FYI

ชวนคนเมืองดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ด้วยอาหารดูแลสุขภาพเชิงรุก เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการกิน ‘หมูมีโอเมก้า 3’

ยุคนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพและใช้ชีวิตอย่างสมดุลมากขึ้น เพราะทนไม่ไหวกับสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จากการทำงานหนัก การผจญรถติดวันละหลายชั่วโมง รวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนและมลพิษรอบตัว แม้จะมีหลายวิธีที่คนเมืองอย่างเราๆ สามารถเปลี่ยนสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงขึ้นได้ แต่หนึ่งในแนวทางที่ง่ายที่สุดคือการปรับพฤติกรรมการกินของตัวเอง ซึ่ง Urban Creature มีทริกแนะนำที่ทำได้ง่ายๆ เพียงเลือกกินเนื้อหมูมีโอเมก้า 3 ที่เต็มไปด้วยประโยชน์ในมื้ออาหารของเราทุกวัน ก็สามารถบำรุงร่างกายของเราให้เฮลตี้ เพราะในปัจจุบันสังคมไทยมีอัตราการเจ็บไข้ได้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะสัดส่วนผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases : NCDs) เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคเหล่านี้คือ พฤติกรรมการกินของเรานั่นเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนทั่วโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและเอกชน จึงร่วมกันจัด การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการศึกษา เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ตลอดชีวิต เมื่อวันที่ 28 – 29 กันยายน 2566 โดยภายในงานมีผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม Urban Creature ได้สรุปความรู้น่าสนใจจากสัมมนาที่เหมาะกับคนเมืองยุคใหม่ภายใต้หัวข้อ ‘การส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี’ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

FYI

theCOMMONS Cloud 11 คอมมูนิตี้แห่งใหม่ย่านสุขุมวิทใต้ เติมเต็มทุกความคิดสร้างสรรค์ของเหล่าครีเอเตอร์

เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์เตรียมตัวให้พร้อม เพราะอีกไม่นานกรุงเทพฯ จะมีพื้นที่แห่งใหม่ที่ช่วยเติมเต็มการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของนักสร้างสรรค์ทุกคน ‘theCOMMONS Cloud 11’ คือคอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่มาพร้อมคอนเซปต์ ‘Creators’ Backyard’ หรือ ‘สวนหลังบ้านสำหรับครีเอเตอร์’ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานจุดแข็งของ theCOMMONS คอมมูนิตี้สเปซที่นำเสนอ Wholesome Community หรือการใช้ชีวิตอย่างสมดุลทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น ร่วมกับแนวคิด Empowering Creators ของโครงการ Cloud 11  โดย theCOMMONS Cloud 11 ตั้งใจเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของบรรดาคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในย่านสุขุมวิทใต้ให้เป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ของเอเชีย ควบคู่กับการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศที่ทำให้การสร้างสรรค์คอนเทนต์สมบูรณ์ขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมโครงการที่มุ่งมั่นจะเป็นศูนย์กลางของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่สุดในเอเชียอย่าง Cloud 11 ถึงเลือก theCOMMONS มาเป็นพาร์ตเนอร์ นั่นเพราะ theCOMMONS คือคอมมูนิตี้ที่มีวิสัยทัศน์และพันธกิจทางธุรกิจไปในทิศทางเดียวกันกับ Cloud 11 การจับมือร่วมกันครั้งนี้จึงถือเป็นการเติมเต็มระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับวงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของไทย ช่วยให้วิสัยทัศน์ Empowering Creators แข็งแกร่งมากขึ้น รวมถึงช่วยให้วงการนักสร้างสรรค์ของไทยไปยืนอยู่ในเวทีระดับโลกได้ ‘วิชรี วิจิตรวาทการ’ ผู้บริหารคินเนสท์ กรุ๊ป […]

Overseas ความหวัง ความกลัว และชะตากรรมของแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล

“ทำไมฉันมาเจอเจ้านายแบบนี้นะโชคไม่เคยเข้าข้างฉันเลยนี่แหละชีวิตแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล” ในแต่ละปีชาวฟิลิปปินส์นับล้านต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล โยกย้ายไปอยู่ต่างแดนในฐานะ ‘แรงงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล’ หรือ ‘Overseas Filipino Workers’ เป้าหมายของคนเหล่านี้แทบไม่ต่างกัน นั่นคือ หาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และไขว่คว้าโอกาสใหม่ๆ ที่บ้านเกิดของพวกเขาให้ไม่ได้ ‘Overseas’ (2019) คือสารคดีสัญชาติเบลเยียม-ฝรั่งเศส กำกับโดย ‘Sung-A Yoon’ การันตีคุณภาพโดยรางวัล Amnesty International Catalunya Award จาก DocsBarcelona ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก DOXA และภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก Atlanta Film Festival ซึ่งทาง Documentary Club ได้นำกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ในโปรแกรมพิเศษ ‘3 หนังอาเซียนร่วมใจ’ แก่นสำคัญของสารคดีเรื่องนี้คือ เรื่องราวของผู้หญิงฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ต้องเดินทางไปทำงานเป็นคนรับใช้หรือพี่เลี้ยงเด็กในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางออกของชีวิตขัดสนในประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ แต่ก่อนจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ พวกเธอต้องทุ่มเทให้กับการเรียนใน ‘โรงเรียนแม่บ้าน’ ศูนย์ฝึกอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะที่มีอยู่แพร่หลายในฟิลิปปินส์ ที่นี่ไม่ได้สอนแค่เรื่องหน้าที่การงานให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสอนให้พวกเธอต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนเผชิญอุปสรรคมากมาย ทั้งความเหงา การถูกนายจ้างกดขี่ หรือแม้แต่การต้องตัดสินใจทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่บ้านเป็นปีๆ เพื่อไปทำงานเลี้ยงลูกให้คนอื่น กฎข้อที่ 1 : จงอย่าร้องไห้ต่อหน้าเจ้านาย […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

พาไปดู ‘เวียนนา’ เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกประจำปี 2023

‘เวียนนา’ คือเมืองที่หลายคนยกให้เป็นเมืองที่โรแมนติกที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ใครที่เคยดูหนังเรื่อง Before Sunrise คงพอจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก โดยเฉพาะซีนที่คู่พระนางเดินเที่ยว พูดคุยกัน และกระโดดขึ้นลงรถแทรม โดยมีความคลาสสิกของกรุงเวียนนาเป็นฉากหลัง ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมที่สะอาดปลอดภัย ขนส่งมวลชนที่สะดวกสบาย และตัวเมืองที่รายล้อมไปด้วยแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้มีให้เห็นกันแค่ในหนังเท่านั้น แต่ในโลกแห่งความจริง ทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบหลักที่ทำให้เวียนนาเป็นหนึ่งในต้นแบบของเมืองที่มีมาตรฐานและคุณภาพชีวิตดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดในปี 2023 กรุงเวียนนาถูกยกขึ้นมาพูดถึงอีกครั้ง หลังจาก Economist Intelligence Unit (EIU) ยกให้เมืองหลวงของประเทศออสเตรียเป็น ‘เมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก’ ติดต่อกันเป็นปีที่สอง จากการจัดอันดับทั้งหมด 173 เมืองทั่วโลก เวียนนาได้คะแนนสูงที่สุดถึง 98.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนนความน่าอยู่ยอดเยี่ยมทั้งด้านความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านเมืองที่มีเสถียรภาพ ข้อแรกที่ทำให้เวียนนากลายเป็นเมืองตัวท็อปด้านความน่าอยู่คือ ‘เสถียรภาพและความมั่นคง’ (Stability) ที่ได้ 100 คะแนนเต็ม ซึ่งความมั่นคงที่ว่านี้ประเมินจากหลายปัจจัย ได้แก่ ค่าแรง ค่าเช่าบ้าน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงทางการเมือง […]

ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย

“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมกับ ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ว่าที่ ส.ส. ที่อยากสร้างสันติภาพ

หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชื่อของ ‘พรรคเป็นธรรม’ ก็ปรากฏตามหน้าข่าวอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากคนไทยที่ติดตามการเมืองอย่างเข้มข้น ที่เป็นแบบนั้นเพราะพรรคเป็นธรรมมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เพียงคนเดียวที่ได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกลเพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนหลายคนมองว่า นี่คือหนึ่งพรรคการเมืองม้ามืดที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเต็มใบอีกครั้ง ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘กัณวีร์ สืบแสง’ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ที่ประชาชนจรดปากกาเลือกให้เป็นผู้แทนเข้าไปทำงานในสภาฯ ก่อนกระโดดเข้ามาทำงานการเมือง กัณวีร์เคยรับราชการที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จากนั้นเขามีโอกาสทำงานด้านมนุษยธรรมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่สงครามและความขัดแย้งนาน 12 ปี ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทย ทำให้กัณวีร์มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ ความมั่นคง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัณวีร์และพรรคเป็นธรรมตั้งใจที่จะสร้าง ‘การเมืองใหม่’ ที่เน้นคุณค่าของประชาธิปไตยและประชาชนเป็นหลัก รวมถึงผลักดันแนวคิดมนุษยธรรมนำการเมือง สันติภาพกินได้ และการสร้างเสรีภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี […]

1 2 3 4 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.