5 หนังและซีรีส์อินเดียท้าทายค่านิยม โชว์กึ๋นคนทำหนังแดนภารตะ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านาทีนี้ หนึ่งในหนังที่มาแรงสุดๆ ในไทยคือ Gangubai Kathiawadi ที่ทำให้บางคนเปลี่ยนภาพจำของหนังอินเดียที่มักเป็นภาพของการร้อง เล่น เต้นข้ามภูเขาของพระนาง  ในความเป็นจริง หนังอินเดียก้าวไปไกลกว่านั้นมานานแล้ว หนังบางเรื่องจุดประเด็นถกเถียงในความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ ในสังคม (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดหรือถูก) ไม่ว่าจะด้านศาสนา การศึกษา อาชญากรรม และสิทธิเสรีภาพ บางเรื่องประสบความสำเร็จจนทำรายได้หลักล้านล้าน (ใช่ หลักล้านล้าน อ่านไม่ผิดหรอก) และบางเรื่องถึงขั้นโดนฟ้องร้องตอนออกฉาย อย่างไรก็ดี นี่คือโอกาสเหมาะที่เราอยากแนะนำหนังอินเดียเรื่องโปรดให้ดู เพราะเชื่อว่าหนังจากดินแดนภารตะแห่งนี้มีความ ‘ว้าว’ ที่รอให้เราไปสำรวจอีกเยอะ  01 | Gangubai Kathiawadi (2022) ไม่แปลกใจเลยสักนิดว่าทำไม Gangubai Kathiawadi ถึงมีกระแสฮือฮาในบ้านเรา เพราะนี่คือหนังหญิงแกร่งแห่งมุมไบที่เต็มไปด้วยความบันเทิงครบเครื่อง และเมสเซจอันจัดจ้าน ถึงแก่น มันเล่าเรื่องราวของ ‘คังคุไบ’ ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กสาวที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแสดง กระทั่งถูกสามีหลอกไปขายให้ซ่องโสเภณี แต่ชีวิตของเธอก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เธอสู้ชีวิตกลับด้วยการพยายามฝ่าฟันจนกลายมาเป็นแม่เล้า มาเฟีย รวมถึงแอ็กทิวิสต์สาวสุดปังแห่งย่านกามธิปุระผู้ผลักดันสิทธิของผู้ค้าบริการและเด็กกำพร้า  อันดับหนึ่งบนเน็ตฟลิกซ์ไทยตลอดทั้งสัปดาห์คงการันตีได้ว่า Gangubai Kathiawadi เป็นหนังที่ป็อปปูลาร์มากแค่ไหนในบ้านเรา ยังไม่นับรวมการถูกคัฟเวอร์ลุคโดยดารานักร้องและแม่ค้าออนไลน์ทั่วราชอาณาจักร (ถ้าหันมาเรียกร้องสิทธิให้เซ็กซ์เวิร์กเกอร์ไทยด้วยจะดีมากๆ) ดู Gangubai […]

จากของฝากสู่เวทีมิสแกรนด์ ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee แบรนด์ที่ส่งต่อวัฒนธรรมภูเก็ตผ่านผืนผ้า

ในฐานะคนที่รักเสื้อผ้าแนวมินิมอลเป็นชีวิตจิตใจ มีไม่กี่ครั้งหรอกที่เราจะเห็นเสื้อผ้าสีสันสดใส เต็มไปด้วยลวดลาย แล้วจะรู้สึกใจเต้น ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee คือหนึ่งในนั้น เหมือนกับใครหลายคน-ครั้งแรกที่เราเห็นชุดผ้าสีสดใสแบรนด์ยาหยีคือในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ปีล่าสุด ที่โบกี้-เณอริสา ธนะ มิสแกรนด์จังหวัดปัตตานีใส่เข้ากอง และนั่นเปลี่ยนภาพจำเดิมๆ เกี่ยวกับชุดผ้าปาเต๊ะของเราไปทันที ไม่ใช่แค่การแมตช์สีที่ถูกใจทั้งคนรุ่นใหญ่และคนรุ่นใหม่ หรือการดีไซน์ลวดลายที่ทั้งละเอียดลออและสอดแทรกเรื่องราวชาวภูเก็ตลงไปพร้อมกัน แต่เรื่องราวเบื้องหลังการสร้างแบรนด์ยาหยีจากรุ่นแม่มาสู่รุ่นลูกก็น่าสนใจมาก พวกเขาทำให้ผ้าปาเต๊ะที่เคยเป็นของเก่าป็อปปูลาร์ได้อย่างไร ภูมิ-พงศ์พิวิชญ์ ทั่วไตรภพ ทายาทรุ่นสองของยาหยีรอเราอยู่พร้อมคำตอบ ปาเต๊ะ 101 ปาเต๊ะอาจเป็นคำที่คนไทยคุ้นหูมานาน และภาพที่หลายคนชินตาคือผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด รังสรรค์จากการปิดเทียน แต้ม ระบาย และย้อมสีให้สดใส แต่หากย้อนกลับไปดูในประวัติศาสตร์ อาจเห็นได้ว่าหลายประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นหรืออินเดีย มีศิลปะประเภทที่ใช้ปากกาเขียนเทียนทองเหลืองหรือเปลือกไม้ต่างๆ มาสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าเช่นกัน โดยอาจมีคำเรียกและแพตเทิร์นที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่นเดียวกับศักดิ์และสิทธิ์ของผ้าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย  ปาเต๊ะเคยเป็นผ้าที่คนทั่วไปสวมใส่ และครั้งหนึ่งมันเคยเป็นผ้าพิเศษของสุลต่าน มีช่วงใหญ่ที่ห้ามวาดรูปสัตว์บนผ้าเพราะผูกโยงกับความเชื่อทางศาสนา กระทั่งยุคที่มาเลเซียและอินโดนีเซียทำการค้าขายร่วมกัน วัฒนธรรมผ้าปาเต๊ะได้เผยแพร่ไปยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเต็มไปด้วยคนจีนโพ้นทะเลที่ย้ายเข้ามาตั้งรกราก ทำให้เกิดวัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่เปลี่ยนให้ปาเต๊ะกลายเป็นผ้าสีสันสดใสและเต็มไปด้วยลวดลายสัตว์มงคลอย่างหงส์ฟ้า ไก่ฟ้า มังกร หรือนกฟีนิกซ์  สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ เพื่อนบ้านของเราเรียกปาเต๊ะว่า บาติก (บา แปลว่า ศิลปะ ส่วนติกแปลว่า จุด […]

ตามหาตัวตนและรักหมดใจใน Heartstopper ซีรีส์วัยรุ่นฟีลกู้ดที่บอกว่าใครก็มีความรักดีๆ ได้

ถ้าตอนเด็กๆ คุณเคยดูหนังรักวัยรุ่นแล้วอินจนอยากมีความรักบ้าง เราคือเพื่อนกัน และถ้าตอนเด็กๆ คุณรู้ว่านั่นเป็นได้แค่ฝัน ความจริงแล้วคุณนึกภาพตัวเองมีความรักแบบตัวละครไม่ออกเพราะคุณกับพวกเขาไม่ ‘เหมือน’ กันเลยสักนิด เราขอยกมือตบบ่าอย่างเข้าใจ ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ เราเติบโตมากับหนังและซีรีส์โรแมนติกที่ตัวเอกเป็นชาย-หญิงที่รักเพศตรงข้าม หากจะมีเรื่องที่เล่าชีวิตรักของคนในคอมมูฯ ก็มักจะจบไม่สวย เต็มไปด้วยภาพชีวิตอันยากลำบากของชาวเพศหลากหลายที่สมจริงแต่ก็หดหู่ จนบางครั้งก็ทำให้เราในวัยเด็กดูแล้วตั้งคำถามว่า เกิดมาชอบเพศเดียวกันแล้วฉันจะมีความรักใสๆ มีโมเมนต์ใจเต้นตึกตักหรือความรู้สึกว่ามีผีเสื้อบินในท้องแบบเด็กคนอื่นไม่ได้เลยเหรอ หลายปีผ่านไปจนเลยวัยเด็กมาไกล ไม่เคยมีหนังหรือซีรีส์เรื่องไหนตอบคำถามนั้นได้ จนกระทั่งเรารู้จัก Heartstopper เพื่อนคนพิเศษ  อันที่จริง ครั้งแรกที่ได้ยินชื่อ Heartstopper ไม่ใช่ซีรีส์ แต่เป็นคอมิกขายดีของ Alice Oseman นักเขียนชาว LGBTQ+ ที่ได้รับความนิยมมากจน Netflix หยิบมาทำซีรีส์  Heartstopper เริ่มต้นเรื่องราวที่โรงเรียนชายล้วนทรูแฮม ในวันเปิดเทอมหลังเทศกาลปีใหม่ ชาร์ลี (รับบทโดย Joe Locke) เด็กหนุ่มขี้อายผู้เปิดตัวว่าเป็นเกย์คนเดียวในโรงเรียน นัดพบกับ เบน (รับบทโดย Sebastian Croft) เด็กหนุ่มคนรักในความลับเพื่อมาจู๋จี๋กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับชาร์ลีไปแล้วที่จะมาเจอเบนในเวลากับสถานที่ที่อีกฝ่ายสะดวก เพราะเบนกำลังค้นหาตัวเอง ไม่มีแผนจะเปิดตัวกับใคร และใช่ว่าชาร์ลีพูดอะไรไปแล้วเบนจะสนใจ เขาแค่มาหาในเวลาที่อยากกอดจูบกับผู้ชายเท่านั้น แม้ภายนอกจะยิ้มแย้มแจ่มใส […]

Tiffany’s Show เพชรแห่งพัทยาที่อยากเอาใจลูกค้าพอๆ กับสร้างอาชีพให้ชาว LGBT+

Urban Creature x UN Women นึกถึงพัทยา คุณนึกถึงอะไร ต้นมะพร้าว ตลาดน้ำ หาดจอมเทียน หรือชีวิตกลางคืน พัทยาในความคิดของทุกคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าถามฉัน ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ และได้ยินชื่อสถานที่แห่งนี้มานาน-ฉันนึกถึง Tiffany’s Show นับตั้งแต่เปิดการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ.2517 Tiffany’s Show กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนมาเยือนพัทยาต้องนึกถึง แต่มากกว่าสาวสวย รวยความสามารถ และการแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งเป็นภาพจำของใครหลายคน ที่นี่ยังถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง มากกว่านั้นคือสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมถึงชาว LGBTQ+ ที่เดินทางจากทั่วประเทศหลายร้อยชีวิต สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือโรงละคร Tiffany’s Show, เวทีประกวด Miss Tiffany’s Universe และ Miss International Queen นั้นควบคุมงานโดย จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง และผู้บริหารหญิงที่ยกระดับให้โชว์แห่งนี้โด่งดังไกล ผลักดันให้ LGBTQ+ ไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คอลัมน์ประจำจังหวัดคราวนี้ ฉันจึงอาสาพาทุกคนมาหาลมทะเลพัทยา ก้าวเข้าไปในโถงโอ่อ่าของ Tiffany’s Show เพื่อพูดคุยกับอลิสาถึงประวัติศาสตร์ของโรงละครตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง […]

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

เป็นสิตางศุ์ เป็นนางร้าย เป็นลิซ่า ‘พีทพามานา’ Creator ที่ใช้เสื้อผ้าแม่ทำ Parody วิวหลักล้าน

ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยที่บูมขึ้นเรื่อยๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นและโดนใจคนหมู่มากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ยากกว่าคือการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อจูงใจให้คนยังกดติดดาว (หรือกระดิ่ง) ช่องเราไว้เสมอ แต่ความชอบคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน การจะยืนระยะในวงการนี้ได้นั้นเรียกร้องเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถูกอกถูกใจคนดู และหนึ่งในครีเอเตอร์ที่ทำแบบนั้นได้คือ ‘พีทพามานา’ แม้ว่าแอ็กเคานต์ติ๊กต็อกและเพจของ พีท-สุทิน โคตะถา จะเปิดมาได้แค่ปีกว่าๆ แต่ครีเอเตอร์วัย 27 ปีคนนี้ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้คนดูได้หัวเราะ (หรืออย่างน้อยก็กระตุกมุมปากยิ้มล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคลิปเลียนเสียงคนดังอย่าง พิม นาคำไฮ หรือ สิตางศุ์ บัวทอง คลิปพาโรดี้ละครไทย ล่าสุดคือคลิปคัฟเวอร์เอ็มวีเพลง LALISA ของ LISA วง BLACKPINK ที่มียอดวิวกว่า 3 ล้านวิวเข้าไปแล้ว! ด้วยยอดคนดูขนาดนี้ ไม่เกินจริงเลยถ้าจะเรียกพีทว่าดาวติ๊กต็อก นอกจากจริตจะก้านการแอ็กติ้งที่ดูแล้วต้องตบเข่าฉาด เหตุผลที่ทำให้หลายคนกดติดตามพีทคือการสร้างคอนเทนต์จาก ‘อะไรง่ายๆ’ ที่อยู่รอบตัวอย่างการหยิบยืมเสื้อผ้าของแม่กับพี่สาวมาใส่ ไหนจะใช้นาข้าวในชนบทของอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นฉากหลัง  สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือเบื้องหลัง ‘อะไรง่ายๆ’ เหล่านั้นต้องแลกกับอะไรบ้าง คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนไปสำรวจโลกของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ง่ายดายเหมือนใช้ปลายนิ้วไถฟีด เสียงแมงแคงบินว่อน ลมจากเถียงนาพัดเอื่อย อีกฝั่งของวิดีโอคอล พีทในชุดเดรสแหวกอกกับวิกหน้าม้ารอให้คำตอบกับเราแล้ว โตมากับละครไทย […]

1 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.