Chitofoam พลาสติกชีวภาพจากหนอนนก ทางเลือกใหม่ของการผลิตบรรจุภัณฑ์ ไม่มีมลพิษ ย่อยสลายในธรรมชาติได้

ปัจจุบันทั่วโลกเพาะเลี้ยง ‘หนอนนก’ กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูง เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นอาหารแก่สัตว์น้ำและสัตว์ปีกเช่นนกและไก่ ส่วนในประเทศไทยก็นิยมเอาหนอนชนิดนี้ทำเมนูทานเล่นที่เห็นได้ทั่วไปอย่าง ‘รถด่วนทอด’ นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงแล้ว โครงกระดูกภายนอกของเจ้าหนอนนกยังเปลี่ยนเป็น ‘แพ็กเกจจิ้งทางเลือก’ ที่มีน้ำหนักเบา ทนน้ำ และย่อยสลายตามธรรมชาติได้ด้วย ‘Chitofoam’ คือบรรจุภัณฑ์ผลิตจากระบบหมุนเวียนที่เปลี่ยนโครงกระดูกภายนอก (Exoskeletons) ของหนอนนก (Mealworms) ให้เป็นวัสดุสำหรับทดแทน ‘พอลิสไตรีน’ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘โฟม’ พลาสติกที่ทั่วโลกนิยมใช้ทำแพ็กเกจจิ้งอาหารอย่างแพร่หลาย เช่น ถ้วย จาน และแก้ว ซึ่งขยะเหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และต้องใช้เวลานับร้อยๆ ปีจนกว่าจะเสื่อมสภาพตามชีววิทยา ก่อนจะกลายเป็นขยะธรรมดา ผู้พัฒนาวงจรหมุนเวียนรักษ์โลกนี้ก็คือ Charlotte Böhning นักออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน ร่วมกับ Mary Lempres ศิลปินจากสตูดิโอออกแบบ Doppelgänger ในอเมริกา พวกเขาเลือกใช้โครงกระดูกภายนอกของหนอนนก (หนอนของแมลงปีกแข็ง) ทำแพ็กเกจจิ้งทดแทน เพราะพวกมันกินพลาสติกเป็นอาหารอยู่แล้ว โดยในหนึ่งวัน หนอนนก 100 ตัว สามารถกินพลาสติกได้ถึง 40 มิลลิกรัม หรือปริมาณเทียบเท่ากับยาหนึ่งเม็ด โดยขั้นตอนของการผลิต Chitofoam เบื้องต้นมีดังต่อไปนี้ […]

คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

Bruk ดีไซน์กล่องนมรีไซเคิลง่าย เพียงฉีกตรงกลาง ก็ลดขั้นตอนแยกขยะ

ขยะกล่องนมเป็นขยะที่มีปริมาณมหาศาลมากในแต่ละวัน ซึ่งการจัดการขยะประเภทนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ‘บรรจุภัณฑ์กระดาษ’ จริงๆ แล้วมีทั้งพลาสติกและอะลูมิเนียมเคลือบอยู่ข้างใน ซึ่งไม่ใช่บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลง่ายอย่างที่คิดเลย  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยพยายามจะแยกขยะกล่องนมด้วยตัวเอง คงรู้ว่าจะถึงขั้นตอนสุดท้ายไม่ใช่ง่ายๆ ถ้าจะให้กล่องนมรีไซเคิลได้หลังจากดื่มแล้วต้องนำไปล้าง ตาก และลอกพลาสติกออก ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คนไม่อยากแยกขยะ และทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไม่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างที่เคลมไว้ Pushan Panda ดีไซเนอร์จากซานฟรานซิสโกผู้เป็นเจ้าของดีไซน์เจ้ากล่อง Bruk มองเห็นปัญหานี้ จึงอยากหาวิธีในการช่วยลดขั้นตอนการแยกขยะก่อนนำไปรีไซเคิล ด้วยการออกแบบกล่องนมขึ้นมาใหม่ ที่ใช้แค่นิ้วฉีกตรงกลางกล่องก็แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกันได้ง่ายๆ แค่นำพลาสติกข้างในไปล้าง แล้วทิ้งลงถังแยกขยะก็นำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายขึ้น  หลายคนอาจจะคิดว่ากล่องบรรจุภัณฑ์อาหารเหล่านี้ยังไงก็เป็นกระดาษอยู่แล้ว ต้องรีไซเคิลได้สิ แต่จริงๆ แล้วกล่องนม น้ำผลไม้ ซอสมะเขือเทศ แม้จะทำจากกระดาษเป็นหลักแต่ภายในกล่องจะมีชั้นบางๆ ของพลาสติกหรืออะลูมิเนียมอยู่ ต่างจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้ว โลหะ หรือพลาสติกที่รีไซเคิลง่ายกว่ามาก เพราะไม่ต้องแยกส่วนประกอบหลายชั้น  Panda เล่าว่า “กระบวนการรีไซเคิลที่แยกกระดาษและพลาสติกออกจากกัน เป็นกระบวนการพิเศษที่ทั้งแพงและหายาก ทำให้กล่องเครื่องดื่มในสหรัฐอเมริกาถูกรีไซเคิลไปแค่ 16% เท่านั้น ส่วนในยุโรปมีเพียง 49% ดีไซน์กล่อง Bruk จึงออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาต้องรีไซเคิล ผู้บริโภคเพียงแค่ฉีกรอยประระหว่างฝาขวดนม HDPE ออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้แยกกระดาษแข็งออกจากพลาสติกได้” นอกจากจะรีไซเคิลง่ายแล้ว Panda […]

ไปรษณีย์ไทยเปิดไดรฟ์ทรู 18 จุดทั่วประเทศ รับบริจาคกล่องและซองพัสดุไม่ใช้แล้ว ผลิตชุดโต๊ะ-เก้าอี้ให้โรงเรียน ตชด.

สายช้อปปิงออนไลน์คงคุ้นเคยกับปัญหาบ้านรกและเต็มไปด้วยกล่อง ลัง และซองพัสดุหลายขนาด จะทิ้งก็เสียดายเพราะสภาพยังดีอยู่ แต่จะใช้ประโยชน์ก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคน ส่งต่อกล่องและซองไม่ใช้แล้วร่วมแคมเปญ ‘ไปรษณีย์ reBOX #3’ เพื่อรีไซเคิลเป็นโต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไปรษณีย์ reBOX #3 คือโครงการที่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของไปรษณีย์ไทย และ SCGP ภายใต้แนวคิด ‘reBOX to School’ เพื่อรับบริจาคกล่องและซองพัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ของอะไรก็ได้ ไม่จำกัดยี่ห้อ หลังจากนั้นจะนำไปผลิตเป็นชุดโต๊ะและเก้าอี้กระดาษ และส่งมอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในช่วงปลายปีนี้ ความพิเศษของปีนี้ ไปรษณีย์ไทยเผยมิติใหม่ของการบริจาค เปิดตัวจุด Drive & Drop ที่ทำการไปรษณีย์ 18 แห่งทั่วไทย เพื่อเอื้อให้การบริจาคง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู สามเสนใน  2) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู หลักสี่  3) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลาดพร้าว  4) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู ลำลูกกา  5) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู มีนบุรี  6) ไปรษณีย์ไดรฟ์ทรู บางพลี                         […]

องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมญี่ปุ่นขายสติกเกอร์ไลน์เซตสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เพื่อย้ำเตือนปัญหาสิ่งแวดล้อม

3 มีนาคมนี้ เป็นวันอนุรักษ์สัตว์และพืชป่าโลก (World Wildlife Day) ที่ตั้งขึ้นตามอนุสัญญาไซเตสเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อม  ด้วยวันสำคัญที่มีขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมไม่แสวงหากำไรของญี่ปุ่นชื่อ Ecology Online (EOL) ได้เปิดตัวเซตสติกเกอร์ไลน์สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species) 16 ชนิดทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา สติกเกอร์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ในไลน์เซตนี้ มีทั้งอาย-อาย ลีเมอร์คล้ายค้างคาวที่หากินช่วงกลางคืน วัลลาบีหางสั้นลักษณะคล้ายจิงโจ้ รวมทั้งแมวจุดสีสนิม แมวป่านักล่าที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ซึ่งเชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นครั้งแรก  องค์กร EOL ตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 เป็นหนึ่งในองค์กรในญี่ปุ่นที่ผลักดันเรื่องปัญหาโลกร้อน ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด หนึ่งในงานที่องค์กรทำคือสนับสนุนการอนุรักษ์พื้นที่ป่าในเกาะมาดากัสการ์ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับสวนสัตว์ต่างๆ นี่จึงเป็นที่มาของสัตว์หลากหลายในสติกเกอร์ไลน์นั่นเอง  สติกเกอร์ชุดนี้ ขายในราคา 120 เยน หรือ 40 บาท บนแอปพลิเคชันไลน์ที่คนไทยเราคุ้นเคย และรายได้จากการจำหน่ายส่วนหนึ่ง จะนำกลับไปสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรในมาดากัสการ์  หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/3IyCX9E

FUL โซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา นวัตกรรมที่อุดมด้วยสารอาหาร และกระบวนการผลิตที่ช่วยลดก๊าซ CO2

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มโซดาก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อบริษัทสัญชาติดัตช์ผลิตโซดาจากสาหร่ายสไปรูลินา ที่อัดแน่นไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมในการผลิตที่รักษ์โลก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศด้วย ‘Ful’ คือแบรนด์โซดาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ต้องการ ‘ปลดล็อกพลังอันน่าทึ่งของสาหร่ายขนาดเล็ก’ เพราะส่วนผสมหลักที่ Ful ใช้คือ ‘สาหร่ายสไปรูลินา (Spirulina)’ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่จัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สีฟ้าของโซดาจึงมาจากธรรมชาติทั้งหมด ปราศจากการแต่งสี นอกจากสาหร่ายสไปรูลินาจะทำให้โซดา Ful มีสีสัน ดูสนุก และน่าดื่มยิ่งขึ้น สาหร่ายขนาดจิ๋วชนิดนี้ยังเต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ด้วย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจัดอยู่ในสาหร่ายสายพันธุ์ Platensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุด และยังเป็น ‘สุดยอดอาหาร’ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี 2 รวมไปถึงสารต้านอนุมูลอิสระอย่างคลอโรฟิลล์ด้วย แม้ประโยชน์ของสาหร่ายสไปรูลินาจะถูกยอมรับในกลุ่มคนที่กินอาหารเสริมอยู่แล้ว ทั้งในรูปแบบผงและรูปแบบเม็ด แต่การที่ Ful นำสาหร่ายประเภทนี้มาเป็นส่วนประกอบหลักของโซดา ช่วยให้เจ้าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น อีกจุดขายของโซดา Ful ก็คือความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Ful มีกระบวนการผลิตที่เรียกว่า ‘การรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Recycling)’ เนื่องจากการเจริญเติบโตของสาหร่ายสไปรูลินาต้องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงจะผลิตสารอาหารและออกซิเจนสู่ชั้นบรรยากาศได้ ดังนั้น […]

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมรณรงค์หยุดปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำเทมส์และตรวจคุณภาพน้ำ ให้สะอาดพร้อมว่ายเล่น

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศอังกฤษ – ‘Sewage Free Thames’ และเครือข่าย เรียกร้องให้ยุติการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำและเสนอต่อภาครัฐให้ขึ้นทะเบียนสายของแม่น้ำเทมส์ที่ไหลผ่านเมืองออกซ์ฟอร์ดให้คนทั่วไปลงเล่นตามธรรชาติน้ำได้ สำนักข่าว The Guardian ของอังกฤษรายงานวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากการผลักดันของเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ทางรัฐบาลเปิดเผยว่ามีโอกาสที่แม่น้ำเทมส์จะขึ้นทะเบียนประกาศเป็นจุดลงเล่นน้ำสาธารณะได้เป็นจุดที่สองของสหราชอาณาจักร และตอนนี้ประชาชนกำลังถูกเชิญให้มาร่วมเสนอความเห็นอยู่ หากการประกาศสำเร็จแล้ว ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อให้ลงเล่นได้อย่างปลอดภัย นอกเหนือจากแม่น้ำเทมส์ที่ไหลผ่านทางตอนใต้รวมถึงกรุงลอนดอนที่เป็นจุดท่องเที่ยวอย่างสะพานหอคอย (London Bridge) หรือลอนดอนอาย (London Eye) แล้ว แม่น้ำสายแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นจุดอนุญาตลงเล่นน้ำได้ก็คือ แม่น้ำวอร์ฟ (Wharfe) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ แต่เมื่อเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมามีการตรวจสอบคุณภาพน้ำในบริเวณนั้น กลับพบว่าอยู่ในระดับ ‘แย่’ เพราะการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงแม่น้ำ  ประเด็นคุณภาพแม่น้ำและมลพิษทางน้ำนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในอังกฤษเลยทีเดียว ด้วยความที่ลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเกาะ มีแม่น้ำไหลผ่านเชื่อมต่อกับทะเล ซึ่งทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมก็ทำให้ผู้คนเชื่อมโยงกับสายน้ำและธรรมชาติ ทำให้ประเด็นนี้ปล่อยผ่านไปไม่ได้ง่ายๆ รายงานล่าสุดจากคณะกรรมการตรวจสอบด้านสภาพแวดล้อม (Environmental Audit Committee) ของอังกฤษเผยว่า เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2020 มีน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดถูกปล่อยลงแม่น้ำเทมส์กว่า 2 พันล้านลิตรเทียบเท่ากับสระน้ำมาตรฐานโอลิมปิกกว่า […]

3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade นวัตกรรมงานก่อสร้างเพื่อความยั่งยืน

นอกจากงานดีไซน์สนุกๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาจัดแสดงในงาน Bangkok Design Week ทุกปีแล้ว งานนี้ยังเป็นพื้นที่ให้เราได้อัปเดตนวัตกรรมล้ำๆ และเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศทุกปีอีกด้วย ถ้าใครไปงาน Bangkok Design Week 2022 ในช่วงนี้ จะพบกับพาวิลเลียนคอนกรีต 3D ขนาดใหญ่ตั้งเด่นอยู่หน้าทางเข้าอาคารที่ว่าการไปรษณีย์กลาง ดูเผินๆ พาวิลเลียนนี้เหมือนโครงสร้างอาคาร แต่จริงๆ แล้วคือ ฟาซาด (Façade) คอนกรีตที่ CPAC Green Solution (ซีแพค กรีน โซลูชัน) ผลิตด้วยเทคนิค 3D Printing ถ้าเดินเข้ามาดูใกล้ๆ และลองสัมผัสจะพบว่าฟาซาดชิ้นนี้พื้นผิวแทบไม่ต่างจากคอนกรีตแบบเดิม แถมยังสร้างลวดลายและออกแบบให้โค้งเว้าได้ไม่จำกัดรูปทรง ที่สำคัญคือทั้งหมดนี้ใช้เวลาพิมพ์แค่ 32 ชั่วโมง และใช้เวลาติดตั้งภายใน 8 ชั่วโมงเท่านั้น ผลงานชิ้นนี้คือ 3D Concrete Printing Pavilion – Design Possibility With A Façade เทคโนโลยีการก่อสร้างจาก CPAC […]

‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมฟรีๆ ผ่าน WaterBear เว็บสตรีมมิงฉายหนัง-สารคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ช่องทางสนับสนุนแคมเปญดูแลโลก

ถ้าอยากเข้าใจปัญหาและวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ WaterBear แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมสื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างรอบด้าน WaterBear คือบริการสตรีมมิงอินเตอร์แอ็กทีฟน้องใหม่ที่รวบรวมภาพยนตร์ สารคดี และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ ตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืน วัฒนธรรม ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  เนื้อหาที่อยู่บน WaterBear ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์และสารคดีที่ได้รับรางวัล หนังนอกกระแส หนังสั้น และ ‘WaterBear Originals’ ซีรีส์ที่ทาง WaterBear ลงทุนและผลิตเอง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน’ (SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ‘ภูมิอากาศ’ ‘วัฏจักร’ และ ‘ชุมชน’  ผู้ชมสามารถเลือกรูปแบบและประเภทของเนื้อหาได้ตามความสนใจ ที่สำคัญ หนังและสารคดีทั้งหมดบน WaterBear กว่า 800 เรื่องยังเปิดให้รับชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากดูภาพยนตร์จบ ผู้ชมสามารถกดแถบ ‘Connect’ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หรือจะกดแชร์ภาพยนตร์และสารคดีไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อให้คนรอบตัวตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน WaterBear […]

โลงศพผลิตจากไมซีเลียม ย่อยสลายใน 30-45 วัน

ทุกวันนี้เทรนด์รักษ์โลกไม่ได้อยู่แค่ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่เราสามารถเลือกชีวิตหลังความตายให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน เราจึงได้เห็นการพัฒนาทางเลือกใหม่ๆ ในการฝังศพเกิดขึ้นทุกๆ ปี โดยเฉพาะการฝังศพให้กลายเป็นปุ๋ยที่ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไปแล้ว และก็ไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่มีหลายองค์กรทั่วโลกที่ออกมาขับเคลื่อนทางเลือกนี้ให้ทำได้จริง สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา และทำให้ผู้คนเปิดรับกันมากขึ้น Living Cocoon คืออีกหนึ่งทางเลือกในการฝังศพที่ลดทั้งการใช้พื้นที่และเวลา เป็น ‘โลงศพมีชีวิต’ ชิ้นแรกของโลกที่ย่อยสลายตัวเองได้ภายใน 30 – 45 วัน จากการทดลองในเนเธอร์แลนด์ (ระยะเวลาย่อยสลายขึ้นอยู่กับดิน น้ำ และสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่)  เหตุผลที่เรียกว่า ‘โลงศพมีชีวิต’ เป็นเพราะว่าวัสดุที่ใช้ในการทำโลงทำมาจาก ‘ไมซีเลียม (Mycelium)’ หรือ ‘เส้นใยเห็ดรา’ ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดลูป (Loop) หรือวัฏจักรการย่อยสลาย ตัวโลงจะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการฝังกลบ ช่วยย่อยศพให้กลายเป็นปุ๋ยและกลับคืนสู่ธรรมชาติได้เร็วขึ้น และยังมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นรอบๆ หลุมฝังศพอีกด้วย Living Cocoon ผลิตโดย Loop Biotech บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่หาทางออกให้กับวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คิดค้นและออกแบบโดยบ็อบ เฮนดริกซ์ (Bob Hendrikx) ซึ่งเป็นทั้งผู้ก่อตั้ง นักออกแบบ และสถาปนิก ที่สนใจและเชี่ยวชาญในนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เฮนดริกซ์ กล่าวว่า […]

กระแสรักษ์โลกมาแรง แบรนด์ชั้นนำของโลกใช้วัสดุชีวภาพ ผลิตสินค้ามากขึ้นสองเท่าในปี 2021

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัสดุชีวภาพเคยเป็นสินค้าสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ในปี 2021 วัสดุจากธรรมชาติได้กลายเป็นสินค้ากระแสหลักและถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้น หลังจากบรรดาสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ผลิตเลือกใช้วัสดุประเภทนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เรจินา โปลันโก (Regina Polanco) ผู้ก่อตั้ง Pyratex บริษัทผลิตสิ่งทอจากธรรมชาติสัญชาติสเปน เปิดเผยว่า ยอดขายวัสดุชีวภาพของบริษัทในปี 2021 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายต้องการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ใช้ผ้าของ Pyratex ได้แก่ ASICS, Camper, PANGAIA และ Pepe Jeans เป็นต้น ด้านแจด ฟิงก์ (Jad Finck) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนแห่ง Allbirds บริษัทผลิตรองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยอมรับว่า ความสนใจในการใช้วัสดุชีวภาพเกิดขึ้นมากมายในปี 2021 โดยทาง Allbirds ได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพจากอ้อยสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบให้แก่หลายบริษัท เช่น Reebok และ Timberland โดยฟิงก์อธิบายว่า พืชและสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสาหร่ายและเชื้อรา สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ เพราะพวกมันดึงก๊าซชนิดนี้จากอากาศและเก็บไว้ในเซลล์ของตัวเอง มากกว่าที่จะผลิตและปล่อยก๊าซออกไป นอกจากนั้น […]

1 2 3 4 5 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.