‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน

การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt

‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin

พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde

‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะรูปดอกไม้ในเฉิงตู ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งนั่ง นอน และปีนเล่น

เก้าอี้ในพื้นที่สาธารณะมักเป็นม้านั่งรูปแบบต่างๆ ทั้งมีพนักพิง ไม่มีพนักพิง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกออกแบบมาในลักษณะที่เป็นเก้าอี้แนวยาวที่ตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามเท่าไรนัก แต่ที่บริเวณหน้าทางเข้าย่านการค้า ‘Luxezone Plaza’ ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน กลับมีดอกไม้ขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นว่าดอกไม้ดอกนั้นคือ ‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะที่ให้ทั้งความสวยงามท่ามกลางต้นไม้รอบด้าน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ออกแบบโดยสตูดิโอในประเทศจีน ‘Epiphany Architects’ โครงสร้างที่นั่งดอกไม้นี้เป็นไม้ที่วางเรียงกันอย่างสวยงาม ส่วนตัวฐานของดอกไม้นั้นเป็นกระจกหกบานที่ออกแบบให้กลมกลืนกับกลีบดอกไม้ ทำให้ดูเหมือนว่าดอกไม้กำลังลอยตัวอยู่ในอากาศ และยังทำให้ไม้ด้านบนเล่นแสงและเงา เกิดเป็นเอฟเฟกต์ที่สวยงาม ไม่เพียงแต่ไม้และกระจกเท่านั้น แต่ด้านในยังติดตั้งกล่องไฟเพื่อสร้างแสงสว่างและเสริมความสวยงามให้กับดอกไม้ดอกนี้ในยามค่ำคืน โดยผู้คนสามารถพักผ่อน นั่ง นอน หรือจะเอนตัวบนกลีบดอกไม้ก็ได้ รวมถึงยังเป็นเครื่องเล่นให้เด็กๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่นี้ได้ปีนป่ายกันอย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน นอกจากการใช้งานอย่างรอบด้านและความสวยงามของพื้นที่แล้ว ที่นั่งดอกไม้นี้ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ผสมผสานกันระหว่างธุรกิจและธรรมชาติที่ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้กับผู้คนที่มาใช้พื้นที่แห่งนี้ด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/547k4z8rEpiphany Architects | tinyurl.com/2p9nj3hj

‘Héroes de Tecamac Boulevard’ สวนสาธารณะแนวยาวในเม็กซิโก พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ตั้งอยู่กลางถนน

ภาพของพื้นที่สาธารณะส่วนใหญ่ที่เราคุ้นชินมักเป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ เพื่อง่ายต่อการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ แต่ทางตอนเหนือของเมืองเม็กซิโกซิตีมีพื้นที่สาธารณะแนวยาวแทรกอยู่ระหว่างกลางถนน เป็นพื้นที่ที่มีความยาวกว่า 2 กิโลเมตร ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า ‘Héroes de Tecamac Boulevard’ ผลงานจาก ‘Taller Capital’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมในเม็กซิโก ก่อนหน้าที่ Taller Capital จะเข้ามาปรับปรุงพื้นที่ ถนนสายนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่เกาะกลางถนนกลับสร้างไม่เสร็จ แถมยังก่อให้เกิดฝุ่นจำนวนมากอีกด้วย หลังจากที่ได้รับมอบหมายจาก ‘กระทรวงเกษตร เขตแดน และการพัฒนาเมือง’ (Ministry of Agriculture, Territory and Urban Development) ให้สร้างพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ทาง Taller Capital ได้ออกแบบพื้นที่ใหม่เพื่อขยายพื้นที่ให้คนเดินได้มากขึ้น พร้อมกับยกระดับทางเดินให้สูงขึ้นเพื่อความปลอดภัย รวมถึงแทรกกรวดภูเขาไฟเอาไว้ตามระดับขั้นบันได เพื่อดูดซับน้ำและเป็นตัวช่วยในการควบคุมฝุ่นด้วย ด้วยระยะกว้างกว่า 20 เมตรของโครงสร้างนี้ ทำให้ผู้คนสามารถใช้เส้นทางในการสัญจรได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังมีพื้นที่ไว้ทำกิจกรรมตามความยาวของสวนกว่า 2.1 กิโลเมตร Héroes de Tecamac Boulevard แห่งนี้เปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2021 […]

เปิดวาร์ปจุดพักผ่อนคนเมือง ‘สวนภูผา’ สวนสาธารณะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เตรียมเปิดให้ใช้บริการต้นปี 2566

ตอนนี้ในกรุงเทพฯ เริ่มมีพื้นที่สีเขียวให้ชาวกรุงได้ไปใช้เวลาผ่อนคลายจากงานและความวุ่นวายของเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่ใกล้ที่ไหนก็แวะไปชมธรรมชาติในเมืองกันได้ และอีกไม่นานนี้ โซนจตุจักรก็จะมีสวนน้องใหม่เพิ่มให้ชาวกรุงได้ไปพักผ่อนหย่อนใจ ใช้เวลาไปกับการรับลมชมต้นไม้ที่ ‘สวนภูผา’ สวนภูผาคือสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่จะเปิดให้ชาวกรุงได้ไปใช้งานกัน โดยสวนตั้งอยู่ติดกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ภายในรายล้อมไปด้วยต้นไม้สีเขียว มีทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่วิ่งเล่นสำหรับเด็ก และหอดูนกเพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติสำหรับคนที่สนใจอีกด้วย สวนภูผาจะเปิดให้ใช้บริการกันในช่วงต้นปี 2566 ใครที่เป็นสายพื้นที่สีเขียวอย่าลืมเพิ่มเข้าลิสต์เตรียมไปชมธรรมชาติในสวนแห่งใหม่นี้กัน

อวโลกิตะ : พื้นที่ภาวนาใจกลางสีลมที่เปิดให้คนเมืองเข้าใช้ฟรี

ในวันที่เหนื่อยล้า งานไม่เป็นดั่งใจ และอีกสารพันปัญหาของคนสู้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ชีวิตสู้กลับอย่างไม่ไยดี เย็นวันนั้นคุณเลือกที่จะพาตัวเองไปที่ไหนต่อ? บางครั้งเราแค่ต้องการที่นั่งเงียบๆ เพื่อให้ตัวเองได้หยุดคิดและไตร่ตรองสักพัก แต่ในเมืองที่พื้นที่สาธารณะน้อยอย่างกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนที่เปิดให้เราเข้าไปนั่งพักและใช้เวลาอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานได้ฟรีๆ บ้าง ท่ามกลางบรรยากาศอันเร่งรีบ แข่งขัน และตึกสูงรายล้อมในสีลมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง บนชั้น 9 ของอาคารตั้งฮั่วปัก ซอยสาทร 10 มีสเปซเล็กๆ ที่ชื่อว่า ‘อวโลกิตะ (Avalokita)’ ตั้งอยู่ ที่นี่คือ Meditation Space หรือพื้นที่ภาวนาที่เปิดให้คนเข้ามานั่งพัก อยู่กับตัวเอง เพื่อบ่มเพาะความรัก ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการใช้งาน และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ฟรีๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายหลังเลิกงานในเมืองกรุง มานั่งพักใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง  ภาพคนนั่งสมาธิในห้องเล็กๆ ท่ามกลางตึกสูงในสีลม ตัดกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักกับ ‘อวโลกิตะ’ และแค่ได้ยินว่าที่นี่เปิดให้เข้า ‘ฟรี’ ก็ยิ่งชวนแปลกใจ เพราะในเมืองที่ค่าครองชีพสูงแบบนี้ การจะเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใช้ได้ฟรีๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงนัดพบกับ แพร์-วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ กรรมการมูลนิธิวัชรปัญญา เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดในการทำอวโลกิตะเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พักใจของคนเมือง จุดเริ่มต้นของ ‘อวโลกิตะ’ AVALOKITA : […]

SoundCheck – Bangkok Street Noise เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ

เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ “ทำไมพื้นที่ที่ให้ความสุขทางเสียงดนตรี ถึงมีแต่ผับบาร์ หรือต้องไปคอนเสิร์ตฮอลล์” เมื่อเกิดคำถามว่าทำไม? Urban Soundcheck EP. นี้ อยากขอพาทุกคนมานั่งฟังดนตรีในสเปซที่ประชาชนทุกคนสามารถมีประสบการณ์ร่วมกัน กับกลุ่ม Bangkok Street Noise. จุดเริ่มต้นจากกลุ่มคนดนตรีกลุ่มเล็กๆ ที่อยากเล่นดนตรีนอกสถานที่ ได้เปลี่ยนพื้นที่เมืองธรรมดาๆ ที่โล่งและไม่มีคนใช้ในการจัดกิจกรรมดนตรี ทั้งใต้สะพานลอย ใต้ทางด่วน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรืออายุเท่าไร ก็สามารถมีสเปซและมีความสุขกับเสียงดนตรีร่วมกันได้ ก้าวเล็กๆ ของกลุ่ม Bangkok Street Noise ทำให้เมืองที่เราอยู่น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร และจะเป็นอย่างไร หากเมืองของเรามีสเปซแบบนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ติดตามได้จาก Urban Soundcheck นี้กัน! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #Soundcheck #Bangkok #street #song

noble PLAY พื้นที่หาแรงบันดาลใจ เดินดูงานศิลปะ นั่งคาเฟ่ กินมื้อสาย ติด BTS เพลินจิต เปิดเสาร์ที่ 23 เม.ย. นี้

noble PLAY – Inspiration Playground แห่งใหม่ใจกลางเมือง อยู่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต สเปซที่จะสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้คุณทุกครั้งที่ได้มา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนเมือง เสาร์ที่ 23 เม.ย. 65 นี้ noble PLAY พร้อมเปิดให้เข้าไปใช้บริการและเปิดให้เข้าไปเช็กอินแล้ว พบกับไฮไลต์กิจกรรม ดังนี้ Art Space : นิทรรศการ Evolution จาก Pichet Klunchun Dance Company ผลงานชุดใหม่ล่าสุดโดย พิเชษฐ กลั่นชื่น ร่วมกับ noble PLAY จัดแสดงผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และการร่วมมือกันของนักออกแบบท่าเต้น, นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์, นักสร้างภาพยนตร์, ประติมากร ไปจนถึงวิศวกรเครื่องกล เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการค้นคว้าหลักปรัชญาของ ‘หมายเลข 60’ เพื่อแสวงหาเสรีภาพของร่างกายและจิตวิญญาณร่วมสมัย (การแสดงเริ่ม 19.00 น. ระยะเวลา 45 นาที มีเฉพาะวันนี้เท่านั้น) Eatery […]

FYI

งานออกแบบพื้นที่สาธารณะไทยๆ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของนักออกแบบ แต่เป็นเรื่องของทุกคน

คุณเคยคิดไหมว่า พื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และในประเทศไทย มีเพียงพอต่อการใช้งานแล้วหรือยัง? ในบ้านเรามีจำนวน Public Space น้อยมากๆ ถ้าพูดถึงสถานที่ที่คนเมืองใช้นัดพบปะ และพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่ตัวเลือกแรกๆ ที่พอจะนึกออกก็คือ ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่ใช่ห้างฯ เราจะไปเจอกันที่ไหน?‘พื้นที่สาธารณะ’ กลายเป็นโจทย์ของพื้นที่อันท้าทาย ทำยังไงให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอันหลากหลาย เพราะสถานที่ที่มีอยู่ในบ้านเราก็ยากที่จะเรียกว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ ได้อย่างเต็มปาก ด้วยเงื่อนไข กฎ เกณฑ์ และเวลาที่ไม่ได้เอื้อต่อประชาชนคนทั่วไปใช้งานได้อย่างเต็มที่จริงๆ จึงเป็นที่มาของโจทย์และจุดประสงค์หลักให้กับงานประกวดที่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบ ‘Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร’ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทางความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จะสะท้อนมุมมอง ‘พื้นที่สาธารณะแบบไทยๆ’ ว่า สถานที่นั้นจะออกมาเป็นอย่างไรด้วยจินตนาการอันโลดแล่นของนักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งในระดับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เราได้มีโอกาสคุยกับทางคณะกรรมการ และผู้ชนะการประกวดครั้งนี้ จึงอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกถึงที่มาที่ไปความสำคัญของพื้นที่สาธารณะ และเปิดมุมมองจากไอเดียที่ตอบโจทย์ความเป็นไทยจนคว้าใจกรรมการ ไม่แน่เหมือนกันว่าบางผลงานอาจจะเป็นพื้นที่จริงในอนาคตให้ประชาชนอย่างเราได้มีส่วนในการใช้งานสาธารณะที่แท้จริงก็เป็นได้ […]

Ban Phru Cemetery Park ธีสิสเปลี่ยนสุสานบ้านพรุในหาดใหญ่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนเมือง

เมษายนคือช่วงเวลาที่ลูกหลานชาวจีนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้งใน ‘วันเช็งเม้ง’ ประเพณีสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่จะต้องไปเคารพและทำความสะอาดหลุมศพของบรรพบุรุษทุกๆ ปี  แต่เคยคิดกันไหมว่าพื้นที่สุสานที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นอกจากวันเช็งเม้งแล้ว พื้นที่หลายร้อยไร่ที่เราไปทุกปีได้ถูกใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาอื่นบ้างไหม? โดยเฉพาะสุสานที่อยู่ในย่านชุมชน อยู่ใกล้เมือง มีคนพลุกพล่าน ที่มีทั้งคุณค่าทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการใช้งานมากกว่าแค่ปีละครั้ง จะดีกว่าไหมถ้าสุสานที่อยู่ใกล้เมืองหลายแห่งถูกพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายโอกาส และเปิดให้คนภายนอกได้เข้าไปใช้งานนอกจากวันเช็งเม้งบ้าง  เก่ง-ศุภณัฐ อรุโณประโยชน์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือลูกหลานชาวจีนในหาดใหญ่ที่ไปเช็งเม้งที่ ‘สุสานบ้านพรุ’ เป็นประจำทุกปี และมองเห็นความเป็นไปได้ของพื้นที่นี้มากกว่าการมาเช็งเม้ง จึงออกมาเป็นธีสิส ‘Ban Phru Cemetery Park’ โครงการพัฒนา ‘สุสานบ้านพรุ’ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของคนในเมือง เพื่อให้คนในหาดใหญ่ได้เข้าถึงพื้นที่สีเขียว มีกิจกรรมนันทนาการ มีพื้นที่เชิงวัฒนธรรม และที่สำคัญคือช่วยเพิ่มยอดขายหลุมฝังศพบนพื้นที่ที่เหลืออยู่ให้กับสุสานบ้านพรุได้อีกด้วย ธีสิสที่เริ่มจากการไปเช็งเม้ง เก่งเล่าให้ฟังว่า เหตุผลที่เลือกสุสานบ้านพรุมาทำธีสิสเพราะที่นี่คือที่ที่เขาและครอบครัวต้องไปเช็งเม้งเป็นประจำทุกปี จึงมีความคุ้นเคยและผูกพันกับสุสานนี้เป็นพิเศษ “​​แรงบันดาลใจของธีสิสนี้มาจากตอนปี 4 ได้เรียนวิชา Intro to Urban Architecture ซึ่งมีไฟนอลโปรเจกต์ให้ทำ ตอนนั้นสนใจเกี่ยวกับพื้นที่สุสานในเมืองอยู่แล้ว และสนใจเรื่องการนำมาปรับใช้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ จึงได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสุสานแต้จิ๋วในสาทร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณแปดสิบห้าไร่ และเปิดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนโดยรอบเข้ามาใช้งานในเชิงสันทนาการได้ตั้งแต่ปี 2539 เป็นสุสานแรกๆ ที่เปิดให้คนเข้ามาใช้ทำกิจกรรมอย่างอื่นได้นอกจากพิธีธรรม” […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

Shenzhen Nanshan Sky Park เปลี่ยนที่ว่างบนดาดฟ้าสถานีรถไฟเป็นสวนสาธารณะ

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐยอมเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้? Shenzhen Nanshan Sky Park คือสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งใหม่ในเขตหนานซาน เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่แต่เดิมมาปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ของเมืองอย่างเต็มที่ โครงการนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Crossboundaries เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2018 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานในปี 2021 เป็นโครงการที่เปลี่ยนดาดฟ้าขนาดใหญ่ของอาคารโรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาว 1.2 กม. และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการ เปิดให้ประชาชนเข้ามาออกกำลังกายหรือใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะบนสวนลอยฟ้าแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น เห็นเส้นขอบฟ้าของเมืองเซินเจิ้นเป็นฉากหลัง และมองไปสุดปลายสะพานจะเห็นฮ่องกงอยู่ไม่ไกลนัก เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสะพานเซินเจิ้น-ฮ่องกง  Hao Dong ผู้ร่วมก่อตั้ง Crossboundaries กล่าวว่า “ในประเทศจีนโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมมักจะเป็นของรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์เลย โดยเฉพาะหลังคาของอาคารแห่งนี้ที่มีศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะที่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองโดยรอบสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” สวนลอยฟ้าแห่งนี้ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะกับคน 3 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป โรงเรียนในละแวกใกล้เคียง และคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา พื้นที่นี้จึงไม่ได้สร้างแค่สวนเปล่าๆ แล้วจบไป แต่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ตั้งแต่สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอลแบบ 5 คน ไปจนถึงสนามเทนนิสระดับมืออาชีพพร้อมที่นั่งสำหรับผู้ชม และเส้นทางวิ่งระยะทาง 1.2 กม. […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.