FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

พระสติ พระเครื่องจากพลาสติกที่เตือนให้ทุกคนบริโภคอย่างมีสติและรักสิ่งแวดล้อม

เมื่อช่วงงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ผ่านมา หลายคนน่าจะได้ไปร่วมกิจกรรมหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับ ผ้าป่า Design Week โปรเจกต์เชิงทดลองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการทอดผ้าป่า ในการนำวัฒนธรรมการแบ่งปันสู่คนรุ่นใหม่ ด้วยวิธีการทำบุญแบบใหม่ ในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล สิ่งที่ทำให้งานผ้าป่างานนี้ต่างจากงานผ้าป่าทั่วไปคือ การเชื่อมโยงระหว่างผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้เกิดความสะดวก โปร่งใส มีทางเลือกในการบริจาคหลากหลายตามความสนใจของผู้บริจาค ทั้งวัด การแพทย์ และการศึกษา ทั้งยังเพิ่มทางเลือกในการบริจาคขยะพลาสติกและขวดแก้วสะอาดแทนเงิน เพื่อนำไป Upcycle เป็นโปรดักต์ต่อไปด้วย ทว่า นอกจากไอเดียสร้างสรรค์ที่ปรับประยุกต์ความเชื่อประเพณีของคนไทยที่ดูเชยให้กลับมาร่วมสมัย จนคนไปร่วมงานแน่นขนัดชนิดที่เรียกว่างานผ้าป่าแตกแล้ว ‘พระสติ’ ที่สร้างขึ้นจากขยะพลาสติก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกกับผู้ที่บริจาค ผู้รับบริจาค และผู้สนับสนุนโครงการ ก็ถือเป็นไฮไลต์ดึงดูดผู้คนให้มาร่วมงานไม่ต่างกัน จากวัสดุที่คนทิ้งขว้าง ไม่สนใจ กลับกลายเป็นของหายากที่ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่นับสตอรี่ที่มาพร้อมกับการออกแบบ และการนำเสนอความเชื่ออิงหลักพุทธร่วมสมัยที่เตือนให้บริโภคอย่างมีสติ สนับสนุนความเท่าเทียม และรักษ์โลกอีกนะ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ผ่านการศึกษาและคิดมาอย่างถี่ถ้วน เพราะต่อให้คนอยากได้พระเครื่องเพราะความแรร์หรือรูปลักษณ์เท่ๆ ก็ตาม ทว่า อย่างน้อยๆ คนคนนั้นจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักศาสนา สิ่งแวดล้อม หรือการรีไซเคิลไปด้วย เบื้องหลังของไอเดียพระสตินี้คืออะไร กว่าขยะพลาสติกจะกลายมาเป็นพระเครื่องยอดฮิตที่ใครๆ ต่างอยากได้มาบูชา ต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบอย่างไรบ้าง เรามาคุยกับ ‘ไจ๋–ธีรชัย […]

มนุษย์ออฟฟิศอ่าน 5 หนังสือพักจากงานที่เหมาะอ่านในวันหยุด

สำหรับวันหยุดยาวในเดือนที่นับว่าร้อนที่สุดแห่งปีแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการนั่งตากลม พักผ่อนสบายๆ จิบชายามบ่าย พลิกหนังสือสนุกๆ อ่านทีละหน้าอย่างไม่รีบร้อน หลังจากเปิดปี 2022 มา บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ทั้งฝั่งการเมืองที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไหนจะข่าวสารใหญ่ๆ ที่ทำให้สังคมหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ยังไม่นับอากาศที่แปรปรวนจนหลายคนงงไปตามๆ กันอย่างเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา  แน่นอนว่าหลังจากนี้คงมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้นแน่ แต่เราอยากชวนทุกคนมาพักเบรก ชาร์จพลังใจ กับ 5 หนังสืออ่านสบายๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ราบรื่นในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างไม่หนักหนา และตระหนักว่ายังมีคนอีกมากมายที่รู้สึกไม่ต่างจากเรา ‘พักให้ไหว ค่อยไปต่อ’ หนังสือที่บอกว่าใจจะแข็งแรงขึ้นถ้าพักเสียบ้างเขียนโดย Nina Kim ในยุคสมัยที่มีแต่คนบอกให้แอ็กทีฟ ลงทุน ออมเงิน หาเงินเพิ่ม พัฒนาตัวเอง ทำธุรกิจที่สองสามสี่ ฯลฯ จะเป็นอะไรไหมถ้าเราจะขอไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ และให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจ หนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มนี้มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้คนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อต้องทำงาน มีภาระ มีความรับผิดชอบ ชีวิตแสนวุ่นวาย จะหาพื้นที่หายใจอย่างปลอดโปร่งคงยากไปหมด การอดทนอาจเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้มีแรงย่างก้าวไปแต่ละวัน แต่ขณะเดียวกันการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเหนื่อยแล้วรู้จักพัก ร้องไห้บ้างเมื่อรู้สึกเศร้า ระบายความโกรธออกมาบ้าง คงทำให้ใจแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ ลองให้เวลาและพื้นที่ตัวเองบ้าง ลองไม่ต้องอดทนแล้วปลดปล่อยความในใจออกมา อาจทำให้ชีวิตสุขขึ้น […]

อ่านอนาคต พบปะนักเขียน ตามเก็บ NFT ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ

จะมีอะไรดีไปกว่าการซื้อหนังสือแล้วได้พูดคุยกับนักเขียนและคนทำสำนักพิมพ์ไปด้วย เพราะการได้รู้เบื้องหลังและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของหนังสือเล่มนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านสนุกขึ้น! หลังจากต้องย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์มากว่า 2 ปี ในที่สุดปีนี้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็ได้กลับมาจัดในรูปแบบออนไซต์บนสถานที่แห่งใหม่ ใหญ่โตกว้างขวาง เดินทางสะดวกอย่างสถานีกลางบางซื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 มาในธีม ‘อ่านอนาคต’ กับแนวคิดที่ว่า เมื่อเริ่มอ่าน อนาคตของเราก็เกิดขึ้น โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะในแง่ของความรู้ แต่ยังรวมไปถึงแง่การออกเดินทาง สำรวจตัวเอง และเติมพลังใจ ความพิเศษของงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งนี้ นอกจากกิจกรรมสนุกๆ อย่างนิทรรศการหนังสือ เสวนา เวิร์กช็อป รวมถึงกองทัพหนังสือที่เหล่าสำนักพิมพ์นำไปจำหน่ายให้ชาวนักอ่านอย่างจัดเต็มเหมือนครั้งก่อนๆ แล้ว ตัวงานยังย้ายมาจัดในสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ทำให้บรรยากาศงานมีความแปลกใหม่กว่าทุกครั้ง แถมเดินทางง่าย ใครที่ยังไม่ได้ไปงานสัปดาห์หนังสือฯ หรือเป็นชาวบ้านไกลที่สั่งหนังสือออนไลน์แล้วสะดวกกว่า เราไปตะลุยเปิดแมปสำรวจจุดที่น่าสนใจในงานให้แล้ว ลง MRT สถานีกลางบางซื่อแล้วตามมาเลย คว้าแผนที่แล้วออกไปตะลุยงานหนังสือกัน ด้วยความที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดที่สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ค่อนข้างสะดวกต่อการเดินทาง มาด้วยขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT หรือรถเมล์ก็ได้ หรือจะขับขี่รถส่วนตัวมาก็ไม่มีปัญหา ที่นี่มีพื้นที่รองรับรถกว่าพันคัน แถมยังไม่ต้องตรวจ ATK […]

เปิดใจ “เอ้ สุชัชวีร์” ไม่มาขายฝัน พร้อมเจ็บ เพื่อเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้น l Bangkok Hope EP.2

‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ สโลแกนปลุกใจชาวกรุงของ เอ้-สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์  บางคนอาจรู้จักเขาจากบทบาทอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บางคนอาจรู้จักเขาจากการเป็นไวรัลทายาทสายตรงไอน์สไตน์ บางคนอาจรู้จักเขาจากป้ายประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ หรือบางคนอาจรู้จักเขาในฐานะเจ้าของบ้านหลังงามที่มีชั้นสะสมฟิกเกอร์ Iron Man แต่ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในรูปแบบไหน ท้ายที่สุดแล้วเขาคือคนที่อาสาขอเข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองหลวงของประเทศไทยที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติ อะไรทำให้เขาเชื่อว่าแนวคิด ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’ จะเป็นไปได้ กรุงเทพฯ มีโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นมากน้อยแค่ไหนในสายตาเขา เราเชิญคุณมาติดตามคำตอบไปพร้อมๆ กัน! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #เอ้สุชัชวีร์ #พรรคประชาธิปัตย์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?

คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ .  เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย!  . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive  #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.