‘นาฬิกาวันสิ้นโลก’ ปรับเหลือ 100 วินาที สัญญาณชี้ โลกเข้าใกล้หายนะ

“ยิ่งเข็มนาฬิกาเดินทางเข้าใกล้เที่ยงคืน โลกยิ่งเสี่ยงที่จะล่มสลาย” นาฬิกาวันสิ้นโลก หรือ Doomsday Clock ไม่ใช่เครื่องบอกเวลาจริงๆ แต่เป็นนาฬิกาเชิงสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไปได้ที่โลกจะเกิดมหันตภัยจากน้ำมือมนุษย์ เพื่อย้ำเตือนให้ผู้นำโลกหันหน้าคุยกัน เร่งแก้ไข และใส่ใจปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก นาฬิกานี้ถูกออกแบบเมื่อปี ค.ศ. 1947 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ด้านนิวเคลียร์ หรือ BAS (Bulletin of the Atomic Scientists) ซึ่งพวกเขาจะประเมินสถานการณ์โลกในช่วงนั้น และใช้หน้าปัดนาฬิกาเป็นตัวสื่อความหมายว่า ยิ่งเข็มนาฬิกาเข้าใกล้เที่ยงคืนมากเท่าไร โลกก็ยิ่งเสี่ยงล่มสลายมากเท่านั้น สำหรับปี ค.ศ. 2020 นี้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ปรับนาฬิกาวันสิ้นโลกเหลือแค่ ‘100 วินาที’ ก่อนที่จะถึงเที่ยงคืน เรียกได้ว่า วันโลกาวินาศคงจะใกล้เข้ามาในอีกไม่ช้า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่พวกเขาปรับนาฬิกาให้เข้าใกล้เที่ยงคืนมากขึ้นทุกที เพราะในปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ ก็เรียกได้ว่ามีแต่ข่าวร้ายๆ เกิดขึ้นบนโลก ทั้งปัญหาโลกร้อน หายนะทางธรรมชาติ เชื้อไวรัสพรากชีวิตคน ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ไปจนถึงภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์ นั่นหมายถึงว่า มวลมนุษยชาติต้องเร่งแก้ปัญหาต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อถนอมโลกของเราให้เข็มนาฬิกาเดินย้อนถอยหลังลงไปบ้าง SOURCEcnn.it/37xaQFa bit.ly/37v4bLF bit.ly/38DEOYm

EAT

‘Plant-Based Diet’ สูตรการกินลดเสี่ยงโรค NCDs

ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ที่จะปรับการกินให้รักตัวเองมากขึ้นด้วย ‘Plant-Based Diet’ สูตรการกินลดเสี่ยงโรค Non-Communicable diseases  เพราะการกินนั้นสำคัญไฉน ไม่ใช่แค่ให้ท้องตึงหนังตาหย่อน แต่ต้องช่วยเติมพลังและฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย อีกทั้งการเลือกกิน ‘อาหารที่ดี’ จะช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บได้ ซึ่งโรคฮอตฮิตที่คนนิยมเป็นบ่อย คือกลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อะไรคือกลุ่มโรค NCDs ? เรียกว่าเป็นโรคภัยที่อยู่ใกล้ตัวของเราก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง หรือโรคเบาหวาน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราโดยตรง ทั้งการกินอาหารรสจัด อาหารปิ้งย่าง การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การนอนดึก หรือความเครียดสะสม ย่อมส่งผลให้โรคเหล่านี้วิ่งเข้ามาหาเราเร็วมากขึ้น ซึ่งสถิติจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ระบุว่า กลุ่มโรค NCDs มีอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกคิดเป็น 71% หรือ 41 ล้านคนต่อปี โดยประมาณ 35 ล้านคนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคนี้ กินอาหารฉบับ […]

กำหนดลมปราณ ฝึกกำลังภายในกับ ‘หยาง เผยเซิน’ สุดยอดปรมาจารย์ ‘ศาสตร์ชี่กง’

ชี่ (气) หมายถึง พลังงาน หรือ ลมหายใจ คนจีนโบราณเชื่อว่า ชี่ เป็น พลังจุลภาคที่เล็กที่สุดและเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัตถุทั้งมวลในจักรวาล รวมทั้งในร่างกายมนุษย์และสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกด้วย ส่วน กง (功) หมายถึงวิธีการฝึก การเคลื่อนไหว

‘วิชาสุขศึกษา’ ยังจำเป็นอยู่ไหม ?

‘วิชาสุขศึกษา’ ยังจำเป็นอยู่ไหม ?
เชื่อเลยว่าหลายคนต้องเคยมองว่าวิชานี้เป็นวิชาปล่อยเกรด ไม่ต้องเข้าเรียนก็ได้ เพราะเรียนไปก็ไม่ได้อะไร

‘ดิเอโก’ เต่ายักษ์เฒ่ากาลาปากอส ถึงเวลากลับบ้าน หลังจากปั๊มทายาทดำรงเผ่าพันธุ์ได้กว่า 2 พันตัว

ดิเอโก เต่ายักษ์กาลาปากอสอายุกว่า 100 ปี กำลังจะได้กลับบ้านเกิดที่เกาะเอสปานโญลา หมู่เกาะกาลาปากอส หลังจากไปลุยศึกปั๊มทายาทจนสามารถขยายเผ่าพันธุ์ตัวเองได้มากกว่า 2 พันตัว ย้อนกลับไปช่วง ค.ศ. 1960 เผ่าพันธุ์ของพวกมันได้ถูกจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ อย่างเกาะเอสปานโญลาที่ดิเอโกอาศัยอยู่ มีเต่ายักษ์อยู่เพียง 14 ตัว เป็นเพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 12 ตัวเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์จึงนำเจ้าดิเอโกไปไว้ที่อุทยานซานดิเอโก เพื่อเข้าร่วมโครงการขยายพันธุ์เต่ายักษ์ โดยดิเอโกใช้เวลากว่า 50 ปีในการลุยศึกกับเหล่าเต่าสาว จนสามารถผลิตลูกได้กว่า 800 ตัว และขยายเผ่าพันธุ์จนเกาะเอสปานโญลามีเต่ายักษ์กว่า 2,000 ตัว เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ดิเอโกได้รับการคัดเลือก ก็มาจากสัญชาตญาณเพลย์บอยของมัน และจำนวนเต่าที่เหลือน้อยลงเต็มทีเนื่องจากถูกจับไปกินเป็นอาหาร และเมื่อเต่ายักษ์มีจำนวนสมดุลกับธรรมชาติแล้ว ทีมงานจึงยุติโครงการ และกำลังส่งดิเอโกกลับบ้านที่จากมาหลายปีในเดือนมีนาคมนี้ SOURCEcnn.it/3842JzNabcn.ws/3a7hrYB

EAT

ฝ่าวิกฤตน้ำน้อย​ วิธีรับมือภัยแล้ง​ 63

น้ำแล้งยันน้ำเค็ม คือผลพวงที่มาคู่กันอยู่เสมอ นับว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่อาจหนีได้ ซึ่งหากมีการจัดการระบบน้ำอย่างจริงจังก็คงจะหลุดพ้นบ่วงนี้ไปโดยไม่ยาก แต่มักจะกระตุกบ่อยตรงคำว่างบประมาณ… เอาล่ะ ! ในเมื่อยังไม่มีทางแก้ไขปัญหาน้ำประปากร่อย รวมถึงแม่น้ำลำคลองเค็มอย่างยั่งยืน แถมประชาชนและเกษตรกรยังต้องตั้งท่ารับแล้วเฝ้าระวังอยู่ไม่ห่าง เราเลยจะพามาทำความเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นของความเค็มความกร่อย วิธีรับมือที่พอจะทำได้ รวมถึงทางออกที่อยากให้เกิดขึ้นจริง ‘น้ำเค็ม’ มีเหตุผล  เรื่องนี้มีที่มา… น้ำเค็มที่เกิดจากน้ำทะเลหนุน เป็นสิ่งที่วนเวียนตามเวลาเสมอ แต่มักจะได้น้ำจืดมาเป็นผู้ช่วยคอยผลักดันน้ำทะเลไม่ให้เข้ามาใกล้พื้นที่ต่างๆ ยิ่งเป็นโซนของชาวสวนชาวไร่ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างมาก แต่ปีนี้เคราะห์ซ้ำกรรมซัด กลับเกิดภัยแล้งและน้ำทะเลหนุนสูงมากกว่าปกติ ทำให้หลายพื้นที่เต็มไปด้วยน้ำเค็ม น้ำประปาจึงมีค่าความเค็มสูงขึ้นเล็กน้อย และมีรสชาติกร่อย  ส่วนน้ำเค็มนั้นไม่ได้อยู่กับคนไทยตลอดไป อาจจะต้องตั้งท่ารอให้น้ำจืดมาช่วย หรือรอให้ฝนตกแต่คงอีกหลายเดือน และน้ำเค็มก็มีขึ้นลงตามปฎิทินดวงจันทร์ จะเค็มมากหรือน้อยคงแล้วแต่วัน อย่างไรก็ดีตอนนี้บางจุดถือว่าเป็นผู้ประสบภัย จำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือและปรับตัวกับภัยแล้งครั้งนี้  คนทั่วไปได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เริ่มจากประชาชนตาดำๆ อย่างเราก่อน เมื่อน้ำเค็มกระทบเข้ามา น้ำประปาจึงมีค่าความเค็มสูงขึ้นแต่ไม่มากอย่างที่คิด โดยปัจจุบันโซเดียมที่แทรกซึมอยู่ในน้ำประปามีค่าประมาณ 100–150 มิลลิกรัมต่อลิตร  ซึ่งไม่เกินความเค็มในรูปคลอไรด์ 250 มิลลิกรัมต่อลิตร หรือเทียบกับโซเดียม 200 มิลลิกรัมต่อลิตร และหากเกินค่าดังกล่าวจะสูงกว่าคำแนะนำที่ขององค์การอนามัยโลกกำหนด สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี บางจุดจะเจอน้ำประปารสชาติกร่อย ซึ่งเป็นรสชาติที่ไม่น่าดื่มสักเท่าไหร่ แต่ทางแพทย์ได้ออกมายืนยันแล้วว่า คนปกติที่ไม่มีอาการป่วยแทรกซ้อน สามารถดื่มได้ไม่มีอันตรายแน่นอน […]

ล้วงลึกโลกของยาเสพติด จากประสบการณ์ ‘หมอบำบัดผู้ติดยา’

ชวนจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสพติด มาฉายด้านมืดของยาเสพติดให้กระจ่างขึ้น

‘ถ้ามะเร็งหายเหมือนไข้หวัด’ เปิดแล็บวิจัยรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายให้หายขาด

จุดเริ่มต้นในการพัฒนาการรักษา ‘โรคมะเร็งเมล็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ALL’
จากการนำ ‘Synbiotic’ หรือเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ที่นำมาซึ่งความหวังในอนาคตว่า ‘เทคโนโลยี’ กับ ‘การแพทย์’ จะช่วยให้คนไทยอายุยืนขึ้นได้

City Lab โปรเจกต์ทดลอง ‘เมือง’ เพื่อหาคำตอบว่า ‘พื้นที่สาธารณะแบบไหนตรงใจชาวกรุงเทพฯ’

เราจะมาพูดคุยกับ City Lab ถึงที่มาและการดีไซน์ของโปรเจกต์ ซึ่งทดลองสร้างพื้นที่นั่งเล่นของเมือง เพื่อหาแนวทางพัฒนาย่านให้น่าอยู่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ

‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ’ เจาะทุกประเด็นที่คนเมืองควรรู้

เมื่อไม่นานนี้เรามีโอกาสไปเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็น ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4’ และได้พูดคุยกับคณะที่ปรึกษาร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ เกี่ยวกับความสำคัญของการปรับผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ครั้งนี้ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แล้วดีกับเมืองอย่างไร ไปติดตามพร้อมกันเลย

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

โลกใบกว้างของ ‘ชีวิตสี่ขา’

ถ้าเป็น “คน” สิ่งที่ทำเป็นประจำในแต่ละวัน คือกินข้าว ทำงาน ปาร์ตี้ อาบน้ำ เข้านอน แล้วถ้าเป็น “สุนัขจรจัด” ล่ะ มีใครเคยลองคิดบ้างไหมว่า วันๆ มันทำอะไรบ้าง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร และทำไมเพื่อนสี่ขาเหล่านี้ถึงกลายมาเป็นสุนัขจรจัด เราเลยชวนทุกคนมาลองมองโลกในมุมของ “ขาว” เจ้าถิ่นสี่ขา ณ ย่านเอกมัยกัน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.