บ้านทดลอง Home Isolation เมื่อโควิดอาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน

ตัวเลขที่ฉุดไม่อยู่ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ จนเกิดมาตรการเสริมแก้วิกฤติที่เรียกว่า Home Isolation หรือการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านทางเลือก และทางรอดใหม่ แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ตัวเลขน่าสนใจอยู่ที่ผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ซึ่งนับเป็น 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่สามารถทำการพักรักษาตัวอยู่บ้านด้วยการทำ Home Isolation ได้ หากทุกคนที่ติดเชื้อสามารถกักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ปัญหาเตียงไม่พอทุเลาลงอย่างมาก จนเกิดคำถามที่ว่า หากโควิดไม่ใช่โรคเดียวที่เราต้องทำ Home Isolation ถ้าในอนาคตมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก บ้านที่เราอาศัยอยู่ควรมีหน้าตาแบบไหน คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากชวนทุกคนไปจินตนาการบ้านทดลองภายใต้กฎเหล็กของ Home Isolation อย่างสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา อยู่ห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร หรือห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ถ้าเรายังอยากอยู่ด้วยกันเหมือนปกติ รูปแบบการอยู่อาศัยของเราจะเป็นอย่างไรหากเราต้องอยู่กันแบบนี้ตลอดไป หากพูดว่าเราอาจจะต้องทำการ Home Isolation ตลอดไป ภาพในหัวคงจะเหมือนหนัง Sci-Fi Dystopia ที่ชวนเศร้าใจไม่น้อย เราคงจะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน ใช้ชีวิตในโลกภายนอกด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย […]

NIA Creative Contest พื้นที่สร้างสรรค์ สู่การวาดฝันเมืองในอนาคตของคนรุ่นใหม่

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 20 ไอน์สไตน์ป่าวประกาศก้องบอกโลกให้รู้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้มีข้อจำกัด แต่จินตนาการเป็นสิ่งที่หมุนโลก วลียอดฮิตนี้ทำให้คนทั้งโลกเห็นถึงความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ตนจะคิด จนกลายเป็นความสงสัยว่าตกลงแล้วความคิดสร้างสรรค์มีหน้าตาเป็นอย่างไรกันแน่ ด้วยความฉงนสงสัยเราจึงอยากพาทุกคนไปหาคำตอบในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และคงไม่มีหน่วยงานไหนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ไปมากกว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) องค์กรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และใช้ในการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ความคิดสร้างสรรค์ในแบบฉบับของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA คำถามกำปั้นทุบดินที่เราถามกับ คุณธีรีสา มัทวพันธุ์ หรือรองจ๋า รองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) คือ เราทุกคนต่างได้ยินมาบ่อยมากเกี่ยวกับคำว่า ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จริง ๆ แล้วคำนี้มันคืออะไรกันแน่  “ความคิดสร้างสรรค์เป็นศัพท์เชิงนามธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องได้ เป็นเรื่องของไอเดีย ความคิด แต่มีบทบาทอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสังคม องค์กร ส่วนตัว หรือในระดับประเทศ เพราะความคิดสร้างสรรค์โดยหลักการมันคือการคิดซึ่งนำมาสู่สิ่งใหม่ ๆ โดยสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ ล้วนสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กอย่างชีวิตส่วนตัวเราก็ต้องการสิ่งใหม่ ๆ เช่น อาหาร […]

อินฟลูฯ โต้กลับกฎหมายใหม่นอร์เวย์ ห้ามแต่งรูปโดยไม่บอก หวังแก้ปัญหาไม่พอใจร่างกายตัวเองในหมู่วัยรุ่น

ปัจจุบันนี้น้อยคนที่จะไม่แต่งรูปนิด ปรับแสงหน่อย ก่อนโพสต์ภาพลงโซเชียลมีเดีย การแต่งเติมรูปจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลนอร์เวย์เลยบอกถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็บอกไปเลยว่าแต่งรูป! กฎหมายใหม่ของนอร์เวย์นี้แก้ไขมาจากพระราชบัญญัติการตลาดปี 2009 โดยมีมติให้ผ่านถึง 72 ต่อ 15 เสียงว่าให้ทั้งแบรนด์ต่างๆ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เซเลบ และอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับการจ้างให้ลงรูป ระบุเครื่องหมายที่ได้รับการออกแบบจากรัฐบาลในรูปด้วยหากรูปที่โพสต์ได้รับการปรับแต่งหรือใส่ฟิลเตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงเด็กและครอบครัวของนอร์เวย์ระบุว่าการแต่งรูปส่งผลให้เด็กและเยาวชนรู้สึกไม่พอใจรูปลักษณ์ของตัวเอง ลดทอนคุณค่าในตัวเอง และกดดันให้ตัวเองต้องเข้ากับมาตรฐานความงามของสังคม กฎหมายนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้กับเด็กและเยาวชนได้ อินฟลูเอนเซอร์ชาวนอร์เวย์หลายคนต่างออกมาแสดงความเห็นเรื่องกฎหมายใหม่นี้ หลายคนเห็นด้วยว่าสังคมเราต้องการกฎหมายแบบนี้ แต่บางคนก็ท้วงว่าไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว ควรสอนให้เยาวชนแยกแยะและวิเคราะห์สารหรือรูปภาพที่ปรากฏอยู่บนโซเชียลมีเดียจะดีกว่า แม้กระทั่งรัฐบาลนอร์เวย์เองก็ยอมรับว่ากฎหมายนี้อาจทำให้เกิดผลเสียอื่นๆ ตามมาเช่นเป็นการกดดันเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ให้หันเข้าหาการศัลยกรรมเพื่อคงมาตรฐานความงามของตัวเองไว้โดยไม่ใช้การแต่งรูป

COVID-19 ทำคนตกงานมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ที่นับวันตัวเลขการติดเชื้อพุ่งกระจายขึ้นเหมือนดอกเห็ดจนอาจจะมากถึงหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอาจจะล่มสลายได้  ทว่าความรุนแรงของพิษจากไวรัสร้ายโควิดกลับมากไปกว่าการเกาะกินสุขภาพของประชาชน แต่หมายรวมถึงการเกาะกิน ‘ระบบเศรษฐกิจไทย’ อย่างไม่มีชิ้นดี  รายงานของกระทรวงแรงงานเผยว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 303,984 คน และผู้ว่างงานจากสาเหตุการถูกเลิกจ้างจำนวน 91,794 ซึ่งหากดูเพียงตัวเลขและกราฟจะเห็นว่าสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เพราะตัวเลขผู้ว่างงานลดลง  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราการว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้างสูงถึง 242,114 คน นับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รุนแรงเสียยิ่งกว่า วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ปี 52 ที่มีสถิติคนตกงานสูงสุดอยู่ที่ 83,109 คน และวิกฤติการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่มีสถิติสูงสุดที่ราว 42,689 คนเสียอีก  แต่ความน่ากังวลใจคือ แม้อัตราว่างงานกำลังลดลง ก็นับว่าสูงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่น้อยเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น สถิติตัวเลขคนว่างงานจากสาเหตุคนเลิกจ้างของกรมแรงงาน เป็นการอ้างอิงสถิติจากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยสาเหตุเลิกจ้างในระบบประกันสังคม ยังไม่นับรวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถระบุเข้าระบบว่ามีอีกเท่าไหร่ที่บาดเจ็บล้มตายจากพิษเศรษฐกิจและพิษของเชื้อไวรัส เป็นที่น่าเศร้าใจว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งเป็น New […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

Pulitzer มอบรางวัลให้สถาปนิกผู้ใช้ Street View เปิดโปงข้อมูลการสร้าง ค่ายกักกันชนกลุ่มน้อยในประเทศจีน

Pulitzer Prizes รางวัลเกียรติยศของคนทำงานในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ มอบรางวัลให้ Alison Killing สถาปนิกชาวอังกฤษ ในสาขา International Reporting จากหัวข้อข่าวการเปิดโปงการสร้างค่ายกักขังชาวมุสลิมจำนวนมากที่ประเทศจีน จุดเริ่มต้นของรายงานการเปิดโปงฉบับนี้เกิดขึ้นเมื่อตอนที่ Alison ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปการสืบสวนสอบสวนออนไลน์ เธอได้พบกับนักข่าวจาก BuzzFeed ชื่อ Megha Rajagopalan ผู้เคยไปเยี่ยมค่ายกักกันแห่งหนึ่งที่ประเทศจีน แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าไปทำข่าวที่จีนอีกต่อไป จากความสนิทสนมระหว่างเวิร์กช็อปทำให้ทั้งสองตกลงที่จะสืบสวนเรื่องนี้จากระยะไกลต่อไป เธอนำเอาเครื่องมือที่ใช้อย่าง Street View ของเว็บไซต์ Baidu ในลักษณะเหมือน Google Maps มาใช้อ้างอิงเสาะแสวงหาไปยังพื้นที่ต่างๆ บนแผนที่ประเทศจีน สิ่งที่พบคือมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างขนาดใหญ่อาทิโรงเรียน โรงพยาบาล บ้านพักคนชราในรอบสามปี ไม่ว่าจะเป็นการขึงผ้าใบอุตสาหกรรมที่สนามฟุตบอลของโรงเรียน หรือการล้อมพื้นที่ด้วยลวดหนาม และพบความผิดปกติอื่นๆ เช่นไม่สามารถดูบางจุดบน Street View ได้ เหมือนถูกถอดออกจากภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงการได้สัมภาษณ์อดีตนักโทษที่รอดชีวิตจากค่ายกักกันถึงชีวิตความเป็นอยู่ภายในค่าย ยิ่งชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงและหลักฐาน ที่รัฐบาลจีนกระทำความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม และยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามปกปิดข้อมูลบางอย่างของรัฐบาลจีน ที่ไม่อยากให้ประชาชนโลกได้รับรู้

คุณพ่อจิตรกรญี่ปุ่นคืนไฟศิลปินให้ตัวเอง ด้วยการแกะสลักเรื่องราวของลูกสาว เป็นของขวัญวันเกิดเธอทุกๆ ปี

เรื่องราวแสนอบอุ่นเริ่มต้นเมื่อ 12 ปีก่อน Tomoaki Ichikawa จิตรกรชาวญี่ปุ่น ผู้ผิดหวังกับผลงานศิลปะที่ผ่านมาในช่วงชีวิตของเขา แต่อีกหนึ่งบทบาทของการได้เป็น ‘พ่อ’ กลับทำให้เขามีไฟและมีกำลังใจในการสร้างผลงานศิลปะอีกครั้ง เมื่อ Ichikawa หันไปมองลูกสาวในวัยเกือบขวบปี เขาจึงอยากมอบของขวัญสุดพิเศษให้กับเธอชิ้นหนึ่ง จึงเริ่มแกะสลักไม้ให้กลายเป็นรูปร่างของลูกสาวตัวน้อยเป็นครั้งแรก เพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลงของลูกสาวผ่านผลงานของเขา ซึ่งทำต่อเนื่องมาแล้วกว่า 12 ปี โดยตุ๊กตาแต่ละตัวถูกแกะสลักอย่างประณีตด้วยหัวใจของคุณพ่อที่มีต่อลูกสาวเรื่อยมา ความน่าสนใจคือเหล่าคาแรกเตอร์ของตุ๊กตาในแต่ละปีจะแตกต่างกัน เพื่อสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของลูกสาวในปีนั้นๆ ยกตัวอย่างในปีที่ลูกสาวอายุครบ 7 ขวบ เธออยากได้แมวน้อยสักตัว คุณพ่อจึงรังสรรค์แมวให้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน หรือในวันเกิดปีที่ 11 เป็นช่วงเวลาที่เธอต้องเฉลิมฉลองวันเกิดท่ามกลางการแพร่ระบาดใหญ่ คุณพ่อจึงดีไซน์หมวกใบพิเศษที่มีรูปร่างเหมือนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ครึ่งปลา ครึ่งคนที่ชื่อว่า ‘Amabie’ ปีศาจจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นที่มีความเชื่อว่าสามารถพยากรณ์โรคระบาด และปกป้องผู้คนจากโรคภัยไข้เจ็บได้  กลายเป็นเรื่องราวแสนอบอุ่นที่คุณพ่อได้บันทึกเรื่องราวสำคัญในชีวิตของลูกสาวด้วยมือของตัวเอง และมากไปกว่านั้นในฐานะจิตรกรเขายังได้เห็นถึงพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นของตัวเองในแต่ละปีเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาหวังว่าจะได้แกะสลักชีวิตและเรื่องราวของเธอไปจนกว่าเขาจะหมดเรี่ยวแรงทำมัน Source : Vice | https://bit.ly/3jBSv2A

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

ตามเชียร์ตัวเอก ในกีฬาพระรองกับ 5 การ์ตูนกีฬานอกกระแส

การ์ตูนญี่ปุ่นนอกจากจะมีบทบาทการเป็นทูตและสินค้าทางวัฒนธรรมในการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การ์ตูนยังมีความสำคัญในการหล่อหลอมวัฒนธรรมและบุคลิกภาพของประชากรในประเทศด้วย อาทิ เรามักจะเห็นว่าตัวละครเอกของการ์ตูนญี่ปุ่นมักมีนิสัย มุ่งมั่น พยายามอย่างหนัก เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เฉกเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของคนญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยระเบียบวินัย นอกจากนั้นการ์ตูนญี่ปุ่นยังมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนความสนใจ พร้อมทั้งให้ความรู้กับประชาชนไปในเวลาเดียวกัน เช่นผลจากการเติบโตของการ์ตูน Captain Tsubasa ที่ทำให้คนญี่ปุ่นมาเล่นฟุตบอลกันอย่างจริงจัง ผลที่เกิดขึ้นคือประชาชนหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น เกิดการพัฒนาศักยภาพทางด้านกีฬาของประเทศอย่างก้าวกระโดด จนเกิดเป็นการ์ตูนกีฬาประเภทอื่นๆ ออกมาอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งการ์ตูนต่างๆ ล้วนเป็นทั้งสื่อบันเทิงและเป็นสื่อที่กระตุ้นให้คนหันมาสนใจเรื่องกีฬาได้อย่างสร้างสรรค์ 弱虫ペダル – Yowamushi Pedal ให้ขาทั้งสองข้างกับจักรยาน พาคุณไปโลดแล่นบนท้องถนน กับ Yowamushi Pedal หรือชื่อที่เราคุ้นหูอย่างโอตาคุน่องเหล็ก การ์ตูนกีฬาเรื่องดัง ที่เชิญชวนทุกคนไปรู้จักกับโลกของการแข่งขันจักรยานจากสตูดิโอ TMS Entertainment เรื่องราวของโอโนดะ ซากามิจิ หนุ่มแว่นร่างเล็ก ที่ไม่เคยชื่นชอบกีฬามาก่อนในชีวิต เพราะมองว่าชมรมกีฬาเป็นพวกป่าเถื่อน แต่เขาไม่รู้เลยว่ากิจวัตรประจำวันของตัวเองล้วนบ่มเพาะให้เขากลายเป็นยอดนักปั่น เนื่องจากซากามิจิมักปั่นจักรยานจากโรงเรียนไปอากิฮาบาระเพื่อซื้อหนังสือการ์ตูนอยู่เสมอ ซึ่งเรื่องราวอาจจะฟังดูเหมือนปกติ ทว่าระยะในการปั่นแต่ละครั้งมากถึง 90 กิโลเมตร และในทุกครั้งซากามิจิ ใช้เพียงจักรยานแม่บ้านที่ไม่เหมาะกับการปั่นระยะไกล เมื่อคนในชมรมจักรยานรู้ข่าวจึงชักชวนให้ซากามิจิเข้าชมรมและได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของโอตาคุน่องเหล็กคนนี้  เรื่องราวของโอตาคุน่องเหล็กเต็มไปด้วยเกร็ดความรู้ต่างๆ ในการปั่นจักรยาน และเต็มไปด้วยข้อคิด คติสอนใจในเรื่องมิตรภาพ ความฝัน การลงมือทำ ที่ไม่ว่าจะเป็นเด็ก […]

GARMIN VENU SQ Officer’s Weekdays Partner

เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะร่างกายของเราเสียแล้วซ่อมใหม่ไม่ได้ หรือจะเปลี่ยนอวัยวะภายในเหมือนเครื่องจักรก็ยาก สิ่งที่ควรทำมากที่สุดจึงเป็นการหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ  แล้วเรื่องสุขภาพจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นไปเลย หากรู้จักเพื่อนคู่ใจที่ชื่อว่า GARMIN VENU SQ นาฬิกาอัจฉริยะที่ทำได้มากกว่าบอกเวลา มาพร้อมฟีเจอร์แสดงอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate Tracking) ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Ox Blood Sensors) อัตราการหายใจ (Respiratory Tracking) อัตราความเครียด (Stress Monitoring) หรือแม้กระทั่งคุณภาพการนอน (REM Sleep Monitoring) แล้วคอยเตือนให้เรารู้ถึงอาการผิดปกติของร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เราเตรียมแผนการดูแลสุขภาพ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดฝัน ได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที Monday | ก็ไม่กลัว เพราะนอนมาเต็มอิ่ม เช็กด้วย Garmin Sleep Monitoring สวัสดีวันจันทร์ ~ เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยความสดใส ไม่ว่าจะมีงานไหนๆ ก็ไม่กลัว เพราะนอนมาเต็มอิ่ม แต่เพื่อความมั่นใจลองเช็กด้วย Garmin Sleep Monitoring กันสักหน่อยเพื่อติดตามตรวจวัดประสิทธิภาพในการนอนหลับ ทั้งชั่วโมงในการนอน เวลาตื่น หรือเช็กว่าหลับลึกมากน้อยแค่ไหน […]

5 กิจกรรมแมสแมส(ก์) ชวนใส่แมสก์ออกไปเสพศิลป์

รวม 5 กิจกรรมแมสแมส(ก์) ชวนใส่แมสก์ออกไปเสพศิลป์ หลายคนคงเบื่อการอยู่บ้าน เบื่อกับการร่วมอีเวนต์ในรูปแบบออนไลน์กันบ้างแล้ว และคงโหยหาการได้ออกจากบ้านไปทำกิจกรรมต่างๆ วันนี้เราจึงรวบกิจกรรมและนิทรรศการหลากหลายรูปแบบ ที่ทุกคนสามารถออกจากบ้านใส่แมสก์ ไปเข้าร่วมอีเวนต์แบบ New Normal ได้อย่างปลอดภัย เพื่อเสพศิลป์ในประเด็นเรื่องการเมือง สังคม วัฒนธรรม และความแตกต่างหลากหลาย ผ่านรูปแบบผลงานศิลปะ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการ และเติมสีสันในการใช้ชีวิตให้กลับมาเป็นปกติ | Drama Holiday ให้ศิลปะพาเราไปดูการเติบโต “เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกที่เรามองเห็นยังเป็นโลกใบเดิมอยู่หรือไม่…เวลาที่ชีวิตกำเนิด ดวงตาของเรายังพร่าเลือน โลกรอบตัวเต็มไปด้วยคำถาม แต่เมื่อชีวิตเติบโต ดวงตาคู่เดิมกลับเริ่มมองเห็น ‘บางสิ่ง’ ชัดเจนขึ้น แล้วโลกใบนั้นล่ะยังเป็นโลกใบเดิมอีกหรือไม่” คำถามที่ เอกรัตน์ อรุณรัตน์ ตั้งคำถามในใจและวาดมันออกมาเป็นผลงาน Pop Art สีน้ำมันบนผืนผ้าใบ ในการจัดแสดงผลงานที่มีชื่อว่า ‘Drama Holiday’ โดยหยิบเอาตัวละครหลักจากผลงานเก่าของเขาในปี 2019 อย่าง Yellow Eyes มาต่อยอด จากเด็กน้อยในผลงานให้เติบโตขึ้นกลายเป็นสาวแรกรุ่น ที่เริ่มรับรู้เรื่องราวต่างๆ บนโลก ทั้งเรื่องน่ายินดีและโศกเศร้า ฉาบภายนอกของงานด้วยสีน้ำมันสดใสสะดุดตา แต่แฝงด้วยสีหม่นและคู่สีที่ขัดแย้งทางความรู้สึก […]

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด

ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.