‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน

Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต  ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย   เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้  ผ้าทอสามัญประจำบ้าน  พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน  “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]

MuvMi รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าเจ้าแรกในไทย ผู้อยู่รอดในสมรภูมิแชร์ริงที่มีแต่คนล้มหายตายจาก

“จะแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ยังไงดี”  คำถามคาใจที่หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว เราเป็นใครถึงจะเข้าไปแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ แต่เชื่อหรือไม่ว่าคำถามเดียวกันนี้เป็นคำถามเดียวกันที่ MuvMi เคยตั้งไว้เป็นโจทย์ในการแก้ไข  เพื่อหา Solution ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จนพบจุดที่น่าสังเกตของกรุงเทพฯ ว่าเป็นเมืองที่มีรถไฟฟ้าก็จริง แต่ผู้คนยังประสบปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้าอยู่ดี จากคำถามเล็กๆ นี้ได้นำมาสู่การคิดค้นและให้บริการขนส่งสาธารณะรูปแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ภายใต้แนวคิด Microtransit หรือการขนส่งและบริการขนาดเล็กที่ยืดหยุ่น และกลายเป็นทางเลือกให้คนกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการได้ทุกวัน และมีส่วนสำคัญในการคืนชีวิตให้ชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนขับรถตุ๊กตุ๊ก รวมถึงยกระดับให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หลังจากเปิดให้บริการมา 3 ปี MuvMi มียอดการใช้งานไปแล้วมากกว่า 1 ล้านทริปในกรุงเทพฯ และยังอยู่รอดได้ท่ามกลางธุรกิจแชร์ริงที่ล้มหายตายจาก Urban Creature ชวน ตี้-ศุภพงษ์ กิติวัฒนศักดิ์ คุยถึงก้าวต่อไปของผู้ที่ยืนยันว่าตัวเองไม่ใช่ผู้ให้บริการตุ๊กตุ๊ก (ทั้งที่มีรถวิ่งทั่วเมือง) พวกเขาแตกต่างจากผู้ให้บริการประเภทอื่นด้วยอะไร ทำไมถึงตอบโจทย์สำหรับคนกรุง แก้ปัญหารถติดได้หรือยัง และจะมูฟไปทางไหนต่อ มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันดีกว่าครับ  3 ล้อของ MuvMi MuvMi บอกว่า จริงๆ แล้วปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นจากการเดินทางสาธารณะที่มารองรับการใช้งานขนส่งสาธารณะหลักยังไม่ตอบโจทย์เพียงพอ ไม่เชื่อมต่อและไม่ครอบคลุม พวกเขาจึงอยากเชื่อมคนกับขนส่งสาธารณะหรือการเดินทางไมล์สุดท้าย (First Miles, Last Miles) […]

FYI

LIFE ASOKE HYPE ไฮป์กับชีวิตแนวตั้งที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เป็นตัวคุณ

รูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ค่อยๆ เปลี่ยนและพัฒนาไปตามกาลและเวลา จากเดิมที่เคยอยู่บ้านหลังใหญ่ที่มีสวนอยู่หลังบ้านและใช้ชีวิตกันในแนวราบ ความเป็นเมืองค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ให้เริ่มคุ้นชินกับการใช้ชีวิตในแนวตั้งมากขึ้นอาทิ ตึกแถว อาคารชุด อะพาร์ตเมนต์และคอนโดมิเนียมในที่สุด จนเกิดวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Vertical Living’  ซึ่งข้อดีของการอยู่อาศัยในวิถีชีวิตแนวตั้ง คือการที่เราสามารถเลือกทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัยได้หลากหลาย สามารถเลือกอยู่ใจกลางย่าน CBD ที่อุดมไปด้วยแหล่งงานและการศึกษา ที่มีระบบขนส่งสาธารณะทั่วถึง ช่วยลดความตึงเครียดจากการเดินทางในระยะไกล เข้าถึงระบบสาธารณสุข หรือปัจจัยพื้นฐานอย่างอื่นได้ง่ายตามไปด้วย และเมื่อการอยู่อาศัยแบบ Vertical Living กลายมาเป็นปัจจุบันและอนาคตในการใช้ชีวิตของมนุษย์ โจทย์ของที่อยู่อาศัยยุคใหม่จึงต้องไม่ใช่แค่การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่หมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อาศัยแบบ Vertical Living ให้ดีขึ้นด้วย การออกแบบจึงต้องสามารถเชื่อมแนวคิดความสะดวกสบายด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนานาชนิด ทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ของคอนโดฯ ให้เข้ามาสู่ธรรมชาติให้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ตอบโจทย์การใช้งานทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปในเวลาเดียวกัน เราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักความตื่นเต้น ไม่เหมือนใครในการอยู่อาศัยไปกับ LIFE ASOKE HYPE โดยบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บูทีกคอนโดฯ แห่งแรก ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สะดุดทุกสายตาตั้งแต่ดีไซน์ภายนอกแรกเห็นด้วยตัวอาคารสี RED HYPE สีแดงเข้มสุดพิเศษ จากห้องแล็บสีของโจตัน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มอบความรู้สึกกระตือรือร้น […]

รสพระธรรม พส.ไพรวัลย์ ในวันที่ นส. ทุกคน เข้าถึงศาสนาง่ายและโคตรสนุก

จากที่แต่ก่อนนู้นนน ศาสนาเคยมีบทบาทสำคัญมากๆ ในแทบทุกมิติของชีวิตคนเรา ตั้งแต่การกินอยู่ การตั้งจารีต และตั้งกฎเกณฑ์สังคมนานา รวมถึงความเชื่อของคนที่มีต่อโลกใบกลมนี้ แต่ทุกวันนี้วิถียุคสมัยใหม่ที่หมุนเร็วไว จนอาจทำให้ศาสนาเป็นเรื่องไกลตัวคนเจเนอเรชันปัจจุบันขึ้นทุกวัน  และอาจเพราะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกำลังเจือจางหน้าที่ของศาสนา เข้ามาอธิบายสภาวะธรรมชาติ ได้อย่างชัดแจ๋ว จนอาจทำให้ศาสนาไม่ยึดโยงกับคนรุ่นใหม่อีกต่อไป ก็เพราะชีวิตมันมีทางเลือกตั้งเยอะ หลายคนจึงเลือกไม่นับถืออะไร และนี่คือโจทย์ที่น่าท้าทาย ‘พระสงฆ์’ ว่าจะดึงคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจหลักธรรมได้ยังไงกันบ้าง เมื่อโลกเปลี่ยนทุกวินาที พส. (พระสงฆ์) บางรูปจึงไม่ได้อยู่แค่บนหิ้ง แต่ยอมเป็นปลาแซลมอน ยอมเป็นแคร์รอต ยอมเป็นชาวเดรสส้ม และกลายร่างจากความน่าเบื่อขรึมเคร่งเป็นความสนุกสุดๆ เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ และกล้าบอกเด็กๆ หรือ นส. (น้องสาวหรือน้องๆ) อย่างจริงใจว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าน่ะสุดจะปัง และไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่พวกคุณโยมคิดกันหรอกนะ ขณะที่สังคมเพดานทะลุฟ้า อะไรที่เราไม่คิดว่าจะได้เห็น ก็ได้เห็น ชั่วโมงนี้ไม่มีใครไม่รู้จักวัดสร้อยทอง กุฏิพำนักของ พส.ไพรวัลย์ และ พส.มหาสมปอง ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ธรรมะแสนสนุก ด้วยการหยิบเอาเทคโนโลยีไลฟ์สดมาใช้สื่อสารกับคนบนโลกโซเชียล นี่คือ Yellow Robe Revolution เปลี่ยนบทบาทสังฆกรรมแบบพลิกโลก ทีนี้แหละหลักธรรมคำสอนเลยได้วาดรอยยิ้มและเสียงหัวเราะบนใบหน้าคน ให้เข้ามารวมตัวในไลฟ์เป็นจำนวนนับแสนคนโดยมิได้นัดหมาย  แต่พอกรุยทางบนประเด็นใหม่ๆ ทีไร ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงของคนต่างรุ่น ถ้าอย่างนั้นทุกคนจะก้าวไปข้างหน้าด้วยกันยังไงดีนะ เราจะไม่ตัดสินว่าเรื่องนี้ถูกหรือผิด […]

หนี้สาธารณะ ภาระหนี้ที่ส่งผลต่อทุกคนตั้งแต่ลืมตาตื่น จนอาจยาวนานถึงหลับตาตาย

‘หนี้สาธารณะ’ คำคุ้นหูที่ทำหลายคนส่ายหัว และอาจมองเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่จำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าบอกว่าสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อค่ารถสาธารณะที่เราใช้บริการทุกวัน หรือค่าอาหารกลางวันที่เรากินทุกมื้อ สิ่งเหล่านี้มีราคาต้องจ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ พูดง่ายๆ คือมีเงินเท่าเดิม แต่ของทุกอย่างกลับแพงขึ้น แล้วแบบนี้หนี้สาธารณะยังเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไหม?  หนี้สาธารณะกำลังอยู่รอบตัวเรา และอาจทำให้โปรเจกต์ใหญ่ๆ อย่างรัฐสวัสดิการ อินเทอร์เน็ตฟรีเพื่อประชาชน ระบบขนสาธารณะราคาถูก ระบบการศึกษาที่ดี อาจเกิดขึ้นไม่ได้ในประเทศไทยอีกต่อไป รายงานล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2564 สะท้อนว่าปัจจุบันคนไทยกำลังใช้ชีวิตประจำวันอยู่กับหนี้สาธารณะที่เกาะบนหลังจำนวนกว่า 8,825,097.81 ล้านบาท เมื่อเทียบสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) จะอยู่ที่ 55.20 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขเหล่านี้ทวีความสำคัญกับชีวิตของเรามหาศาล เราจึงต้องรู้และเข้าใจข้อมูลชุดนี้แบบห้ามละสายตา  เรื่องยากๆ ชวนปวดหัวเหล่านี้ทำให้เราต้องไปพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัต สุขกำเนิด’ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อคลายข้อสงสัย และเปลี่ยนเรื่องหนี้ให้กลายเป็นเรื่องน่าเรียนรู้ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น หนี้สาธารณะ หนี้ที่ไม่ได้ร้องขอ แต่ทุกคนจำเป็นต้องช่วยจ่ายทุกสลึง กล่าวให้ง่ายที่สุด หนี้สาธารณะตอนนี้คือหนี้ที่รัฐบาลก่อ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐใช้เงินในแต่ละปีมากกว่ารายได้ที่หามา เรียกง่ายๆ ว่า ‘งบประมาณขาดดุล’ หรือภาษาชาวบ้านว่า เงินช็อต สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเงินไม่พอใช้ คือการที่รัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องกู้หนี้ยืมสินจากแหล่งเงินต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ เพื่อสร้างสมดุลของบัญชีรายรับ-รายจ่าย […]

FYI

เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี

เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น  มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่  รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]

ถ้าครูฟังอยู่ อยากให้รู้ว่า ‘หนูเหนื่อย’ ฟังความในใจของเด็กไทยในวันที่ต้องกลับมาเรียนออนไลน์

โจทย์การบ้านวันนี้ : ให้นักเรียนเขียนถึงความรู้สึกของการเรียนออนไลน์ในครึ่งเทอมนี้ มีอะไรอยากระบาย อยากบอกเล่าให้ครูฟัง พิมพ์มาได้เต็มที่เลย นี่เป็นโจทย์การบ้านจริงของเด็กมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่คุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งมอบให้พวกเขาได้รับบทผู้พูด ระบายความในใจจากการเรียนออนไลน์เต็มระบบมาตลอดระยะเวลาหนึ่งเทอม ตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 เด็กไทยจำนวนมากกำลังถูกพรากช่วงชีวิตในวัยเรียนและความทรงจำที่มีค่าไป เด็กไทยต้องปรับตัวเรียนออนไลน์ทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ทั้งสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การเรียน และที่น่าเสียดายคือพวกเขาไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้เจอเพื่อน ไม่ได้เจอคุณครู ไม่มีโอกาสเรียนรู้และสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง และนักเรียนบางคนที่ย้ายโรงเรียนหรือขึ้นระดับชั้นใหม่ อาจจะไม่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนร่วมห้องตัวเป็นๆ ด้วยซ้ำนี่คือคำตอบของเด็กที่มีตัวตนจริงๆ ซึ่งล้วนระบายความรู้สึกออกมาจากใจ จนทำให้เราคิดถึงวัยเด็กอีกครั้ง ถ้าฟังเสียงของพวกเขาจบแล้ว เราอยากชวนให้ทุกคนกลับมาฟังเสียงของลูกหลานในบ้าน และหันกลับไปถามความรู้สึกของพวกเขากันว่าวันนี้ “หนูเหนื่อยไหม?” หนูเรียนออนไลน์จนตาจะพังแล้ว เราล้วนโตมากับคำเตือนของผู้ใหญ่ว่า อย่าจ้องหน้าจอคอมและโทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน เพราะจะทำให้สายตาเสีย หรือแม้แต่กระทรวงสาธารณสุขเองก็ออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์นานเกิน 2 ชั่วโมง  ทว่าเป็นที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจุบันเด็กต้องอยู่หน้าจอคอมเพื่อเรียนออนไลน์ไม่ต่ำกว่าวันละ 6 ชั่วโมง ​ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะตาล้า (Digital eye strain) ปวดตา ตาแห้ง แสบตา หรือบางคนอาจจะถึงขั้นปวดศีรษะร่วมด้วย และคำว่าเรียนออนไลน์อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน เพราะนั่นหมายถึงการมีอุปกรณ์การเรียนที่มากกว่าสมุดและปากกา คือคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โต๊ะ และเก้าอี้ในการเรียนของเด็ก บ้านที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ […]

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

Learn from TikTok รวมแอ็กเคานต์น่าติดตาม ที่ทำให้ความรู้เป็นเรื่องสนุก

หากบอกว่าแอปพลิเคชันที่มาแรงที่สุด ณ เวลานี้คือ TikTok คงไม่เกินเลย เพราะปัจจุบัน มียอดดาวน์โหลดพุ่งทะยานสูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลก แซงหน้าแชมป์เก่าอย่าง Facebook ไปเป็นที่เรียบร้อย  แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยเข้าสู่โลกของ TikTok อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว TikTok มีอะไรให้ดูมากกว่าคลิปเต้นหรือเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว เพราะจริงๆ แล้ว TikTok เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานในประเทศไทยสร้างเนื้อหาได้สนุกและหลากหลายมากๆ เราจึงอยากชวนทุกคนมาเปิดใจเรียนรู้โลกของ TikTok ผ่านแอ็กเคานต์น่าติดตามที่ทำให้ความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นความบันเทิงที่สนุกจนหยุดดูไม่ได้  TikTokers : @krumadsee2 Followers : 520KContent : เปลี่ยนเพลงสามช่า ให้เป็นบทเรียนภาษาอังกฤษ Occupation Occupation มัดซีนาบอน มัดซีนาบอน~  ไม่ว่าคุณจะเป็นคนชอบเต้น หรืออยากเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ คนแรกที่คุณควรจะกดติดตาม นั่นคือคุณครูมัดซี ดาว TikTok เจ้าของห้องเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษประจำ TikTok อันเป็นที่โด่งดัง ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และมอบความรู้ให้กับพวกเราผ่านการแต่งเนื้อหาความรู้ภาษาอังกฤษ บนจังหวะเพลงสามช่า โป๊งชึ่ง พร้อมสะบัดร่างกาย จนใครๆ ก็รับบทเป็นคุณครูมัดซีบน TikTok อยู่พักใหญ่ TikTok : […]

FYI

ธุรกิจที่หายไปเพราะผลกระทบจาก COVID-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระเทือนรุนแรงมากไปกว่าสุขภาพของผู้คน แต่กระเทือนไปถึงภาคเศรษฐกิจที่รุนแรงเสียยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือวิกฤติการณ์ไหนๆ ในประเทศไทย สิ่งที่เราต้องรับรู้ทุกวันนอกจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น คือจำนวนของเหล่าธุรกิจน้อยใหญ่ที่ ทยอยปิดตัวกันเป็นใบไม้ที่ร่วงโรยลงสู่พื้นดิน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาให้มากขึ้น เราจึงอยากชวนทุกคนไปดูธุรกิจประเภทต่างๆ ที่ปิดกิจการอย่างถาวรเหลือไว้เพียงความทรงจำให้ผู้คนอย่างไม่ทันตั้งตัว และไม่เหลือแม้แต่โอกาสให้เราได้กลับไปเยี่ยมเยือนอีกครั้ง รถเมล์สาย 203 – แม้กระทั่งธุรกิจขนส่งมวลชนยังต้องบอกลาผู้โดยสาร ตำนานรถเมล์สาย 203 เส้นทางสายบุกเบิกที่ประชาชนที่ต้องการเดินทางในเส้นทาง ท่าอิฐ-สนามหลวงใช้บริการ ต้องปิดตัวลงเนื่องจากจำนวนผู้ใช้ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ นโยบายการล็อกดาวน์ลดจำนวนการเคลื่อนย้ายนอกพื้นที่ กลายเป็นยาเร่งให้รถเมล์สายนี้ยื้อต่อไปไม่ไหว จนต้องจำใจปิดตำนานหลังจากทำหน้าที่รับส่งผู้คนมาเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี เหลือไว้เพียงร่องรอยบนพื้นถนนและเส้นทาง ที่รถสายนี้เคยวิ่งผ่าน เซ็นทรัลหาดใหญ่ – ธุรกิจขนาดใหญ่ก็ต้องปรับตัว กับการปิดตัวถาวรของห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่ และนับเป็นห้างเซ็นทรัลสาขาแรกของภาคใต้อย่างเซ็นทรัลหาดใหญ่ ชวนให้ใจหายเพราะสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เคยเป็นแหล่งนัดพบกันของคนหนุ่มสาว เคยเป็นพื้นที่แห่งความสุขสำหรับใครหลายๆ คน แต่ก็ต้องปิดตำนานลงเพราะผู้คนหวาดระแวงที่จะออกจากบ้าน ชาวต่างชาติไม่เข้ามาจับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีต ทำให้รายได้หลักสูญหาย นำมาสู่การปิดตัวของห้างสรรพสินค้านี้ไปด้วยระยะเวลา 26 ปี เหลือไว้เพียงชื่อให้คนรุ่นเก่าได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลานจดจำ สวนเสือศรีราชา – พื้นที่แห่งความสุขที่เราเคยร่วมสนุกไปกับครอบครัวใน ‘สวนเสือศรีราชา’ ก็ต้องเลือนหายไป หลังจากประคับประคองธุรกิจด้วยวิธีต่างๆ ทั้งขายอาหารริมทาง เปิดให้เข้าชมฟรี จัดโปรโมชันต่างๆ แต่ก็ไม่อาจทนพิษของบาดแผลในครั้งนี้ไหวเพราะการล็อกดาวน์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้นักท่องเที่ยวไทยไม่สามารถเดินทางมาใช้บริการได้ รวมถึงเป้าหมายหลักที่เป็นชาวต่างชาติก็กลายเป็นศูนย์และยังไม่มีทีท่าจะกลับมาได้ […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024

ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย  แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง  หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.