Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

เอาชีวิตรอดยังไงให้ไม่เบิร์นเอาต์จนกลายเป็นซอมบี้ l Soundcheck

เสียเวลาเดินทางวันละ 3 ชั่วโมงการแข่งขันในที่ทำงานแบบเดือดๆความซ้ำซากจำเจที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุให้คุณหมดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต จนกลายเป็นซอมบี้ที่ลุกจากเตียงออกไปเรียนและทำงานไปวันๆ ไร้ซึ่งวิญญาณ Soundcheck พาทุกคนไปสำรวจความคิดเห็นของชาวเมือง และทำหน้าที่รับฝากข้อสงสัยทางใจ เพื่อนำไปปรึกษานักจิตบำบัดให้ เผื่อคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติให้คุณไม่กลายเป็น ‘ซอมบี้’ ในเมืองใหญ่ Bangkok Zombie Town คือซีรีส์คอนเทนต์ประจำเดือนตุลาคม 2565 จาก Urban Creature ที่ต้องการให้คนเมืองเห็นปัญหาเมืองผ่านข้อมูล ผู้คน และแง่มุมใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้อยู่อาศัย เพื่อทำความเข้าใจ เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง และไม่โทษว่าเป็นความผิดพลาดของตัวเองเพียงอย่างเดียว

FYI

อยู่เมืองนี้ต้องทำงาน ทำงาน ทำงาน เรื่องเล่าจากประชากรแฝงในมหานครแห่งความหวัง

ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน  ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]

ปีศาจความยากจนและมือปราบปีศาจรัฐสวัสดิการที่เกิดจากความกลัวของคนไทย ใน Chainsaw Man

“รู้ไหมว่าอสูรน่ะ เกิดมาพร้อมกับ ‘ชื่อ’ ยิ่ง ‘ชื่อ’ น่ากลัวเท่าไรก็ยิ่งมีพิษสงมากขึ้นเท่านั้น “แต่ถ้าเป็น ‘อสูรรถ’ มีแนวโน้มว่ามันจะแข็งแกร่งพอสมควร เพราะอย่างน้อยๆ ภาพตอนถูกชนตาย ใครๆ ก็นึกออก หรือถ้ามี ‘อสูรกาแฟ’ มันจะต้องอ่อนแออย่างแน่นอนเพราะกาแฟไม่สามารถสร้างภาพแห่งความน่ากลัวได้” จากคำอธิบายถึงคอนเซปต์การเกิด ‘ปีศาจ’ โดยมือปราบปีศาจ ‘คุณมาคิมะ’ ใน Chainsaw Man มังงะสุดดาร์กที่กลายเป็นแอนิเมชันและลงจอฉายใน Amazon Prime ไปเมื่อต้นเดือนนี้ น่าจะพอทำให้ทุกคนรู้ว่าถ้าใครกลัวอะไรในโลกที่มนุษย์และปีศาจใช้ชีวิตด้วยกันนั้น ความกลัวนั้นจะสร้างปีศาจขึ้นมา และมันจะยิ่งมีอำนาจพลังมากขึ้น แปรผันตามจำนวนคนที่หวาดกลัว คอลัมน์ Urban Isekai ขอตามกระแสความไฮป์ปีศาจเลื่อยยนต์ ไปกระทำการอิเซไกในโลก Chainsaw Man ว่าถ้าความกลัวของผู้คนสร้างปีศาจขึ้นมาได้ ในประเทศไทย ปีศาจตนใดที่จะแข็งแกร่งที่สุด พร้อมๆ กับจะมีมือปราบปีศาจตนใดมาต่อกรกับอสูรร้ายในบ้านเมืองของเราได้ ‘ปีศาจความยากจน’ ปีศาจที่คนไทยกลัวที่สุด อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าคอนเซปต์การเกิดปีศาจของ Chainsaw Man มาจากความกลัวของมนุษย์ นั่นแปลว่าต่อให้เรากลัวอะไรเล็กน้อยหรือมากมายแค่ไหน ความกลัวนั้นก็สามารถให้กำเนิดปีศาจได้ทั้งนั้น ทว่าหากเป็นความกลัวเล็กๆ หรือเรากลัวสิ่งนั้นแค่คนเดียว ปีศาจตนนั้นก็จะมีพลังไม่มากและถูกมือปราบปีศาจกำจัดได้ไม่ยาก แต่ในทางกลับกัน […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

อย่าเพิ่งร้องกรี๊ด! แหล่งโปรตีนทดแทนที่เกิดขึ้นจริงแล้ว l Urban เจอนี่ เจอ อาหารจากแมลง

รู้หรือไม่ว่า มนุษย์เรากำลังเจอวิกฤตเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเทรนด์การผลิตโปรดักต์ต่างๆ ที่มีการทดแทนสารอาหารจากวัตถุดิบอื่นๆ รวมไปถึงแมลงที่ให้โปรตีนสูง แต่นอกเหนือจากแมลงทอดตามรถด่วนที่เห็นจนชินตาแล้ว แมลงเอามาทำอะไรได้อีกมากมายจนคุณคาดไม่ถึง ถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘อาหารแห่งโลกอนาคต’ ว่าแต่ปัจจุบันอาหารจากแมลงพัฒนามาถึงจุดไหนแล้ว Urban เจอนี่ พาทุกคนมาเรียนรู้และอัปเดตหัวข้อนี้กันที่ Exofood Thailand แล็บสัญชาติไทยที่ศึกษาวิจัยแมลงเพื่อผลลัพธ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมแมลงกับการเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงการใช้กำจัดศัตรูพืช แล็บแห่งนี้ก่อตั้งโดย ‘บูม-อธิวัชร พงษ์ศรัทธาสิน’ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากความชื่นชอบเลี้ยงสัตว์แปลก (Exotic Pet) อย่าง Bearded Dragon หรือกิ้งก่าทะเลทราย ที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร จนนำมาสู่การตั้งคำถามว่า แมลงที่นำมาให้สัตว์กินนั้นสะอาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมี ‘กล้า-อวิรุทธ์ ถวัลย์ศักดิ์วุฒิ’ นักวิชาการด้านกีฏวิทยา คอยดูแลเรื่องเทคนิคการเลี้ยงและการพัฒนาอีกด้วย

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

1 8 9 10 11 12 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.