10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก

ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก

9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม

“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้

Earthtone แบรนด์รองเท้าจากวัสดุธรรมชาติ ที่อยากหยุดวงจรขยะในอุตสาหกรรมแฟชั่น

แบรนด์ Earthtone ที่หยิบเอา ‘วัสดุทดแทน’ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ขุยมะพร้าว หรือแม้แต่การหยิบผักตบชวามาดีไซน์ใหม่ให้ดูใช้ได้จริง ก่อนออกมาเป็นสินค้าแฟชั่นที่ดูทันสมัย เราจึงต่อสายตรงไปหา ‘ซา-ซายูริ โอกาวะ’ และ ‘ปอม-อรรถพล พงษ์สวัสดิ์’ เจ้าของแบรนด์ Earthtone ผู้ที่เป็นทั้งหุ้นส่วนธุรกิจและหุ้นส่วนชีวิตของกันและกัน พร้อมพูดคุยถึงแนวคิดว่าเพราะอะไรถึงอยากเป็นส่วนหนึ่งที่หยุดวงจรขยะจากอุตสาหกรรมแฟชั่น

Ira แบรนด์ผ้าอนามัยย่อยสลายได้ ไร้สารเคมี และอ่อนโยนกับจุดซ่อนเร้น

เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่น เทียบเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง แถมยังใช้เวลาย่อยสลาย 500 – 800 ปี! และต่อรอบประจำเดือนต้องใช้มากถึง 21 แผ่น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่รุ้งไม่อยากผลิตผ้าอนามัยที่ใช้วัสดุหลักเป็นพลาสติก แต่หยิบเอา ‘ใยไม้ไผ่’ มาทดแทน แถมยังดีไซน์แพกเกจจิ้งให้ ‘คนทุกเพศ’ ถือได้อย่างไม่เคอะเขิน

พาใจไปสัมผัสวิถียั่งยืนกับ ‘เวิร์กชอปธรรมชาติ’ ในหมู่บ้านวันเดอร์ที่งาน Moobaan Wonder โดย Wonderfruit

หลายปีมานี้ แม้เราจะเห็นทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาขยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก การนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือการใช้วัสดุทดแทน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ทำให้สถานการณ์ขยะดีขึ้นสักเท่าไร เพราะยังคงมีข่าวสัตว์ป่าและสัตว์ทะเลที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับขยะอยู่เรื่อยๆ  เราได้มีโอกาสไปร่วมงาน ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ ซึ่งจัดโดยทีม Wonderfruit ด้วยแนวคิดเรื่องความยั่งยืนที่ยึดถือเป็นแกนหลักเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาในรูปแบบชุมชนขนาดย่อมที่รวบรวมของดีท้องถิ่นของไทย พร้อมให้เราเดินทางไปเปิดประสบการณ์น่าตื่นเต้นจากการผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวัฒนธรรมร่วมสมัย พาใจเราไปสัมผัสศิลปะ วัฒนธรรม และวิถียั่งยืน นอกจากเราจะได้เฉลิมฉลองสิ้นปีไปกับดนตรี แคมปิ้ง อาหารเครื่องดื่ม ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต และกิจกรรมครอบครัว ยังได้ซึมซับงานศิลปะและอินสตอลเลชันภายในงาน ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติของฟาร์มและทุ่งดอกไม้ แต่ไฮไลท์ที่เราขอนำกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังคือเวิร์กชอปที่จะชวนทุกคนกลับมาเห็นความงามในธรรมชาติอีกครั้ง ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้เทศกาลดนตรีหลายงานต้องยกเลิกไปซึ่ง Wonderfruit ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นทางทีมงานก็ได้ปัดฝุ่นโปรเจกต์นี้ใหม่ในคอนเซปต์ ‘MOOBAAN WONDER’ หรือ ‘หมู่บ้านวันเดอร์’ โดยเปิดมุมมองใหม่และค้นหาความน่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรามีดีอยู่แล้ว มาเริ่มกันด้วยเวิร์กชอป ‘Natural Tie Dye’ การทำผ้ามัดย้อม เป็นบูธที่ได้รับความสนใจมากอีกบูธหนึ่งเลย โดยนำวัสดุธรรมชาติที่ให้สีได้มาใช้เป็นสีย้อม เช่น กากมะพร้าวให้สีน้ำตาลอ่อน ขมิ้นให้สีเหลือง เปลือกต้นเค็งให้สีเเดง ในขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมไม่มีความซับซ้อน แต่ต้องอาศัยความพิถีพิถันเเละใจเย็น  เริ่มจากการจับผ้าขาวม้วนให้เป็นเกลียวเเละขมวดปม เอาหนังยางมัดในจุดที่เราไม่ต้องการให้สีเข้าถึงเพื่อให้เกิดเป็นลวดลาย […]

This is grown รองเท้าจากเส้นด้ายจุลินทรีย์ วัสดุอนาคตแห่งวงการแฟชั่น

เพราะจุลินทรีย์ไม่ได้มีแค่ในนมเปรี้ยว แต่เอามาสร้างความเฟี้ยวเป็น ‘รองเท้าผ้าใบ’ ได้เหมือนกัน! ‘Jen Keane (เจน คีน)’ อดีตนักออกแบบชุดกีฬาให้กับ Adidas ผู้ผันตัวออกมาเป็น ‘นักวิจัย’ แบบฟูลไทม์ เพื่อเฟ้นหาวัสดุใหม่ๆ สำหรับใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงได้คิดค้น ‘This is grown’ โปรเจกต์รองเท้าผ้าใบที่มีแรงจูงใจมาจากวิกฤตพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก Keane ได้เอางานถนัดเรื่องความยั่งยืน และความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางชีวภาพของตัวเองมาพัฒนาวัสดุ โดยใช้สิ่งมีชีวิตอย่าง ‘จุลินทรีย์’ มาทำกระบวนการที่มีชื่อว่า ‘Komagataeibacter rhaeticus’ คือการปล่อยให้จุลินทรีย์เติบโตตามธรรมชาติ แต่ถูกควบคุมด้วยชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อให้เส้นด้ายออกมาตรงตามสเป็คที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแรง ความหนา หรือน้ำหนัก หลายคนอาจกำลังงงว่าใช้ถักรองเท้าทั้งหมดเลยหรือเปล่า ? คำตอบคือ This is grown จะถูกใช้บริเวณส่วนบนของรองเท้า (Vamp) เท่านั้น โดยเป็นเส้นด้ายยาวต่อเนื่องกันหลายเมตร สานไขว้กันไปมาจนเกิดเป็นลวดลายบนรองเท้าผ้าใบเฉพาะตัว ที่แม้แต่เทคนิคการถอผ้าทั่วไปก็ไม่สามารถทำได้ แถมเราไม่ต้องง้อเข็มกับด้ายอีกด้วย ! อีกทั้งมันยังช่วยให้ขึ้นรูปได้ตามแบบที่ต้องการ โดยเหลือวัสดุน้อยที่สุด หรือแทบไม่มีเหลือเลย ถึงแม้จะยังไม่มีวางขาย แต่ Keane […]

EAT

‘พาสต้าเส้นจิ้งหรีด’ จาก Bugsolutely สตาร์ทอัปที่จับจิ้งหรีดในฟาร์มไทยแปลงร่างเป็นแหล่งโปรตีนโลก

‘ปี๊บๆ’ เสียงบีบแตรจากรถเข็นขายแมลงทอดที่จอดอยู่ข้างถนนเรียกคนเข้าไปมุงดู ในถาดมีแมลงทอดกรุบกรอบอยู่ 4-5 ชนิดโชยกลิ่นหอมเตะจมูก หนึ่งในนั้นคือจิ้งหรีดที่เราโปรดปราน แมลงทอดถุงละ 20 บาทที่เป็นเหมือน ‘ของแปลก’ ในสายตาชาวเมือง แต่แถวบ้านนอกนั้นเรียกว่าเป็นอาหารสุดโอชะ

3 ปี การเดินทางของ Urban Creature

รู้จักกันมา 3 ปีแล้วนะ.จำได้ว่าตอนก่อตั้งเพจ Urban Creature นี้ขึ้นมา เราอยากเป็นกระบอกเสียงที่ช่วยส่งต่อเรื่องราวดีๆ ให้กับชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นพลังของคนตัวเล็กๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับเมือง กลุ่มคนที่ช่วยกันคิดโปรเจกต์ดีๆ ต่อสังคม และสนับสนุนให้อยู่ร่วมกับกับสิ่งเเวดล้อมอย่างเข้าใจ ทุกวันนี้ก็ยังตั้งใจที่จะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้เพื่อส่งต่อสิ่งดีๆ อยู่เสมอ.ตอนนี้ Urban Creature เดินทางมาได้ 3 ปีแล้ว เราขอขอบคุณทุกคนที่อยู่เคียงข้างกันมาโดยตลอด เพราะเสียงของทุกคนทำให้เราอยากทำต่อไปและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แล้วเพื่อนๆ ล่ะ บอกเราหน่อยว่า 3 ปีที่ผ่านมาชอบโพสต์ไหน หรือมาเเชร์ความคิดของคุณก็ได้นะ ว่าอยากให้เราทำอะไรต่อ ?.#UrbanCreature #BettercityBetterLiving #City #People #Sustainability #Innovation

โปรเจกต์ใหม่ IKEA รวมพื้นที่ คน ต้นไม้ ใต้หลังคาเดียวกัน

‘Home of Tomorrow’ คือความหวังในการออกแบบบ้านแห่งอนาคต ถือเป็นแนวคิดการอยู่อาศัยของผู้คนไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้เป็นสถานที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัยที่ห่วงใยแมวเลี้ยง แมวจร ไปจนถึงนักโทษในเรือนจำ

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัย ที่ใส่ใจแมวตั้งแต่เลือกวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อผิวแมวเลี้ยง และนำยอดขายไปบริจาคให้แมวจร ทั้งยังช่วยให้นักโทษในเรือนจำได้มีรายได้จากการเย็บปลอกคอแมว

ทอดเสร็จไม่ต้องทิ้ง! หยิบน้ำมันเหลือใช้มาทำ ‘สบู่น้ำมัน’

เชื่อว่าหลายคนที่เข้าครัวทำอาหาร จะต้องมี ‘น้ำมันเหลือใช้’ จากการผัด หรือทอดอย่างโชกโชน และแน่นอนว่าน้ำมันเหล่านั้นย่อมมีอายุการใช้งานของมัน ซึ่งการนำมาใช้ซ้ำหลายๆ ครั้งคงส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าผลดี ทำให้เราต้องคอยหาทางขจัด ‘ของเสีย’ เหล่านั้นทิ้งไป ไม่ว่าจะเป็นการเทใส่ถุงแล้วทิ้ง หรือเอาไปขายเพื่อนำไปเป็นไบโอดีเซลต่อไป

1 5 6 7 8 9 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.