ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน

เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม

[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]

24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ

“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

Ordinary and Extraordinary ความ (ไม่) ธรรมดา

ในเมืองที่แสนวุ่นวาย ผู้คนมากมายอย่างกรุงเทพมหานคร ผมเลือกที่จะมองหาความธรรมดาที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายผ่านการตีความด้วยภาพถ่าย ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่มันอยู่ด้วยกันอย่างถูกที่ถูกเวลา ทั้งหมดจะส่งเสริมกันและกัน กลายเป็นเสน่ห์ที่มองได้ไม่เบื่อ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย

Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]

ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีปัญหารถเก่าใช้งานไม่ได้ทิ้งตามรายทางอยู่เต็มไปหมด

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรต่อพื้นที่หนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย ทุกพื้นที่มีความสำคัญและมูลค่าที่ทุกคนต้องแย่งชิง ไม่เว้นแม้แต่พื้นที่ของรถยนต์ ด้วยระบบขนส่งมวลชนของบ้านเราที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย บ้านบางหลังมีรถยนต์มากกว่าหนึ่งคันแต่กลับไม่มีที่จอด เราจึงพบเห็นผู้จอดรถไว้ตามริมทางได้ทั่วเมือง บางคันเป็นรถเก่าที่ไม่มีที่เก็บและปล่อยทิ้งไว้เลยตามเลยจนกลายสภาพเป็น ‘ซากรถ’ ซากรถจำนวนมากถูกทิ้งด้วยความมักง่าย เกิดเป็นปัญหาสะสมที่ขัดขวางทั้งทางคนเดินและทางเดินรถ อีกทั้งยังเป็นแหล่งทิ้งขยะมูลฝอยสร้างความสกปรกให้กับพื้นที่ ถึงอย่างนั้น ต้นตอของปัญหาซากรถเต็มเมืองอาจมีมากกว่าจิตสำนึกของคน เพราะกฎหมายและนโยบายการจัดการซากรถเองก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงต้นตอของปัญหาการทิ้งซากรถ ทั้งค่าใช้จ่ายจุกจิกในการกำจัดรถ ขั้นตอนการดำเนินการที่มากมาย และนโยบายการแก้ไขที่ทางภาครัฐกำลังทำอยู่ ขั้นตอนมากมายกับค่าใช้จ่ายท่วมหัวในการกำจัดรถ คงไม่มีเจ้าของรถคนไหนอยากปล่อยรถของตนทิ้งไว้ริมทาง แต่ด้วยค่าซ่อมแซมที่มากโขในช่วงเศรษฐกิจซบเซา หรือจะขยายพื้นที่ทำที่จอดรถก็จำเป็นต้องใช้เงินสูง ส่งผลให้บางคนเลือกปล่อยเลยตามเลยทิ้งรถไว้ริมทางโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสาธารณะ ครั้นจะเป็นพลเมืองดีนำรถไปกำจัด พอเห็นค่าใช้จ่ายและขั้นตอนก็ทำเอาหลายคนถอดใจไปก่อน ประกันภัยรถยนต์เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับการกำจัดรถที่น่าสนใจ เพราะหากรถยนต์คันหนึ่งเสียหายหนัก ต้องจ่ายค่าซ่อมมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทุนประกัน เจ้าของรถสามารถเลือกขายซากรถคันนั้นให้ทางบริษัทประกัน เพื่อรับค่าชดเชยทุนประกันได้ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีประกันภัยรถยนต์ซึ่งรถเก่าส่วนใหญ่มักไม่มีอยู่แล้ว เจ้าของรถจำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด ทั้งเรียกรถมายก ตรวจสภาพ ดำเนินเรื่องซื้อขายกับอู่ที่รับซื้อ และเตรียมเอกสารแจ้งกับทางขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าทุกขั้นตอนจำเป็นต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา ทำให้หลายคนเลือกปล่อยทิ้งซากรถเหล่านั้นไว้ริมถนนเพราะเป็นตัวเลือกที่ง่ายที่สุด แต่สำหรับผู้มีทุนทรัพย์ที่พร้อมจ่ายค่าดำเนินการต่างๆ ก็ใช่ว่าจะทำได้สะดวกสบาย เพราะยังต้องพบเจอกับปัญหาสุสานรถยนต์หรือสถานที่กำจัดรถอย่างถูกต้องที่มีไม่เพียงพอ จนกลายเป็นการสร้างมลพิษจากการกำจัดรถยนต์ที่ไม่ถูกวิธี ขาดแคลนสถานที่กำจัดซากรถ แถมยังสร้างมลพิษ สถานที่ในการกำจัดรถยนต์ส่วนใหญ่มักตั้งอยู่นอกเมือง เพราะต้องใช้เนื้อที่กว้างขวางในการปฏิบัติงาน แค่ลำพังการหาพื้นที่โล่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องยากระดับหนึ่ง แต่การได้รับการยินยอมจากชาวบ้านในพื้นที่อาจยากยิ่งกว่า […]

Gateway to Isaan ประตูสู่อีสาน

10 ปีกับการอยู่โคราชตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย จนเรียนจบเข้ากรุงเทพฯ มาทำงานเก็บประสบการณ์ แล้วย้ายกลับมาทำงานที่โคราชอีกครั้ง เวลาเลิกงานหรือว่างๆ ผมจะเดินออกสำรวจไปบริเวณรอบๆ ตัวเมืองกับกล้องหนึ่งตัว บางสถานที่เป็นสถานที่ธรรมดาๆ ที่ผมชินตามากๆ เพราะเห็นมาตลอด จนวันหนึ่งผมลองเปิดใจหามุมมองจากสิ่งที่ชินตาเหล่านี้ และมันทำให้ผมหลงรักความธรรมดาที่แสนพิเศษตรงหน้าผมไปแล้ว หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

หมาเด็กแมวเด็ก ช่วยให้โฟกัสได้ดีขึ้น การเสพภาพหรือคลิปสัตว์โลกตัวน้อยทำให้มีสมาธิในการทำงานโดยไม่รู้ตัว

ช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเข้าไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนก็มักเจอแต่ภาพและคลิปวิดีโอสัตว์น่ารักๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแพนด้ากินไผ่ คาปิบาราแช่น้ำร้อน วอมแบตเกาก้น หรือเหล่าหมาเด็กที่ชาวเน็ตอยากอมหัวออนไลน์ แน่นอนว่าการดูคลิปหรือภาพสัตว์น่ารักๆ ช่วยลดความเครียด เพิ่มความสุขให้กับเรา และแม้ว่าเราจะใช้เวลานอนดูคลิปไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า นอกเหนือจากการช่วยขจัดความรู้สึกอันหนักหน่วงออกไปแล้ว ความน่ารักแบบไม่รู้ตัวของเจ้าสัตว์พวกนี้ยังช่วยให้มนุษย์มีสมาธิเพิ่มขึ้นอีกด้วย ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ด้วยความคิวต์ของสัตว์โลก เวลาเครียดๆ เรามักหาวิธีการผ่อนคลายจากความหนักหนานั้นด้วยการไถหน้าจอดูอะไรสนุกๆ หรือน่ารักๆ ซึ่งภาพหรือคลิปสัตว์น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่เรานึกถึง โดยเฉพาะเจ้าสัตว์ตัวน้อยๆ ที่ยิ่งคูณความน่าเอ็นดูขึ้นไปอีก แต่มากไปกว่าความตะมุตะมิเกินต้าน ยังมีการศึกษาของนักวิจัย ‘ฮิโรชิ นิตโตโน’ แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าสัตว์โลกเหล่านี้ช่วยให้เราโฟกัสได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเขาได้ทำการทดลองผ่านการเล่นเกม แยกเป็นครั้งแรกให้ผู้ทดลองเล่นตามปกติ ส่วนครั้งที่สองแบ่งผู้ทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งดูภาพของลูกหมาและลูกแมว อีกกลุ่มหนึ่งดูภาพของหมาและแมวโตเต็มวัยที่มีความน่ารักน้อยกว่าวัยเด็ก  หลังจากกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง ทีมผู้วิจัยพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ดูภาพหมาเด็กแมวเด็กมีความรอบคอบมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีขึ้นกว่ารอบแรก ส่วนกลุ่มที่ดูภาพหมาแมวตอนโตนั้นใช้เวลาในการเล่นเท่าเดิมและประสิทธิภาพที่ออกมานั้นไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่ การศึกษานี้ทำให้พบว่า สิ่งน่ารักๆ โดยเฉพาะลูกสัตว์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากสมาธิที่เพิ่มขึ้น เพราะขอบเขตความสนใจที่แคบลงจากการเพ่งความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของสัตว์น่ารักๆ ตรงหน้าไปแล้ว สอดคล้องกับรายงานในปี 2009 ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียที่พบว่า การดูรูปน่ารักๆ อย่างลูกหมาและลูกแมวนั้นส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวกได้ง่าย ช่วยให้มีความตั้งใจความเอาใจใส่มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการอยากมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมด้วย เพราะความกระจุ๋มกระจิ๋ม ทำให้ลูกสัตว์ส่งผลต่อใจคนมากกว่า […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.