เยี่ยมย่าน…ซอยนานา จากถิ่นจิ๊กโก๋ ตรอกขายยาจีน ผลัดใบสู่ย่านที่ไม่เคยหลับใหล

พาเยือนซอยนานาแห่งเยาวราช ในวันที่ต้องหยุดชะงักความคึกเพราะโควิด-19

ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ

ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย

‘ทรงวาด’ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดแห่งพระนคร

จุดเริ่มต้นของย่าน ‘ทรงวาด’ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้หลายครั้งเพราะความแออัดของชุมชน และตัวอาคารที่เป็นไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงวาดแนวถนนบนแผนที่ขึ้นมาใหม่ เป็นเส้นตรงจากท่าน้ำราชวงศ์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดปทุมคงคาฯ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ย่านสำเพ็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลูกสร้างอาคารอย่างเดิม ตึกรามบ้านช่องก็จะแน่นหาทางเดินไม่ได้ และรับสั่งให้เปิดเป็นถนน รถราจะได้มีโอกาสแล่น ไม่ต้องแออัด เมื่อสำเร็จความเจริญก็เข้ามาถึง ถนนสายนี้จึงมีนามว่า ‘ทรงวาด’ เวลา 09.00 น. แสงแดดสาดส่องยังตึกเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล ที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูหน้าต่างแบบกอทิก ประดับประดาด้วยไม้ฉลุสีเขียวอย่างวิจิตร ตึกแห่งนี้เคยเป็นห้างขายผ้าที่นำเข้าจากอินเดีย จนมีชื่อเล่นว่า ‘ตึกแขก’ มนตร์เสน่ห์ของตึกแขกดึงดูดทุกสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณหัวมุมถนนทรงวาดตัดกับถนนราชวงศ์ รวมถึงเชื้อเชิญให้เราเข้าไปเยือนถนนทรงวาด เพื่อตามหาร่องรอยอารยธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังถนนย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดของพระนคร ร่องรอยความรุ่งเรืองของย่านทรงวาด เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปยังทรงวาด เพียงไม่กี่ก้าวเราก็พบร้านค้าพืชพันธุ์ทางการเกษตรตลอดสองข้างทาง ได้เห็นตึกแถวที่เป็นโกดังสินค้า รถเข็นของ คนยกกระสอบ รถบรรทุก และนกพิราบที่คอยกินพืชผลที่หล่นจากกระสอบ ซึ่งภาพทั้งหมดฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงหลงเหลือ มีหนึ่งเรื่องเล่าตลกๆ ที่คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้เราฟัง สมัยก่อนถ้าคุณต้องการพืชพันธุ์แค่หยิบมือ ให้เดินไปหยิบจากกระสอบได้เลย ไม่ต้องซื้อ เรื่องเล่านี้ตีความได้หลายแง่ อาจจะหมายถึงร้านค้าแถวนี้เน้นการขายส่งเป็นหลัก หรือในอีกความหมายหนึ่ง อาจจะหมายถึงความร่ำรวยของพ่อค้าแม่ค้าบนถนนสายนี้ก็ว่าได้ หากเราบอกว่าเมื่อเกือบร้อยปีก่อนท่าน้ำที่ปัจจุบันไร้เงาเรือ เต็มไปด้วยเรือน้อยใหญ่จอดเทียบเต็มน่านน้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เพราะปัจจุบันท่าเรือเหล่านี้คงเหลือไว้เพียงเค้าลางที่ยังพอเล่าอดีตให้เราฟังได้ว่า ‘ทรงวาด’ เคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญทางเรือ สังเกตได้จากเสาท่าเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดแนวแม่น้ำ […]

หลายชีวิต หลากความคิดที่ ‘อิสรภาพ’ ถนนสายเก่าย่านฝั่งธนฯ

‘อิสรภาพ’ ที่แท้จริงคืออะไร ใครเป็นผู้กำหนด นี่เป็นคำถามที่มนุษย์หลายคนพยายามหาคำตอบ เกือบทั้งชีวิตในการหาคำจำกัดความให้คำนี้อยู่เสมอ และหลายครั้งคนเราก็นำไปนิยามสิ่งต่างๆ ในหลายบริบท ไม่ว่าจะวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งชื่อของ ‘ถนน’

เมื่อความเงียบเหงา ทำให้เรารู้จัก ‘ข้าวสาร’ Nightlife Scene ในวันที่เปลี่ยนแปลงไป

ชวนรู้จักถนนข้าวสารให้มากขึ้น กับงาน Khao San Hide and Seek: เข้าซอย ข้าวสาร โดยทีมศิลปากร

สูดกลิ่นหอมกรุ่นจากหอมเหาะ ชุมชนคนทำกาแฟ บนดอยสูงแห่งแม่ฮ่องสอน

คงไม่บ่อยนัก ที่เราจะรู้จักแหล่งที่มาของ ‘กาแฟ’ ที่เราดื่ม และจะมีสักกี่ครั้งในชีวิตที่ได้สูดกลิ่นพร้อมจิบกาแฟจากแหล่งจริงๆ เหล่านี้ดึงดูดให้เราขับรถผ่านโค้งนับพัน และฝ่าสายหมอกไปยังตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อไปเข้าใจศาสตร์กาแฟกับ ‘วิสาหกิจชุมชนหอมเหาะ’ ที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นดี และน่าสนใจตรงที่เป็นจังหวัดที่เพิ่งมาจริงจังเรื่องกาแฟไม่นานนัก ซึ่งการไปแม่ฮ่องสอนครั้งนี้ นอกเหนือจากการเอาร่างกายไปปะทะลมหนาว และคลุกคลีตีโมงกับกาแฟกันจนหนำใจ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรายิ้มตาม คือการที่คนทำกาแฟทุกชีวิตตั้งใจให้ชุมชนเล็กๆ ในจังหวัดที่ได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในประเทศ สามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ‘แม่ฮ่องสอน’ เป็นจังหวัดที่ต้องใช้ความตั้งใจในการไปเยือน เพราะกว่าจะถึงเมืองแห่งสายหมอกแห่งนี้ต้องขับรถผ่านโค้งนับพัน ใครที่ใจสู้ไม่ไหวก็คงคิดหนักแน่นอน แต่ดูเหมือนว่าความอุดมสมบูรณ์ อากาศดีแบบที่หาไม่ได้ในกรุงเทพฯ และความอยากดื่มด่ำกาแฟแม่ฮ่องสอนของเราจะเอาชนะอาการเมารถได้เป็นปลิดทิ้ง ทำไมต้องมาถึงวิสาหกิจชุมชนหอมเหาะ คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย นั่นเพราะที่นี่เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปลูกกาแฟหลักของแม่ฮ่องสอน ซึ่งจากที่เราได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นมาของชาวแม่เหาะ ก็ต้องยอมรับเลยว่า กาแฟกับคนแม่ฮ่องสอนถือเป็นความผูกพันที่ไม่อาจแยกจากกันได้ เพราะแม้แต่หน้าบ้านยังมีต้นกาแฟน้อยใหญ่แย่งกันขึ้นหลังละสองสามต้น แม้การปลูกกาแฟจะไม่ใช่เรื่องใหม่ของที่นี่ แต่ถ้าเป็นระดับอุตสาหกรรมแล้วล่ะก็ แม่ฮ่องสอนยังถือเป็นน้องใหม่หากเทียบกับเชียงใหม่หรือเชียงราย ปลูกกาแฟ เขาว่ายิ่งสูงยิ่งดี! แม่ฮ่องสอนเลยได้เปรียบตรงจุดนี้ไป ซึ่งที่นี่สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร และไม่ต้องถามถึงคุณภาพของเมล็ดกาแฟเลย เพราะการปลูกแบบผสมจนกลมกลืนกับป่าธรรมชาติ บวกกับสภาพอากาศที่เย็นฉ่ำตลอดทั้งปี ต้นกาแฟเลยได้รับสารอาหารจนอิ่ม และเป็นกาแฟที่มีคุณภาพไม่แพ้ใคร โดยความน่าทึ่งของผลไม้สุดเท่อย่าง ‘กาแฟ’ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับแหล่งปลูกนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี กลายเป็นเสน่ห์ของกลิ่น รส และสัมผัสที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น […]

เยือนถิ่น ‘จันทบุรี’ เมืองผลไม้แดนตะวันออก วานให้เด็กเมืองจันท์เป็นผู้นำทาง

ขับรถตระเวน และเดินเตาะแตะที่ ‘จันทบุรี’ โดยมีเจ้าถิ่นเด็กเมืองจันท์เป็นไกด์เฉพาะกิจ

บันทึกย้อนวัยสมัยขาสั้น ณ ย่านพญาไท ดินแดนหอพักและกวดวิชาที่หลายคนเคยพักพิง

ชวนย้อนความทรงจำวัยมัธยมฯ กับย่านที่มีหอพักและกวดวิชามากที่สุด

ตีตั๋วเข้าพิพิธภัณฑ์ ฟังเรื่อง ‘พระนคร’

ชักชวนทุกคนร่วมทริป ลัดเลาะเข้า 9 พิพิธภัณฑ์ที่พระนครและละแวกใกล้เคียงอย่าง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อเรียนรู้เมืองเก่าของกรุงเทพฯ ในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ตำรับยา และการศึกษาไปพร้อมกัน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.