‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

‘Rotating Water Drop Park’ สวนสาธารณะที่คืนประโยชน์ให้กับผู้คนด้วยพื้นที่ที่หน้าตาเหมือนน้ำไหลวน

การปรับปรุงพื้นที่เมืองหลายครั้งอาจไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างในเมือง Yichang มณฑล Hubei ประเทศจีนเองก็เคยมีโครงการปรับปรุงพื้นที่ แต่กลับไม่ตอบโจทย์ด้านการอยู่อาศัย แถมยังทำให้พื้นที่คนเดินเท้าแออัดกว่าเดิม จึงมีการรื้อถอนอาคารบางส่วนบนหัวมุมถนนในใจกลางเขต Yiling ออกไป เมื่ออาคารถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทย์ใหม่ในการปรับปรุงพื้นที่คือการให้ความสำคัญกับผู้คน โดยมองถึงพื้นที่การเดินเท้า พื้นที่ที่ผู้คนสามารถใช้งานได้ และเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตของผู้คนในละแวก ที่ว่างนั้นจึงถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘สวนหยดน้ำ’ สวนสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สถาปนิกจาก ‘HID Landscape Architecture’ ออกแบบสวนแห่งนี้ให้มีความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนในเมืองออกมาทำกิจกรรมร่วมกันในสวนแห่งนี้ เช่น เป็นพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ขายของ พื้นที่เต้นรำของผู้สูงอายุ รวมไปถึงสนามเด็กเล่นของเด็กๆ หากมองจากมุมสูง สวนแห่งนี้จะมีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กำลังหมุนวนรอบบริเวณ จากม้านั่งและสวนดอกไม้รูปหยดน้ำที่วางเรียงกันเป็นวงกลม รวมไปถึงไฟ LED ที่ฝังไว้บนพื้นก็วางเรียงตามแนวเดียวกับหยดน้ำ เป็นลูกเล่นที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าน้ำในสวนแห่งนี้ไหลวนอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะเป็นในช่วงกลางคืนก็ตาม ส่วนหลังคาด้านบนที่ช่วยบดบังความร้อนให้กับคนที่เข้ามานั่งพักก็ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝน ช่วยเก็บน้ำฝนที่ลาดเอียงจากทิศใต้ไปทิศเหนือ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลไปตามหลังคาก่อนจะไหลลงมาสู่แอ่งเก็บน้ำฝนสเตนเลสที่พื้น ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและลูกเล่นของสวนที่น่าสนใจ ทำให้พื้นที่ที่เคยเงียบเหงาแห่งนี้กลับมาคึกคักจากการแวะเวียนเข้ามาใช้พื้นที่ในการพักผ่อน รวมไปถึงเสียงหัวเราะจากสนามเด็กเล่นตรงกลางที่ชวนให้เด็กๆ ได้สนุกสนานและเพลิดเพลินกับการใช้พื้นที่กันอย่างเต็มที่ Sources : Designboom | tinyurl.com/4htytzhcGooood | tinyurl.com/4mfrbtwt

‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น

ใครจะไปคิดว่าทางเข้าสวนสาธารณะก็สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ประชาชนที่เข้าไปใช้งานได้ด้วย เพราะปกติภาพทางเข้าสวนสาธารณะส่วนใหญ่มักเป็นประตูเหล็กทั่วๆ ไป เพื่อทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้เราเข้าไปเจอพื้นที่สีเขียวด้านใน‘Shenzhen People’s Park’ เปลี่ยนทางเข้าสวนสาธารณะให้เป็นงานศิลปะ พร้อมใช้งานได้หลากหลายขึ้น สวนสาธารณะประชาชนในเซินเจิ้น ที่ต้องการเพิ่มประโยชน์การใช้งานของพื้นที่สวนให้มากขึ้นและเหมาะสมกับผู้ใช้บริการ ได้จัดทำโครงการปรับปรุงพื้นที่โดยเปลี่ยนทางเข้าฝั่งตะวันออกของสวนสาธารณะให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้น ผ่านการออกแบบทางเข้าด้านทิศตะวันออกใหม่โดยบริษัทสถาปนิก REFORM ทั้งการปรับปรุงรูปลักษณ์ของทางเข้าสวนให้ดูทันสมัย ขยายพื้นที่บันไดกลางแจ้งเพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดิน รวมถึงติดตั้งบันไดเลื่อนและลิฟต์ที่จะพาคนทุกเพศทุกวัยเข้าสู่สวนได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงนี้มีแรงบันดาลใจจากดอกกุหลาบภายในสวน ทำให้ออกมาเป็นโครงสร้างหลังคาที่มีส่วนโค้งเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว เส้นโค้งเหล่านี้ยังเป็นการเลี่ยงการรบกวนต้นไม้ใหญ่อีกด้วย ตัวหลังคาที่ลาดเอียงนั้นได้รับการแต่งแต้มสีเขียวจากต้นไม้หลากหลายชนิด ดูกลมกลืนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ รวมไปถึงด้านล่างที่เป็นทางเข้าออกก็ออกแบบให้คล้ายกับถ้ำ ส่วนหลังคานั้นช่วยป้องกันเศษใบไม้ไม่ให้ร่วงใส่บันไดเลื่อน รวมไปถึงป้องกันแสงแดดและฝนให้กับผู้ที่ใช้ทางเข้าสวนสาธารณะแห่งนี้ มากไปกว่านั้น การออกแบบให้คล้ายถ้ำยังทำให้เมื่อลงบันไดเลื่อน ภาพของทิวทัศน์ด้านหน้าจะค่อยๆ กว้างขึ้นจนเห็นวิวทะเลสาบเต็มตาเมื่อลงมาจนสุดทาง เช่นเดียวกันกับเวลาขึ้นไปยังด้านบน ทิวทัศน์จะค่อยๆ ชัดขึ้นเมื่อผ่านโครงสร้างนี้ไปจนถึงพื้นสวน กลายเป็นภาพต้นไม้และหมู่เมฆบนท้องฟ้าที่สวยงาม Sources :Designboom | tinyurl.com/yck3jmvpREFORM | tinyurl.com/wtycuavy

ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์

‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]

เปิดวาร์ปจุดพักผ่อนคนเมือง ‘สวนภูผา’ สวนสาธารณะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เตรียมเปิดให้ใช้บริการต้นปี 2566

ตอนนี้ในกรุงเทพฯ เริ่มมีพื้นที่สีเขียวให้ชาวกรุงได้ไปใช้เวลาผ่อนคลายจากงานและความวุ่นวายของเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ อยู่ใกล้ที่ไหนก็แวะไปชมธรรมชาติในเมืองกันได้ และอีกไม่นานนี้ โซนจตุจักรก็จะมีสวนน้องใหม่เพิ่มให้ชาวกรุงได้ไปพักผ่อนหย่อนใจ ใช้เวลาไปกับการรับลมชมต้นไม้ที่ ‘สวนภูผา’ สวนภูผาคือสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่จะเปิดให้ชาวกรุงได้ไปใช้งานกัน โดยสวนตั้งอยู่ติดกับสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ภายในรายล้อมไปด้วยต้นไม้สีเขียว มีทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่วิ่งเล่นสำหรับเด็ก และหอดูนกเพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติสำหรับคนที่สนใจอีกด้วย สวนภูผาจะเปิดให้ใช้บริการกันในช่วงต้นปี 2566 ใครที่เป็นสายพื้นที่สีเขียวอย่าลืมเพิ่มเข้าลิสต์เตรียมไปชมธรรมชาติในสวนแห่งใหม่นี้กัน

Central Park เปิด Climate Lab เก็บข้อมูลศึกษาธรรมชาติในสวนฯ เพื่อต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง

สวนสาธารณะชื่อดังแห่งนิวยอร์ก กำลังเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการต่อสู้กับความเสื่อมโทรมของป่าในเมือง  หลังจากที่เฮอริเคนไอดาพัดเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมาจนมีปริมาณน้ำฝน 3.5 นิ้ว และสูงเป็นประวัติการณ์ใน Central Park จนเอ่อท่วมร้านอาหาร Boathouse ที่มีชื่อเสียง และสร้างความเสียหายให้ต้นไม้กว่า 50 ต้น Norman Selby สมาชิกของ Central Park Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลสวนสาธารณะแห่งนี้ ก็รู้ทันทีว่าถึงเวลาต้องทำอะไรบางอย่าง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง วิธีแก้ปัญหาของเขาคือการจัดตั้ง Central Park Climate Lab ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรื่องสัตว์ป่า พืชพรรณ และดินนับหลายสิบปีที่ Central Park Conservancy ให้เป็นประโยชน์ในอีกทางหนึ่ง เขาจึงบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น และเดินหน้าระดมทุนต่อเนื่อง ซึ่งต้องการเงินราว 4 – 5 ล้านดอลลาร์ เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายของห้องทดลองในอีก 3 ปีข้างหน้า  ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับแบ่งปันข้อมูลที่จะช่วยปกป้องพื้นที่สีเขียวให้กับสวนสาธารณะในเมืองต่างๆ ทั่วโลก และยังใช้เครื่องมือที่ช่วยในการระบุตำแหน่งในการเลือกฟื้นฟูสภาพป่า และแนะนำวิธีการปลูกพืชให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เมืองต่างๆ ทั่วโลก สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงที่สุด และช่วยลดความร้อนในพื้นที่สวน  “โครงการนี้อาจจะช่วยเป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้โลกเห็น […]

Shenzhen Nanshan Sky Park เปลี่ยนที่ว่างบนดาดฟ้าสถานีรถไฟเป็นสวนสาธารณะ

จะเป็นอย่างไรถ้ารัฐยอมเปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้? Shenzhen Nanshan Sky Park คือสวนสาธารณะลอยฟ้าแห่งใหม่ในเขตหนานซาน เมืองเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เป็นโครงการที่นำโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่มีอยู่แต่เดิมมาปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ของเมืองอย่างเต็มที่ โครงการนี้ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Crossboundaries เป็นโปรเจกต์ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2018 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานในปี 2021 เป็นโครงการที่เปลี่ยนดาดฟ้าขนาดใหญ่ของอาคารโรงจอดและโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของรัฐให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยออกแบบให้เป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า มีความยาว 1.2 กม. และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายกลางแจ้งไว้บริการ เปิดให้ประชาชนเข้ามาออกกำลังกายหรือใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ เพราะบนสวนลอยฟ้าแห่งนี้ถือเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของเมืองเซินเจิ้น เห็นเส้นขอบฟ้าของเมืองเซินเจิ้นเป็นฉากหลัง และมองไปสุดปลายสะพานจะเห็นฮ่องกงอยู่ไม่ไกลนัก เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสะพานเซินเจิ้น-ฮ่องกง  Hao Dong ผู้ร่วมก่อตั้ง Crossboundaries กล่าวว่า “ในประเทศจีนโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมมักจะเป็นของรัฐบาล และเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์เลย โดยเฉพาะหลังคาของอาคารแห่งนี้ที่มีศักยภาพมหาศาลในการเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะที่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้ในวงกว้างมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองโดยรอบสวยงามมากยิ่งขึ้นอีกด้วย” สวนลอยฟ้าแห่งนี้ออกแบบพื้นที่ให้เหมาะกับคน 3 กลุ่ม คือประชาชนทั่วไป โรงเรียนในละแวกใกล้เคียง และคนที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา พื้นที่นี้จึงไม่ได้สร้างแค่สวนเปล่าๆ แล้วจบไป แต่เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ตั้งแต่สนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอลแบบ 5 คน ไปจนถึงสนามเทนนิสระดับมืออาชีพพร้อมที่นั่งสำหรับผู้ชม และเส้นทางวิ่งระยะทาง 1.2 กม. […]

อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน

ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]

Park พื้นที่พักผ่อน (เฉพาะชนชั้นสูง) ที่มีมานาน แต่ต้องประท้วงถึงจะได้เป็นสวนของสาธารณะ

รู้หรือไม่ ‘Park’ อาจไม่ใช่พื้นที่สาธารณะตั้งแต่แรก เมื่อความแตกต่างของชนชั้นกลายเป็นเส้นแบ่งความอิสระของการใช้พื้นที่

กทม. เตรียมแผนปรับปรุงสวนลุมพินี เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ในปี 2568

“สวนลุมพินี” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สวนลุม” เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2468 และถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้มาใช้งานประมาณ 1-1.5 หมื่นคนต่อวัน ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงเตรียมแผนที่จะปรับภูมิทัศน์และปรับปรุงทัศนียภาพต่างๆ ภายในสวน เพื่อให้ที่นี่กลายเป็นสวนสาธารณะระดับโลกที่สร้างสรรค์และทันสมัย เพื่อเฉลิมฉลองสวนลุมพินีครบรอบ 100 ปี ในปี 2568 โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่าการปรับปรุงจะเป็น 3 เฟส ซึ่งเฟสแรกจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 ส่วนเฟส 2 จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ และเฟส 3 เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่เปิดใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

เที่ยวเมือง “ดับลิน” แบบฉบับ “เด็กเรียนต่อ”

ตึกรามบ้านช่องสไตล์ยุโรปตัดกับธรรมชาติเขียวขจี มิวเซียมเล็กใหญ่ สวนร่มรื่น คาเฟ่แสนน่ารัก เบียร์ดำต้นตำหรับ ไปจนถึงวิถีไนท์ไลฟ์ คือสิ่งที่เราได้สัมผัสจากหน้าฟีตเฟสบุ้กของเพื่อนที่ไปเรียนต่อดับลิน เราอยากรู้รายละเอียดยิบย่อยที่ซุกซ่อนอยู่ผ่านมุมมองของคนพื้นที่ เลยทักไปคุยกับเพื่อนผ่านไลน์ พอได้รู้เรื่องราว และเห็นภาพมุมต่างๆ ในดับลิน ก็อดเก็บความตื่นเต้นไว้คนเดียวไม่ได้ จึงหยิบสถานที่เหล่านั้นมาเล่าสู่กันฟัง รับรองว่า ถ้าอ่านจบจะต้องจด “ดับลิน” เข้าลิทส์เมืองที่ต้องไปให้ได้สักครั้งในชีวิตเหมือนกับเรา

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.