บริจาคพลาสติกให้ Qualy Design รีไซเคิลเป็นของแต่งบ้าน

ยิ่งอยู่บ้าน Work from Home กันนานๆ พลาสติกเริ่มจะล้นบ้านไม่มีที่ทิ้ง ไม่ว่าจะกล่องพลาสติกจากอาหาร ขวดน้ำ หรือ​​ขยะพลาสติกอื่นๆ ที่มาจากการบริโภคของเรา ขยะเหล่านี้มักจะถูกนำกลับมารีไซเคิลน้อยมาก ส่งให้ซาเล้งขายต่อก็ไม่ค่อยมีใครอยากจะรับ สุดท้ายจึงลงเอยที่เตาเผาหรือหลุมฝังกลบ ทั้งที่จริงๆ แล้วพลาสติกเหล่านี้ควรมีชีวิตใหม่ที่ดีกว่านี้  จะทิ้งก็เสียดาย จะขายก็ยาก Qualy Design แบรนด์ไทยที่ผลิตสินค้ารีไซเคิลจากขยะพลาสติกเป็นของน่าใช้ ดีไซน์เก๋ และส่งออกกว่า 60 ประเทศทั่วโลก จึงขอรับบริจาคพลาสติกเหลือใช้ที่ทำความสะอาดแล้วจากทุกบ้าน เพื่อนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีในโครงการ Qualy Circular (QC) และให้ส่วนลดในการซื้อสินค้าเป็นการตอบแทน รับรองว่าพลาสติกจากบ้านคุณจะแปลงโฉมเป็นของใช้ หรือของแต่งบ้านชิ้นใหม่ที่น่าใช้มากกว่าเดิม พลาสติกที่นำมาบริจาคทุกๆ 1 กก. สามารถใช้เป็นส่วนลด 20 บาท ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เฉพาะการซื้อสินค้าที่ Qualy Design Space ประเภทพลาสติกที่รับ ได้แก่ PETE / HDPE / LDPE / PP / […]

Stooping NYC : IG ชี้เป้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด็ดแสนเก๋ถูกทิ้งทั่ว NYC ให้เจอบ้านใหม่

ถ้าอยากได้เฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านเก๋ๆ สักชิ้นคุณจะเริ่มหาจากที่ไหน?  เราเชื่อว่า Journey ในการหาของทุกคนคงไม่ต่างกันมากนัก เริ่มจากค้นหาในเว็บไซต์ของแต่งบ้าน ตามหาร้านขายของแต่งบ้านวินเทจใน Instagram ไปเดินตามหาที่จตุจักร โชว์รูมเฟอร์นิเจอร์นำเข้า โกดังญี่ปุ่นมือสอง หรือร้านเฟอร์นิเจอร์วินเทจ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นต้องใช้เงินทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ที่นิวยอร์ก โอกาสที่คุณจะได้เฟอร์นิเจอร์สวยๆ หรือของใช้คุณภาพดีไปใช้ฟรีๆ มีอยู่จริง ถ้าคุณรู้จักคำว่า ‘Stooping’  ‘Stooping’ คือการอุปการะ (Adopt) สิ่งของที่คนแปลกหน้าวางทิ้งไว้ไปใช้ต่อ โดยของเหล่านี้มักจะวางไว้หน้าบ้าน บนทางเท้า ข้างถังขยะ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะติดป้ายบอกไว้เพื่อให้คนที่เดินผ่านไปมารู้ว่าสิ่งนี้สามารถหยิบไปใช้ต่อฟรีๆ ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่ต้องบอกใคร ในบางรัฐจะทิ้งไว้ตรงจุดที่ทิ้งขยะ อยากได้ชิ้นไหนก็ไปช้อปปิงกันได้เลย ส่วนคนที่ไปตามหาของเหล่านี้ไปใช้จะเรียกว่า ‘Stooper’ ซึ่งต้องเป็นคนที่มีหูตาไว หาของเก่ง และเลือกของเป็น จึงจะได้ของดีๆ มาใช้ บางคนตาดีมากจนได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ ติดมือกลับไป โซฟา ตู้ โต๊ะ เตียง ในอะพาร์ตเมนต์แทบจะไม่ต้องซื้อเลยสักชิ้น  วัฒนธรรมการวางเฟอร์นิเจอร์ หรือของเหลือใช้ที่ยังสภาพดีๆ ไว้บนทางเท้าเกิดขึ้นในนิวยอร์กมาหลายสิบปีแล้ว (มองเผินๆ เหมือนกำลังเตรียมขนของย้ายบ้าน เพราะของที่ถูกทิ้งอยู่ในสภาพดีมาก) แต่จริงๆ แล้วคือของเหลือทิ้งสภาพดีทั้งนั้น การ Stooping […]

ChopValue แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ ที่รีไซเคิลตะเกียบไม้ 33 ล้านคู่ เป็นของใช้และของเล่น ช่วยลดปริมาณขยะใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ตะเกียบไม้ดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริง เราต้องตัดต้นไม้จำนวนมากเพื่อนำมาผลิตเป็นตะเกียบใช้แล้วทิ้ง ที่จะอยู่กับเราเพียงอาหารหนึ่งมื้อเท่านั้น ChopValue บริษัทเฟอร์นิเจอร์ของแคนาดาจึงติดต่อร้านอาหารกว่า 300 ร้านในแวนคูเวอร์ เพื่อนำตะเกียบไม้ใช้แล้ว มารีไซเคิลให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้านสุดเก๋ เช่น โต๊ะ ชั้นวางของ เขียง หรือแม้แต่ของเล่นอย่างโดมิโน  พวกเขาจะนำตะเกียบที่รวบรวมได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน เข้าเครื่องจัดเรียง แล้วนำไปเคลือบเรซินเพื่อป้องกันการไหม้จากการอบฆ่าเชื้อโรคเป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำเฟอร์นิเจอร์ ปัจจุบันพวกเขารีไซเคิลตะเกียบไม้ไปแล้วกว่า 33 ล้านคู่  เรียกว่าเป็นไอเดียที่สร้างสรรค์มากๆ เพราะนอกจากจะเป็นการลดขยะใช้ครั้งเดียวทิ้งแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของตะเกียบไม้ได้นานขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจเลือกซื้อสินค้าได้ที่ https://chopvalue.com/  Source : Insider | https://bit.ly/3tXGln4 

นักศึกษาฝรั่งเศสปิ๊งไอเดีย เปลี่ยนหมากฝรั่งเคี้ยวแล้วเป็น ‘ล้อสเก็ตบอร์ด’ แก้ปัญหาขยะบนท้องถนน

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ‘หมากฝรั่ง’ ที่เราหยิบขึ้นมาเคี้ยวเล่นเพลินๆ แล้วคายทิ้งเมื่อหมดรสหวานนั้น ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 50 ปี Hugo Maupetit และ Vivian Fischer สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส ที่มีแนวคิดจะช่วยดูแลความสะอาดของถนนอย่างยั่งยืน จึงเกิดไอเดียนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปรรูปเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ไอเทมที่กำลังฮิตกันอยู่ตอนนี้ พวกเขาบอกว่าเป็นการนำหมากฝรั่งที่เป็นขยะบนท้องถนนกลับคืนสู่ท้องถนนอีกครั้ง  วิธีการคือนำกระดานไปติดทั่วเมืองและในพื้นที่มีคน ทุกคนสามารถนำหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วมาแปะไว้ ทุกๆ สัปดาห์หมากฝรั่งเหล่านั้นจะถูกรวบรวมและส่งไปที่โรงงานเพื่อผสมพวกมันเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นจึงแบ่งเป็นก้อนเล็กๆ แล้วเอาไปขึ้นรูป ทำเป็นล้อสเก็ตบอร์ด ขยะชิ้นเล็กๆ ใกล้ตัวที่เรามองข้ามจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน Source : Yanko Design | https://bit.ly/3rUuzIw 

รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

Kuube ม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ ให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

ลองคิดภาพเล่นๆ ถ้าพื้นที่สาธารณะใกล้บ้านเรามีที่นั่งพักที่ชาร์จแบตและเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้ฟรี เราก็คงอยากออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านกันมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าแบตมือถือจะหมดหรือต้องเสียเงินเข้าคาเฟ่ เพื่อแลกกับการเข้าถึงความสะดวกสบายเหล่านี้ ‘Kuube’ คือม้านั่งอัจฉริยะสัญชาติฮังการี ออกแบบโดยอดีตพนักงานกราฟิกดีไซน์ที่เชื่อว่าความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนา โดยเป้าหมายของพวกเขาคือการได้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองอัจฉริยะยั่งยืนผ่าน Micro-Mobility หรืออุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานจากตัวมันเอง Kuube เป็นม้านั่งที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวเมืองและนักท่องเที่ยวได้ใช้งาน แถมยังเป็นการสนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นอีกด้วย ตัวเครื่องเป็นอะลูมิเนียมสเตนเลสที่รีไซเคิลได้ มีกระจกนิรภัยที่ทนทานต่อสภาพอากาศและทำความสะอาดง่าย มีหน้าจอแสดงผลที่ให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตอนนี้สภาพอากาศเป็นอย่างไร อุณหภูมิเท่าไร โดยเก้าอี้ชนิดนี้ถูกออกแบบมา 3 ขนาด ได้แก่ ‘Kuube Eco’ ม้านั่งขนาดเล็ก ‘Kuube Nano’ ม้านั่งขนาดกลาง และ ‘Kuube Plus’ ม้านั่งขนาดใหญ่ที่นั่งได้ถึง 8 คน ซึ่งแต่ละขนาดจะมีฟังก์ชันจำเป็นต่างๆ เช่น พอร์ต USB ที่ชาร์จไร้สาย และ Wi-Fi เหมือนกันแต่มีจำนวนต่างกันไป  เรียกว่าเป็นการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องของความสะดวกสบายและความยั่งยืน ถ้าใครสนใจอยากเป็นเจ้าของม้านั่งพลังงานแสงอาทิตย์นี้ ก็ติดต่อสั่งซื้อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://kuube.hu/en/  Sources :Kuube | https://kuube.hu/en/ Yanko […]

10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม

“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้

Earthtone แบรนด์รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ ที่อยากหยุดวงจรขยะในอุตสาหกรรมแฟชั่น

แบรนด์ Earthtone ที่หยิบเอา ‘วัสดุทดแทน’ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ขุยมะพร้าว หรือแม้แต่การหยิบผักตบชวามาดีไซน์ใหม่ให้ดูใช้ได้จริง ก่อนออกมาเป็นสินค้าแฟชั่นที่ดูทันสมัย เราจึงต่อสายตรงไปหา ‘ซา-ซายูริ โอกาวะ’ และ ‘ปอม-อรรถพล พงษ์สวัสดิ์’ เจ้าของแบรนด์ Earthtone ผู้ที่เป็นทั้งหุ้นส่วนธุรกิจและหุ้นส่วนชีวิตของกันและกัน พร้อมพูดคุยถึงแนวคิดว่าเพราะอะไรถึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่หยุดวงจรขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่น

Ira แบรนด์ผ้าอนามัยย่อยสลายได้ ไร้สารเคมี และอ่อนโยนกับจุดซ่อนเร้น

เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่น เทียบเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง แถมยังใช้เวลาย่อยสลาย 500 – 800 ปี! และต่อรอบประจำเดือนต้องใช้มากถึง 21 แผ่น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่รุ้งไม่อยากผลิตผ้าอนามัยที่ใช้วัสดุหลักเป็นพลาสติก แต่หยิบเอา ‘ใยไม้ไผ่’ มาทดแทน แถมยังดีไซน์แพกเกจจิ้งให้ ‘คนทุกเพศ’ ถือได้อย่างไม่เคอะเขิน

7 แบรนด์คนไทย เริ่มต้นปีใหม่ด้วยไลฟ์สไตล์กรีนๆ

บรรจงคัดสรรสินค้าจาก ‘7 แบรนด์ฝีมือคนไทย’ ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟันอัดเม็ด จานชามจากวัสดุเหลือทิ้ง น้ำยาถูพื้นออร์แกนิก ไปจนถึงผ้าอนามัยซักได้ ซึ่งพวกเขาล้วนตั้งใจอยากให้ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในวิถีคนไทย และกอบกู้สิ่งแวดล้อมให้อยู่ต่อไปได้!

พาใจไปสัมผัสวิถียั่งยืนกับ ‘เวิร์กชอปธรรมชาติ’ ในหมู่บ้านวันเดอร์ที่งาน Moobaan Wonder โดย Wonderfruit

หลายปีมานี้ แม้เราจะเห็นทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือการใช้วัสดุทดแทน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขยะดีขึ้นสักเท่าไร เพราะยังคงมีข่าวสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับขยะอยู่เรื่อยๆ  เราได้มีโอกาสไปร่วมงาน ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ ซึ่งจัดโดยทีม Wonderfruit ด้วยแนวคิดเรื่องความยั่งยืนที่ยึดถือเป็นแกนหลักเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาในรูปแบบชุมชนขนาดย่อมที่รวบรวมของดีท้องถิ่นของไทย พร้อมให้เราเดินทางไปเปิดประสบการณ์น่าตื่นเต้นจากการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวัฒนธรรมร่วมสมัย พาใจเราไปสัมผัสศิลปะ วัฒนธรรม และวิถียั่งยืน นอกจากเราจะได้เฉลิมฉลองสิ้นปีไปกับดนตรี แคมปิ้ง อาหารเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต และกิจกรรมครอบครัว ยังได้ซึมซับงานศิลปะและอินสตอลเลชันภายในงาน ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติของฟาร์มและทุ่งดอกไม้ แต่ไฮไลท์ที่เราขอนำกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังคือเวิร์กชอปที่จะชวนทุกคนกลับมาเห็นความงามในธรรมชาติอีกครั้ง ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เทศกาลดนตรีหลายงานต้องยกเลิกไปซึ่ง Wonderfruit ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นทางทีมงานก็ได้ปัดฝุ่นโปรเจกต์นี้ใหม่ในคอนเซปต์ ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ โดยเปิดมุมมองใหม่และค้นหาความน่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรามีดีอยู่แล้ว มาเริ่มกันด้วยเวิร์กชอป ‘Natural Tie Dye’ การทำผ้ามัดย้อม เป็นบูธที่ได้รับความสนใจมากอีกบูธหนึ่งเลย โดยนำวัสดุธรรมชาติที่ให้สีได้มาใช้เป็นสีย้อม เช่น กากมะพร้าวให้สีน้ำตาลอ่อน ขมิ้นให้สีเหลือง เปลือกต้นเค็งให้สีเเดง ในขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมไม่มีความซับซ้อน แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันเเละใจเย็น  เริ่มจากการจับผ้าขาวม้วนให้เป็นเกลียวเเละขมวดปม เอาหนังยางมัดในจุดที่เราไม่ต้องการให้สีเข้าถึงเพื่อให้เกิดเป็นลวดลาย […]

1 4 5 6 7 8 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.