‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

‘Vibra’ เครื่องดนตรีที่ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการได้ยินเล่นดนตรีได้ผ่านสี การสั่นสะเทือน และการมองภาพ

ปัจจุบัน ‘ดนตรี’ เป็นสื่อที่ไม่จำกัดสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะผู้บกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นคนหูหนวกหรือคนหูตึงก็สามารถเรียนรู้การเล่นดนตรีได้ แต่ด้วยความที่เครื่องดนตรีมักต้องอาศัยการฟังเป็นหลัก หากมีตัวช่วยที่ทำให้การเรียนรู้และการเล่นดนตรีสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินสะดวกขึ้นก็ย่อมเป็นเรื่องดีไม่น้อย ‘Vibra’ คือเครื่องดนตรีและบริการใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินสามารถเล่นดนตรีได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการทำงานของ Vibra แตกต่างจากเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ใช้การตอบสนองจากเสียงเพียงอย่างเดียว โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้จะเพิ่มสีสัน การสัมผัสผ่านแรงสั่นสะเทือน รวมถึงข้อมูลภาพจากแอปพลิเคชันให้ผู้ใช้งานได้เห็นภาพดนตรีของตัวเอง และจากการมองเห็นภาพแทนการฟังเสียงอย่างเดียวนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานเล่นดนตรีได้ง่ายขึ้น หรือหากใครไม่มีประสบการณ์ทางด้านดนตรีก็สามารถเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ พร้อมทั้งฝึกฝนการเล่นดนตรีผ่านการใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ด้วย ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาด ทำให้ Vibra ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ 4 คนคือ ‘Ahn Taegwang’, ‘Go Yeongseok’, ‘Hwang Jimin’ และ ‘Lee Wonjae’ ได้รับรางวัล Red Dot Award : Design Concept 2023 Sources :Red Dot | red-dot.org/project/vibra-65884Yanko Design | tinyurl.com/mtpk3rhe

‘Song From Plastic’ ขยะพลาสติกที่ทำหน้าที่แทนแผ่นเสียง ผลงานที่ตระหนักถึงการทิ้งขยะไว้เบื้องหลัง

หลายคนอาจเคยเห็น ‘แผ่นเสียง’ ที่ทำจากขยะหรือพลาสติกชีวภาพกันมาบ้างแล้ว เพื่อเป็นทางออกให้กับปัญหามลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรมดนตรี และสื่อสารประเด็นเรื่องความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม แต่ผลงานแผ่นเสียงของศิลปินดูโอจากเกาหลีอย่าง Ujoo + Limheeyoung นั้นแตกต่างออกไป เพราะพวกเขาไม่ได้นำขยะพลาสติกมาแปรสภาพให้เป็นของชิ้นใหม่ แต่เลือกที่จะนำขยะเหล่านั้นมาใช้แทนแผ่นเสียงไปเลย  ศิลปินบรรเลงเพลงผ่านสิ่งของแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา กล่องเทปคาสเซต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่ใช้งานไม่ได้แล้วก็ตาม โดยสร้างร่องบนพื้นผิวของวัตถุเพื่อให้เกิดเป็นเสียงเพลงหรือเสียงต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เมื่อนำไปติดตั้งเซนเซอร์แล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะเริ่มบรรเลงดนตรีเมื่อมีคนเข้าใกล้ภายในรัศมี 1.5 เมตร แผ่นเสียงรูปทรงแปลกตาทั้งหมดนี้กลายเป็นผลงานชื่อว่า ‘Song From Plastic’ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ Amorepacific กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อไม่นานมานี้ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานชุดนี้กล่าวว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจมาจากสารคดีเรื่อง Anthropocene ที่พูดถึงเสียงของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วดังออกมาจากฟอสซิลพลาสติกที่ค้นพบโดยสิ่งมีชีวิตจากอนาคตหลายหมื่นปี จึงเกิดเป็นผลงาน Song From Plastic สร้างจากอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกและเล่นเสียงจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งแล้ว  แม้ว่า Song From Plastic จะเป็นเพียงการบันทึกเสียงธรรมดาๆ ที่หาฟังได้ทั่วไป แต่ตัวผลงานได้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์ผ่านเสียงที่ออกมาจากขยะพลาสติก และอยากให้ผู้คนได้ตระหนักและตั้งคำถามว่า หากจะทิ้งร่องรอยของความเป็นมนุษย์สำหรับการค้นพบในอีกหลายหมื่นปีข้างหน้า สิ่งที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังควรจะเป็นของอย่างอื่นมากกว่าขยะพลาสติกหรือไม่ Sources : Designboom | bit.ly/3FZmPzD  […]

Art is a Way of Life 5 สารคดีเบื้องหลังศิลปะที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาสุดเพอร์เฟกต์สำหรับคนที่อยากพักผ่อนหรือนอนดู Netflix อยู่บ้านแบบชิลๆ จะได้อยู่กับตัวเองและชาร์จพลังอย่างเต็มที่ ส่วนใครอยากหาแรงบันดาลใจและจุดประกายไอเดียใหม่ ไปพร้อมๆ กับการพักกายพักใจโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน ก็ทำได้เช่นกัน  เราอยากชวนทุกคนเปิดโลกแห่งไอเดียสร้างสรรค์ไปกับ 5 สารคดีแห่งจินตนาการและความคิดสุดบรรเจิด ที่จะพาทุกคนสำรวจความจริงและเบื้องหลังของศิลปะแขนงต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เช่น การออกแบบ การทำอาหาร การถ่ายภาพ ดนตรี ไปจนถึงผลงานจากดอกไม้ไฟขนาดมหึมา ผ่านเรื่องราวน่าประทับใจและจังหวะการเล่าเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดและชีวิตของเหล่าศิลปินแบบถึงแก่น ต้องบอกก่อนเลยว่าสารคดีที่เราคัดสรรมาไม่น่าเบื่อจนชวนหลับอย่างที่หลายคนคิด แต่เต็มไปด้วยซีนสนุกๆ และน่าตื่นเต้นไม่ต่างจากหนังหรือซีรีส์ดีๆ สักเรื่องเลย เราเชื่อว่าหลังดูจบหลายคนจะมีไอเดียสร้างสรรค์พลุ่งพล่าน พร้อมกลับไปทำงานและลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ หลังวันหยุดยาวแน่นอน 01 | Abstract: The Art of Design ซึมซับดีไซน์ล้ำสมัยจากเหล่านักออกแบบระดับโลก หากสังเกตดีๆ ทุกคนจะเห็นว่ารอบตัวของเราล้วนโอบล้อมไปด้วยผลผลิตของ ‘การออกแบบ’ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ดีไซน์รถยนต์ บรรจุภัณฑ์ ภาพวาดประกอบ ปกนิตยสาร ตัวอักษร ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้าที่เราสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ากว่าผลงานและสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตสู่สายตาชาวโลก พวกมันต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบที่ละเอียดถี่ถ้วนขนาดไหน และเบื้องหลังของผลงานแต่ละชิ้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ช่วงวันหยุดยาวทั้งที เราจึงอยากชวนทุกคนดู ‘Abstract: The Art of […]

แจกเพลย์ลิสต์เสียงธรรมชาติในไทย จาก Hear & Found เซฟไว้ฟังตอน WFH

ช่วงนี้หลายออฟฟิศยังคง Work from Home กันยาวๆ แถมสถานการณ์นอกบ้านก็ไม่ค่อยน่าไว้ใจอีกแล้ว ระหว่างทำงานไป กังวลกับโควิดไป เราอยากชวนหาเวลาพักสั้นๆ ระหว่างวันด้วยการฟังเพลย์ลิสต์เสียงธรรมชาติในไทย จาก Hear & Found ของ เม-ศิรษา บุญมา และ รักษ์-ปานสิตา ศศิรวุฒิ ผู้สร้างแพลตฟอร์มที่ทำให้คนเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านเสียง เพลง คอนเสิร์ต และยังช่วยสร้างรายได้ให้กับศิลปินกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านการจำหน่ายเสียงและเพลงอีกด้วย  แล้วเสียงธรรมชาติเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในไทยยังไง ถ้าอยากรู้เชิญกดฟังเพลย์ลิสต์นี้ t.ly/msVt และอ่านเรื่องราวแนวคิดเบื้องหลังของเสียงเหล่านี้ประกอบกันได้เลย เวลาต้องการสมาธิ หลายคนมักจะชอบเสิร์ชคำว่า ‘Relaxtion Song’ ในยูทูบเพื่อหาเพลย์ลิสต์ยาวๆ เพื่อฟังขณะทำงานเพื่อให้ตัวเองโฟกัสมากขึ้น หรือบางคนก็ใช้เสียงธรรมชาติเหล่านี้เพื่อการพักผ่อน ฟังเพื่อให้สมองปลอดโปร่งหรือคลายมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเพลย์ลิสต์ของต่างประเทศ ในฐานะที่ทำงานกับเสียงเพลงและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยร่วมกับป่าอยู่แล้ว Hear & Found จึงเก็บเสียงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่ดูแลโดยกลุ่มชาติพันธุ์มาทำเป็น Relaxing Sound ในประเทศไทยให้เราฟัง ซึ่งนอกจากฟังเพลินเหมือนเดินเล่นอยู่ในป่าแล้ว เสียงเหล่านี้ยังมีเรื่องราวและวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เราสัมผัสได้ถึงความมีชีวิตชีวาอยู่ในนั้นด้วย Relaxing Sound – Forest Ambient in Thailand […]

World-shaped Box เพลงจากคนธรรมดาที่กระซิบข้างหูรัฐบาลว่า “ทำอะไร อย่าคิดว่าประชาชนไม่รู้”

รัฐบาลดันทุรังจัดซื้อเรือดำน้ำในขณะที่ประชาชนกำลังล้มตายจากพิษเศรษฐกิจ แต่กลับทำอะไรไม่ได้เพราะถูกขังอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงที่อยากลุกขึ้นมาสะท้อนการเมืองในปัจจุบัน

ฟังเพลงฟังก์ผีอินดี้ Ghost Story จากวง Ford Trio

“โปรดรับชม รับฟังอย่างมีวิจารณญาณ” คำแนะนำที่อยากให้ทุกคนตั้งใจอ่านบทความนี้ เพราะเราจะชวนมาฟัง ‘Ghost Story’ เพลงผีๆ ของวงอินดี้หน้าใหม่ ‘Ford Trio’ ที่มี ‘ฝอด’ อยู่เบื้องหลังการแต่งเพลงโดยหยิบไอเดียจาก ‘เดอะ โกสต์ เรดิโอ’ มาใส่ดนตรีฟังก์ที่ฟังกี่รอบก็สนุก เพื่อตั้งคำถามกับประเด็น ‘ความเชื่อ’ ในสังคมไทย

เรื่องเล่าคลุกตัวโน้ตของ “ปูม” Seen Scene Space

เปิดหูฟัง เปิดสมองคิดไปกับ ‘ปูม-ปิยสุ’ ผู้ก่อตั้ง Seen Scene Space โปรโมเตอร์จัดคอนเสิร์ตสายอินดี้เอเชีย ถึงเรื่อง
ราวล้มลุกคลุกคลานตั้งแต่วันที่เขายังมองตัวเองว่า ‘เป็นเป็ดเล่นดนตรี’ จนถึงวันที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในตัวท็อปแห่งวงการเพลงอินดี้เอเชีย

‘หลักสูตรดุริยางคศิลป์’ ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคที่ใครก็ทำเพลงได้ ?

ก้าวมาสู่ยุคที่ใครก็สามารถเรียนดนตรีได้ด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต ทำเพลงลงยูทูป สร้างเงินได้อย่างอิสระ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและทำให้โลกดนตรีเปิดกว้างมากกว่าเคย แล้วหลักสูตรดนตรี ยังมีความสำคัญอยู่หรือไม่ ?

10 เพลงเเชร์ความรู้สึกช่วง ‘COVID-19’

วันนี้พวกเราขออาสาเป็นดีเจคลายเหงา และให้กำลังใจกันด้วยเพลลิสต์ที่คัดมาจากใจชาวออฟฟิศ Urban Creature เพื่อบอกเล่าความรู้สึกในช่วง COVID-19 ให้ฟังกัน

Concert From Home รวมศิลปินไลฟ์สด อยู่บ้านไม่มีเหงา

สลัดความเบื่อทิ้ง มาฟังศิลปินทั้งไทยและเทศที่ออกมาไลฟ์สดเล่นดนตรีร้องเพลงให้พวกเราฟังกันเถอะ เหมือนได้ดูมินิคอนเสิร์ตย่อมๆ ในจอสี่เหลี่ยมที่เราไม่ต้องเสียงเงินแม้แต่บาทเดียว

MILK ! แพลตฟอร์มสำหรับศิลปินอิสระที่เปิดให้เรียนรู้วงการเพลงโดยไม่ต้องมีสังกัด

แพสชั่น คำที่ผลักดันให้คนทำงานดนตรียังคงก้าวเดินในเส้นทางแห่งตัวโน้ตอย่างไม่ย่อท้อ แต่หากจะดีถ้ามีแพสชั่นพร้อมกับ โอกาส ที่เปิดลู่ทางให้พวกเขาได้เติบโต “MILK ! เกิดขึ้นมาเพื่อหล่อเลี้ยงแพสชั่นของคนที่หลงใหลในเสียงเพลงไม่ว่าจะแนวเพลงแบบไหนก็ตาม” มอย – สามขวัญ ตันสมพงษ์, บอล – ต่อพงศ์ จันทบุบผา จากวง Scrubb และออน –ชิชญาสุ์ กรรณสูต สามผู้บริหารค่ายเพลง What The Duck จึงขอเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่หยิบยื่นให้ ‘คนทำเพลงรุ่นใหม่’ ได้มีพื้นที่โชว์ของภายใต้ ‘ความอิสระ’ ผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า MILK ! ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อศิลปินเท่านั้นแต่ยังขยายออกไปยังคนฟังที่จะได้สัมผัสแนวดนตรีแปลกใหม่ ได้เห็นความสร้างสรรค์และพัฒนาคอมมูนิตี้วงการดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้น วันนี้เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับ ‘พี่มอย’ และ ‘พี่บอล’ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม MILK ! ที่พยายามเข้าใจ และเข้าถึงศิลปินรุ่นใหม่ให้มากที่สุด โดยไม่วางตัวเองว่าเป็น ‘ค่าย’ เพื่อนำเสนอผลงาน พัฒนา สนับสนุนศิลปินให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ภายใต้ความอิสระที่ยังคงเอกลักษณ์และตัวตนของตัวเองให้ได้มากที่สุด | MILK ! ที่ไม่ใช่นม แต่คือความอิสระเพื่อศิลปินรุ่นใหม่ “มีศิลปินอิสระรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีสังกัดค่ายเพลงจำนวนมากอยู่บนโลกโซเชียลแล้วจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้คอมมูนิตี้ของวงการดนตรีดีขึ้น” […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.