


เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง

‘Aa kaan-อาคาร’ เพจของชาวเกมเมอร์ตัวเหลี่ยม ที่เนรมิตสถาปัตยกรรมไทยขึ้นในเกม Minecraft

Intergenerational Space ขอพื้นที่ให้คนต่างวัย ได้หายใจภายในพื้นที่ครอบครัว

เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน

‘SAMA Garden’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ในบางนา ที่จะช่วยฮีลใจคนเมืองด้วยธรรมชาติ และกิจกรรมที่ทำให้เป็นวันพักผ่อนที่ดีที่สุด
POPULAR
ชวนไปเพ่งพิศ 10 พิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับการันตีจากโครงการ Museum STAR
‘พิพิธภัณฑ์’ เป็นเสมือนกุญแจเปิดสู่โลกกว้าง กระตุ้นความคิดและจินตนาการผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นรูป รส สัมผัส กลิ่น เสียง โดยที่ทุกอย่างได้รับการจัดเรียงและคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว และแต่ละคนเองคงมีพิพิธภัณฑ์ติดดาวในดวงใจที่จะไปกับเพื่อนหรือคนเดียวก็เอนจอยและเพลิดเพลินทุกครั้ง ไม่ว่าจะไปชมนิทรรศการ ไปสำรวจพื้นที่ หรือไปใช้เวลาพักผ่อนสบายๆ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นก็คงดีไม่น้อยถ้าเราจะได้ลองไปเยี่ยมเยียนมิวเซียมแห่งใหม่ๆ เผื่อได้สถานที่ชุบชูใจเพิ่มเติมมาไว้ในลิสต์อีก เพื่อเป็นอินโทรสู่ซีรีส์คอนเทนต์ที่ Urban Creature ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และ Museum Thailand จึงอยากชวนผู้อ่านมารู้จักกับลิสต์ 10 พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลโครงการ Museum STAR กันก่อนที่จะไปทัวร์แต่ละแห่งอย่างลงลึก พร้อมรับรู้เบื้องหลังการดำเนินงานผ่านถ้อยคำของตัวแทนมิวเซียมในบทสัมภาษณ์คอลัมน์ One Day With… 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC’ คือ Art Center เคียงคู่กรุงเทพฯ และพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมตัวของชาววัยรุ่นสยาม ซึ่งไม่เคยว่างเว้นจากนิทรรศการหมุนเวียนนับร้อยที่กระจายตัวทั่วทุกชั้นตั้งแต่ชั้น 1 – 9 อีกทั้งยังมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา […]
เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน
ภาพบันไดวนสีขาวใหญ่โตตรงหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น 7 ถึงชั้น 9 คือภาพที่คุ้นเคยกันดีของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) หรือที่เรารู้จักในนาม ‘BACC’ สถานที่ที่ใครๆ ต่างเคยมีความทรงจำร่วม ไม่ว่าจะมาเยือนในฐานะผู้ชมงานศิลปะ หรือแวะเวียนมาใช้พื้นที่เป็นจุดนัดพบเพื่อนฝูงหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่ง BACC อยู่มานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทวีความครึกครื้นมากขึ้นไปเท่านั้น สังเกตได้จากจำนวนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มาเยือนพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่มาชมงานศิลปะและเดินเข้าเดินออกร้านรวงต่างๆ ภายในบริเวณ สอดคล้องไปกับปริมาณของร้านค้าและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมือนจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 4 – 5 ปีก่อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แต่การมา BACC ของคอลัมน์ One Day With… ในครั้งนี้จะแตกต่างออกไปจากครั้งอื่นๆ อย่างแน่นอน เพราะเราจะมาล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานของหอศิลปกรุงเทพฯ ผ่านคนวงใน เพื่อทำความรู้จักตึกใหญ่โตสีขาวใจกลางเมืองแห่งนี้ในมุมอินไซต์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านซีรีส์ MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์ ไปพร้อมกัน เป็นที่รู้กันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่นึกถึงเสมอเมื่อใครหลายคนมองหาพื้นที่สงบใจกลางเมือง ทำให้ทุกครั้งที่เรามา BACC มักจะมีเป้าหมายในใจอย่างการตรงดิ่งเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 7, 8 และ 9 ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแวะอัปเดตสินค้างานคราฟต์บริเวณชั้นร้านค้า artHUB เป็นต้น […]
‘Aa kaan-อาคาร’ เพจของชาวเกมเมอร์ตัวเหลี่ยม ที่เนรมิตสถาปัตยกรรมไทยขึ้นในเกม Minecraft
เอามือทุบต้นไม้ สร้างบ้านดิน ขุดเหมือง สู้กับครีปเปอร์ เดินตกลาวา แย่งบ้าน Villager ทำเรดสโตน เหล่านี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่เหล่าผู้เล่นเกม ‘Minecraft’ (ไมน์คราฟต์) ต่างคุ้นเคยกันดี แต่นอกเหนือจากโหมดเอาชีวิตรอด (Survival) ที่เป็นเหมือนสตาร์ทเตอร์แพ็กของชาวเกมเมอร์ ในเกมยังมีโหมด ‘สร้างสรรค์’ (Creative) ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสร้างและทำลายสิ่งก่อสร้างและกลไกต่างๆ ได้อย่างอิสระ นี่จึงเป็นเหมือนหลุมหลบภัยให้กับสายครีเอทีฟได้ระเบิดพลังสร้างโลกและสิ่งปลูกสร้างในเกมเป็นของตัวเอง คอลัมน์ Art Attack ขอพามาบุกแมปเทพๆ ของ ‘ณัฐ-ณัฐวุฒิ เอื้อธีรมงคล’ และ ‘น้ำมนต์-ศิวัช สุขเลิศกมล’ 2 ตัวแทนแอดมินจากเพจ ‘Aa kaan-อาคาร’ ที่แม้จะเปลี่ยนชื่อเพจมาแล้วถึง 2 ครั้งจาก ‘Minecraft สถาปัตยกรรม’ และ ‘Minecraft Architecture’ แต่ยังคง DNA ของการลงงานสถาปัตยกรรมไทยในเกมอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อคุยถึงเบื้องหลังการสร้างสถาปัตยกรรมไทยในเกมไมน์คราฟต์ที่ทำเอาลูกเพจอ้าปากค้างทุกครั้งที่เห็น เริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่เล็กประสบการณ์ “แต่ละคนเริ่มเล่นเกมไมน์คราฟต์กันตั้งแต่เมื่อไหร่” คำถามแรกที่ไม่ถามคงไม่ได้เมื่อเริ่มบทสนทนากับชาวเกมเมอร์ ณัฐวุฒิและศิวัชบอกกับเราว่า เพจ Minecraft สถาปัตยกรรม […]
‘Thainosaur’ ย้อนเวลาไปสำรวจโลกยุคดึกดำบรรพ์ นิทรรศการที่รวบรวมไดโนเสาร์พันธุ์ไทยเอาไว้มากที่สุด
ไม่ต้องออกไปสำรวจร่องรอยไดโนเสาร์ไกลถึงเกาะ Isla Nublar เพราะว่าประเทศไทยก็เคยมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่มากกว่าที่เราคิด แถมยังมีไดโนเสาร์พันธุ์ไทยจำนวนมากที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนด้วย นิทรรศการ ‘Thainosaur’ จะพาทุกคนไปสำรวจประเทศไทยในยุคดึกดำบรรพ์ที่มีไดโนเสาร์เป็นตัวละครหลัก ตั้งแต่ยุคก่อนไดโนเสาร์ ยุคทองของไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ ไปจนถึงยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท่องตระเวนไปทั่วประเทศไทย พร้อมนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน นิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยชั้นแรกเป็นการรวบรวมสัตว์ดึกดำบรรพ์อายุเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ และช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ซอโรพอดอย่าง ‘อีสานโนซอรัส’ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกบนโลก ส่วนชั้นสองเป็นไฮไลต์ที่จัดแสดงยุครุ่งเรืองของไดโนเสาร์อย่าง ‘ยุคจูแรสซิก’ ที่มีไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ‘ชาละวัน ไทยแลนดิคัส’ พญาจระเข้ขนาด 8 เมตร และ ‘ยุคครีเทเชียส’ ซึ่งเป็นการรวมไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงของไทย ทั้งสยามโมไทรันนัส, ภูเวียงโกซอรัส, กินรีไมมัส รวมไปถึงสยามโมซอรัส ให้ชมกัน ส่วนชั้นสามเป็นการจัดแสดงช่วงเวลาสุดท้ายของไดโนเสาร์ไทย ผ่านโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ผสมผสานทั้งของจริงและจำลองเอาไว้ ทั้งโครงกระดูกภูเวียงโกซอรัสและสยามแรปเตอร์ รวมถึงไดโนเสาร์กินพืช เพื่อบอกเล่ายุคสุดท้ายก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ มากไปกว่าไดโนเสาร์ นิทรรศการนี้ยังจัดแสดงและเล่าเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์อื่นๆ เช่น ฉลาม จระเข้ หรือช้างโบราณอีกด้วย อีกทั้งเพื่อความสมจริงและรู้จักกับสัตว์ในอดีตเหล่านี้ให้เห็นภาพมากขึ้น ก็มีการนำเสนอการเคลื่อนที่ของสัตว์แต่ละชนิดผ่านแอนิเมชัน อ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของสัตว์ในปัจจุบันเพื่อความสมจริงมากที่สุด นอกจากได้ความรู้จากการมีอยู่ของเหล่าไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ แล้ว ภายใน Thainosaur […]
‘SAMA Garden’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ในบางนา ที่จะช่วยฮีลใจคนเมืองด้วยธรรมชาติ และกิจกรรมที่ทำให้เป็นวันพักผ่อนที่ดีที่สุด
วันหยุดนี้ลองแวะไปพักผ่อนกายใจที่พื้นที่สีเขียวฮีลใจแห่งใหม่ในย่านบางนาดูสิ เพราะทุกวันในเมืองเรามักต้องพบเจอความเร่งรีบของผู้คน ความตึงเครียดจากงาน และมลพิษที่อยู่รอบตัวตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้าน ส่งผลให้หลายคนต้องคอยมองหาวิธีคลายเครียดอยู่เสมอๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีการผ่อนคลายที่ได้ผลคือ การเข้าใกล้ธรรมชาติเพื่อช่วยฮีลใจให้ได้สัมผัสกับคำว่าสโลว์ไลฟ์กันบ้าง แต่หากมีเวลาเพียงหนึ่งวัน การไปพักใจในธรรมชาติต่างจังหวัดก็อาจจะไกลเกินไป คอลัมน์ Urban Guide จึงอยากชวนไปใช้เวลาหนึ่งวันให้คุ้มค่าในย่านบางนา กับแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในไบเทคบุรี ที่มีให้ครบทั้งไลฟ์สไตล์และธรรมชาติ ไม่ต้องเดินทางไกลก็ได้สัมผัสสีเขียวในเมือง ตามเราไปสำรวจ SAMA Garden กันว่า สถานที่ที่เป็น Green Living แบบครบวงจรนี้มีกิจกรรมอะไรให้คนเมืองไปใช้เวลาหนึ่งวันแบบสบายๆ เติมพลังใจให้ขึ้นขีดสีเขียวกันบ้าง ปรับชีวิตคนเมืองให้สมดุลด้วยการเรียนรู้ชีวิตแบบ Green Living จริงอยู่ที่ในตอนนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายย่าน แต่ SAMA Garden นั้นเป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ เพราะยังเป็นสถานที่ที่รวมความเป็นไลฟ์สไตล์เอาไว้ในที่เดียวด้วย ‘คุณบอย-ษัณปการ แสงจันทร์’ SAMA Garden Department Manager เล่าถึงคอนเซปต์ไอเดียของ SAMA Garden ให้เราฟังว่า เดิมทีพื้นที่ของไบเทคบุรีมีการจัดอีเวนต์อยู่ตลอดเวลา และมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เขาจึงอยากสร้างความแปลกใหม่ให้พื้นที่ด้วยการกระตุ้น Sensory Awareness หรือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้คนผ่านคอนเซปต์ Live & […]
ตามหาสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องที่ชอบด้วย ‘Anitabi’ แผนที่ชี้พิกัดโลเคชันในอนิเมะ ให้ออกไปตามรอยตัวละครคนโปรดได้ทุกที่ทั่วโลก
ความใฝ่ฝันหนึ่งของคนที่รักการดูหนังหรือซีรีส์คงเป็นการออกไปท่องโลกเพื่อตามรอยสถานที่ที่เป็นเซตติ้งในเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่มีพื้นที่จริงให้ไปตามรอยทั้งนั้น แต่ใช่ว่าสายอนิเมะจะไม่อยากไปเยี่ยมชมสถานที่จริงจากการ์ตูนเรื่องโปรดสักหน่อย แต่พอเป็นลายเส้นที่วาดขึ้นมาแล้ว บางสถานที่ก็อาจจะดูยากไปหน่อยว่าต้นฉบับที่แท้จริงของโลเคชันนี้คือที่ไหน ทว่าปัญหานี้จะหมดไปเมื่อมีเว็บไซต์ ‘Anitabi’ ที่จะพาทุกคนออกไปท่องโลกตามรอยอนิเมะเรื่องโปรดได้ถูกที่ เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่รวบรวมสถานที่ต่างๆ บนโลกให้เหล่าคนรักอนิเมะได้ปักหมุดกันว่า ทริปต่อไปเราจะไปตามรอยการ์ตูนเรื่องไหนบ้าง โดยตัวแผนที่จะขึ้นเป็นไอคอนตัวละครของแต่ละเรื่อง หรือถ้าตามหาเรื่องที่อยากไปตามรอยไม่เจอ ก็แค่พิมพ์ชื่ออนิเมะที่เราชื่นชอบ จากนั้นตัวเว็บไซต์จะพาเราไปยังจุดต่างๆ ของเรื่องเพื่อเลือกสถานที่ที่ต้องการไปตามรอยได้ ถึงแม้ว่าแผนที่นี้จะไม่ได้มีรายละเอียดลงลึกเรื่องสถานที่ครบทุกเรื่องทุกตอน แต่เราเชื่อว่ามีเยอะมากพอจนจัดเป็นทริปตามรอยอนิเมะได้อย่างแน่นอน ที่แน่ๆ มีโลเคชันของการ์ตูนยุคใหม่เรื่องดังๆ อย่าง Haikyu!!, Jujutsu Kaisen หรือ Demon Slayer ให้ไปตามเก็บแน่นอน ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์กันก่อนได้ที่ tinyurl.com/anitabi
BREEZZE Market ตลาดแนวใหม่ที่รวมตลาดสด พื้นที่สาธารณะ และสวนขนาดเล็กเอาไว้ด้วยกัน
ในยุคที่เวลาเราอยากซื้อของอะไรก็มักจะนึกถึงการซื้อออนไลน์ก่อนเป็นอย่างแรก ส่งผลให้พื้นที่ซื้อขายรูปแบบเดิมๆ อย่างตลาดต้องเริ่มปรับตัว BREEZZE Market คือตลาดที่ตั้งอยู่ในย่าน Jiaochuan ของเขต Zhenhai เมือง Ningbo จังหวัด Zhejiang ประเทศจีน ตั้งใจปรับปรุงพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่เคยซบเซาให้พัฒนาขึ้น ผ่านการทำความเข้าใจความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง หลังจากสำรวจแล้วพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นผู้สูงอายุและผู้อยู่อาศัยที่ย้ายถิ่นฐาน ความต้องการหลักของพวกเขาจึงเป็นการจับจ่ายซื้อของควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ทำให้ได้พบปะผู้คน ตลาดแห่งนี้จึงควบรวมการใช้งานพื้นที่ตลาด สวนสาธารณะขนาดเล็ก และพื้นที่สาธารณะไว้ด้วยกัน แนวคิด ‘การเชื่อมต่อ’ เป็นแกนหลักของโครงการนี้ ไม่เพียงแต่การเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างสถาปัตยกรรมใหม่กับชุมชนเดิม แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าและผู้อาศัย โดยได้แรงบันดาลใจจากตลาดชนบทในวัยเด็กที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างอิสระ แล้วนำมาปรับใช้กับบริบทเมือง เพื่อสร้างพื้นที่ที่อบอุ่นและเป็นกันเอง ต่างจากตลาดในเมืองทั่วไปที่มักจัดเป็นล็อกๆ ดูแยกกันอยู่ ด้วยเหตุนี้ BREEZZE Market จึงมุ่งเน้นเรื่องความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ค้าเลือกเวลาและสถานที่ขายของได้เอง ช่วยลดระยะห่างทั้งทางกายภาพและจิตใจระหว่างลูกค้ากับแม่ค้า ผ่านแนวคิด ‘ทางเข้าหมู่บ้าน’ ที่ทำให้ถนนกลายเป็นพื้นที่ส่วนรวมที่ผู้อยู่อาศัยสามารถจับจ่ายซื้อของ ทานอาหาร พบปะเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่นั่งพักผ่อนกลางแดด โครงการนี้มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้เช่ากว่า 770 ตารางเมตร และพื้นที่สาธารณะกว่า 1,000 ตารางเมตร โดยปรับปรุงพื้นที่จากอาคารสีเทาดูมืดหม่นให้ดูสะดุดตามากขึ้นด้วยสีสันสวยงาม รวมถึงเปลี่ยนถนนทั้งสายให้เดินสะดวกและดูดีขึ้น การปรับปรุงนี้มีแนวคิดสำคัญคือ การใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยใช้ส่วนประกอบสำเร็จรูปถึง […]
Intergenerational Space ขอพื้นที่ให้คนต่างวัย ได้หายใจภายในพื้นที่ครอบครัว
จากการ ‘เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี ของมนุษย์ต่างวัย’ ในงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี…ชีวิต ซีซัน 2 It’s Okay To Be You’ เมื่อวันที่ 21 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่ามูฟเมนต์การขับเคลื่อนสังคมสูงวัยเกิดขึ้นได้จากการสะสมเรื่องเล่าจากผู้คนในวัยต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน หรือแม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อคำว่า ‘วัยใหม่’ เพราะ ‘วัย’ ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกเราออกจากกัน แต่คือสิ่งที่เชื่อมเราเข้าหากันผ่านประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลาย ครอบครัวเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีความต้องการเหมือนกัน หนึ่งในหัวข้อที่คนต่างวัยต้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกออกไม่ได้คือ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเมื่อมีความเป็น ‘ครอบครัว’ มาเกี่ยวข้องทีไร มักโยงใยไปถึง ‘ความกตัญญู’ อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาของการเก็บข้อมูลภายในเพจมนุษย์ต่างวัยพบว่า ความกตัญญูยังเป็นค่านิยมที่ลูกๆ ยึดถือ และการแสดงออกถึงความกตัญญูมักมาพร้อมกับการอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ เพื่อดูแลและแบ่งปันการใช้ชีวิตกับพ่อแม่ในบ้านหลังเดียวกัน จากผลการวิจัยในปี 2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล […]
LATEST
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]
เดินทางฟรีดีต่อใจด้วย ‘BMA Feeder’ บริการรถบัสพลังงานไฟฟ้า ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ให้คนเมืองสะดวกกว่าเดิม
นี่คืออีกหนึ่งทางเลือกของคนเมืองที่ไม่อยากใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทาง กรุงเทพมหานครมีบริการรถบัสพลังงานไฟฟ้าปรับอากาศ BMA Feeder ที่ให้บริการฟรี มาช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางในเมือง เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนใช้บริการขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถส่วนตัว ลดมลพิษ และช่วยลดปัญหาการจราจร โดยทาง BMA Feeder ได้เปิดให้บริการใน 2 เส้นทางคือ วัดปุรณาวาส-ตรงข้ามสะพานพุทธ และ ตลาดธนบุรี – MRT หลักสอง และก่อนหน้านี้ก็มีบางเส้นทางที่ได้ทดลองวิ่งและหยุดให้บริการไปช่วงหนึ่ง แต่ในตอนนี้ นอกเหนือจากสองเส้นทางที่กล่าวมา BMA Feeder ได้เปิดให้บริการ 5 เส้นทางเพิ่มเติม เพื่อให้บริการและกระจายเส้นทางการเดินทางให้กว้างขึ้น ได้แก่ 1) ดินแดง – BTS สนามเป้า 2) ถนนสามเสน-ตั้งฮั่วเส็ง (เชื่อมฝั่งธนฯ) 3) ชุมชนเคหะร่มเกล้า – ARL ลาดกระบัง 4) MRT บางขุนนนท์ – 4 ตลาดน้ำตลิ่งชัน 5) พิพิธภัณฑ์เด็กฯ จตุจักร – […]
ไปเดินชมงานจิตรกรรมฝาผนัง ที่สะท้อนอดีตและปัจจุบันของคลองโอ่งอ่าง
เป็นเวลากว่า 5 ปีแล้วที่มิวเซียมสยามขยายการทำงานออกไปนอกเขตพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยเฉพาะในย่านพระนครที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ ผ่านการใช้ศิลปะและความคิดสร้างสรรค์เป็นสื่อกลาง และในปีนี้มิวเซียมสยามร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดงานเทศกาลศิลปะเปิดเกาะรัตนโกสินทร์ หรือ Cultural District 2025 ภายใต้แนวคิด ‘พระนคร ออน โอ่งอ่าง : หันน่าเข้าคลอง’ (BKK by the Canal) กับการเลือกพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่างมาเป็นต้นแบบของ ‘พิพิธภัณฑ์สิ่งมีชีวิต’ (Living Museum) ที่จะสะท้อนความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของเมือง ใช้งานสร้างสรรค์เพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่าย และพร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้เมืองอื่นๆ ในการพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์ของตนเองต่อไป ก่อนจะเปิดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เราก็เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ได้รับโอกาสไปเดินชมจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนบนพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่างก่อนด้วย ซึ่งผลงานทั้งหมดออกแบบโดยศิลปินชาวไทยและชาวต่างชาติ ขอบอกเลยว่า นอกจากความสวยงามแล้ว ทุกงานยังบอกเล่าประวัติศาสตร์ย่านนี้ได้อย่างน่ารักและลึกซึ้ง เริ่มด้วยชิ้นงาน ‘โอ่งอ่างเมื่อวันวาน’ ที่อาคาร MSM วังประตูสามยอด ที่บอกเล่าความคึกคักของย่านนี้เมื่อสมัยอดีต จากนั้นก็เดินต่อไปยังตึก ส.อำไพยนต์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของงาน ‘ชั้นชาลา ความทรงจำที่ทับซ้อนตามกาลเวลาของรถรางในกรุงเทพ’ ที่ใช้ความเป็นตึกหัวมุมบอกเล่าเรื่องราวของภาพได้ดีมาก จากนั้นจึงไปชมสองชิ้นงานที่อยู่ใกล้ๆ […]
3 ทริปจาก 3 ภาคของไทย ใน Be My Guest Fam Trip ททท.ชวนแขกต่างประเทศมาสัมผัสวัฒนธรรมและเสน่ห์เมืองรอง
พอพูดถึงการท่องเที่ยวไทย หลายคนมักพากันนึกถึงจังหวัดใหญ่ๆ อย่างภูเก็ต เชียงใหม่ หรือชลบุรี แต่จริงๆ แล้วเมืองรองของไทยก็น่าเที่ยวไม่แพ้กัน แถมยังมีวัฒนธรรมและเรื่องราวให้ค้นหาอีกมากมายด้วย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรม Be My Guest Fam Trip เพื่อส่งเสริมเสน่ห์ของวัฒนธรรมไทยในฐานะ Soft Power ผ่านการชวนแขกผู้ทรงเกียรติจากหลากหลายประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อิตาลี ฝรั่งเศส ไต้หวัน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) และญี่ปุ่น พากันสัมผัสประสบการณ์การเที่ยวไทยอย่างลึกซึ้ง ททท.พาไปลองของดีที่เมืองรอง โครงการนี้เน้นนำเสนอเมืองรองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านแนวคิดการท่องเที่ยว Thailand in the Box และ Grand Moment ที่เน้นการสร้างสรรค์และถ่ายทอดอัตลักษณ์ความเป็นไทยอย่างร่วมสมัย เพื่อให้ไทยมีภาพลักษณ์ ‘เมืองแห่งการต้อนรับ’ ที่ทั้งอบอุ่นและพร้อมดูแลนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยกิจกรรมนี้ได้พาผู้ร่วมทริปไปท่องเหนือ ล่องตะวันออก เที่ยวภาคกลางตอนล่าง อย่างสุโขทัย จันทบุรี และสมุทรสงคราม ให้ได้เห็นความสวยงามและวัฒนธรรมไทยที่น่าสนใจของเมืองที่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก รักษ์โลกสบายๆ […]
‘Aa kaan-อาคาร’ เพจของชาวเกมเมอร์ตัวเหลี่ยม ที่เนรมิตสถาปัตยกรรมไทยขึ้นในเกม Minecraft
เอามือทุบต้นไม้ สร้างบ้านดิน ขุดเหมือง สู้กับครีปเปอร์ เดินตกลาวา แย่งบ้าน Villager ทำเรดสโตน เหล่านี้คือตัวอย่างกิจกรรมที่เหล่าผู้เล่นเกม ‘Minecraft’ (ไมน์คราฟต์) ต่างคุ้นเคยกันดี แต่นอกเหนือจากโหมดเอาชีวิตรอด (Survival) ที่เป็นเหมือนสตาร์ทเตอร์แพ็กของชาวเกมเมอร์ ในเกมยังมีโหมด ‘สร้างสรรค์’ (Creative) ที่อนุญาตให้ผู้เล่นสร้างและทำลายสิ่งก่อสร้างและกลไกต่างๆ ได้อย่างอิสระ นี่จึงเป็นเหมือนหลุมหลบภัยให้กับสายครีเอทีฟได้ระเบิดพลังสร้างโลกและสิ่งปลูกสร้างในเกมเป็นของตัวเอง คอลัมน์ Art Attack ขอพามาบุกแมปเทพๆ ของ ‘ณัฐ-ณัฐวุฒิ เอื้อธีรมงคล’ และ ‘น้ำมนต์-ศิวัช สุขเลิศกมล’ 2 ตัวแทนแอดมินจากเพจ ‘Aa kaan-อาคาร’ ที่แม้จะเปลี่ยนชื่อเพจมาแล้วถึง 2 ครั้งจาก ‘Minecraft สถาปัตยกรรม’ และ ‘Minecraft Architecture’ แต่ยังคง DNA ของการลงงานสถาปัตยกรรมไทยในเกมอย่างไม่เปลี่ยนแปลง เพื่อคุยถึงเบื้องหลังการสร้างสถาปัตยกรรมไทยในเกมไมน์คราฟต์ที่ทำเอาลูกเพจอ้าปากค้างทุกครั้งที่เห็น เริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่เล็กประสบการณ์ “แต่ละคนเริ่มเล่นเกมไมน์คราฟต์กันตั้งแต่เมื่อไหร่” คำถามแรกที่ไม่ถามคงไม่ได้เมื่อเริ่มบทสนทนากับชาวเกมเมอร์ ณัฐวุฒิและศิวัชบอกกับเราว่า เพจ Minecraft สถาปัตยกรรม […]
‘Center of Dreams’ ศูนย์พักพิงคนไร้บ้านชั่วคราวแห่งแรกในกรุงเทพฯ ชั้นใน หวังช่วยเหลือคนไร้บ้านในสังคมอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีคนไร้บ้านราวๆ 1,271 ราย (อ้างอิงข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร ธันวาคม 2567) ในขณะที่จำนวนศูนย์ให้ความช่วยเหลือยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ด้วยอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสทางอาชีพ และการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ‘มูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation)’ และ ‘มูลนิธิแบงค็อก คอมมูนิตี้ เฮลป์ (Bangkok Community Help Foundation)’ ได้ร่วมมือกันจัดตั้ง ‘Center of Dreams’ ขึ้นเป็นที่พักพิงชั่วคราวสำหรับคนไร้บ้านในเขตคลองเตยและกรุงเทพฯ ชั้นใน เพื่อบรรลุเป้าหมายการช่วยเหลือคนไร้บ้านให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างยั่งยืน ภายใน Center of Dreams ประกอบด้วยห้องพัก ห้องน้ำ อาหาร และเครื่องนุ่งห่มอำนวยความสะดวก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะทางวิชาชีพและสังคม ทั้งเวิร์กช็อปเรียนรู้ตัวเอง การฝึกอาชีพ ไปจนถึงแนะแนวการสมัครงาน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งที่นี่ไม่เพียงรองรับผู้คนในเขตชุมชนคลองเตยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนไร้บ้านทุกคนในกรุงเทพฯ โดยไม่จำกัดอายุ เพศ หรือภูมิหลัง ถือเป็นการดำเนินงานของทางศูนย์ฯ ที่ผนึกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม ตั้งแต่การลงพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ […]
Intergenerational Space ขอพื้นที่ให้คนต่างวัย ได้หายใจภายในพื้นที่ครอบครัว
จากการ ‘เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี ของมนุษย์ต่างวัย’ ในงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี…ชีวิต ซีซัน 2 It’s Okay To Be You’ เมื่อวันที่ 21 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่ามูฟเมนต์การขับเคลื่อนสังคมสูงวัยเกิดขึ้นได้จากการสะสมเรื่องเล่าจากผู้คนในวัยต่างๆ ทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน หรือแม้กระทั่งคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างการรับรู้ต่อคำว่า ‘วัยใหม่’ เพราะ ‘วัย’ ไม่ใช่สิ่งที่แบ่งแยกเราออกจากกัน แต่คือสิ่งที่เชื่อมเราเข้าหากันผ่านประสบการณ์และมุมมองที่หลากหลาย ครอบครัวเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีความต้องการเหมือนกัน หนึ่งในหัวข้อที่คนต่างวัยต้องเชื่อมโยงกันอย่างแยกออกไม่ได้คือ ‘ที่อยู่อาศัย’ ซึ่งเมื่อมีความเป็น ‘ครอบครัว’ มาเกี่ยวข้องทีไร มักโยงใยไปถึง ‘ความกตัญญู’ อยู่เสมอ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาของการเก็บข้อมูลภายในเพจมนุษย์ต่างวัยพบว่า ความกตัญญูยังเป็นค่านิยมที่ลูกๆ ยึดถือ และการแสดงออกถึงความกตัญญูมักมาพร้อมกับการอาศัยอยู่ร่วมกับพ่อแม่ เพื่อดูแลและแบ่งปันการใช้ชีวิตกับพ่อแม่ในบ้านหลังเดียวกัน จากผลการวิจัยในปี 2562 โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล […]
Playón Red ลานกีฬาและพื้นที่สาธารณะจากทางรถไฟเก่า ที่คนในชุมชนร่วมกันออกแบบพื้นที่ที่ตัวเองอยากได้
ย่าน Playón de Chacarita ใจกลางกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้มีการปรับปรุงเส้นทางรถไฟเก่าให้กลายเป็นโครงการ Playón Red ที่มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนได้มาพบปะและออกกำลังกาย ผ่านการปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อยู่อาศัยจริงในท้องถิ่น ระยะแรกของการดำเนินงาน โครงการได้จัดประชุมให้ผู้อยู่อาศัยในละแวกนั้นแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่เพื่อชุมชนของตนเอง โดยพวกเขาได้ช่วยกันออกแบบสามส่วนหลักของการปรับปรุง ดังนี้ 1) ลานภายใน (The Inner Courtyard) ทางเดินต่างๆ ได้รับการฟื้นฟูเพื่อรักษาความทรงจำและอัตลักษณ์ท้องถิ่น พร้อมปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2) สวน Guevara (The Guevara Garden) สวนหย่อมขนาดเล็ก ทำหน้าที่เป็นสวนรับน้ำฝน บรรเทาปัญหาน้ำท่วม 3) สนามปัลปา (The Palpa Court) พื้นที่กีฬาสีสันสดใสที่ออกแบบมาเป็นสนามกีฬาที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชน หลังจากนั้นโครงการก็ยังดำเนินการต่อในระยะที่สอง เพื่อวางแผนการก่อสร้าง ศูนย์ชุมชน (Community Center) ที่เน้นกิจกรรมทางวัฒนธรรม การศึกษา และเศรษฐกิจ เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน นอกจากเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนได้มาใช้เวลาร่วมกัน โปรเจกต์นี้ยังช่วยให้พื้นที่ยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ ไม่ต้องกลัวฝนตกน้ำท่วมอีกต่อไป และยังเปลี่ยนพื้นที่ทางรถไฟเก่าที่ไม่ปลอดภัยให้กลายเป็นพื้นที่ให้ทุกคนมาพบปะ ใช้เวลาร่วมกันอีกด้วย Source :ArchDaily | […]
‘Thainosaur’ ย้อนเวลาไปสำรวจโลกยุคดึกดำบรรพ์ นิทรรศการที่รวบรวมไดโนเสาร์พันธุ์ไทยเอาไว้มากที่สุด
ไม่ต้องออกไปสำรวจร่องรอยไดโนเสาร์ไกลถึงเกาะ Isla Nublar เพราะว่าประเทศไทยก็เคยมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่มากกว่าที่เราคิด แถมยังมีไดโนเสาร์พันธุ์ไทยจำนวนมากที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนด้วย นิทรรศการ ‘Thainosaur’ จะพาทุกคนไปสำรวจประเทศไทยในยุคดึกดำบรรพ์ที่มีไดโนเสาร์เป็นตัวละครหลัก ตั้งแต่ยุคก่อนไดโนเสาร์ ยุคทองของไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ ไปจนถึงยุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมท่องตระเวนไปทั่วประเทศไทย พร้อมนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน นิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 ชั้น โดยชั้นแรกเป็นการรวบรวมสัตว์ดึกดำบรรพ์อายุเก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ และช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ซอโรพอดอย่าง ‘อีสานโนซอรัส’ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกบนโลก ส่วนชั้นสองเป็นไฮไลต์ที่จัดแสดงยุครุ่งเรืองของไดโนเสาร์อย่าง ‘ยุคจูแรสซิก’ ที่มีไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ‘ชาละวัน ไทยแลนดิคัส’ พญาจระเข้ขนาด 8 เมตร และ ‘ยุคครีเทเชียส’ ซึ่งเป็นการรวมไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงของไทย ทั้งสยามโมไทรันนัส, ภูเวียงโกซอรัส, กินรีไมมัส รวมไปถึงสยามโมซอรัส ให้ชมกัน ส่วนชั้นสามเป็นการจัดแสดงช่วงเวลาสุดท้ายของไดโนเสาร์ไทย ผ่านโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ผสมผสานทั้งของจริงและจำลองเอาไว้ ทั้งโครงกระดูกภูเวียงโกซอรัสและสยามแรปเตอร์ รวมถึงไดโนเสาร์กินพืช เพื่อบอกเล่ายุคสุดท้ายก่อนการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ มากไปกว่าไดโนเสาร์ นิทรรศการนี้ยังจัดแสดงและเล่าเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์อื่นๆ เช่น ฉลาม จระเข้ หรือช้างโบราณอีกด้วย อีกทั้งเพื่อความสมจริงและรู้จักกับสัตว์ในอดีตเหล่านี้ให้เห็นภาพมากขึ้น ก็มีการนำเสนอการเคลื่อนที่ของสัตว์แต่ละชนิดผ่านแอนิเมชัน อ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของสัตว์ในปัจจุบันเพื่อความสมจริงมากที่สุด นอกจากได้ความรู้จากการมีอยู่ของเหล่าไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ แล้ว ภายใน Thainosaur […]
เพ่งพิศ Bangkok Art and Culture Centre หนึ่งวันในศูนย์ศิลปะสะท้อนภาพสังคม พื้นที่สาธารณะที่รอให้ทุกคนออกมาใช้งาน
ภาพบันไดวนสีขาวใหญ่โตตรงหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้น 7 ถึงชั้น 9 คือภาพที่คุ้นเคยกันดีของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) หรือที่เรารู้จักในนาม ‘BACC’ สถานที่ที่ใครๆ ต่างเคยมีความทรงจำร่วม ไม่ว่าจะมาเยือนในฐานะผู้ชมงานศิลปะ หรือแวะเวียนมาใช้พื้นที่เป็นจุดนัดพบเพื่อนฝูงหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ยิ่ง BACC อยู่มานานเท่าไหร่ ก็ยิ่งทวีความครึกครื้นมากขึ้นไปเท่านั้น สังเกตได้จากจำนวนผู้คนมากหน้าหลายตาที่มาเยือนพื้นที่แห่งนี้ ทั้งที่มาชมงานศิลปะและเดินเข้าเดินออกร้านรวงต่างๆ ภายในบริเวณ สอดคล้องไปกับปริมาณของร้านค้าและพื้นที่สร้างสรรค์ที่เหมือนจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเมื่อ 4 – 5 ปีก่อนอยู่พอสมควรเลยทีเดียว แต่การมา BACC ของคอลัมน์ One Day With… ในครั้งนี้จะแตกต่างออกไปจากครั้งอื่นๆ อย่างแน่นอน เพราะเราจะมาล้วงลึกเบื้องหลังการทำงานของหอศิลปกรุงเทพฯ ผ่านคนวงใน เพื่อทำความรู้จักตึกใหญ่โตสีขาวใจกลางเมืองแห่งนี้ในมุมอินไซต์ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านซีรีส์ MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์ ไปพร้อมกัน เป็นที่รู้กันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่นึกถึงเสมอเมื่อใครหลายคนมองหาพื้นที่สงบใจกลางเมือง ทำให้ทุกครั้งที่เรามา BACC มักจะมีเป้าหมายในใจอย่างการตรงดิ่งเข้าชมนิทรรศการบริเวณชั้น 7, 8 และ 9 ก่อนจะปิดท้ายด้วยการแวะอัปเดตสินค้างานคราฟต์บริเวณชั้นร้านค้า artHUB เป็นต้น […]
‘SAMA Garden’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ในบางนา ที่จะช่วยฮีลใจคนเมืองด้วยธรรมชาติ และกิจกรรมที่ทำให้เป็นวันพักผ่อนที่ดีที่สุด
วันหยุดนี้ลองแวะไปพักผ่อนกายใจที่พื้นที่สีเขียวฮีลใจแห่งใหม่ในย่านบางนาดูสิ เพราะทุกวันในเมืองเรามักต้องพบเจอความเร่งรีบของผู้คน ความตึงเครียดจากงาน และมลพิษที่อยู่รอบตัวตั้งแต่ก้าวเท้าออกจากบ้าน ส่งผลให้หลายคนต้องคอยมองหาวิธีคลายเครียดอยู่เสมอๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีการผ่อนคลายที่ได้ผลคือ การเข้าใกล้ธรรมชาติเพื่อช่วยฮีลใจให้ได้สัมผัสกับคำว่าสโลว์ไลฟ์กันบ้าง แต่หากมีเวลาเพียงหนึ่งวัน การไปพักใจในธรรมชาติต่างจังหวัดก็อาจจะไกลเกินไป คอลัมน์ Urban Guide จึงอยากชวนไปใช้เวลาหนึ่งวันให้คุ้มค่าในย่านบางนา กับแลนด์มาร์กแห่งใหม่ในไบเทคบุรี ที่มีให้ครบทั้งไลฟ์สไตล์และธรรมชาติ ไม่ต้องเดินทางไกลก็ได้สัมผัสสีเขียวในเมือง ตามเราไปสำรวจ SAMA Garden กันว่า สถานที่ที่เป็น Green Living แบบครบวงจรนี้มีกิจกรรมอะไรให้คนเมืองไปใช้เวลาหนึ่งวันแบบสบายๆ เติมพลังใจให้ขึ้นขีดสีเขียวกันบ้าง ปรับชีวิตคนเมืองให้สมดุลด้วยการเรียนรู้ชีวิตแบบ Green Living จริงอยู่ที่ในตอนนี้พื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายย่าน แต่ SAMA Garden นั้นเป็นมากกว่าพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ เพราะยังเป็นสถานที่ที่รวมความเป็นไลฟ์สไตล์เอาไว้ในที่เดียวด้วย ‘คุณบอย-ษัณปการ แสงจันทร์’ SAMA Garden Department Manager เล่าถึงคอนเซปต์ไอเดียของ SAMA Garden ให้เราฟังว่า เดิมทีพื้นที่ของไบเทคบุรีมีการจัดอีเวนต์อยู่ตลอดเวลา และมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เขาจึงอยากสร้างความแปลกใหม่ให้พื้นที่ด้วยการกระตุ้น Sensory Awareness หรือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของผู้คนผ่านคอนเซปต์ Live & […]
แผ่นเสียงจากขวดพลาสติกรีไซเคิล 100% ที่ผลิตโดย ‘Coldplay’ วงดนตรีรักษ์โลก ขับเคลื่อนวงการเพลงอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน
‘Coldplay’ คือวงดนตรีป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเดินหน้ารณรงค์เรื่องความยั่งยืนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพราะพวกเขาตระหนักว่า นอกจากการสร้างสรรค์ดนตรีที่ดีให้ผู้ฟัง การดูแลโลกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ล่าสุด Coldplay นำอัลบั้มเก่าทั้งหมด 9 ชุด กลับมาวางขายอีกครั้งในรูปแบบ ‘EcoRecord’ ที่ผลิตแผ่นไวนิลใสในอัลบั้มขึ้นจากเม็ดพลาสติกที่แปรรูปจากขวดพลาสติกรีไซเคิลใช้แล้วทั้งหมด 9 ขวดต่อ 1 แผ่นเสียง แผ่นไวนิลรูปแบบใหม่นี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากถึง 85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการผลิตแผ่นไวนิลรูปแบบเก่า นอกจากนี้ พวกเขายังรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านวิธีอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดคอนเสิร์ตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งการใช้สายรัดข้อมือรีไซเคิลที่ใช้ซ้ำได้เมื่อจบคอนเสิร์ต ชวนแฟนคลับเดินทางมาชมคอนเสิร์ตด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน ทั้งยังสนับสนุนการปลูกป่าร่วมกับโครงการ One Tree Planted จากการปลูกต้นไม้ตามจำนวนบัตรเข้าชม เรียกได้ว่า Coldplay ไม่เพียงสร้างสรรค์เพลงที่มีความหมายต่อผู้ฟัง แต่ยังใส่ใจโลกที่มีความหมายต่อคนทุกคนอีกด้วย Sources : Carbon Credits | tinyurl.com/mr47h8tdCNA lifestyle | tinyurl.com/4j5me5seกรุงเทพธุรกิจ | tinyurl.com/4j922sca
VIDEOS
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ฟรีแลนซ์วงการสร้างสรรค์ไม่ได้เล่า
หลายคนอาจไม่รู้ว่า สื่อบันเทิงที่ให้ความสนุกและเอนจอยหลายครั้งต้องแลกมากับความไม่เป็นธรรมที่คนทำงานสร้างสรรค์ได้รับ รายการ Urban Untold อีพีนี้ชวนฟรีแลนซ์สื่อสร้างสรรค์ที่ใครๆ ก็บอกว่าได้เงินเยอะเพราะรับงานเท่าไหร่ก็ได้ แถมสบายเพราะเป็นเจ้านายตัวเอง มาบอกเล่าถึงปัญหาในการทำงานที่พวกเขาต้องเผชิญ ตั้งแต่เรื่องคอนเนกชันที่ทำให้คนทำงานบางส่วนถูกตัดโอกาส สัญญาที่ไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการตกลงกันปากเปล่า ไปจนถึงความไม่แน่นอนของรายได้ *วิดีโอชิ้นนี้ผลิตขึ้นโดยนักข่าวที่เข้าร่วมโครงการ UNDP Media Fellowship on Sustainable Development ในหัวข้อ Business and Human Rights*
เพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกผ่านการดีไซน์
รู้หรือเปล่าว่า ไม่ว่าจะเป็นพระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น ต่างก็เป็นผลงานของแบรนด์ ‘Qualy’ กันทั้งนั้น! ว่าแต่จุดเริ่มต้นของ Qualy ที่หยิบจับเอาพลาสติกรีไซเคิลมาออกแบบเป็นของใช้ดีไซน์สวยงามที่มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว จนครองใจคนไทยมายาวนานกว่า 20 ปีได้ยังไง ตามไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ของแบรนด์ Qualy ที่ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ในคลิปนี้
Acousticity | paiiinntt คืนที่ไม่มีจันทร์ Live Session @พระปกเกล้า สกายปาร์ค
ในเมืองที่มีผู้คนหลากหลาย อาจมีใครหลายคนที่กำลังเศร้าหรือไม่สมหวังกับความรัก บรรยากาศท่ามกลางแสงจันทร์ที่ส่องลงมาอาจทำให้ใครหลายคนนึกถึงวันที่เคยอยู่ด้วยกันกับคนรัก เมื่อจากกันไปแล้วก็ราวกับว่าแสงจันทร์นั้นไม่ส่องลงมาอีก วันนี้ Urban Creature เลยพา ‘paiiinntt’ ศิลปินจากค่าย ‘Kiddo Records’ มาเล่นเพลง ‘คืนที่ไม่มีจันทร์’ บนสวนลอยฟ้า ‘พระปกเกล้า สกายปาร์ค’ เพื่อให้แสงจันทร์สาดส่องให้ความรักนั้นกลับมาอีกครั้ง
Acousticity Playlist Season | 2024
เข้าสู่ช่วงเวลาสิ้นปี บรรยากาศของการเฉลิมฉลองปีใหม่ก็เริ่มมีให้เห็นทั่วทั้งเมือง หลายคนอาจอยากออกนอกบ้านเพื่อไปเฉลิมฉลอง แต่ก็มีอีกหลายคนที่อาจไม่ได้ชอบไปสังสรรค์ข้างนอกเท่าไหร่นัก หากเพื่อนๆ อยู่บ้านไม่ได้ไปไหน เราขอชวนให้มาฟังเพลงเพราะๆ จากรายการ Acousticity รายการที่จะนำศิลปินมาบรรเลงเพลงท่ามกลางเสียงของเมืองกรุงเทพฯ ก่อนปีใหม่กัน
เมืองที่เราอยู่เป็นแบบไหน? | Urban Creature
ในมุมมองของคุณ เมืองของเราเป็นเมืองแบบไหน เมืองของคนรุ่นใหม่ เมืองสีเขียว เมืองแห่งความวุ่นวาย หรือเมืองแห่งการเดินทาง Urban Creature ชวนทุกคนมา Wrap up มุมมองของเราที่มีต่อเมืองแห่งนี้ และหวังว่ามันจะช่วยให้ทุกคนอยากทำให้เมืองนี้กลายเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น ‘Let’s make a better city for better living.’
คุยเรื่องแสงไฟ ชีวิต และเมือง กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’
เมืองยามค่ำคืนเต็มไปด้วยแสงสว่างจากหลากหลายที่ จนหลายครั้งก็อาจเป็นมลภาวะทางแสงให้กับเราโดยไม่รู้ตัว จะดีกว่าไหมหากเมืองเรามีการออกแบบแสงสว่างที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยชีวิตเราได้ในทุกมิติ “การออกแบบแสงสำหรับเมือง มันก็จะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนในทุกมิติ” Urban Creature คุยกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถึงเรื่องแสงสว่างที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราและควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน
URBAN PODCAST
REPORT
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
ถอดโครงสร้างปฏิรูปรถเมล์ไทย ปัญหาที่แท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
เชื่อว่าภาพจำของรถเมล์ในกรุงเทพฯ คงไม่ใช่สิ่งสวยงามในสายตาชาวกรุงอย่างเราเท่าไร เพราะเมื่อนึกถึงรถเมล์กรุงเทพฯ แวบแรกก็คงนึกถึงรถเมล์ร้อนสภาพเก่าที่ขับรถหวาดเสียวไปมา และยังต้องรออย่างไม่มีความแน่นอนว่ารถจะมาตอนไหน แถมยังต้องมาคอยลุ้นอีกว่าจะจอดรับหรือไม่ สถานการณ์รถเมล์เมืองกรุงยิ่งแล้วใหญ่กับเหตุการณ์ตอนนี้ที่มีการ ‘ปฏิรูป’ เส้นทางรถเมล์กรุงเทพฯ จนทำให้หลายคนรู้สึกว่าใช้เวลารอนานขึ้นกว่าเดิมมาก ระหว่างนั้นก็มีแต่รถเมล์เลขสายแปลกๆ วิ่งมาไม่หยุด พอรถมาก็ต้องพบว่าสายที่ตัวเองคุ้นเคยนั้นไม่ได้วิ่งไปปลายทางที่เคยคุ้นแล้ว สุดท้ายเมื่อต้องผิดหวังซ้ำๆ ก็เลยอดพาลคิดไม่ได้ว่า “ปฏิรูปแบบนี้ อย่าทำเลยดีกว่า” มุมมองนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นกับเราคนเดียว เพราะเปิดดูในโซเชียลมีเดียก็เหมือนจะมีคนมองการปฏิรูปนี้ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ทำไมการสังคายนารถเมล์ที่ควรดีขึ้นถึงกลายเป็นแบบนี้ แล้วจะมีทางไหนช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ได้ คอลัมน์ Report ขออาสาพาไปดูรากเหง้าของปัญหาเรื่องนี้กัน 01 | กำเนิดโครงการปฏิรูปรถเมล์ เชื่อหรือไม่ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพยายามปฏิรูปเส้นทางรถเมล์ในกรุงเทพฯ แต่กรมการขนส่งทางบกเคยมีความคิดจะปฏิรูปรถเมล์ถึง 4 ครั้ง เริ่มจากครั้งแรกในช่วงปี 2538 ที่มีการใช้ตัวอักษร ‘ป’ ‘ร’ ‘ท’ เข้ามา ตามด้วยช่วงปลายปี 2544 ที่มีการเปลี่ยนเลขสายจาก ‘ปอ.X’ เป็น ‘5xx’ และมีการปฏิรูปอีกครั้งในปี 2552 พร้อมกับเรียงเลขสายใหม่เป็น ‘601’ ถึง ‘755’ ก่อนจะมาลงเอยที่โครงการปัจจุบัน แต่ที่ผ่านมามีเพียงการเปลี่ยนเลขสายในปี 2544 เท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จ […]
‘ทุกๆ สัปดาห์ เรากินไมโครพลาสติกคนละ 5 กรัม’ รู้จักภัยร้ายใกล้ตัวในยุคพลาสติกครองโลก ที่สร้างปัญหาให้เรามากกว่าที่คิด
‘ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ยุคพลาสติก’ หลังจากที่โลกของเราผ่านยุคหิน ยุคสำริด และยุคเหล็กกันมา ปัจจุบันคงพูดได้อย่างเต็มปากว่าโลกของเราได้เข้าสู่ยุคพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหน หยิบจับอะไร สิ่งเหล่านั้นก็มักมีส่วนผสมของพลาสติกไม่มากก็น้อย การใช้งานพลาสติกแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ ล้วนแต่สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพมหาศาล เพราะพลาสติกหนึ่งชิ้นใช้เวลาย่อยสลายอย่างน้อย 450 ปี และในระหว่างการย่อยสลายก็สร้างปัญหามากมาย เกิดเป็นมลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ส่งผลกระทบต่อสัตว์และพืช รวมถึงตัวเราเอง และอีกหนึ่งภัยร้ายของพลาสติกที่หลายคนเริ่มพูดถึงในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น ‘ไมโครพลาสติก’ (Microplastic) เศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สร้างปัญหาไม่น้อยในปัจจุบัน วันนี้ Urban Creature เลยขอรับอาสามาแจกแจงถึงประเด็นไมโครพลาสติก ตั้งแต่คำอธิบาย ผลกระทบ ไปจนถึงวิธีการที่ช่วยลดการเกิดไมโครพลาสติก ทั้งเริ่มด้วยตัวเองและกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในหลากหลายประเทศ Intro Microplastic 101 เมื่อพูดถึงการแบ่งประเภทพลาสติก หลายคนอาจนึกถึงพลาสติก PET PVC PP หรือ PLA ที่แบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่ในความเป็นจริงเรายังจำแนกพลาสติกได้จากขนาดของมันด้วย โดยเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กตามขนาดของหน่วยเอสไอ (SI Unit) ที่ใช้สำหรับการวัดทางวิทยาศาสตร์ เริ่มตั้งแต่พลาสติกทั่วไป ไปที่ไมโครพลาสติก (Microplastic) ที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และเล็กลงไปถึงขนาดนาโนพลาสติก […]
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ ‘สาววาย’ กู้โลก การเดินทางของสื่อบันเทิงวายในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยที่มีทั้งได้และเสีย
Disclaimer : บทความนี้เขียนโดยคนที่เรียกตัวเองว่าสาววายในอดีต แต่ปัจจุบันนิยามตัวเองว่าผู้วิเคราะห์พฤติกรรมอันมีพิรุธของเด็กหนุ่มสองคน ถ้าข้อมูลตกหล่นขอให้ทักมาหยิกหลังกันก่อนได้ค่ะ แกๆ เป็นอะไรอะอ๋อ เป็นสาววาย ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่คำว่า ‘สาววาย’ กลายเป็นคำตอบของทุกสิ่งที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ใดก็ตามที่ดูไม่เมกเซนส์ให้ปิดจบได้ จนเกิดเป็นวลี ‘สาววายกู้โลก’ ที่ช่วยชุบชีวิตไทม์ไลน์สุดเคร่งเครียดให้มีสีสัน แต่กว่าสาววายจะเชิดหน้าชูตา พูดเล่นติดตลกได้อย่างทุกวันนี้ ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการหลบๆ ซ่อนๆ ส่งซิกรหัสลับกับคนขายหนังสือเหมือนลักลอบส่งของผิดกฎหมาย ต้องฟันฝ่ากับคำว่าไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ต้องเจอกับการตื่นรู้เพื่อข้ามผ่านจากสาววายสมองไหลมาเป็นสาววายคุณภาพ นอกจากตัวแฟนคลับที่เติบโตขึ้น สื่อบันเทิงในรูปแบบวายหรือสื่อที่นำเสนอภาพชายรักชายและหญิงรักหญิงก็เดินทางมาไกลไม่ต่างกัน จนตอนนี้นับเป็นภาพจำของประเทศไทยที่หลายคนมองว่านี่แหละคือ ‘ซิกเนเจอร์ เลเยอร์คัสตอม ซอฟต์พาวเวอร์ ออนเดอะร็อก เฮลตี้’ คอลัมน์ Report ประจำ Pride Month เลยขอชวนมาสมองไหล ส่องการเดินทางของอุตสาหกรรมวายที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไปจนถึงการถกเถียงเรื่องข้อดีข้อเสียของการมีอยู่ของมัน เปิดไทม์ไลน์ สาววาย (พี่จะอยู่) ทุกยุค ‘สาววาย’ เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบการเสพสื่อประเภทชายรักชาย (Boys Love : BL) หรือหญิงรักหญิง (Girls Love : GL) มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยถอดเอาตัวอักษรตัวแรกของคำว่า […]
Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส
ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]
จับตามอง 5 อีเวนต์และความเปลี่ยนแปลงทั่วโลก ที่จะเกิดขึ้นภายในปี 2024
เริ่มต้นปีใหม่แบบนี้ หลายคนคงสงสัยว่าตลอดทั้งปีจะมีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้นบ้าง และเราจำเป็นต้องรู้มากน้อยขนาดไหน Urban Creature รวบรวม 5 กิจกรรมและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกภายในปี 2024 ให้ทุกคนเตรียมตัวและตั้งตารอไปพร้อมกัน มีตั้งแต่มหกรรมกีฬาระดับโลก การย้ายเมืองหลวงของอินโดนีเซีย ไปจนถึงการเลือกตั้งใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก รับรองว่าน่าสนใจและน่าติดตามไม่แพ้ปีที่ผ่านมาแน่นอน! มหกรรมกีฬา ‘โอลิมปิก ปารีส 2024’ อย่างที่รู้กันว่า ทุก 4 ปีจะมีการจัดมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติที่ทั่วโลกตั้งตารอ นั่นคือ ‘โอลิมปิกฤดูร้อน’ และในปี 2024 ก็เป็นอีกครั้งที่การแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศจะถูกจัดขึ้นโดยเมืองเจ้าภาพอย่างกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม 2024 ต่อด้วย ‘พาราลิมปิก ปารีส 2024’ ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 8 กันยายน 2024 ความพิเศษของโอลิมปิก ปารีส 2024 คือ จะเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่บรรลุความเท่าเทียมทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ (Gender Parity) เพราะมีจำนวนนักกีฬาชายและหญิงที่เข้าร่วมแข่งขันเท่ากันในสัดส่วน 50 […]
สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่
‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]
สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’
ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]
ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?
กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]