10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’

ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]

‘Nang Loeng-BKKDW 2023’ เอนจอยกับแสงสี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ย่านนางเลิ้ง

ปีนี้ ‘ย่านนางเลิ้ง’ ได้ร่วมเป็นอีกหนึ่งย่านใหม่ของเทศกาล Bangkok Design Week 2023 ด้วย นอกจากการเป็นต้นตำรับความอร่อยและบรรยากาศชุมชนเก่า ย่านนี้ยังมีอะไรอีกมากมายให้ไปทำความรู้จักและเรียนรู้ กว่าสิบกิจกรรมในย่านนางเลิ้งเกิดขึ้นโดยคนในชุมชน ศิลปิน ผู้ประกอบการภายในย่าน ไปจนถึงหน่วยงานมากมายที่มุ่งมั่นอยากทำให้ย่านนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น รวมถึงทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้พื้นที่ที่อุดมไปด้วยชุมชนเก่าและสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่า กิจกรรมที่ว่ามีตั้งแต่นิทรรศการศิลปะ การแสดงศิลปะชุมชนผสมผสานกับละครชาตรี การจัดแสดงแสงสีกับพื้นที่ของเมืองและอาคารเก่า การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะเมืองรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อนำเสนออาหารในย่าน ใครที่เลือกไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะไปย่านไหนในงานนี้ดี แถมเวลาก็เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว ตามลิสต์นี้มาได้เลย ชื่นชมความงามของสถาปัตยกรรมเก่า ที่บ้าน Bangkok 1899 เริ่มต้นกันที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี และออกแบบโดย ‘มาริโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno)’ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ปัจจุบันที่นี่ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์กลางทางด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม โดยประกอบไปด้วยที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ คาเฟ่ พื้นที่จัดนิทรรศการ และพื้นที่สวนสาธารณะ ภายใต้ชื่อโครงการ Bangkok 1899 นอกจากความสวยงามของสถานที่แล้ว ที่นี่ก็มีนิทรรศการ ‘A New Thai Alphabet Typography’ โดย Elvire Bonduelle […]

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

Join the Hidden Club – 6 คลับลับที่พร้อมพาหลบลี้หนีความวุ่นวาย

คาเฟ่ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี สวนสาธารณะ สถานที่เหล่านี้น่าจะเป็นท็อปลิสต์ของชาวเมืองที่ต้องการไปเที่ยว พักผ่อนหลังเลิกงานหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะเดินทางสะดวก เข้าถึงง่าย แต่บางคนก็ไปเนื่องจากคิดไม่ออกว่ามีที่ไหนให้ไปอีก โดยเฉพาะในมหานครแห่งนี้ เพราะอยากเปิดพื้นที่สนุกๆ ที่มีกิจกรรมใหม่ๆ ให้คนอ่าน Urban Creature ได้ลิ้มลอง เพื่อปลดล็อกจากลูปชีวิตเดิมๆ ที่มีแต่การทำงานหนักและกลับมานอนเปื่อยที่บ้าน เราจึงขออาสาเปิดวาร์ป 6 คลับลับที่พร้อมเปิดประสบการณ์แปลกใหม่แบบที่มั่นใจได้ว่าหลายๆ คนอาจไม่เคยสัมผัสมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่เต้น Swing กับคนแปลกหน้า สวมบทบาทเป็นมือธนูล่าซอมบี้ในตึกร้าง ไปจนถึงตะลุยเล่นเกมหลากประเภทในอาร์เคดมหึมา Gamesmithยิงปืน ขับรถ เล่นบอร์ดเกม กดเกมเก่า ในอาร์เคดยักษ์ ฐานทัพคลับเกมเมอร์ น่าจะเป็นคำจำกัดความที่เหมาะกับที่นี่มากกว่าแค่ร้านเกม เพราะนอกจากพื้นที่อันใหญ่โต และเกมหลากหลายประเภทที่อัดแน่นเต็มทุกมุมอาคารแล้ว Gamesmith ยังเป็นจุดนัดพบของคอเกมทุกเพศทุกวัย เพราะหลายๆ ครั้งพวกเขาต้องแท็กทีมเดียวกัน เพื่อโค่นล้มอีกฝั่งให้ได้ จนเกิดเป็นมิตรภาพขึ้นมา บอร์ดเกมกว่า 200 – 300 เกม เครื่องเกม Console อาทิ PS4, Xbox One, Kinect และ […]

ปีศาจความยากจนและมือปราบปีศาจรัฐสวัสดิการที่เกิดจากความกลัวของคนไทย ใน Chainsaw Man

“รู้ไหมว่าอสูรน่ะ เกิดมาพร้อมกับ ‘ชื่อ’ ยิ่ง ‘ชื่อ’ น่ากลัวเท่าไรก็ยิ่งมีพิษสงมากขึ้นเท่านั้น “แต่ถ้าเป็น ‘อสูรรถ’ มีแนวโน้มว่ามันจะแข็งแกร่งพอสมควร เพราะอย่างน้อยๆ ภาพตอนถูกชนตาย ใครๆ ก็นึกออก หรือถ้ามี ‘อสูรกาแฟ’ มันจะต้องอ่อนแออย่างแน่นอนเพราะกาแฟไม่สามารถสร้างภาพแห่งความน่ากลัวได้” จากคำอธิบายถึงคอนเซปต์การเกิด ‘ปีศาจ’ โดยมือปราบปีศาจ ‘คุณมาคิมะ’ ใน Chainsaw Man มังงะสุดดาร์กที่กลายเป็นแอนิเมชันและลงจอฉายใน Amazon Prime ไปเมื่อต้นเดือนนี้ น่าจะพอทำให้ทุกคนรู้ว่าถ้าใครกลัวอะไรในโลกที่มนุษย์และปีศาจใช้ชีวิตด้วยกันนั้น ความกลัวนั้นจะสร้างปีศาจขึ้นมา และมันจะยิ่งมีอำนาจพลังมากขึ้น แปรผันตามจำนวนคนที่หวาดกลัว คอลัมน์ Urban Isekai ขอตามกระแสความไฮป์ปีศาจเลื่อยยนต์ ไปกระทำการอิเซไกในโลก Chainsaw Man ว่าถ้าความกลัวของผู้คนสร้างปีศาจขึ้นมาได้ ในประเทศไทย ปีศาจตนใดที่จะแข็งแกร่งที่สุด พร้อมๆ กับจะมีมือปราบปีศาจตนใดมาต่อกรกับอสูรร้ายในบ้านเมืองของเราได้ ‘ปีศาจความยากจน’ ปีศาจที่คนไทยกลัวที่สุด อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าคอนเซปต์การเกิดปีศาจของ Chainsaw Man มาจากความกลัวของมนุษย์ นั่นแปลว่าต่อให้เรากลัวอะไรเล็กน้อยหรือมากมายแค่ไหน ความกลัวนั้นก็สามารถให้กำเนิดปีศาจได้ทั้งนั้น ทว่าหากเป็นความกลัวเล็กๆ หรือเรากลัวสิ่งนั้นแค่คนเดียว ปีศาจตนนั้นก็จะมีพลังไม่มากและถูกมือปราบปีศาจกำจัดได้ไม่ยาก แต่ในทางกลับกัน […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

Bangkok Women’s Film Festival โปรเจกต์ออกแบบที่อยากให้ผู้หญิงมีที่ทางในวงการภาพยนตร์ไทย

“ทำไมไม่ค่อยได้เห็นหนังของผู้กำกับหญิงไทยเลย” นี่คือคำถามตั้งต้นที่ทำให้ ‘เจ๋-กัลย์จรีย์ เงินละออ’ เริ่มต้นทำโปรเจกต์ส่วนตัวออกแบบ Identity Design เทศกาล Bangkok Women’s Film Festival (BKKWFF) ในไทย ด้วยความที่ทำงานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ มีความชื่นชอบภาพยนตร์ และอินเรื่องเฟมินิสต์ จึงทำให้เธอพยายามหาข้อมูลโดยการรีเสิร์ชตามแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนที่เรียนกับทำงานด้านนี้ เพื่อยืนยันว่าเธอไม่ได้คิดไปเองคนเดียว ก่อนจะใช้ความถนัดทำงานสื่อสารเรื่องนี้ออกมา แน่นอนใครๆ ต่างรู้ว่าภาพยนตร์ไทยเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐและคนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม ทว่าในแวดวงที่ถูกหมางเมิน ไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร ยังมีความกดทับอีกชั้นด้วยอคติทางเพศในวงการนี้ เห็นได้จากสัดส่วนอันน้อยนิดของผู้หญิงในงานภาพยนตร์ตั้งแต่ตำแหน่งเล็กจนถึงผู้บริหารใหญ่โต ยังไม่นับรวมความยากลำบาก และประสบการณ์การทำงานของคนทำงานผู้หญิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ในสายอาชีพที่ถูกครอบครองโดยผู้ชายอีก ด้วยเหตุนี้ เจ๋จึงอยากเป็นเสียงหนึ่งของการผลักดันประเด็นนี้ด้วยการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีเทศกาลภาพยนตร์ของผู้กำกับหญิง เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่และการันตีว่าผู้กำกับหญิงไทยมีความสามารถ ทำหนังได้หลากหลายแนว ควรได้รับการสนับสนุน แวดวงหนังไทยไม่มีผู้กำกับหญิง หรือไม่ได้รับการสนับสนุน ความสงสัยว่าทำไมแวดวงหนังไทยถึงไม่ค่อยมีผู้กำกับหญิงไม่ใช่คำถามที่เพิ่งเกิดขึ้น เจ๋คิดเรื่องนี้มาตลอดแต่ไม่เคยถึงขั้นค้นหาข้อมูลลงลึกจริงจัง จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้เธอสังเกตเห็นเวฟของหนังโดยผู้กำกับหญิงในหลายประเทศ ที่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่อยๆ จนถึงปีนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น ซึ่งตามมาด้วยเทศกาล Women’s Film Festival ที่จัดขึ้นในหลายเมืองทั่วโลก เธอเลยลองรีเสิร์ชดูว่าประเทศไทยเคยมีงานลักษณะนี้บ้างไหม “จริงๆ ที่ไทยเคยมีเทศกาลประมาณนี้ชื่อ Fem Film Festival จัดโดย Bangkok […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

ความชอบ บุคคลในใจ สถานที่โปรด เมืองในฝัน ของ วาดฟ้า (Wadfah)

บทสนทนานี้เริ่มมาจากการที่ฉันกดฟังเพลงในเพลย์ลิสต์สุ่มของ Spotify ไปเรื่อยๆ จนเจอเพลงที่ร้องว่า “I hate this city.It’s such a pity.I don’t really wanna wake up.” ฟังจนจบจึงได้ไปหาดู MV และรู้ว่าศิลปินเป็นคนไทยชื่อ ‘วาดฟ้า (Wadfah)’ ซึ่งนอกจากเนื้อเพลงที่บอกเล่าถึงความโดดเดี่ยวท่ามกลางเมืองหลวงแล้ว ใน MV เองเธอก็เลือกใช้ฉากหลังเป็นสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และแต่งแต้มสีสันให้ดูสนุกสนานขึ้น รู้สึกได้ถึงการทับซ้อนกันระหว่างเมืองในฝันและเมืองที่เป็นความจริงของเธอ หากจะบอกว่าเพลง ‘I hate this city’ เป็นหนึ่งในตัวแทนเสียงของคนรุ่นใหม่ที่อยากบอกต่อเมืองนี้ ก็คงไม่ผิดนัก ‘วาดฟ้า’ เป็นหญิงสาววัย 21 ปีที่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทำงาน NGO และชื่นชอบงานศิลปะกับดนตรี ส่งผลให้ลูกสาวของทั้งสองสนใจประเด็นสังคม พร้อมๆ กับโปรดปรานการทำงานศิลปะและฟังเพลงเล่นดนตรี ก่อนหน้านี้ เธอเคยทำงานออกแบบปก EP Album : Over the Sun – LANDOKMAI และร่วมกำกับ […]

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.