This is grown รองเท้าจากเส้นด้ายจุลินทรีย์ วัสดุอนาคตแห่งวงการแฟชั่น

เพราะจุลินทรีย์ไม่ได้มีแค่ในนมเปรี้ยว แต่เอามาสร้างความเฟี้ยวเป็น ‘รองเท้าผ้าใบ’ ได้เหมือนกัน! ‘Jen Keane (เจน คีน)’ อดีตนักออกแบบชุดกีฬาให้กับ Adidas ผู้ผันตัวออกมาเป็น ‘นักวิจัย’ แบบฟูลไทม์ เพื่อเฟ้นหาวัสดุใหม่ๆ สำหรับใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงได้คิดค้น ‘This is grown’ โปรเจกต์รองเท้าผ้าใบที่มีแรงจูงใจมาจากวิกฤตพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก Keane ได้เอางานถนัดเรื่องความยั่งยืน และความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางชีวภาพของตัวเองมาพัฒนาวัสดุ โดยใช้สิ่งมีชีวิตอย่าง ‘จุลินทรีย์’ มาทำกระบวนการที่มีชื่อว่า ‘Komagataeibacter rhaeticus’ คือการปล่อยให้จุลินทรีย์เติบโตตามธรรมชาติ แต่ถูกควบคุมด้วยชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อให้เส้นด้ายออกมาตรงตามสเป็คที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแรง ความหนา หรือน้ำหนัก หลายคนอาจกำลังงงว่าใช้ถักรองเท้าทั้งหมดเลยหรือเปล่า ? คำตอบคือ This is grown จะถูกใช้บริเวณส่วนบนของรองเท้า (Vamp) เท่านั้น โดยเป็นเส้นด้ายยาวต่อเนื่องกันหลายเมตร สานไขว้กันไปมาจนเกิดเป็นลวดลายบนรองเท้าผ้าใบเฉพาะตัว ที่แม้แต่เทคนิคการถอผ้าทั่วไปก็ไม่สามารถทำได้ แถมเราไม่ต้องง้อเข็มกับด้ายอีกด้วย ! อีกทั้งมันยังช่วยให้ขึ้นรูปได้ตามแบบที่ต้องการ โดยเหลือวัสดุน้อยที่สุด หรือแทบไม่มีเหลือเลย ถึงแม้จะยังไม่มีวางขาย แต่ Keane […]

EAT

‘พาสต้าเส้นจิ้งหรีด’ จาก Bugsolutely สตาร์ทอัปที่จับจิ้งหรีดในฟาร์มไทยแปลงร่างเป็นแหล่งโปรตีนโลก

‘ปี๊บๆ’ เสียงบีบแตรจากรถเข็นขายแมลงทอดที่จอดอยู่ข้างถนนเรียกคนเข้าไปมุงดู ในถาดมีแมลงทอดกรุบกรอบอยู่ 4-5 ชนิดโชยกลิ่นหอมเตะจมูก หนึ่งในนั้นคือจิ้งหรีดที่เราโปรดปราน แมลงทอดถุงละ 20 บาทที่เป็นเหมือน ‘ของแปลก’ ในสายตาชาวเมือง แต่แถวบ้านนอกนั้นเรียกว่าเป็นอาหารสุดโอชะ

3 ปี การเดินทางของ Urban Creature

รู้จักกันมา 3 ปีแล้วนะ.จำได้ว่าตอนก่อตั้งเพจ Urban Creature นี้ขึ้นมา เราอยากเป็นกระบอกเสียงที่ช่วยส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กับชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นพลังของคนตัวเล็กๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับเมือง กลุ่มคนที่ช่วยกันคิดโปรเจกต์ดีๆ ต่อสังคม และสนับสนุนให้อยู่ร่วมกับกับสิ่งเเวดล้อมอย่างเข้าใจ ทุกวันนี้ก็ยังตั้งใจที่จะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ อยู่เสมอ.ตอนนี้ Urban Creature เดินทางมาได้ 3 ปีแล้ว เราขอขอบคุณทุกคนที่อยู่เคียงข้างกันมาโดยตลอด เพราะเสียงของทุกคนทำให้เราอยากทำต่อไปและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แล้วเพื่อนๆ ล่ะ บอกเราหน่อยว่า 3 ปีที่ผ่านมาชอบโพสต์ไหน หรือมาเเชร์ความคิดของคุณก็ได้นะ ว่าอยากให้เราทำอะไรต่อ ?.#UrbanCreature #BettercityBetterLiving #City #People #Sustainability #Innovation

โปรเจกต์ใหม่ IKEA รวมพื้นที่ คน ต้นไม้ ใต้หลังคาเดียวกัน

‘Home of Tomorrow’ คือความหวังในการออกแบบบ้านแห่งอนาคต ถือเป็นแนวคิดการอยู่อาศัยของผู้คนไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้เป็นสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัยที่ห่วงใยแมวเลี้ยง แมวจร ไปจนถึงนักโทษในเรือนจำ

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัย ที่ใส่ใจแมวตั้งแต่เลือกวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อผิวแมวเลี้ยง และนำยอดขายไปบริจาคให้แมวจร ทั้งยังช่วยให้นักโทษในเรือนจำได้มีรายได้จากการเย็บปลอกคอแมว

ทอดเสร็จไม่ต้องทิ้ง! หยิบน้ำมันเหลือใช้มาทำ ‘สบู่น้ำมัน’

เชื่อว่าหลายคนที่เข้าครัวทำอาหาร จะต้องมี ‘น้ำมันเหลือใช้’ จากการผัด หรือทอดอย่างโชกโชน และแน่นอนว่าน้ำมันเหล่านั้นย่อมมีอายุการใช้งานของมัน ซึ่งการนำมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้งคงส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี ทำให้เราต้องคอยหาทางขจัด ‘ของเสีย’ เหล่านั้นทิ้งไป ไม่ว่าจะเป็นการเทใส่ถุงแล้วทิ้ง หรือเอาไปขายเพื่อนำไปเป็นไบโอดีเซลต่อไป

พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมใต้น้ำแห่งแรกของซีกโลกใต้ บ้านใหม่ของปะการังและปลาทะเล

Museum of Underwater Art (MOUA) คือ พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมใต้น้ำแห่งซีกโลกใต้ รังสรรค์ผลงานสุดเจ๋งโดย ‘Jason deCaires Taylor’ ศิลปินชาวอังกฤษที่เป็นทั้งประติมากร ช่างภาพใต้น้ำ ครูสอนดำน้ำ รวมถึงเป็นนักอนุรักษ์ทางทะเลตัวยงอีกด้วย

‘คุณทิ้ง เราซ่อม’ ถังขยะผ้าที่กรุงปราก ระบบแปลงร่างเสื้อผ้าเก่าให้กลับมามีค่า

‘ถังขยะผ้า’ (Textile Trash) ที่สาธารณะเช็ก ซึ่งจะเปลี่ยนเสื้อผ้าที่คุณไม่ใส่แล้ว ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้งด้วยการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

บอกลาถุงแกง ! 3 ทริคห่ออาหารด้วยใบตอง

เชื่อว่าใบตองหาซื้อได้ไม่ยากนัก หรือบ้านไหนที่ปลูกต้นกล้วยอยู่แล้วยิ่งสบายไปใหญ่ คงจะคุ้นเคยได้เห็นย่ายายทำขนมกันมาบ้าง เอาล่ะได้ใบตองมาแล้วนั้นให้ฉีกเป็นแผ่น ตามขนาดที่ต้องการใช้ จากนั้นนำไปตากแดดสัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใครไม่มีพื้นที่ก็สามารถเปิดเตาแก๊สและนำไปลนไฟได้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มความเหนียวให้กับใบตอง เวลานำไปห่อใบตองจะไม่แตกออกจากกัน และสามารถห่ออาหารได้อยากมีประสิทธิภาพ พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย ห่อตามทั้งหมด 3 ทริคง่ายๆ ที่เราเอามาฝาก กระทงใบตอง – กระทงทรงกลม ใส่ของได้จุ อิ่มอร่อยอย่างสบายใจ ตัดใบตองเป็นวงกลมเท่ากันๆ กัน 2 ใบ โดยหาชามที่ปากกว้างๆ วางทาบลงไปเพื่อเป็นทรงสำหรับใช้ตัดเป็นตัวช่วยอีกแรง วางใบตองซ้อนกัน โดยวางให้เส้นของใบไปคนละทาง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกระทง  มือใหม่หัดห่อ หาถ้วยน้ำจิ้มหรือปากแก้วมาไว้ตรงกลาง  จากนั้นจับใบตองหนึ่งมุมพับเข้ามาให้ติดกับขอบแก้ว และพับจีบเพื่อสร้างมุมให้กระทง โดยใช้มือขวาจับจีบพับใบตองเข้าข้างใน จากนั้นใช้มือซ้ายกดอีกฝั่งให้พับอยู่ข้างนอกให้มาจีบประกบกันพอดี จากนั้นเอาแก้วออก  เมื่อได้มุมที่ดี ให้กลัดมุมด้วยไม้กลัดจากด้านใน จะทำให้กระทงมีปากที่บานออกและสวยงาม  จีบจับมุมถัดไป แต่มีทริคมาบอกว่าควรเริ่มจากจีบฝั่งตรงข้ามมุมที่กลัดไม้กลัดไปอันแรก  ทำให้ครบ 4 มุม จะได้กระทงใบตองที่ใส่อาหารแห้งได้เลย ไม่ว่าจะเป็นผัดไท ขนมครก หรือขนมไทย ข้าวห่อใบตอง – […]

‘นิวเคลียร์ฟิวชัน’ จะเป็นพลังงานใหม่ในอนาคต คาดใช้จริง พ.ศ. 2568

‘นิวเคลียร์ฟิวชัน’ จะเป็นพลังงานใหม่ในอนาคต ต้นทุนต่ำ ให้พลังงานสูงและมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริงภายใน พ.ศ. 2568

รีไซเคิลถ่านเก่าใช้แล้วทิ้ง เป็นปุ๋ยปลูกต้นไม้

ถ่านอัลคาไลน์ที่เรามักซื้อกันอยู่เรื่อยๆ เมื่อถ่านหมดก็เปลี่ยนใช้ใหม่   แต่ใครจะคิดว่าถ่านที่เราใช้กันทั่วไป ซึ่งนับเป็นวัสดุทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ‘ปุ๋ย’ ได้ ด้วยฝีมือนักรีไซเคิลและทีมผู้จัดหาแบตเตอรี่ บริษัท Lithium Australia และนักรีไซเคิลทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากการรวบรวมเหล่าถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งจากจุดรับขยะทั่วประเทศ ก่อนนำมาย่อยสลาย และทดสอบดูว่าสารต่างๆ ในถ่านสามารถทำอะไรอย่างอื่นได้ไหม กลายเป็นว่าเจอแร่ธาตุที่เป็นแหล่งอาหารชั้นดีเยี่ยมให้กับดินและพืช ไม่ว่าจะเป็นสังกะสี และแมงกานีส การทดลองระยะสั้นจึงเกิดขึ้น ทาง Lithium Australia นำธาตุอาหารที่พบเจอในถ่านอัลคาไลน์ไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวสาลีในเรือนกระจก ปรากฎว่ามันมีคุณภาพสูง สามารถดูดซึมได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกลือแร่ทั่วไป  ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ทางบริษัทมุ่งมั่นที่จะทดสอบต่อไป เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของโลหะสกัดกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ย เนื่องจากยอดขายถ่านอัลคาไลน์ตกปีละ 6,000 ตันทั่วประเทศ และถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปมีการรีไซเคิลต่ำกว่ามาตรฐาน และกว่า 97% ต้องไปอยู่ในหลุ่มฝังกลบอย่างน่าเสียดาย Source : www.bloomberg.com | https://bloom.bg/3go7xVO

1 5 6 7 8 9 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.