ปั่นรถถีบในเชียงใหม่ เพจบ่นเรื่องถนนหนทางของคนขี่จักรยานที่อยากให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ Bicycle-friendly มากขึ้น

บอส-สิทธิชาติ สุขผลธรรม ไม่ใช่คนเชียงใหม่ แต่เขาคือเจ้าของเพจ ‘Chiang Mai Urban Cyclist: ปั่นรถถีบในเชียงใหม่’ ที่อยากผลักดันให้การขับขี่จักรยานในเชียงใหม่นั้นปลอดภัย มีถนนหนทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อนักปั่นกว่าที่เคย จะพูดว่าบอสชอบปั่นจักรยานจนต้องลุกขึ้นมาก่อตั้งเพจก็อาจพูดได้ไม่เต็มปาก แต่หากจะกล่าวว่าชายหนุ่มชินกับการใช้จักรยาน บวกกับความอินเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ติดตัวมาตั้งแต่วัยรุ่น นั่นอาจนับเป็นแรงจูงใจในการทำเพจได้ เพราะมากกว่าการเรียกร้องเรื่องถนนหนทางและความปลอดภัย เพจของบอสยังอยากผลักดันไปถึงการตั้งนโยบายและพัฒนาเมืองในสเกลใหญ่ ที่ผู้ได้ประโยชน์จะไม่ใช่แค่นักปั่น แต่คือคนเชียงใหม่ทุกคน เวลา 3 ปีที่มาอยู่เชียงใหม่ทำให้คนที่ขับขี่จักรยานในชีวิตประจำวันเช่นเขามองเห็นอะไรบ้าง และแรงผลักดันหน้าตาแบบไหนที่ทำให้เขาเชื่อว่าเชียงใหม่จะเป็นเมือง Bicycle-friendly ได้ในที่สุด เรานัดเจอบอสเพื่อสนทนาเรื่องนี้กัน แน่นอนว่าในวันที่นัดเจอ เขาปรากฏตัวพร้อมกับจักรยานคู่ใจที่ขี่ไปไหนมาไหนรอบเมือง “เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด” “เราสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เรียนจบ ม.6 พอขึ้นมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่ชมรมอนุรักษ์ งานหลักๆ ของชมรมคือจัดค่ายและแคมเปญ แต่จริงๆ มันเป็นเรื่องการปลูกจิตสำนึกให้คนเข้าใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า  “พอเรียนปริญญาตรีจบ เราไปเรียนต่อโทด้านวิศวกรรมทางทะเลที่ฮาวาย ที่นั่นทำให้เราเริ่มขี่จักรยานเพราะมันเป็นการเดินทางที่สะดวกและถูกที่สุด เราใช้รถเมล์บ้าง แต่บางทีรถเมล์ก็ไม่ได้พาเราไปสุดทางที่อยากไป และบางทีมันก็ช้ากว่าขี่จักรยานเสียอีก “ฮาวายเป็นเกาะที่เป็นมิตรกับคนขี่จักรยาน ด้วยเพราะต้นไม้เยอะ ถนนมีร่มเงา คนที่นั่นจึงใช้จักรยานกันค่อนข้างเยอะ ถนนจะมีเลนจักรยานโดยเฉพาะในบางพื้นที่ ส่วนโซนที่ไม่มีเขาก็จะมีป้ายเขียนว่า Share the Road เพื่อให้คนขับรถให้ทางกับคนขี่จักรยานด้วย แม้แต่บนรถเมล์ก็จะมีพื้นที่ให้วางจักรยานบนนั้น   “เราอยู่ฮาวายได้สามปี […]

Sapphic Riot บาร์ของนักกิจกรรมที่อยากสร้างพื้นที่กิน-ดื่ม และเป็นตัวเองได้เต็มที่ให้ชาวแซฟฟิกในเชียงใหม่

ความมืดกำลังโรยตัวปกคลุมเชียงใหม่ ฉันก้าวขาจากรถลงเดินบนถนนสิงหราชที่นักท่องเที่ยวขวักไขว่ เปิดประตูเข้าร้านเล็กๆ ริมทางและปล่อยสายตาให้ได้ปรับตัวกับแสงไฟ อาจเป็นเพราะจังหวะเพลงที่พอโยกตัวได้ เสียงชงเครื่องดื่มเบาๆ จากบาร์ และป้ายประกาศซึ่งตั้งอยู่รอบร้านที่ทำให้ฉันรู้สึกสบายใจ PRIDE, SISTERHOOD, RESPECT คือตัวอย่างคำที่ฉันปรายตาเร็วๆ แล้วสังเกตเห็น และอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้รู้สึกอย่างนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย Sapphic Riot คือบาร์ที่สร้างสรรค์มาเพื่อชาวแซฟฟิก (Sapphic) โดยเฉพาะ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าคำนี้แปลว่าอะไร หมวย หญิงสาวเจ้าของบาร์ผู้กำลังนั่งอยู่ตรงหน้าฉันตอนนี้อธิบายว่า แซฟฟิกคือคอมมูนิตี้ของคนที่เป็นผู้หญิงและคนที่รักผู้หญิง ซึ่งไม่ได้นับรวมแค่คนที่นิยามอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองว่าเลสเบี้ยนเท่านั้น แต่ร่มของแซฟฟิกนั้นครอบคลุมไปถึงไบเซ็กชวล แพนเซ็กชวล ทรานส์เจนเดอร์ เควียร์ ไปจนถึงกลุ่มนอนไบนารี นี่คือบาร์แซฟฟิกแห่งแรกในเชียงใหม่ และนั่นคือสิ่งที่ชวนให้ฉันสนใจบาร์แห่งนี้ในทีแรก แต่พอได้นั่งคุยกับผู้ก่อตั้งจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ความตั้งใจของหญิงสาวตัวเล็กๆ ที่อยากสร้างพื้นที่ที่เธอเสาะแสวงหามาทั้งชีวิต เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนในคอมมูนิตี้ และพื้นที่ที่เธอกับเพื่อนชาวแซฟฟิกสามารถ ‘เป็น’ และ ‘ทำ’ อะไรได้โดยไม่ถูกตัดสินจากใคร Sapphic Pride “สิ่งที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดเกี่ยวกับคอมมูฯ แซฟฟิกคืออะไร” ท่ามกลางเสียงเพลงในร้านที่ดังคลอ ฉันเปิดบทสนทนาด้วยการชวนหมวยครุ่นคิดเกี่ยวกับคอมมูนิตี้ของเธอ “คนส่วนมากจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทบาททางเพศว่าเราต้องเป็นฝ่ายไหน ใครจะต้องเป็นฝ่ายเทกแคร์อีกคน ซึ่งจริงๆ มันค่อนข้างลื่นไหลมาก” หญิงสาวตอบชัดถ้อยชัดคำ “แต่ปัญหาหลักๆ เราคิดว่ามันคือการที่เราไม่ถูกมองเห็นโดยคนในสังคมมากกว่า […]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม

[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]

Skyline Film ธุรกิจหนังกลางแปลงของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการดูหนัง

ประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของคุณถูกนิยามไว้แบบไหน ต้องอยู่ในห้องที่เงียบและมืดสนิท แอร์เย็นฉ่ำ เก้าอี้นุ่ม หรือมีป็อปคอร์นเสิร์ฟตลอดการฉาย ตามประสาคนรักหนัง เราเคยคิดว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยสร้างอรรถรสได้ไม่น้อยเช่นกัน จนกระทั่งได้รู้จักกับ Skyline Film Bangkok กิจกรรมฉายหนังที่ป็อปขึ้นมาบนหน้าฟีดเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าคุณเคยเห็นเหมือนกัน อาจพอรู้ว่า Skyline Film Bangkok นั้นเป็นการฉายหนังบนดาดฟ้า มองเผินๆ แล้วไม่ต่างอะไรจากหนังกลางแปลงที่เราคุ้นเคย แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ พวกเขาจัดฉายหนังบนดาดฟ้าที่เน้นขายบรรยากาศ ความสะดวกสบาย และสร้างประสบการณ์แบบใหม่ที่นักดูหนังอาจไม่เคยได้รับจากที่ไหนอย่างการดูหนังเอาต์ดอร์แล้วสวมหูฟังของตัวเอง ไหนจะมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ เครื่องดื่มพิเศษ โฟโต้บูท ให้มาทำคอนเทนต์รอดูหนัง ธรณ์ พิทูรพงศ์ และ แมน-พลัฏฐ์ เหมะจันทร์ คือสองชายหนุ่มที่อยู่เบื้องหลังอีเวนต์นี้ ซึ่งบอกเลยว่ากำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเทรนดี้และนักท่องเที่ยวสุดๆ จากการฉายครั้งแรกที่กะทำเอาขำๆ พวกเขาขยับขยายให้กลายเป็นธุรกิจจริงจัง เปลี่ยนภาพจำเกี่ยวกับประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของหลายคนไปตลอดกาล ข้างหลังจอภาพ Skyline Film Bangkok เริ่มต้นด้วยวิธีคิดแบบใด และอะไรทำให้การฉายหนังของพวกเขาพิเศษขึ้นมา เราขอชวนคุณหย่อนก้นนั่ง ใส่หูฟัง แล้วตามไปฟังเคล็ดลับของพวกเขากัน จากไต้หวันสู่เมืองไทย บทเรียนภาษาจีนคือสิ่งที่ดึงดูดธรณ์ให้เดินทางไปไต้หวัน แต่ขากลับนอกจากสกิลภาษา เขาได้ธุรกิจติดมือมาประเทศไทยด้วย หลายปีก่อนระหว่างที่ไปลงคอร์สเรียนภาษา ชายหนุ่มสมัครงานพาร์ตไทม์ทำ เขาได้งานในบริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพไต้หวันที่อยากมาลงทุนในไทย […]

คุยกับ Mission To Top U เรื่องศักยภาพเด็กไทย โอกาสไปเมืองนอก และสกิลทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต

ถ้าถามเด็กไทยว่าความใฝ่ฝันอันดับต้นๆ คืออะไร มั่นใจว่า ‘ไปเรียนเมืองนอก’ คือคำตอบของใครหลายคน แต่พอเราพูดคำว่าไปเมืองนอกแล้ว สิ่งที่จะนึกถึงตามมาคือทุน โอกาส และความสามารถในการไปถึงเป้าหมายตรงนั้น ซึ่งน่าเศร้าที่ใครหลายคนถูกดับฝันเพราะขาดปัจจัยเหล่านี้ Mission To Top U คือบริการที่เกิดขึ้นเพราะอยากลบเพนพอยต์ที่ว่า ก่อตั้งโดย ‘เมฆ-ระดมเลิศ อนันตชินะ’ และเพื่อนอีก 3 คน ผู้เชื่อว่าเด็กไทยก็มีความสามารถในการสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ไม่แพ้ใครเขา แต่สิ่งที่ขาดไปคือข้อมูลที่ช่วยกรุยทาง รวมถึงประสบการณ์ เป้าหมาย และความมั่นใจที่ต้องติวเข้ม เมฆและเพื่อนๆ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ Top U จึงลุกขึ้นรวมตัวกันเพื่อทำภารกิจนี้ โดยเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อส่งต่อความรู้ที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ ไปจนถึงการติวเข้มตัวต่อตัว นับถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 8 ปีที่ Mission To Top U ได้ติวเข้มให้เด็กๆ เดินทางไปสู่ฝั่งฝัน คอลัมน์ Think Thought Thought จึงขอถือโอกาสนี้ชวนเมฆมานั่งสนทนากัน ว่าด้วยความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเด็กไทย มุมมองที่เขามีต่อระบบการศึกษาของบ้านเราและของโลก ไปจนถึงสกิลสำคัญที่นักศึกษาและคนทำงานในอนาคตต้องมี Mission to Better Future […]

เบื้องหลัง USE LOOP REPEAT อีเวนต์โดย Loopers ที่อยากชวนทุกคนมาจอยน์ไลฟ์สไตล์ยั่งยืนอย่างสนุก

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Urban Creature มีโอกาสนั่งคุยกับ Loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้าที่อยากให้การซื้อขายเสื้อผ้ามือสองนั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่น่ากลัว จำได้ว่าวันที่เราเจอกันครั้งแรก Loopers ยังมีเสื้อผ้าอยู่ในแพลตฟอร์มไม่ถึง 200 ตัว แต่ในขวบปีที่ 3 ‘เกด-พิชามาศ ชัยงาม’ ผู้ก่อตั้งเล่าอย่างตื่นเต้นว่า ตอนนี้ในแพลตฟอร์มมีเสื้อผ้าทั้งหมดในสต๊อกกว่า 20,000 ตัว มี ‘นักลูป’ ที่กลับมาซื้อขายซ้ำกันมากมาย และมีแผนจะขยับขยายให้ด้อมนักลูปนั้นแข็งแรงกว่าเดิม แต่ความสำเร็จเหล่านั้นไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่พาให้เรามานั่งคุยกับ Loopers ในวันนี้ อันที่จริงมันคืออีเวนต์ชื่อ USE LOOP REPEAT ที่นับว่าเป็นแผนการขยับขยายที่เกดพูดถึง และสำหรับเธอ อีเวนต์นี้ถือว่าเป็นอีเวนต์แรกของ Loopers ที่มีสเกลใหญ่เกินตัวไปมาก แม้ไม่เคยผ่านงานด้านออร์แกไนเซอร์มาก่อน แต่เธอก็อยากลงมือทำมันให้สำเร็จ อธิบายคร่าวๆ USE LOOP REPEAT คืออีเวนต์ที่รวมทั้งตลาด ทอล์ก และเวิร์กช็อปเกี่ยวกับความยั่งยืนมาไว้ในงานเดียว โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 24 – 28 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ บน Open House ชั้น […]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

‘ประชาบาร์’ หมุดหมายใหม่ของนักดื่มหัวใจประชาธิปไตย ที่อยากเป็นพื้นที่ปลอดภัยคุยกันได้ทุกเรื่อง

ในยุคที่มีบาร์เปิดใหม่ทั่วทุกมุมเมือง คุณอาจสงสัยว่า ทำไมคอลัมน์ Urban Guide อยากชวนมา ‘ประชาบาร์’ เหตุผลแรก เพราะที่นี่เป็นทั้งบาร์และ Co-working Space ในที่เดียวกัน แถมยังเปิดตั้งแต่เย็นย่ำไปจนถึงดึกดื่น เหตุผลที่สอง นี่คือบาร์ของ ‘เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล’ นักกิจกรรมรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดคนหนึ่ง โดยเขาเปิดร่วมกับผองเพื่อนอย่าง ‘สิรินทร์ มุ่งเจริญ’ และมีผู้จัดการร้าน ‘วสิษฐ์พล ตังสถาพรพันธ์’ ดูแลอยู่ โดยมีร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อ ‘ประชาธิปไตยกินได้’ อยู่ด้านล่าง เหตุผลที่สาม นอกจากมีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีหนังสือให้อ่าน และมีคราฟต์เบียร์จากชุมชนในไทยให้จิบ ในโอกาสพิเศษ ที่นี่ยังจัดฉายหนังและเสวนาการเมืองที่ชวนผู้สนใจมาถกเถียงกันในบรรยากาศสุดชิล เหตุผลสุดท้าย นี่คือสเปซที่ขับเน้นคอนเซปต์ประชาธิปไตยในความหมายการโอบรับทุกความหลากหลาย และอยากเป็นพื้นที่ที่คนมารู้สึกปลอดภัยมากพอจะสนทนาเรื่องการเมืองและทุกๆ เรื่องอย่างอิสระ บาร์บ้านเพื่อน Cozy และ Homey เหมือนอยู่บ้านเพื่อน คือไวบ์ที่เราสัมผัสได้หลังจากก้าวขาขึ้นมาบนชั้นสองของอาคาร สิ่งแรกที่เราเจอคือโต๊ะตั้งเรียงรายซึ่งมีลูกค้าจับจองนั่งทำงานอยู่ประปราย มีชั้นหนังสือให้หยิบอ่านเล่มที่สนใจตั้งอยู่ฝั่งขวา ตู้แช่เครื่องดื่มเย็นๆ ตั้งอยู่ข้างประตูทางเข้าฝั่งซ้าย ดนตรีฟังสบายกำลังบรรเลงขับกล่อม สิรินทร์กับวสิษฐ์พลผู้เป็นเจ้าบ้านชวนเรานั่ง ยกเฟรนช์ฟรายส์กับเครื่องดื่มสีสวยมาเสิร์ฟ ไม่ใช่ค็อกเทลหรือเบียร์ที่เราเห็นในบาร์ทั่วไป แต่เครื่องดื่มของพวกเขาล้วนเป็นคราฟต์เบียร์และสาโทของแบรนด์ไทยที่ผลิตโดยคนตัวเล็กในชุมชน “ร้านเรามีไวบ์แบบชิลๆ เครื่องดื่มแต่ละอย่างที่เราเลือกมาจึงเน้นให้ดื่มง่าย” […]

Rare Finds Bookstore and Cafe ร้านหนังสือ คาเฟ่ และช็อปไลฟ์สไตล์ ที่อยากผลักดันวัฒนธรรมการอ่านในเชียงใหม่

‘Rare Finds Bookstore and Cafe’ ไม่ได้เป็นร้านหนังสือที่ตั้งอยู่ในโลเคชันหายาก และไม่ได้เป็นร้านที่ขายหนังสือหายากอย่างที่หลายคนเข้าใจ อันที่จริงร้านหนังสือบรรยากาศโฮมมี่ของ ‘เอิร์ธ-อธิษฐ์ อนุชปรีดา’ ตั้งชื่อตามท่อนหนึ่งในเพลง Time Has Told Me ของ Nick Drake ศิลปินอังกฤษที่เขาชื่นชอบ แต่ถึงจะไม่ใช่ร้านลับหรือร้านขายหนังสือหายาก ที่นี่ก็ยังถูกลิสต์เป็นหมุดหมายที่คนในท้องที่และนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนรักการอ่านอยากมาให้ได้สักครั้ง เพราะนอกจากจะมีหนังสือหลากหลายแบบให้เลือกสรร ที่นี่ยังมีกาแฟหอมกรุ่นจากจังหวัดตาก มีบอร์ดเกมให้เล่น มีโต๊ะให้นั่งทำงาน มีงานอาร์ต เสื้อผ้า และของกระจุกกระจิกฝีมือศิลปินเชียงใหม่ให้ช้อป ที่สำคัญ (อย่างน้อยก็สำหรับเรา) คือ มีแมว 3 ตัวที่เดินป้วนเปี้ยนในร้านให้ทาสแมวได้เกาคอเล่น มากกว่านั้น Rare Finds Bookstore and Cafe ยังอยากเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันศิลปะและวัฒนธรรมการอ่านเชียงใหม่ให้เฟื่องฟู วันดีคืนดี คนที่เข้ามาอาจเห็นร้านแปลงเป็น Creative Space จัดนิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดึงดูดผู้คนที่สนใจเข้ามารวมกลุ่มกัน บ่ายวันที่เชียงใหม่อากาศเย็นสบาย Urban Guide รอบนี้ขอพาคุณมาบุกเชียงใหม่ ส่องหาวรรณกรรมเล่มที่ใช่ และเอ้อระเหยกับเหล่าแมวที่ Rare […]

1 2 3 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.