NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

รักไม่ได้แปลว่ารับได้ทั้งหมด หาเหตุผลว่า ทำไมคนที่เรารักถึงเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เราไม่ได้

คำว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นอีกหนึ่งคำที่พวกเราได้ยินกันบ่อยมาก เมื่อกำลังพูดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าจะให้ฟังดูสมเหตุสมผล คนที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ ก็ควรเป็นคนสนิทหรือคนที่เรารักเขา-เขารักเราที่สุด แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราก็ไม่อาจรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากคนที่เรารักหรือผูกพันที่สุด แม้ว่าเขาจะไม่ได้ตั้งใจทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเลยก็ตาม และจุดนี้แหละที่ทำให้มันเป็นความจริงที่น่าเศร้า ใช่ เรายังรักเขาต่อไปได้ สิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องกระทบความเข้มข้นและลึกซึ้งของความรักที่เรามีให้เขา แต่วันนี้มาลองทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า มีความท้าทายไหนบ้างที่ยากจะทำให้คนรักของเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เรา และเราเองนั้นควรระวังอะไรบ้าง เพื่อจะยังคงเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เรารักได้อย่างดีที่สุด พื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พื้นที่เลิศหรูสมบูรณ์แบบ ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครเปรียบเทียบความรู้สึก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ว่าเป็นปราสาทราชวังหรือเมืองหรูๆ ที่ไหน บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือพื้นที่ที่ได้คุยกับนักจิตวิทยาหรือนักจิตบำบัด บางคนบอก พื้นที่ปลอดภัยคือสนามบอลที่ได้ใช้เวลากับเพื่อน คือมุมชงกาแฟที่ให้ตัวเองได้พักจากความเครียดในที่ทำงาน คือวงเหล้าในบาร์ที่คุ้นเคย ฯลฯ พื้นที่ไหนทำให้เราได้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำให้เรารู้สึกแปลกแยก แม้มันอาจจะไม่สบายตัวบ้าง หรือแตกต่างจากพื้นที่ของคนอื่นแค่ไหน แต่ความสบายใจที่ได้รับมันก็ชนะทุกอย่างอยู่ดี พื้นที่ปลอดภัย คือพื้นที่ที่ต้อนรับทุกอารมณ์และความรู้สึก ผู้เขียนเคยไปบรรยายในงานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตงานหนึ่ง เขาตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรลูกถึงจะรู้สึกว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยของเขา โดยเฉพาะเวลาเกิดเหตุอันตราย เช่น ลูกถูกล่อลวงหรือโดนหลอกผ่านอินเทอร์เน็ต แล้วไม่กล้าบอกพ่อแม่ ทำให้ไม่มีที่พึ่งเพราะไม่รู้จะหันไปหาใครดี พวกเราโตมาพร้อมกับความเชื่อที่แบ่งแยกบางความรู้สึกว่า นี่คือความรู้สึกที่ดี ควรรู้สึกให้ได้บ่อยๆ และบางความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่แย่ […]

Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง

อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]

FiNESSE โปรเจกต์ธีสิสวงไอดอลระยะสั้น ที่อยากให้คนรับรู้ความแตกต่าง และยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง

“เฟทอยากให้สังคมรับรู้ว่า ‘ความต่าง’ ที่โดนปฏิเสธมาตลอด จริงๆ แล้วมันโดนปฏิเสธเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่เป็นเพราะวงการไอดอลยังห่างไกลกับการยอมรับ Self-determination (สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง)” ในวันที่อุตสาหกรรม T-POP กำลังเติบโตและถูกจับตามองจากทั่วโลก ใครหลายคนอาจกำลังเดินตามความฝันของตัวเองอย่างสุดกำลัง แต่สำหรับใครบางคน ความฝันของพวกเขาอาจดับลงไปแล้ว เพียงเพราะพวกเขา ‘แตกต่าง’ จากสิ่งที่สังคมต้องการ ‘FiNESSE’ คือธีสิสวงไอดอลระยะสั้นจากฝีมือการโปรดิวซ์ของ ‘เฟท-ฐิตา เกษรสมบัติ’ อดีตสมาชิกไอดอลวง Siamese Kittenz ที่ปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีสุดท้ายจากคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโปรเจกต์นี้ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมไอดอลที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่ที่เพศสภาพ อายุ หรือบิวตี้สแตนดาร์ด คอลัมน์ Debut ขอพาไปรู้จักธีสิสวงไอดอล FiNESSE ให้มากขึ้นผ่านบทสนทนาของหญิงสาว ถึงแนวคิดจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดย์วันของการตัดสินใจทำธีสิสว่า อะไรคือสิ่งที่อยากนำเสนอ จนถึงวันนี้ที่เธอพยายามผลักดันให้วงนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงได้จริงในอนาคต ได้เวลาทำวงไอดอลระยะสั้น หลายคนคงเคยเห็นธีสิสที่ทำขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากไอดอลที่ชอบ แต่สำหรับธีสิสของเฟทแตกต่างออกไป เพราะ ‘FiNESSE’ คือธีสิสที่เกิดจากเศษเสี้ยวความฝันการเป็นไอดอลของเธอเอง “อดีตเฟทเคยเป็นไอดอลมาก่อน แต่ในตอนนี้ ต่อให้อยากกลับไปเป็นอีกมันก็ไม่ง่ายแล้ว ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกินเพดานการสมัคร และเรารู้สึกว่ามันคงมีคนที่เป็นแบบเราเยอะ เลยตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมา” เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้น ธีสิสในรูปแบบวงไอดอลระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในคณะ […]

คุยกับ Mission To Top U เรื่องศักยภาพเด็กไทย โอกาสไปเมืองนอก และสกิลทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต

ถ้าถามเด็กไทยว่าความใฝ่ฝันอันดับต้นๆ คืออะไร มั่นใจว่า ‘ไปเรียนเมืองนอก’ คือคำตอบของใครหลายคน แต่พอเราพูดคำว่าไปเมืองนอกแล้ว สิ่งที่จะนึกถึงตามมาคือทุน โอกาส และความสามารถในการไปถึงเป้าหมายตรงนั้น ซึ่งน่าเศร้าที่ใครหลายคนถูกดับฝันเพราะขาดปัจจัยเหล่านี้ Mission To Top U คือบริการที่เกิดขึ้นเพราะอยากลบเพนพอยต์ที่ว่า ก่อตั้งโดย ‘เมฆ-ระดมเลิศ อนันตชินะ’ และเพื่อนอีก 3 คน ผู้เชื่อว่าเด็กไทยก็มีความสามารถในการสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ไม่แพ้ใครเขา แต่สิ่งที่ขาดไปคือข้อมูลที่ช่วยกรุยทาง รวมถึงประสบการณ์ เป้าหมาย และความมั่นใจที่ต้องติวเข้ม เมฆและเพื่อนๆ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ Top U จึงลุกขึ้นรวมตัวกันเพื่อทำภารกิจนี้ โดยเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อส่งต่อความรู้ที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ ไปจนถึงการติวเข้มตัวต่อตัว นับถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 8 ปีที่ Mission To Top U ได้ติวเข้มให้เด็กๆ เดินทางไปสู่ฝั่งฝัน คอลัมน์ Think Thought Thought จึงขอถือโอกาสนี้ชวนเมฆมานั่งสนทนากัน ว่าด้วยความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเด็กไทย มุมมองที่เขามีต่อระบบการศึกษาของบ้านเราและของโลก ไปจนถึงสกิลสำคัญที่นักศึกษาและคนทำงานในอนาคตต้องมี Mission to Better Future […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

แกะรหัสความเกรงใจ และมุมมองความเป็นไทยของ Phum Viphurit จากอัลบั้ม The Greng Jai Piece

Darling, I got my trust issues. เสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์จากชายหนุ่มรูปร่างสูงโปร่ง ขณะเดินจีบสาวริมชายหาด พร้อมด้วยรอยยิ้มนักรักของ ‘Lover Boy’ เมื่อหลายคนได้ยินเพลงนี้คงเผลอโยกตัวเบาๆ ด้วยดนตรีจังหวะ Medium พลางสงสัยว่าศิลปินคนนี้คือใคร แต่เมื่อเลื่อนลงไปอ่านชื่อกลับยิ่งน่าสนใจกว่าเดิม เมื่อเพลงสากลที่มีทำนองและเนื้อร้องอย่างตะวันตก กลับเป็นฝีมือของศิลปินชาวไทยชื่อ ‘Phum Viphurit’ ทันทีที่เพลง Lover Boy ถูกปล่อยสู่โลกดนตรี การออกทัวร์ต่างประเทศนับครั้งไม่ถ้วนของภูมิก็เริ่มต้นขึ้น เขากลายเป็นศิลปินอินดี้ที่น่าจับตามองในระดับสากลอย่างที่คนไทยไม่เคยมีมา ทั้งการได้เล่นในเทศกาลดนตรีระดับโลก หรือการคอลแลบกับศิลปินต่างประเทศชื่อดังมากมาย แต่นี่ก็ผ่านมาแล้ว 6 ปี หลังจากความสำเร็จของ Lover Boy มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตผ่านประสบการณ์มากมายจากเส้นทางดนตรีที่ชายหนุ่มเก็บเกี่ยวเรียนรู้ สบโอกาสพอดีกับที่เขายังไม่ได้ข้ามประเทศไปไหน เราจึงชวนภูมิมาพูดคุยถึงมุมมองความแตกต่างของวงการดนตรีในไทยกับต่างประเทศ ชีวิตของศิลปินในยุคโซเชียล และการตั้งคำถามถึงความเป็นไทยที่เขาตีความออกมาเป็นความเกรงใจจากอัลบั้มล่าสุด The Greng Jai Piece เด็กชายภูมิที่เติบโตในต่างวัฒนธรรม อย่างที่หลายคนทราบว่า ภูมิเกิดและเติบโตในไทย จนเมื่ออายุ 9 ขวบ เขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 2005 – 2013 เพราะคุณแม่ได้งานที่เมืองเล็กๆ ชื่อ […]

The Garden Secret คนสวนในความลับ

ที่สวนสาธารณะ คนสวนทำหน้าที่หยิบ จับ จัด และทำสวนให้ ‘ราบรื่นสวยงาม’ ไม่มีกิ่งไม้ร่วง ใบไม้เฉา เหลือง เหี่ยว แห้ง และทำให้ดอกไม้บานเสมอ ‘คนสวน’ เหลื่อมเวลาทำสวนกับคนมาใช้สวน คนสวนต้องระวังไม่ให้อุปกรณ์ทำสวนและน้ำจากสปริงเกอร์ไปโดนคนใช้งานสวน ส่วนคนใช้งานสวนได้ใช้สวนเอี่ยมๆ สะอาดๆ ไม่ต้องระวังกิ่งไม้จะหล่นใส่หัว ไม่ต้องระวังน้ำจากสปริงเกอร์ และไม่ต้องระวังว่าจะไปเหยียบกองใบไม้ที่รอกวาดทิ้ง ‘คนสวน’ ทำงานตามแสงตะวันและฟ้าฝน เริ่มงานตอนแดดออกและเลิกงานก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะแดดทำให้มองเห็น และหยุดทำเมื่อฝนตก เพราะฝนช่วยทำงานแทน ส่วนคนใช้งานสวนส่วนมากใช้สวนก่อนแดดออกหรือหลังพระอาทิตย์ตก เพราะแดดทำให้ผิวดำ และหยุดใช้เมื่อฝนตกเพราะเปียก คนใช้สวนรับรู้การมีอยู่ของคนสวนผ่านความ ‘ไม่ราบรื่นสวยงาม’ ของฉากและพร็อปของสวน กิ่งมะฮอกกานีร่วงบนทางวิ่งเพราะคนสวนไม่ได้กวาด กอลิ้นมังกรเหลืองเพราะคนสวนไม่ได้เด็ดออก พุ่มชาฮกเกี้ยนไม่เป็นทรงช้างเพราะคนสวนไม่ได้เล็ม ทุ่งทานตะวันเหี่ยวเพราะคนสวนเอาต้นใหม่มาเปลี่ยนไม่ทัน คนสวนทำงานเหมือนดั่งจอมยุทธ์ในนิยายกำลังภายในของโกวเล้งที่ว่า ‘เร้นตน ซ่อนคม งำประกาย’ เลี่ยงไม่ให้เห็นอุปกรณ์ทำงาน เลี่ยงไม่ให้เห็นตัวตนตอนทำงาน ให้คนรับรู้แต่ผลของงาน ยิ่งคนใช้งานสวนไม่นึกถึงคนสวนได้ยิ่งดี หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.