“สวนลุมพินี” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สวนลุม” เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2468 และถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้มาใช้งานประมาณ 1-1.5 หมื่นคนต่อวัน
ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงเตรียมแผนที่จะปรับภูมิทัศน์และปรับปรุงทัศนียภาพต่างๆ ภายในสวน เพื่อให้ที่นี่กลายเป็นสวนสาธารณะระดับโลกที่สร้างสรรค์และทันสมัย เพื่อเฉลิมฉลองสวนลุมพินีครบรอบ 100 ปี ในปี 2568
โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่าการปรับปรุงจะเป็น 3 เฟส ซึ่งเฟสแรกจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 ส่วนเฟส 2 จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ และเฟส 3 เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่เปิดใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
RELATED POSTS
‘Hisaya-odori Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะ 60 ปี ให้คึกคักขึ้น ผ่าน 4 โซน ใจกลางนาโกยา
เรื่อง
Urban Creature
ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจพื้นที่สาธารณะสีเขียวมาก จนเกิดเป็นโครงการ ‘Park-PFI’ สำหรับพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่เกษตรในชุมชนโดยเฉพาะ นำทีมโดยสำนักพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์แห่งกรมเมืองประจำกระทรวง ‘Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism’ ‘Hisaya-odori Park’ สวนสาธารณะอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี เขตซาคาเอะ ใจกลางเมืองนาโกยาเอง ก็เป็นหนึ่งในโครงการ Park-PFI ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ทั้งหมดเพื่อทำให้สวนสาธารณะเป็นมิตรต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวจากในและนอกประเทศมากขึ้น พื้นที่กว่า 8,136 ตารางเมตร ทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นสวนสีเขียวที่ทันสมัย ประกอบไปด้วยร้านค้ากว่า 35 ร้าน จากการออกแบบโดย ‘Nikken Sekkei Ltd., TAISEI CORPORATION’ บริษัทออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี พื้นที่ของ Hisaya-odori Park แบ่งออกเป็น 4 โซนหลักที่ผสมผสานความมีสไตล์เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไล่ระดับจากโซนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ไปสู่โซนที่ […]
Tainan Market ออกแบบหลังคาตลาดค้าส่งในไต้หวัน ให้เป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
เรื่อง
Urban Creature
การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่นักออกแบบคำนึงถึงอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานของอาคารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อตัวอาคารและทำให้ผู้คนใช้งานสถานที่เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ทาง MVRDV หรือสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ยังคงมุ่งเดินหน้าออกแบบความท้าทายใหม่ๆ ของการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยกระดับต่างไปจากเดิม ด้วยการออกแบบโครงการตลาดค้าผักและผลไม้แห่งใหม่ที่ชื่อว่า ‘Tainan Market’ ในย่านไถหนาน ประเทศไต้หวัน ที่สร้างแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2022 โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทีมสถาปนิกเชื่อว่า ตลาดค้าส่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและอาหารที่หล่อเลี้ยงผู้คน และจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นไปอีกหากมีฟังก์ชันให้ผู้คนสามารถมาพบปะ สังสรรค์ รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ด้วย MVRDV จึงออกแบบหลังคาโลหะซึ่งเป็นภาพคุ้นเคยของตลาดทั่วไป ให้กลายเป็นหลังคาที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ บริเวณส่วนหนึ่งบนหลังคาถูกออกแบบให้เปิดโล่ง มีพื้นที่กลางแจ้งที่เรียบง่าย มองไกลๆ จะเห็นหลังคาสีเขียวนี้มีลักษณะเป็นเนินภูเขา มีบันไดที่ชวนให้ผู้คนเดินขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจุดสูงสุดเพื่อชมวิวทิวทัศน์รอบๆ อาคารที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยในอนาคตหลังคาของตลาดแห่งนี้ยังอาจพัฒนาเพิ่มเติมให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและผลไม้ด้วย ส่วนพื้นที่อีกด้านหนึ่งของหลังคาคืออาคารสี่ชั้นที่ประกอบด้วยสำนักงานบริหารของตลาด และยังมีศูนย์นิทรรศการที่สามารถจัดแสดงสินค้าเกษตรจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการต่อเติมอาคารนี้ได้ทำการเจาะโครงสร้างหลัก ทำให้มีช่องทางเดินเข้าออกไปยังบริเวณหลังคาพื้นที่สาธารณะได้ บอกเลยว่าการจับจ่ายซื้อของจะทำได้อย่างสบายอารมณ์ เพราะในส่วนด้านล่างที่เป็นพื้นที่ของตลาดยังถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย โดยจัดสรรโครงสร้างให้เปิดออกทุกด้านและยกเพดานสูงโปร่งเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิดบนหลังคาในอนาคต ยังจะช่วยให้ตลาดแห่งนี้มีความเย็นแม้ไต้หวันจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน Source :Åvontuura | bit.ly/3JgNeZG
Park Pods พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นโรงงาน กับการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้สวนในเมือง
เรื่อง
Urban Creature
จบไปแล้วกับงาน Bangkok Design Week 2023 แต่หลากหลายกิจกรรมและนิทรรศการภายในงานยังคงมีส่วนร่วมในการส่งต่อความคิดเห็นที่จะร่วมด้วยช่วยกันเปลี่ยนแปลงเมืองแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘เมือง-มิตร-ดี’ ขึ้นจริงในอนาคต หนึ่งในนั้นคือ ‘Park Pods’ พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นที่เคลื่อนย้ายการติดตั้งในแต่ละวันไปยังสถานที่ต่างๆ รอบย่านนางเลิ้งในช่วงที่งานจัดขึ้น ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ของการมีพื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่ๆ ใจกลางเมือง Park Pods เป็นผลงานการร่วมมือกันระหว่าง Weekend gardens, Precious Plastic, Weave Artisan และ Urban Studies Lab (USL) ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะขึ้นมาบนรถเข็นอุตสาหกรรม (Push Cart) จากโรงงานฟอร์ดที่ปลดระวางพลาสติกรีไซเคิลและเฟอร์นิเจอร์ใช้แล้ว เพื่อท้าทายบรรทัดฐานของพื้นที่สาธารณะแบบเดิมๆ ด้วยการสร้างพื้นที่สาธารณะที่มีตั้งแต่สวน ตู้หนังสือ ที่นั่ง ห้องหลบมุม ตาข่ายเอนตัว หรือแม้กระทั่งโต๊ะหมากรุกขึ้น แต่ละ Park Pods มีขนาดเพียง 10 ตารางเมตร แต่จะมีการพยายามใช้วัสดุรีไซเคิลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถอดประกอบได้ง่ายสำหรับการขนย้ายเมื่อเกิดปัญหาหรือจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในระหว่างการจัดตั้งชิ้นงานประมาณ 9 วันในย่านนางเลิ้ง Park Pods ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งผู้เข้าร่วมงานและคนในชุมชนเอง ทำให้แม้ปัจจุบันมันจะถูกเก็บกลับมาเพื่อรอคอยการร่วมมือใหม่ๆ […]
Pink Lane : Ekkamai Pocket Park แนวคิดออกแบบสวนย่านเอกมัย แก้ปัญหาพื้นที่จำกัด เชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียว
เรื่อง
Urban Creature
‘ย่านเอกมัย’ ที่มองจากภายนอกอาจดูเหมือนเต็มไปด้วยผู้คน ร้านอาหาร สถานบันเทิง และที่อยู่อาศัย แต่ความจริงแล้วบริเวณปากทางเข้าเขตเอกมัย ด้านหลัง ‘สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์’ สวนสาธารณะที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ก็มีพื้นที่สีเขียวขนาด 5.6 ไร่ ที่ในอดีตถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่เช่นกัน เพื่อดึงเอาพื้นที่สีเขียวให้เข้ามาใกล้ชิดกับผู้คนในย่านมากขึ้น ทาง ‘We!Park’ แพลตฟอร์มกลางของการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมือง ได้จัดงานประกวดออกแบบพื้นที่สวนป่าเอกมัย ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพมหานคร สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และสำนักงานเขตวัฒนา โดยมี ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ ผลงานการออกแบบร่วมกันของบริษัทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ‘REC : recreationbkk’ และนักออกแบบ ‘Ratio Trakoolsajjawat’ เป็นหนึ่งใน ‘Landscape Design Proposal’ ที่ส่งเข้าประกวด ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ คือแนวคิดสวนสาธารณะในย่านเอกมัย ที่ต้องการทลายปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่ และเชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียวด้วยทางเดินยาวสีชมพู Pink Lane […]