ปัจจุบันปัญหาฝุ่นควันโดยเฉพาะ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ฯลฯ นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรทั่วโลก CPAC บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้างในเครือ SCG มองเห็นปัญหานี้ จึงมุ่งมั่นยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศ สู่ Green Construction ให้เติบโตควบคู่กับการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการนำรถโม่พลังงานไฟฟ้า (EV Mixer Truck) มาใช้ในการขนส่งคอนกรีต เพื่อลดมลพิษ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เมื่อเทียบกับรถโม่ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซลแล้ว รถโม่พลังงานไฟฟ้าลดปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และ PM 10 ได้ถึง 45 กรัม ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) กลุ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ถึงคันละ 26.5 ตัน/ปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น 2,800 ต้น/ปี ถือเป็นการนำแนวคิดการขนส่งสีเขียว (Green Fleet) มาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างในประเทศเป็นเจ้าแรกของไทย โดยวางแผนเริ่มใช้รถโม่พลังงานไฟฟ้าในการจัดส่งคอนกรีตครั้งแรกที่โครงการ One Bangkok ก่อนจะขยายไปใช้ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ต่อไป
นอกจากการขนส่งแล้ว CPAC ยังคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) เช่น ‘คอนกรีตรักษ์โลก’ ที่นำเถ้าลอย (PFA) มาใช้ทดแทนปูนซีเมนต์ รวมถึงการนำ ‘ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก’ ซึ่งมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้เป็นส่วนผสมในคอนกรีต
และมุ่งขับเคลื่อนตลอดทั้ง Chain ด้วยการนำลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงานปูนซีเมนต์ (Waste Heat Power Generator) รวมถึงในอนาคตยังมีแผนที่จะพัฒนาโรงงานสีเขียว (Green Batching Plant) นำพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มาใช้ในโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จด้วย
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบ Green Construction ของ CPAC และ SCG ที่มุ่งหวังให้การก่อสร้างของประเทศเกิดการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม พร้อมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ CPAC Contact Center โทร 02-555-5555
หรือเว็บไซต์ web.cpac.co.th/th/home
RELATED POSTS
เปลี่ยนห้องเป็นป่าด้วย ‘SCG Bi-ion’ ระบบไอออนที่ช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีภายในอาคาร
เรื่อง
Urban Creature
หนึ่งในปัญหากวนใจของคนเมืองหนีไม่พ้นเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 หรือหมอกควันจากการเผาป่าที่พัดมาเยือนทุกปี จนพาลให้มนุษย์กรุงเทพฯ (รวมถึงปริมณฑล) รู้สึกว่าอากาศที่เราสูดเข้าปอดนั้นไม่สะอาดเอาเสียเลย แถมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ครั้นจะมองหาอากาศดีๆ ก็ต้องหนีออกไปให้ไกลจากตัวเมือง เดินเข้าป่า ลุยภูเขา ออกไปทะเล ตามหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ทำให้สูดลมหายใจได้อย่างสดชื่น แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตามธรรมชาติเหล่านี้ถึงทำให้เรารู้สึกเฟรช หายใจได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล “ยิ่งปริมาณไอออนในอากาศสูง คุณภาพอากาศบริเวณนั้นยิ่งดี” – ไอออนคืออะไร แล้วบริเวณที่ว่านี้มักจะอยู่ตรงไหนกันนะ? ไอออน (Ion) คืออนุภาคอิสระที่มีทั้งประจุบวกและลบ ซึ่งตามปกติแล้ว ธรรมชาติจะสร้างไอออนขึ้นมาหมุนเวียนอยู่ในอากาศรอบตัวเราอย่างสมดุล โดยเฉพาะจากปรากฏการณ์ที่เกิดความเคลื่อนไหวในธรรมชาติอย่างฟ้าผ่าตอนฝนตก คลื่นที่เข้ามากระทบกับชายหาด น้ำไหลตามลำธาร หรือน้ำตกที่ลงมากระทบกับหินเบื้องล่าง ล้วนแต่ทำให้เกิดประจุไอออนในอากาศ ทว่าพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็นบ่อเกิดของเหล่าประจุไอออนเลยคือ ‘ป่าไม้’ เพราะขณะที่ต้นไม้ผลิตออกซิเจน ก็มีสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาด้วย นั่นก็คือไอออนทั้งประจุลบและบวก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการดังกล่าว ‘อาบป่า’ ให้ร่มไม้โอบกอดเพื่อบำบัดร่างกายที่เหนื่อยล้า ยิ่งในผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ถือเป็นแหล่งที่มีประจุไอออนมากกว่าใครเพื่อน ทำให้เวลาที่เรามีโอกาสได้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในป่า จึงรู้สึกว่าสูดลมหายใจได้เต็มปอดกว่าที่อื่น จนกระทั่งพักหลังมานี้เกิดเทรนด์ ‘อาบป่า’ (Forest Bathing) หรือการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก ‘Shinrin yoku’ ที่แปลตรงตัวว่าการอาบป่าในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าการเข้าไปให้ป่าไม้โอบกอดสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียดได้จริง […]
กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า
เรื่อง
Urban Creature
“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]
The Pallet LOOP™ ลดขยะก่อสร้างด้วยการรียูสพาเลตไม้
เรื่อง
Urban Creature
แม้ว่าไม้จะเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่พาเลตไม้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในสหราชอาณาจักรมักจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และถูกทิ้งเป็นขยะกว่า 18 ล้านชิ้นต่อปี ทั้งๆ ที่กว่าจะได้พาเลตไม้เหล่านี้ต้องตัดไม้ถึง 6,000 เฮกตาร์ หรือราว 37,500 ไร่ต่อปี เพื่อผลิตให้เพียงพอต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง The Pallet LOOP™ จึงผุดไอเดียในการ ‘รียูส’ พาเลตไม้เหล่านี้เพื่อลดการสร้างขยะแบบใช้ครั้งเดียว และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากพาเลตไม้ที่ถูกทิ้งนอกจากจะใช้งานแค่ครั้งเดียวแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพดีหรือชำรุดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากนำไปซ่อมแซมให้แข็งแรงก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกหลายครั้ง แทนที่จะถูกทิ้งเป็นขยะอย่างที่เป็นอยู่ แต่เดิมเมื่อขนส่งสินค้าเสร็จแล้วบริษัทก่อสร้างก็จะนำพาเลตไม้ไปกองรวมกันไว้ แต่สุดท้ายก็ไม่ถูกหยิบมาใช้ใหม่เพราะมีพาเลตไม้อันใหม่มาส่งทุกวัน The Pallet LOOP™ จึงคิดกระบวนการทำงานขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยการ ‘Recover, Repair และ Reuse’ โดยจะนำพาเลตไม้ที่ใช้แล้วจากบริษัทก่อสร้างมาซ่อมแซม และปรับปรุงตามดีไซน์ต้นแบบของบริษัทเพื่อให้ได้พาเลตที่มีความแข็งแรง เหมาะกับการใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ด้วย ‘ระบบเช่า’ เมื่อใช้แล้วก็ส่งคืนให้บริษัทนำกลับมาใช้ใหม่ เกิดการหมุนเวียนพาเลตไม้ในอุตสาหกรรมโดยไม่ต้องซื้อใหม่ทุกครั้ง ช่วยให้บริษัทก่อสร้างมีวิธีการขนส่งวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ไม้ส่วนที่เหลือจากการผลิตพาเลตยังถูกส่งไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องการไม้ได้เช่นกัน ซึ่ง The Pallet LOOP™ เพิ่งจะเปิดตัวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 และมีแผนจะเริ่มงานภายในปี 2565 […]
หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว
เรื่อง
นันทพงศ์ ตั้งตรงใจสกุล
เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]