ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

จากเต้าหู้ยี้อายุ 70 ปี สู่ Have a nice bean แบรนด์น้ำเต้าหู้เจียงใหม่ที่อยากให้คนกิน Have a nice day

เช้านี้เชียงใหม่อากาศเย็นกำลังดี เรามาถึง The Goodcery ร้านขายของชำย่านช้างม่อยตั้งแต่ประตูเปิด ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าร้านขายของชำขนาดสองคูหาแห่งนี้จะกลายเป็น Safe Space ที่เราปวารณาตนว่าจะมาทุกครั้งถ้าได้มาเชียงใหม่ อาจเพราะที่นี่ไม่ได้มีดีแค่ขายวัตถุดิบและของกินคัดสรรจากทั่วไทย แต่ยังมีร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านอาหารฟิวชัน ทุกสิ่งที่เราต้องการภายในที่เดียว แต่เช้านี้ สิ่งแรกที่เข้าปากเราไม่ได้อยู่ในลิสต์นั้น แต่เป็นน้ำเต้าหู้ของ Have a nice bean ที่วางเด่นหราอยู่ในตู้แช่ของร้าน ปกติเราไม่ค่อยกินน้ำเต้าหู้ ยิ่งเต้าหู้ก้อนหรือเต้าหู้ยี้นี่ไม่ต้องพูดถึง แต่ความเข้มข้นของน้ำเต้าหู้แบรนด์นี้ทำให้เราลองเปิดใจ Have a nice tofu Have a nice bean คือแบรนด์น้ำเต้าหู้สุดเข้มข้นจากเชียงใหม่ ฝีมือ ‘ฝน-รวิพร พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ทายาทรุ่นสามของธุรกิจเต้าหู้ยี้ห่อใบไผ่ตราลูกโลกที่มีอายุกว่า 70 ปี ย้อนไปราว 70 ปีก่อน อากงของฝนอพยพจากเมืองจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบมาอยู่ย่านหัวลำโพง หาบเร่ขายอาหารแถวเยาวราชอยู่พักใหญ่ก่อนจะเปิดธุรกิจของดองบรรจุกระป๋องของตัวเอง อากงขายทั้งซีเซ็กฉ่าย ตั้งฉ่าย ขิงดอง และจับพลัดจับผลูมาทำเต้าหู้ยี้ ‘ทวีผล พึ่งโพธิ์เจริญพันธ์’ ผู้เป็นทั้งป๊าของฝนและเป็นลูกชายคนที่ 3 ของอากงเล่าให้ฟังว่า กว่าสินค้าจะติดตลาดก็ลำบากใช่เล่น […]

BRAVE SHOES แบรนด์สินค้าอัปไซเคิลที่เปลี่ยนเปลือกกล้วยและเศษมะนาวให้กลายเป็นรองเท้าทรงเก๋

สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อรองเท้าบ่อยๆ อย่างเรา โอกาสที่จะหยุดดูรองเท้าสักคู่ในช็อปอาจมีไม่มาก  แต่บ่ายวันนี้ รองเท้าคู่หนึ่งชวนให้เราเดินทางมาถึงช็อปเล็กๆ ในย่านพุทธมณฑล สาย 2 เพื่อมันโดยเฉพาะ คุณอาจสงสัยว่า แล้วคนไม่ค่อยซื้อรองเท้าอย่างเราทำไปทำไม เฉลยให้ฟังว่าเพราะรองเท้าคู่นี้ไม่ใช่รองเท้าธรรมดา แต่เป็นรองเท้าหนังสังเคราะห์ที่ทำจากผักผลไม้เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งเปลือกกล้วย เศษมะนาว และลูกมะพร้าว BRAVE SHOES คือชื่อแบรนด์รองเท้าที่เรากำลังพูดถึง เหมือนกับชื่อแบรนด์ นอกจากความกล้าที่จะใช้วัสดุซึ่งไม่เคยเห็นดีไซเนอร์ไทยคนไหนใช้มาก่อน ‘ตะวัน-กฤดิพัชร เจริญชัยปิยกุล’ และ ‘มาย-มาย การุณงามพรรณ’ สองผู้ก่อตั้งแบรนด์ยังใส่ความกล้าลงไปในแทบทุกองค์ประกอบ ไล่ไปตั้งแต่ดีไซน์รองเท้าสุดเก๋ไก๋ที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง การผลิตแบบสล็อตเล็กๆ ไม่มีซีซัน ไม่ขายตลาดแมส ไปจนถึงการตั้งราคาที่สูงเมื่อเทียบกับรองเท้าแฟชั่นแบรนด์อื่น ไม่ใช่เพราะอยากให้แบรนด์มีรายได้เยอะๆ แต่อยากให้ทุกคนในสายพานการผลิตได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งคู่เอาความกล้านี้มาจากไหน ตะวันและมายพร้อมตอบคำถามเราแล้ว แบรนด์แฟชั่นยั่งยืนของเพื่อนสนิท BRAVE SHOES เปิดตัวแบรนด์ครั้งแรกบน Instagram ในเดือนธันวาคม 2564 แต่ความเป็นเพื่อนของตะวันกับมายเริ่มต้นมาเนิ่นนานก่อนหน้านั้น เรียนมัธยมฯ ที่เดียวกัน มหาวิทยาลัยก็อยู่คณะใกล้กัน ตะวันเรียนจบด้านแฟชั่นดีไซน์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนมายจบสถาปัตย์ ต่างคนต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตของตัวเองหลังสำเร็จการศึกษา มายผู้สนใจเรื่องความยั่งยืนเป็นทุนเดิมเปิดสตาร์ทอัปทำเทคโนโลยีที่แปลงวัสดุใช้แล้วในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ส่วนตะวันบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่อิตาลี และมีโอกาสได้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ดีไซเนอร์ที่เมืองโคเปนเฮเกน […]

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

อะไรทำให้ All I Want for Christmas Is You ขึ้นชาร์ตทุกปี จนมารายห์ แครี นั่งตำแหน่งราชินีคริสต์มาส

I don’t want a lot for Christmas.There is just one thing I need… ถ้าได้ยินท่อนข้างบนแล้วไม่กด Skip ไปเสียก่อน เรามั่นใจว่าคนฟังเพลงป็อป โดยเฉพาะยิ่งถ้าเป็นคนเลิฟคริสต์มาส รักความ Festive ด้วยแล้ว ร้อยทั้งร้อยน่าจะฮัมต่อได้จนจบ เรากำลังพูดถึง All I Want for Christmas Is You เพลงคริสต์มาสที่คล้ายจะเป็นทั้ง ‘บำนาญ’ และ ‘ตำนาน’ ของ Mariah Carey  ที่บอกว่าเป็นบำนาญเพราะเมื่อใกล้ถึงเทศกาลคริสต์มาสทีไร เพลงนี้จะวนกลับมาทวงอันดับหนึ่งบนชาร์ต Billboard Hot 100 ปั๊มเงินให้มารายห์แบบที่ถ้านั่งอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไรก็มี Passive Income เข้ามาแบบสวยๆ  และไม่ได้พูดเกินจริงเลยที่บอกว่าเป็นตำนาน เพราะเพลงนี้ใช้เวลานานถึง 25 ปีกว่าจะกลับมาดังเป็นพลุแตก หลังจากปล่อยครั้งแรกเมื่อปี 1994 นู่นแน่ะ ว่าแต่อะไรทำให้ […]

ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

HAUP แอปฯ รถเช่าที่ลูกค้าเลือกจ่ายได้ตามเวลาที่ใช้ แถมยังได้ช่วยเมืองแก้ปัญหารถติด

เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในสุดสัปดาห์นั้น มันเป็นสุดสัปดาห์ที่คนกรุงเทพฯ ได้หยุดยาวติดกันหลายวัน หลายคนจึงแพลนไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อใช้วันหยุดให้คุ้มค่าที่สุด ฉันกับเพื่อนก็ไม่ต่าง แต่เรามีเวลาว่างตรงกันแค่ 1 วัน เลยวางแผนจะขับรถออกไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ แบบวันเดย์ทริป ติดตรงที่โทรไปขอเช่ารถที่ไหนเขาก็ไม่ให้ “ถ้าจะเช่าต้องเช่าสองวันขึ้นไป” ทุกที่พูดเหมือนกันหมด ฉันเกือบถอดใจ จนกระทั่งเพื่อนทักมาบอกว่า “ไปเจอนี่มา ลองไหม” ‘นี่’ ที่เพื่อนหมายถึงคือบริการรถเช่าที่คิดค่าเช่ารถตามระยะทางและเวลาที่ใช้ ในระบบมีรถยนต์หลายแบบให้เลือกขับ แถมยังมีจุดให้บริการกระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง พอฉันคำนวณราคาดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากราคาเช่ารถต่อวันเท่าไหร่ เราจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ลอง นั่นคือครั้งแรกที่ฉันได้ลองใช้บริการของ HAUP ประสบการณ์การเช่ารถ 1 วันนั้นเต็มไปด้วยเรื่องเซอร์ไพรส์ ตั้งแต่การควบคุมระบบทุกอย่างของรถได้จากแอปฯ การที่ HAUP มีบัตรเติมน้ำมันฟรีให้ หรือแม้กระทั่งความสะดวกสบายจากการเช่ารถได้โดยไม่ต้องเจอเจ้าของรถตัวจริงเลย สิ่งที่เซอร์ไพรส์ฉันมากที่สุดเกิดขึ้นหลังจากที่ลองเสิร์ชข้อมูลของ HAUP เล่นๆ และพบว่า HAUP ไม่ใช่บริการที่ก่อตั้งใหม่ แต่เปิดมาแล้วถึง 6 ปี มากกว่านั้นคือพวกเขาไม่ใช่บริการรถเช่าอย่างที่ฉันคิด แต่นิยามตัวเองว่าเป็นบริการ ‘Carsharing’ หรือการชวนคนที่มีรถอยู่แล้วมาปล่อยให้เช่า โดยมีเป้าหมายคือการทำให้อัตราการซื้อรถของคนเมืองน้อยลง  เมื่อคนซื้อรถน้อยลง การจราจรและสภาพอากาศในเมืองจะดีขึ้น ‘กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์’ CEO ของ HAUP สรุปให้ฉันฟังอย่างนั้น […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

ผักDone แบรนด์กระถางหมักเศษอาหาร DIY ที่อยากเป็นสะพานเชื่อมคนเมืองกับธรรมชาติ

ตามประสาคนเมืองผู้ใช้ชีวิตอยู่กับห้องสี่เหลี่ยม เราโหยหาธรรมชาติเป็นพิเศษในวันที่ใจเหี่ยวเฉา ทุกครั้งที่รู้สึกหมดแรงทำอะไร เสียงน้ำ สายลมแผ่ว และสีเขียวเติมพลังเราได้ในหลายมิติ  ‘นิต้า-มานิตา วิวัฒน์เศรษฐชัย’ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าถอดตำแหน่งเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการจัดการขยะอาหารออกไป ชีวิตของมานิตาก็ยังน่าสนใจสำหรับเราอยู่ดี เพราะหลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เธอก็ค้นพบว่าสิ่งที่อยากทำไม่ใช่การรักษาโรคภัย แต่เป็นการดูแลตัวเองเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ นั่นคือเหตุผลให้เธอเบนสายมาศึกษาเรื่องอาหาร จิตใจ และสิ่งแวดล้อม มานิตาเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนได้ 3 ปี ก่อนจะลาออกมาใช้ชีวิตของตัวเองโดยไม่อยากพึ่งเงินตรา ความฝันสูงสุดคือการใช้ชีวิตแบบโจน จันได  2 ปีหลังจากนั้น เธอปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือเครื่องมือหนึ่งในการใช้ชีวิต แต่การจะหาเงินมาอย่างไร นั่นคือคำถาม คำถามนั้นกลายเป็นที่มาให้เธอสร้าง ‘ผักDone’ แบรนด์รักษ์โลกที่มีเป้าหมายในการเชื่อมให้คนเมืองได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียน ผ่านสินค้าและบริการในการจัดการขยะอาหาร โดยมีสินค้าไฮไลต์เป็นกระถางดินเผาหมักอาหารที่ผู้ใช้งานนำไปหมักแบบ DIY ได้เอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ วิธี และกลิ่นเหม็น “เราเห็นความสำคัญของต้นไม้ รู้ว่าการไม่มีมันอยู่เป็นยังไง” เหตุผลในการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างของคนคนหนึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ แต่สำหรับมานิตา ‘ต้นไม้’ คือคำที่เปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการดำเนินชีวิตของเธอ ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่เธอจะก่อตั้งผักDone มานิตาในวัยเด็กอาศัยในบ้านหลังเก่าที่ถึงแม้จะตั้งอยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่รกร้างและร่มเงาของต้นจามจุรีข้างบ้าน ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ของเธอจึงผูกโยงกับสีเขียวอย่างแยกไม่ออก “มีต้นจามจุรีต้นหนึ่งอยู่ข้างบ้าน อีกต้นอยู่ด้านหลัง” เธอย้อนความให้ฟัง “มันร่มเย็นมาก ตอนนั้นไม่ได้ Appreciate มัน […]

Midnights อัลบั้มที่กลั่นกรองจากความรัก ชีวิต และสิ่งที่ Taylor Swift คิดในคืนที่นอนไม่หลับ

ถ้าไม่ใช่ที่สุด, เทเลอร์ สวิฟต์ ก็น่าจะเป็นหนึ่งในศิลปินที่ขยันที่สุดในอุตสาหกรรมเพลงตะวันตก นับตั้งแต่อายุก้าวเข้าเลข 3 ในปี 2020 เทเลอร์ออกอัลบั้มใหม่มาแล้ว 4 ชุด ทั้งอัลบั้มเพลงแนวโฟล์กที่เธอทำใหม่ทั้งหมดอย่าง Folklore และ Evermore รวมถึงอัลบั้มเก่าที่เธอนำมาอัดเสียงอีกครั้ง แถมยังทำเพลงใหม่เพิ่มเข้าไปให้พิเศษกว่าเดิมอย่าง Red (Taylor’s Version) และ Fearless (Taylor’s Version) ไม่เพียงเท่านั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เทเลอร์ยังกระโดดไปทำสิ่งที่เราไม่เคยเห็นเธอทำมาก่อน ทั้งเป็นนักแสดงในหนังมิวสิคัลอันลือลั่น (ในทางไหนว่ากันอีกที) เรื่อง Cats, ไปลองกำกับหนังสั้นประกอบเพลง All Too Well (10 Minute Version) ของตัวเองที่ได้นักแสดงวัยรุ่นชื่อดังอย่าง Sadie Sink และ Dylan O’Brien มาเล่นให้ ปังบ้าง เป๋บ้าง เป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิต สิ่งสำคัญคือเทเลอร์ไม่หยุดทดลองสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งหากมองในมุมของคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในแสงสปอตไลต์ของวงการบันเทิง นั่นอาจเป็นเรื่องจำเป็น ล่าสุด […]

Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์

ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง  ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]

กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.