Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

จาก ‘เด็กหญิงดอกไม้’ ถึง ‘มาลัยพวงสุดท้าย’ การเดินทางของศิลปิน Behind The Smile

สวัสดีมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์แกะเพลง วันนี้เป็นคิวของศิลปินจากหาดทรายรี จังหวัดชุมพร หากเอ่ยชื่อออกไปหลายคนคงคุ้นหูในบทเพลงของเขา และมีอีกมากที่อาจยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก่อนจะเอ่ยนาม เราขอหมุนเวลาย้อนไปเล่าเรื่องของเขาให้ฟังสักนิดพอให้ได้ทำความรู้จักกันสักหน่อย ตั้งแต่ช่วงประถมฯ จุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรีของเขามาจากพี่ชายสองคน คนหนึ่งเป็นแนวเพื่อชีวิต ส่วนอีกคนเป็นสายเฮฟวี น้องคนสุดท้องอย่างเขาจึงมีกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ได้ลองหัดและมีบทเพลงมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาให้ได้ฟัง ต่อมาอาจารย์ที่สอนอยู่โรงเรียนแถวบ้านได้มองเห็นแววดนตรีของเขา จึงเปิดประตูสู่เส้นทางดนตรีให้ชายหนุ่ม หาเพลงแปลกใหม่ให้ฟัง พาไปดูเวทีประกวด แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตศิลปิน และชวนไปเรียนต่อในระดับมัธยมฯ ทำให้เขาได้กลายเป็นนักดนตรีประจำวงดุริยางค์และวงสตริงของโรงเรียนในตำแหน่ง ‘มือกลอง’ “บ้านอยู่หัวกรู๊ดด ชอบฟังยูสสเอฟเอ็ม ชอบฟังดีเจจุ๊บบแจง เก้าสิบสองจู๊ดดเจ็ดห้า ที่ยูสสเอฟเอ็ม” สิ้นสุดช่วงวัยเรียน ดนตรีทำให้เขาได้ทำสิ่งที่ชอบ ได้รับรางวัล และยังทำให้ได้งานที่คลื่นวิทยุแห่งหนึ่งในตัวเมืองหัวหิน ซึ่งจิงเกิลคือหนึ่งในผลงานที่ทำให้รายการวิทยุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเพลงของเขา เขาทำงานที่คลื่นวิทยุเป็นเวลา 10 ปี บางครั้งที่ดีเจไม่ว่างก็ต้องรับหน้าที่แทน ทำให้มีโอกาสสัมภาษณ์ศิลปินชื่อดังในยุคนั้น เขาเริ่มได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้น ได้ใช้ไมค์ ได้ทำสปอตโฆษณา คุ้นเคยกับการอ่านข้อมูลหลายๆ หน้าและย่อความให้เหลือเป็นสคริปต์พูด 30 วินาที ฯลฯ ในเวลาเดียวกันนั้นเขาเริ่มเล่นดนตรีกลางคืน จากมือกลองวงโรงเรียนก้าวไปเล่นดนตรีหลายแนวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อก เร็กเก้ สการ์ โซล ฟังกี้ แจ๊ส ฯลฯ และการเดินทางของเวลาก็นำพามาให้พบกับเหล่ามิตรสหายนักเรียนดนตรีจากกรุงเทพฯ […]

I Feel ‘Them’ Linger in the Air มองความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยผ่านละคร ‘หอมกลิ่นความรัก’

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของละคร ลองตั้งใจดม…นอกจากกลิ่นของความรักแล้ว…คุณรู้สึกถึงกลิ่นอื่นอีกไหม ลองตั้งใจมอง…นอกจากภาพสวยงามของคนรักกัน…คุณเห็นภาพความเหลื่อมล้ำอันแสนเจ็บปวดไหม ลองตั้งใจฟัง…นอกจากเสียงของคำรักพร่ำพลอด…คุณได้ยินเสียงกรีดร้องจากความเจ็บช้ำของผู้ถูกกดขี่หรือไม่ ลองตั้งใจละเลียด…นอกจากรสหวานล้ำของน้ำผึ้งพระจันทร์…คุณสัมผัสได้ถึงรสชาติขมขื่นซับซ้อนที่ถูกแทรกซอนเพิ่มเติมเข้ามาอย่างแนบเนียนบ้างหรือเปล่า แม้เส้นเรื่องหลักจะให้น้ำหนักกับความรักโรแมนติกของสองพระเอกอย่าง ‘พ่อจอม’ (ชานน สันตินธรกุล) และ ‘คุณใหญ่’ แห่งเรือนพลาธิป (รพีพงศ์ ทับสุวรรณ) สมกับชื่อเรื่อง ‘หอมกลิ่นความรัก’ หากแต่เส้นทางชีวิตของตัวละครสมทบที่รายล้อมนั้นก็มีสีสันจัดจ้านและรสชาติเข้มข้นจนไม่อาจมองข้าม เรื่องราวอันแสนตราตรึงนี้กำลังขยายตีแผ่สถานะและความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ จนพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่เพียง I Feel ‘You’ Linger in the Air เท่านั้น บทโทรทัศน์ถูกรีเสิร์ชมาโดยถ้วนถี่เพื่อเพิ่มเติมเส้นเรื่องตัวรองขึ้นมาอย่างละเมียดละไม จนสามารถขยายขอบเขตของนิยาย Boy’s Love ไปสู่ประเด็นสังคมที่กว้างขวางกว่าเดิมในระดับ I Feel ‘Them’ Linger in the Air ‘They/Them’ หมายความถึงใครบ้าง…หลังจากห้วงกาลของคุณใหญ่เคลื่อนผ่านไปร่วมร้อยปี สรรพนามบุรุษที่ 3 ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนี้มิได้หมายถึงแค่ ‘พวกเขา’ เหล่าชายหญิงทั้งหลายอีกแล้ว แต่หมายรวมเพศหลากหลายที่ปฏิเสธจะยึดมั่นการถูกจำแนกให้มีสิทธิ์เป็นได้เพียง ‘He/Him’ หรือ ‘She/Her’ ตามกรอบจำกัดของเพศกำเนิด สรรพนาม They/Them นี้อาจสามารถอ้างอิงถึง ‘นายเหนียว […]

‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ กับอาชีพช่างแกะสลักไม้ที่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา

ในช่วงเวลาที่โลกพัฒนาและหมุนไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเครื่องจักรเข้ามาทดแทนงานฝีมือของมนุษย์ งานแกะสลักไม้เริ่มค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา ‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ ช่างแกะสลักไม้จากร้าน ‘บ้านอินคำ’ คือหนึ่งในผู้หลงเหลืออยู่ในแวดวงอาชีพนี้ “สมัยก่อนงานแกะสลักรุ่งเรืองมาก งานเยอะ ทำแทบไม่ทัน ต้องทำโอทีทุกคืน ช่างแกะรุ่นใหม่ก็เข้ามาฝึก แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผมแทบจะเป็นช่างแกะสลักรุ่นเด็กที่เหลืออยู่” รายการ The Professional พาไปรู้จักกับอาชีพช่างแกะสลักไม้ และความหวังที่จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาอนุรักษ์ศาสตร์นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

The Fig Lobby โรงแรมสีสดใสย่านคลองเตยที่อยากเป็น ‘สนามผู้ใหญ่เล่น’ ที่สนุกและผ่อนคลายแบบไร้กรอบ

ตามประสาคนเสพติดการ Workation เป็นชีวิตจิตใจ ฉันเลิฟการสกรอล์หน้าจอเพื่อเสาะหาที่พักใหม่ๆ ที่ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้กระชุ่มกระชวยเป็นที่สุด วันหนึ่ง ภาพของ ‘The Fig Lobby’ โรงแรมใหม่ย่านคลองเตยก็โผล่ขึ้นมาบนฟีด สีสันของตึกอาคารที่สนุกสดใสดึงความสนใจของฉันได้ตั้งแต่แวบแรก รู้ตัวอีกที ฉันก็มายืนหน้าล็อบบี้ของ The Fig Lobby ถือ Welcome Ice Cream ของโรงแรมอยู่ในมือ และพร้อมที่จะเดินสำรวจที่พัก+ที่ทำงาน (ชั่วคราว) แห่งใหม่อย่างระริกระรี้ สิ่งที่ได้จากการสำรวจอาจเล่าย่อๆ ได้ดังนี้ : ที่นี่มีห้องพัก 68 ห้องรองรับแขก มีร้านอาหารและคาเฟ่ที่นั่งทำงานเพลินสุดๆ นอกจากนี้ยังมีสปาธีมอินเดียฟีลดี ห้องปั้นเซรามิกสุดอบอุ่น สตูดิโอทำงานศิลปะ บาร์และร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันอยู่บนชั้นดาดฟ้า และมีห้องปั่นจักรยานประกอบของ Native คอยให้บริการสายสุขภาพ ที่ต้องมีเยอะขนาดนี้เพราะ ‘พลอย-ชาลิสา เตียนโพธิทอง’ ผู้ก่อตั้ง The Fig Lobby ผู้อาสาพาฉันทัวร์ในวันนี้บอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่โรงแรม แต่เธอหวังอยากให้เป็นพื้นที่ที่ผู้ใหญ่วัยมันได้มาใช้ชีวิตกันเต็มที่ ภายใต้ไวบ์สขี้เล่นๆ ที่พร้อมอ้าแขนกว้างต้อนรับทุกคนอย่างเต็มกอด Magic Lobby สำหรับพลอย การมีโรงแรมเป็นของตัวเองคือความฝัน “พลอยชอบโรงแรมตั้งแต่เด็ก […]

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

เปิดรูต One Day Trip ตามรอย Troye Sivan แวะเที่ยว 4 ย่านจากเอ็มวีเพลง Got Me Started

นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในช่วงวันพักผ่อนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำโปรดักชันจากต่างประเทศด้วย ล่าสุดนี้ศิลปินเควียร์ชาวออสเตรเลีย ‘Troye Sivan’ ก็พาเราไปสำรวจมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านเพลง ‘Got Me Started’ ที่เจ้าตัวแอบบอกใบ้ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ใครที่ได้ดู MV เพลงนี้แล้วคงเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ถ่ายทำอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไรนัก บางโลเคชันอย่างสะพานช่องนนทรีหรือถนนเยาวราชก็เป็นสถานที่ที่เห็นผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพที่เพลงนี้นำเสนอออกมาต่างหากที่ทำให้เราค้นพบความสวยงามที่อาจนึกไม่ถึงในเมืองนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเองและความหลากหลายที่กรุงเทพฯ โอบรับผู้คนทุกเพศทุกวัย วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ คอลัมน์ Urban Guide ถือโอกาสพาทุกคน Get Started ออกเดินทางตามรอย Troye Sivan กับ 4 ย่านในกรุงเทพฯ กัน ชม MV ก่อนออกไปเดินเล่นกันที่ : youtube.com/watch?v=mLqPC9Z6C9E เยาวราช Location : maps.app.goo.gl/LSEG5pGD1mNBbQGB7  เริ่มต้นทริปกับย่านที่คุ้นตาที่สุดใน MV ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างป้ายไฟของห้างร้านต่างๆ ที่ทำให้ถนนสายนี้สว่างไสวและคึกคักอยู่ตลอด คงไม่มีใครไม่รู้ว่าหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำนั้นคือย่านนักท่องเที่ยวสุดฮิตที่ถนน ‘เยาวราช’ แม้ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดหลากหลายประเภทในตอนกลางคืน แต่ความเป็นเยาวราชไม่ได้มีแค่นี้ เพราะยังมีสถานที่และกิจกรรมที่น่าสนใจแฝงตัวอยู่ในย่านมากมาย ทั้งวัดไทย วัดจีน ตึกเก่า […]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้

ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.