สัมผัสเส้นทางประวัติศาสตร์ไปพร้อมเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จัก ในย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ กับ ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’

นัดเพื่อนเก่ากินข้าวว่ายากแล้ว นัดไปเดินสำรวจเมืองด้วยกันคงเป็นเรื่องยากกว่า งั้นจะง่ายกว่าไหม ถ้าเราลองไปเดินดูเมืองกับเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยพบหน้าค่าตามาก่อน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสเข้าร่วม ‘ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ 2.0’ ที่มีคอนเซปต์เก๋ไก๋ด้วยการพาไปพบเจอเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนแต่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน กิจกรรมนี้เกิดจากการจับมือกันระหว่าง ‘ไอแอลไอยู’ และ ‘Bangkok Design Week 2024’ ที่เพิ่งจบไป เกิดเป็นทริปในรูปแบบ ‘Self-guided Tour Manual’ หรือการเดินเที่ยวเองตามคู่มือโดยไม่มีไกด์นำทัวร์ เพื่อเป็นการเชิญชวนผู้คนที่ชอบท่องเที่ยวให้ลองซอกแซกเข้าซอยนู้น โผล่ซอยนี้ได้อย่างอิสระ ไปพร้อมๆ กับเพื่อนร่วมทางแปลกหน้า รวมถึงสัมผัสประวัติศาสตร์ย่านในมุมที่ไม่เคยรู้มาก่อน หลังจากได้รับผลตอบรับที่ดีในปีที่ผ่านมา ทำให้ทัวร์สุ่มสี่สุ่มให้ จากเดิมที่มีเพียงการสุ่มสถานที่เท่านั้น กลับมาอีกครั้งในเวอร์ชัน 2.0 โดยเพิ่ม 4 เส้นทางตัวแทนเรื่องราวในย่าน ไม่ว่าจะเป็น Nameless Street Food เส้นทางนักกิน, Back to the 90s เส้นทางบันเทิง, Caffeine Calling เส้นทางกาแฟ และ History Nerds เส้นทางประวัติศาสตร์ ในครั้งนี้เราและเพื่อนใหม่ถูกสุ่มให้เจาะเวลาเดินทางย้อนไปในเส้นทาง History Nerds […]

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

จับรถไปเดินชม Bangkok Design Week 2024 กับกิจกรรมไฮไลต์ 4 ย่านในหนึ่งวัน

สองวันสุดท้ายกับ ‘Bangkok Design Week 2024’ เทศกาลงานออกแบบประจำปีของชาวกรุงเทพฯ ที่ชวนให้เราได้ออกจากบ้านไปเดินชมความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาเมือง ภายใต้คอนเซปต์ ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ปีนี้ Bangkok Design Week ครอบคลุมพื้นที่กว่า 15 ย่าน ได้แก่ เจริญกรุง-ตลาดน้อย, พระนคร, ปากคลองตลาด, นางเลิ้ง, เยาวราช, หัวลำโพง, อารีย์-ประดิพัทธ์, บางโพ-เกียกกาย, วงเวียนใหญ่-ตลาดพลู, เกษตรฯ-บางบัว, พร้อมพงษ์, สยาม-ราชเทวี, บางกอกใหญ่-วังเดิม, พระโขนง-บางนา, บางมด และพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ กับ 500 โปรแกรมที่ต่างหยิบยกของดีประจำย่านมานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบ เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนน่าจะไปจอยน์งานนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้ง แต่ใครที่ยังอยากไปอีก หรือใครที่กำลังเล็งว่าจะไปย่านไหนดี Urban Creature ขออาสานำเส้นทางเดินเที่ยวงาน BKKDW 2024 ในหนึ่งวัน พร้อมกับกิจกรรมไฮไลต์ที่ห้ามพลาดจาก 4 ย่านยอดฮิตอย่างเจริญกรุง-ตลาดน้อย, เยาวราช, ปากคลองตลาด […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

‘ประชาบาร์’ หมุดหมายใหม่ของนักดื่มหัวใจประชาธิปไตย ที่อยากเป็นพื้นที่ปลอดภัยคุยกันได้ทุกเรื่อง

ในยุคที่มีบาร์เปิดใหม่ทั่วทุกมุมเมือง คุณอาจสงสัยว่า ทำไมคอลัมน์ Urban Guide อยากชวนมา ‘ประชาบาร์’ เหตุผลแรก เพราะที่นี่เป็นทั้งบาร์และ Co-working Space ในที่เดียวกัน แถมยังเปิดตั้งแต่เย็นย่ำไปจนถึงดึกดื่น เหตุผลที่สอง นี่คือบาร์ของ ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง โดยเขาเปิดร่วมกับผองเพื่อนอย่าง ‘สิรินทร์ มุ่งเจริญ’ และมีผู้จัดการร้าน ‘วสิษฐ์พล ตังสถาพรพันธ์’ ดูแลอยู่ โดยมีร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ ‘ประชาธิปไตยกินได้’ อยู่ด้านล่าง เหตุผลที่สาม นอกจากมีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีหนังสือให้อ่าน และมีคราฟต์เบียร์จากชุมชนในไทยให้จิบ ในโอกาสพิเศษ ที่นี่ยังจัดฉายหนังและเสวนาการเมืองที่ชวนผู้สนใจมาถกเถียงกันในบรรยากาศสุดชิล เหตุผลสุดท้าย นี่คือสเปซที่ขับเน้นคอนเซปต์ประชาธิปไตยในความหมายการโอบรับทุกความหลากหลาย และอยากเป็นพื้นที่ที่คนมารู้สึกปลอดภัยมากพอจะสนทนาเรื่องการเมืองและทุกๆ เรื่องอย่างอิสระ บาร์บ้านเพื่อน Cozy และ Homey เหมือนอยู่บ้านเพื่อน คือไวบ์ที่เราสัมผัสได้หลังจากก้าวขาขึ้นมาบนชั้นสองของอาคาร สิ่งแรกที่เราเจอคือโต๊ะตั้งเรียงรายซึ่งมีลูกค้าจับจองนั่งทำงานอยู่ประปราย มีชั้นหนังสือให้หยิบอ่านเล่มที่สนใจตั้งอยู่ฝั่งขวา ตู้แช่เครื่องดื่มเย็นๆ ตั้งอยู่ข้างประตูทางเข้าฝั่งซ้าย ดนตรีฟังสบายกำลังบรรเลงขับกล่อม สิรินทร์กับวสิษฐ์พลผู้เป็นเจ้าบ้านชวนเรานั่ง ยกเฟรนช์ฟรายส์กับเครื่องดื่มสีสวยมาเสิร์ฟ ไม่ใช่ค็อกเทลหรือเบียร์ที่เราเห็นในบาร์ทั่วไป แต่เครื่องดื่มของพวกเขาล้วนเป็นคราฟต์เบียร์และสาโทของแบรนด์ไทยที่ผลิตโดยคนตัวเล็กในชุมชน “ร้านเรามีไวบ์แบบชิลๆ เครื่องดื่มแต่ละอย่างที่เราเลือกมาจึงเน้นให้ดื่มง่าย” […]

Still Light – Still Life แสงอาทิตย์ยังคงอยู่

‘Still Light – Still Life (II) (แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (II)), 2022’ เป็นบันทึกภาพถ่ายในชีวิตประจำวันในช่วงเวลาหนึ่งของฉัน โดยพัฒนามาจากผลงาน ‘แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (I), 2021’ ทว่าในภาพถ่ายชุดที่ 2 นี้เป็นการเริ่มต้นขยายขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ ซึ่งการมีอยู่ของมันทำให้ฉันมีความหวัง ที่ผ่านมาฉันได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์อันหลากหลาย ที่ทำให้เกิดทั้งความรู้สึกสบายใจเหมือนมีแสงอาทิตย์คอยเยียวยา ความรู้สึกหดหู่ใจเหมือนโดนเงามืดของแสงกลืนกิน และการไม่รู้สึกถึงอะไรจนเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง ทั้งหมดเป็นผลมาจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ฉันตั้งใจพาตัวเองเข้าไป รวมถึงปล่อยให้สถานการณ์นำพาให้ไปพบเจอกับความสัมพันธ์นั้นเอง หากลองขยายมุมมองให้กว้างขึ้น นอกจากเป็นความหวัง แสงอาทิตย์ก็ยังมีเงาเป็นอีกด้านของความสว่าง ทำให้ฉันนึกถึงบางเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด แสงเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้ว แสงอาจไม่ได้สะท้อนแค่ความหวังจนทำให้ฉันยึดติดอยู่กับการไขว่คว้ามันมาเพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนมุมมองในแบบอื่นๆ ที่ทำให้ฉันเดินไปข้างหน้า พร้อมหันหลังกลับไปมอง และแสงยังช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องการมีชีวิตอยู่มากขึ้น จากบทเรียนนี้ ทำให้ฉันอยากเล่าเรื่องความรู้สึกที่ได้เผชิญในตอนนั้นผ่านชุดภาพถ่าย บันทึกห้วงความทรงจำ โดยไล่เรียงเป็นเส้นของความรู้สึกที่ไร้จุดจบ จนก่อเกิดมาเป็นผลงานแสงอาทิตย์ยังคงอยู่ทั้ง 2 ชุด ถือเป็นผลผลิตที่ได้จากการมองหาและทำความเข้าใจเรื่องราวชีวิตในระหว่างที่ฉันเป็นนักศึกษา ซึ่งปัจจุบันฉันยังคงถ่ายภาพต่อไปตามช่วงวัยที่เติบโตขึ้นภายใต้สถานการณ์และดวงอาทิตย์ที่เป็นแสงให้แก่โลกใบนี้ ติดตามผลงานของ ศิริน ม่วงมัน ต่อได้ที่ Instagram : perthsirin และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

คนรวยใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่า ต่อให้คนจนใช้ถุงผ้าก็ช่วยลดโลกร้อนไม่ได้

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโลกร้อนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ วัน จนทำให้คนทั้งโลกออกมารณรงค์เพื่อปกป้องโลกของเราด้วยวิธีต่างๆ เช่น ลดการใช้พลาสติก พกถุงผ้าไปช้อปปิง รณรงค์ไม่ใช้สินค้า Fast Fashion ลดการใช้พลังงาน และอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต่อให้คนทั่วไปหันมารักโลกและพยายามสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่อาจช่วยหยุดภาวะโลกร้อนได้ เพราะมีรายงานระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทั่วโลกคือ ‘กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก’ นั่นเอง รายงานที่ว่านี้ไม่ได้โจมตีกลุ่มคนรวยแต่อย่างใด แต่สื่ออย่าง ‘The Guardian’, องค์กรไม่แสวงหากำไร ‘Oxfam’, สถาบันสิ่งแวดล้อม ‘Stockholm Environment Institute’ และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ได้ร่วมมือกันศึกษาความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และพบว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปล่อยคาร์บอนมากกว่ากลุ่มคนที่ยากจนที่สุดถึง 66 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว การใช้ชีวิตแบบปกติของคนรวยทำให้สภาพอากาศไม่ปกติ ผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของกลุ่มคนรวยมากเท่าไรนัก เพราะหากอากาศร้อนก็แค่เปิดเครื่องปรับอากาศทุกตัวในบ้านหลังใหญ่ หรือแค่เดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ ที่อากาศเย็นก็ได้ ซึ่งกิจกรรมที่ว่ามานี้ล้วนแล้วแต่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองทั้งสิ้น แถมยังปล่อยมลภาวะกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ในขณะที่กลุ่มคนจนต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยที่ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่จะได้ขึ้นเครื่องบินสักครั้ง คนรวยเหล่านี้จึงอาจไม่ได้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตแบบปกติในทุกๆ วันนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายโลกและเพื่อนร่วมโลกหรือไม่ เช่น ในปี 2019 มีจำนวนรถ SUV เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก […]

Heart GURU การ์ดเกมว่าด้วยเรื่องหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ที่อยากให้สังคมไทยตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทางเพศมากขึ้น

‘ความรุนแรงทางเพศ’ และ ‘อคติทางเพศ’ ในสังคมไทยเปรียบเสมือนสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า ‘Elephant in the Room’ ซึ่งหมายถึงปัญหาใหญ่ที่ทุกคนรับรู้ดี เห็นได้ชัดเจน แต่กลับหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหรือตั้งใจทำเป็นมองไม่เห็นมัน ไม่ว่ากี่ปีผ่านไปเราก็ยังเห็นปัญหาเหล่านี้กันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ผ่านเรื่องเล่าของคนใกล้ตัวที่ตกเป็นเหยื่อ หรือแม้แต่พาดหัวข่าวตามสื่อต่างๆ ที่สะท้อนว่าการใช้ความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศได้ฝังรากลึกอยู่แทบทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง การศึกษา ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองเองก็ตาม ทว่ายังมีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่พยายามส่งเสียงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ หนึ่งในนั้นคือ Thaiconsent สื่อออนไลน์ที่อยากชวนสังคมไทยพูดคุยเรื่องเพศและความสัมพันธ์ในเชิงลึก Thaiconsent พยายามสื่อสารประเด็นเรื่องเพศผ่านช่องทางออนไลน์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงความยินยอมพร้อมใจในการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Consent) และล่าสุด Thaiconsent ต้องการสื่อสารกับผู้คนในรูปแบบใหม่ จึงพัฒนาและออกแบบการ์ดเกม ‘Heart GURU รอบรู้เรื่องหัวใจ’ โดยตั้งใจทำให้เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และชวนให้คนแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ตามไปคุยกับ ‘นานา-วิภาพรรณ วงษ์สว่าง’ ผู้ก่อตั้ง Thaiconsent ถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบการ์ดเกม Heart GURU และความตั้งใจที่จะส่งต่อความรู้เกี่ยวกับหัวจิตหัวใจ ความสัมพันธ์ และเพศสัมพันธ์ ให้ไปถึงคนจำนวนมากที่สุด จุดเริ่มต้นของ Heart GURU นานาเล่าย้อนความให้ฟังว่า […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวชุมชนแห่งแดนสตูล 

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวที่คนไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นการเดินทางที่ไม่ได้ให้แค่ความสนุกหรือการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนาท้องถิ่นและส่งเสริมความยั่งยืนให้กับสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมด้วย ถึงอย่างนั้นความท้าทายสำคัญของการท่องเที่ยวประเภทนี้คือการออกแบบพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับชุมชน ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนทุกคนล่องใต้ไปที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี (SCG Foundation) เพื่อสัมผัสอีกหนึ่งเมืองรองของไทยที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวชุมชนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวของดินแดนชายฝั่งทะเลอันดามันแห่งนี้ยังเกิดจากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น และเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กลับมาพัฒนาบ้านเกิด จนหลายๆ คนกลายเป็นต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในชุมชน ‘ต้นกล้าเป็ด’ จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่นักจัดการท่องเที่ยวชุมชน ความพิเศษของการเดินทางครั้งนี้คือ เรามีไกด์ท้องถิ่นที่พาไปสัมผัสธรรมชาติและวัฒนธรรมของสตูลตามแบบฉบับคนท้องถิ่น นั่นคือ ‘เป็ด-จักรกริช ติงหวัง’ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่ตอนนี้หันมาทำงานด้านการท่องเที่ยวชุมชนอย่างเต็มตัว โดยปัจจุบันเป็ดเป็นประธานกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหลอมปืน มากไปกว่านั้น เป็ดยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง ‘ต้นกล้าชุมชน’ จากโครงการ ‘Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด’ แนวคิดจากมูลนิธิเอสซีจีที่ต้องการให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น เป็ดเล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นลูกหลานชาวประมงที่เกิดและโตในพื้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย บ้านหลอมปืน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เขาเริ่มทำงานชุมชนตามรอยพ่อในงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพในระดับท้องถิ่น […]

ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์

‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]

‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ตำนานร้านอาหารเช้าโดยทายาทรุ่น 4 ที่อยากเพิ่มพื้นที่และบทสนทนาระหว่างมื้ออาหาร

เช้าวันหยุดเราเดินทางออกจากบ้านตั้งแต่เช้า ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังถนนประชาธิปไตยในฝั่งพระนคร รู้ตัวอีกทีเราก็ยืนอยู่หน้าบ้านสไตล์วินเทจสีเหลืองนวลที่มีต้นไม้เขียวขจีแซมอยู่ตามจุดต่างๆ เป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลายตั้งแต่แรกเห็น เมื่อเงยหน้าขึ้นไปบริเวณชั้นสองของอาคารก็จะเห็นป้ายตัวอักษรสีเหลืองขนาดใหญ่เขียนว่า ‘โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย’ ใช่แล้ว ที่นี่คือสาขาใหม่ของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ตำนานร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ มาหลายทศวรรษ ทำให้หลายครั้งที่เราพูดถึงร้านกาแฟโบราณ ชื่อของร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่จะต้องติดอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆ ของใครหลายคน แต่สิ่งที่ทำให้โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ ณ ประชาธิปไตย แตกต่างจากสภากาแฟทั่วไปคือการออกแบบร้านให้โมเดิร์นขึ้น แถมเฟอร์นิเจอร์และสีที่ใช้ตกแต่งยังช่วยสร้างบรรยากาศโฮมมี่ เหมาะกับการนั่งจิบกาแฟเพลินๆ ไม่เหมือนกับสภากาแฟแบบดั้งเดิมที่เน้นเสิร์ฟอาหารเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ความอบอุ่นตลบอบอวลในบ้านหลังนี้ เพราะ ‘กั๊ก-สุวิชชาญ คมนาธรรมโกมล’  ทายาทรุ่นที่ 4 ร้านโกปี๊เฮี้ยะไถ้กี่เล่าให้เราฟังระหว่างทัวร์ร้านในวันนี้ว่า เขาอยากให้ลูกค้าที่เข้ามาทานอาหารรู้สึกเหมือนได้ทานข้าวอยู่บ้าน และพูดคุยแลกเปลี่ยนกันท่ามกลางบรรยากาศใหม่ๆ ขณะเดียวกัน เขาตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวและเสน่ห์ความเก่าแก่ของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ให้กับผู้มาเยือนทุกกลุ่มและทุกวัย “ปรับในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนในสิ่งที่ควรเปลี่ยน เก็บในสิ่งที่ควรเก็บ” คือแนวคิดในการทำธุรกิจของโกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ที่กั๊กย้ำกับเราตลอดบทสนทนานี้ ตำนานความอบอุ่นคู่พระนคร กั๊กเล่าย้อนให้เราฟังว่า โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่สาขาแรกเปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1952 แรกเริ่มเดิมทีถูกเรียกว่า ‘ร้านโชห่วย’ ที่มีกาแฟและชาขายอยู่ในมุมเล็กๆ มีพื้นที่ให้ลูกค้านั่งดื่มเพียง 3 โต๊ะเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ได้ยืนหยัดอยู่คู่ชาวพระนคร ผ่านทุกรอยต่อของกาลเวลา การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ทิศทางการขับเคลื่อนของสังคม และดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องมานานถึง 71 […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.