bangna และการออกแบบที่เรียบง่ายแต่มีดีไซน์ในสไตล์มินิมอล ภายนอกของตัวบ้านออกแบบมาอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด […]

ไม่ใช่เลขมงคล แต่น่าสนใจ ’11 ตัวเลข’ บอกความเป็นไปของไทย

Urban Report ชวนไปเช็กสถานะประเทศไทย ผ่านสถิติ และชุดตัวเลข ที่ทำหน้าที่เหมือนเข็มทิศคอยบอกว่าเราจะเดินหน้าต่อไปทางไหน และประเทศไทยเป็นไงบ้าง ?

โควิด-19 สาเหตุที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของไทยลดลง?

ในปี 2563 ไทยปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อยู่ที่ 224.3 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 10.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้นตามนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล รวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19

EAT

พาไปรู้จัก ‘การัมมาซาล่า’ เครื่องปรุงสำคัญเบื้องหลังอาหารอินเดียย่านพาหุรัด | Hunt EP.2

นึกถึงอาหารอินเดีย คุณนึกถึงอะไร รสเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ สีสันบนจานอาหาร หรือกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ ที่พูดมาล้วนถูกต้อง ทว่าพระเอกที่เรานึกถึงเหล่านี้มีพระรองที่คอยส่งกลิ่นส่งรสให้เราจำได้อยู่เบื้องหลัง นั่นคือ ‘การัมมาซาล่า’ เครื่องปรุงที่เกิดจากการรวมกันของเครื่องเทศ เพื่อให้รสชาติแต่ละจานโดดเด่นออกมาตามใจเชฟ Hunt ในตอนนี้จะชวนทุกคนไปตามล่า ‘การัมมาซาล่า’ ณ ย่านพาหุรัด ย่านที่ได้รับการกล่าวขานเป็น Little India หากอาหารคือเครื่องมือแสดงวัฒนธรรมได้ชัดที่สุด การัมมาซาล่าก็จะทำให้ทุกคนรู้จัก ‘รสอินเดีย’ มากขึ้นกว่าเดิม

Move to a New Journey ผจญภัย 4 ย่าน เติมไฟชีวิตให้พุ่งถึงจุดหมาย

เปิดบทเรียนหน้าใหม่ให้ชีวิต โดยการพาตัวเองออกไปผจญภัยสิ่งที่ไม่เคยสัมผัส ผ่านการเที่ยว 4 ย่านในกรุงเทพฯ ทำให้เราได้ค้นพบว่าทุกย่านที่ไปมา มีความพิเศษที่ซ่อนอยู่

ย้อนดูวิวัฒนาการ 139 ปี ‘ศาลยุติธรรม’ ส่อง ‘ดัชนีนิติรัฐ’ ไทยอยู่อันดับเท่าไรของโลก

การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกฎที่ทุกคนใช้ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง แต่กว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายที่มีมากมายหลายมาตราอย่างทุกวันนี้ เราจะพาไปย้อนดูประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ไล่เรียงมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการให้ทันกับยุคสมัยและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม จนกระทั่งกลายมาเป็นศาลยุติธรรมซึ่งครบรอบ 139 ปี ‘วันก่อตั้งศาลยุติธรรม’ ในวันที่ 21 เมษายนนี้เอง เราขอย้อนจอภาพสีซีเปียกลับไปในสมัยกรุงสุโขทัย เชื่อว่าหลายคนคงจินตนาการภาพไม่ออกว่า ในยุคที่ศาลยุติธรรมยังไม่เกิด แน่นอนยังไม่มีใครรู้จักคำว่าผู้พิพากษา ดังนั้นใครกันจะเป็นผู้ตัดสินคดีความ หากจำได้ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ยุคนั้นกษัตริย์เป็นผู้ทรงพระราชอำนาจชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎร โดยยึดหลัก ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ ของอินเดียอันเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมที่นับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธ  ในยุคนั้นไทยเราเป็นเมืองพุทธ การใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์จึงอยู่ภายใต้หลักธรรมของการปกครองแบบพุทธศาสนา กฎหมายมีลักษณะเป็นจารีตประเพณี มีความคาบเกี่ยวกับศาสนา จึงไม่เน้นการลงโทษที่รุนแรงแต่จะเน้นการสั่งสอนให้กลับตัวเป็นคนดีดำรงตนอยู่ในศีลในธรรม ต่อมาในสมัยอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ยุคนั้นพราหมณ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งมีความขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ ตามมาด้วยแนวคิดว่ากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ในระบบกฎหมายเองก็มีการปรับปรุงให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการออกกฎเกณฑ์เพิ่มเติม เรียกว่า ‘ราชศาสตร์’ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่า ‘พระราชกำหนดบทพระอัยการ’ หรือ ‘พระราชกำหนดกฎหมาย’  ถึงอย่างนั้นกษัตริย์ก็ยังต้องออกกฎหมายที่สอดคล้องกับ ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ โดยมีหลัก ‘จตุรธรรม’ 4 ข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมะหรือศีลธรรม จุดมุ่งหมายของกฎหมายคือประโยชน์ของประชาชน และกษัตริย์ต้องใช้อำนาจทางกฎหมายบนพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม นอกจากนี้ หากใครได้ดูละครไทยรีเมกเรื่อง ‘วันทอง’ […]

1 2 3 4 5 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.