ตามติดชีวิตไม่สร้างขยะ 1 วัน ฉบับสองสาวชาว Zero Waste

“เป็นไปได้จริงหรือที่คนเราจะสามารถใช้ชีวิตหนึ่งวัน 
โดยไม่สร้างขยะเลยแม้แต่ชิ้นเดียว ??” นี่คือสิ่งที่เราสงสัยมาตลอดเมื่อได้ยินคนพูดถึงการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste หรือการใช้ชีวิตโดยสร้างขยะศูนย์ชิ้นในแต่ละวัน ในระยะหลังเราได้ยินแนวคิดการใช้ชีวิตแบบ Zero Waste มากขึ้น สลับกับข่าวปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีให้เห็นรายวัน ตามมาด้วยคำถามมากมายอย่างความเป็นไปได้ที่แนวคิดนี้จะทำได้จริง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ซึ่งดูเหมือนทุกอย่างจะเอื้ออำนวยให้การดำเนินชีวิต ทิ้งร่องรอยการสร้างขยะได้ทุกเมื่อ

ไม่ใส่แล้วเอามาแลก ! ช่วยโลกลดขยะเสื้อผ้า

ในหนึ่งเดือนคุณใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเสื้อผ้าเท่าไหร่ ? หากนับเป็นเงินอาจไม่เท่าไหร่ แต่เมื่อลองกลับไปเปิดตู้ดูที่บ้าน เสื้อผ้าจำนวนมากเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซื้อมาตั้งแต่เมื่อไหร่ หลายครั้งซื้อมาซ้ำกับที่มีอยู่ รู้ตัวอีกทีเสื้อผ้าที่บ้านก็เยอะเกินความจำเป็นไปแล้ว !

‘Flotsam’ เกมสร้างเมืองจาก ‘ขยะ’ หนทางรอดในวันที่น้ำท่วมโลก

ทำความรู้จักกับเกมน้องใหม่ ‘Flotsam’ ที่มีเอกลักษณ์ด้วยความน่ารัก สดใส แตกต่างจากเกมสร้างเมืองลอยน้ำรุ่นพี่อย่าง Buoyancy ที่นอกจากต้องเอาชีวิตรอดในโลกที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแล้ว เรายังต้องบริหารและสร้างเมืองจากขยะเพื่อรองรับผู้รอดชีวิตไปพร้อมๆ กัน

แยกขยะเป็นจะเห็นค่า คุ้ยเรื่องขยะกับ ‘ชูเกียรติ’ ผู้เปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยธรรมชาติ

‘ชูเกียรติ โกแมน’ คือหนึ่งในทีมงานสวนผักคนเมือง ที่เห็นความสำคัญของการแยกขยะ และเห็นค่าของขยะอาหาร จนหยิบมาทำเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ พร้อมคิดค้นระบบกล่องปุ๋ยหมักที่ทำได้ทุกบ้าน เราชวนพี่ชูเกียรติมาร่วมพูดคุยถึงการจัดการขยะอาหาร ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ความสำคัญของการแยกขยะ ตลอดจนช่วยไขความกระจ่างว่า ทำไมประเทศไทยถึงยังก้าวสู่สังคม Zero Waste ไม่ได้เสียที

‘บ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ที่ไม่ยอมให้ขยะทะเลมาทำลายบ้านพะยูน

ออกสำรวจปัญหาขยะทะเลไทย ทางออกของปัญหา ไปจนถึงการส่งต่อความรู้จากชุมชนสู่ชุมชนในแบบฉบับบ้านมดตะนอย

‘ฟาร์มลุงรีย์’ คอมมูนิตี้ชาวสวนรุ่นใหม่ ฉีกกฏเกษตรแบบเดิมด้วยเทคโนโลยีใกล้ตัว

วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับ ‘ลุงรีย์-ชารีย์ บุญญวินิจ’ ผู้บุกเบิกฟาร์มลุงรีย์ และ ‘พี่นัท-กิตติพงศ์ กีรติเตชะนันท์’ นักเพาะเห็ดที่มาเรียนรู้จากฟาร์มลุงรีย์ ทั้งสองคนจะมาแชร์ประสบการณ์เกษตรกรรุ่นใหม่อยู่อย่างไรในเมือง รวมทั้งเป้าหมายในอนาคตของฟาร์มในเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ หน้าตาจะเป็นอย่างไรตามไปดูกัน

“สำรวจต้นไม้ในเมือง แล้วปักหมุดลงโซเชียล” แนวทางอนุรักษ์ต้นไม้ยุคไซเบอร์

‘พี่กบ ทีมงานจาก Big Trees Project’ ในครั้งนี้ จะช่วยให้หลายคนฉุกคิดถึง ‘ต้นไม้’ เพื่อนรักของมนุษย์กันมากขึ้น แล้วหันกลับมาเอาใจใส่ หมั่นคอยดูแล และรักษาให้เขาอยู่กับเราไปนานเท่านาน เพราะถ้าไม่มี ‘ต้นไม้’ เราก็คงเหมือนขาด ‘ลมหายใจ’ ที่คอยเลี้ยงชีวิตของเราเช่นกัน

ขึ้นเหนือไป ‘ปลูกป่า’ ภารกิจต่อลมหายใจให้ป่าเชียงดาว

ภารกิจ 3 วัน 2 คืน ปลูกต้นไม้กอบกู้ ‘ผืนป่าเชียงดาว’

ภาพข่าว ‘ไฟไหม้ป่าเชียงดาว’ ที่ทำให้เชียงใหม่สูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปกว่า 400 ไร่ยังคงติดตาเราทุกวันนี้ รวมถึงบริเวณเชียงดาวที่เป็นต้นกำเนิดของสายน้ำแม่ปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลไปหล่อเลี้ยงคนเมืองเชียงใหม่และคนไทยทั้งประเทศยังเกิดบาดแผลครั้งใหญ่ นั่นคือแรงบันดาลใจที่ผลักดันให้เรา ‘ขึ้นเหนือไปปลูกป่า’ พร้อมหอบหิ้ว ‘ภารกิจต่อลมหายใจให้ป่าเชียงดาว’ ติดตัวไปด้วย

SAVE PAPERS SAVE TREES ยุคไร้กระดาษ เพื่อโลกสีเขียวที่ใกล้เป็นจริง

รู้หรือไม่ ปีหนึ่งเราจะใช้กระดาษกันมากที่สุดกี่แผ่น ? จากผลศึกษาโครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดยมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา พบว่าเฉลี่ยหนึ่งคนใช้กระดาษไป 12,000 แผ่น/ปี หมายความว่าเราต้องตัดต้นไม้ประมาณ 18 ต้น/คน และถ้ารวมทั้งประเทศต้องตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านต้น/ปี ดูจากตัวเลขแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ต้องสูญเสียทรัพยากรสีเขียวเพื่อตอบสนองการใช้งานของคน ก่อนที่จะเป็น ‘กระดาษ’ ที่ใช้กันทุกวันนี้ ทุกคนคงทราบกันดีว่ามาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถลดการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันได้มากกว่าที่เคย อย่างการสแกน QR Code ชำระสินค้า, ซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือการพรีเซนต์งานบนสไลด์แทนการพิมพ์เอกสาร ทุกประเทศต่างนำสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้มาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งช่วยทำให้การใช้กระดาษน้อยลงและรู้จักใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้น เราไปดูกันดีกว่า ว่าพวกเขามีแนวทางการลดใช้กระดาษกันอย่างไร ‘กระดาษ’ เกี่ยวอะไรกับ ‘สภาวะโลกร้อน’ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า สภาวะโลกร้อนคือ ชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารพิษอื่นๆ สะสมอยู่ในอากาศของเรา หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ นั่นเอง จับตัวกันเหมือนชั้นผ้าห่มหนาๆ ยิ่งได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเท่าไหร โลกที่อยู่ใต้ชั้นผ้าห่มผืนนี้ก็จะมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดเพี้ยนไปจากปกติที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยสาเหตุหลักของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มาจากสิ่งใกล้ตัวและความคุ้นชินในปัจจุบันอย่าง การเผาขยะในครัวเรือน การปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมจากฝีมือมนุษย์ที่ค่อยๆ ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง […]

หญ้าทะเล ป่าโกงกาง วิถีธรรมชาติเพื่อบำบัดธรรมชาติของ “ชุมชนบ้านมดตะนอย”

รักทะเลเวลามีเธอด้วย ‘เธอ’ สำหรับเราในที่นี้ หมายถึง มนุษย์และธรรมชาติรอบผืนน้ำสีครามที่อยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนที่ ‘ชุมชนบ้านมดตะนอย’ ชุมชนเล็กๆ ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งอบอวลไปด้วยกลิ่นอายทะเล เกลียวคลื่น หาดทรายสะอาด และระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เลือกใช้วิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ให้ธรรมชาติ | บำบัดธรรมชาติ ความสวยงามของทะเลที่โอบล้อมชุมชนบ้านมดตะนอย คือสิ่งที่เราประทับใจทุกครั้งเมื่อได้มาเยือน รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นกันเอง และอยู่อย่างเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งถึงแม้ก่อนหน้านี้ชุมชนบ้านมดตะนอย จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน จนเกิดภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าปกติ แต่ปัญหานี้ก็ได้รับการเยียวยาด้วยวิธี ‘ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ’ ผ่านความร่วมมือของเอสซีจี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายจิตอาสา จ.ตรัง ร่วมมือกันใช้ธรรมชาติรอบตัวอย่าง ‘หญ้าทะเล’ และ ‘ป่าโกงกาง’ มาบำบัดภัยแล้ง และภาวะโลกร้อน เอสซีจียังจัดโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา จิตอาสารักษ์น้ำ” น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดจนปลายน้ำ มาเป็นแนวทางดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่องกว่า 10 ปี ช่วยให้ชุมชนแก้ปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี พร้อมชวนจิตอาสามาร่วมสืบสาน […]

EAT

HUNT : แกะเส้นทางมะพร้าวน้ำหอมออร์แกนิคของดีราชบุรี หอมจริงไม่เปรี้ยวซ่า

l เส้นทางอันหอมหวานที่ไม่เหมือนใคร “มะพร้าวน้ำหอม” ผลไม้ลูกกลม สีเขียวที่กินได้ทั้งน้ำและเนื้อ ส่วนรสชาติก็ตามชื่อเรียกเพราะหอม หวาน แถมชื่นใจในคราวเดียว ทำเอาถูกปากถูกใจทั้งชาวไทยและต่างชาติ หากจะถามหาถึงถิ่นกำเนิด บางที่ก็บอกว่าเกิดในเขตร้อนทวีปเอเชีย และในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเดียวกันก็มีบางแหล่งข้อมูลบอกว่าเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์กันมา ต่อมามีการกระจายไปปลูกในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ด้วยดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มะพร้าวจึงกลายมาเป็นผลไม้เศรษฐกิจของบ้านเรา โดยมีการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น หรือสหรัฐอเมริกา l มะพร้าวน้ำหอม ของแท้ต้องมาจาก 4 จังหวัดนี้เท่านั้น! มะพร้าวน้ำหอมของแท้ต้องไม่เปรี้ยวซ่า ของดีจาก 4 จังหวัด คือ ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม หากส่งเข้าประกวดมะพร้าวน้ำหอมแห่งปีต้องชนะเลิศอย่างแน่นอน สาเหตุที่แหล่งปลูกมะพร้าวล้วนเป็นจังหวัดแถบภาคกลางตอนล่าง เพราะมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนทางธรรมชาติที่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นดินตะกอนของปากแม่น้ำแม่กลอง มาบรรจบกันเป็นคลองดำเนินสะดวกจึงกลายเป็นแหล่งแร่ธาตุชั้นดีที่พืชผักผลไม้ต้องการมาก ดังนั้นดินที่นี่ส่วนใหญ่จึงเป็นดินเหนียว ดินดำ อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำที่สะอาดจากแม่น้ำแม่กลอง และน้ำจากเขื่อนกาญจนบุรีที่ไหลมาเจอกันนั้น ยังไม่ค่อยมีสารเคมีปนเปื้อนหากเทียบกับแหล่งน้ำที่อื่นๆ ด้วยความสมบูรณ์จึงเอื้อให้มะพร้าวน้ำหอมที่ดีที่สุดในโลกอยู่ใน 4 จังหวัดนี้  อีกทั้งเกษตรกรแถวนี้ยังคงยึดอาชีพปลูกมะพร้าวน้ำหอมกันมาช้านานกว่า 20-30 ปี ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนมองข้ามมะพร้าวน้ำหอมไปไม่ได้เลย l Aromatic farm ออร์แกนิคตั้งแต่แรกปลูกสู่มือผู้บริโภค […]

1 6 7 8 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.