FYI

ส่องโครงการกรีนๆ จาก เซ็นทรัล รีเทล ศึกษากลยุทธ์ วิธีการเป็นองค์กร Green & Sustainable Retail ที่แรกของไทย

เป็นไปได้ไหมที่ค้าปลีกขนาดใหญ่จะเป็นองค์กรที่ Green & Sustainable ได้ หลายคนอาจรู้จัก เซ็นทรัล รีเทล ในแง่มุมของค้าปลีกที่มีทั้ง ห้างเซ็นทรัล ศูนย์การค้าโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ท็อปส์ ไทวัสดุ และร้านค้าเฉพาะทางต่างๆ เรามักนึกถึงเป็นตัวเลือกแรกเวลาไปช้อปปิง แต่ความจริงแล้ว เซ็นทรัล รีเทล ยังเป็น ‘Green & Sustainable Retail’ องค์กรค้าปลีกที่แรกของไทยที่คิดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการทำงาน เพราะมีเป้าหมายที่ตั้งใจจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2593 เซ็นทรัล รีเทล จึงคิดทำโครงการกรีนๆ และสร้างความยั่งยืนออกมามากมายทั้ง จริงใจ Farmers’ Market, Love the Earth, ขวดเปล่า ไม่สูญเปล่า และ Journey to Zero ตัวอย่างเหล่านี้คือโครงการที่เซ็นทรัล รีเทล คิดจริง ทำจริง ใช้กลยุทธ์ CRC ReNEW ที่เกิดขึ้นจากการนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development […]

นักวิทย์ฯ สร้างต้นไม้ประดิษฐ์ดักจับ CO2 ไม่เปลืองพลังงาน คาดเป็นทางออกที่ยั่งยืน

หลังการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลมานานหลายร้อยปี คาร์บอนไดออกไซด์ได้สะสมในชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ลำพังการลดการปล่อยมลพิษอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงมองว่าการดูดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลดการสะสมในชั้นบรรยากาศได้ แต่ก็มีข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือประสิทธิภาพยังไม่มากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน และกินพลังงานมากอย่างเหลือเชื่อในการดูดซับมลพิษเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน ต้นไม้ก็ต้องการเวลามหาศาลที่จะเติบโตและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็สามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้ด้วยพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งความสามารถในการดูดซับก็อาจไม่เพียงพอ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (ASU) จึงเสนอให้ใช้ ‘Mechanical Tree’ หรือต้นไม้กล ในการดูดซับคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศโดยตรง  Klaus Lackner ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมของ ASU และผู้อำนวยการของ Center for Negative Carbon Emissions จึงวางแผนที่จะสร้างเครื่องดักจับคาร์บอนที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยต้นไม้ที่ว่านี้จะดูเหมือนกองแผ่นเสียงขนาดยักษ์ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่บรรจุตัวโน้ตและเสียงเพลง แต่เคลือบด้วยวัสดุดักจับคาร์บอน เมื่ออากาศหมุนเวียนผ่านแผ่นเสียงเหล่านั้นก็จะเก็บคาร์บอน ลงไปจนเต็ม ก่อนจะจุ่มลงในถังซึ่งใช้ไอน้ำในการปล่อยคาร์บอนที่บรรจุไว้ออกมาแล้วเก็บไว้ในถังอีกต่อหนึ่ง “การใช้ความชื้นทำให้เราสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึงครึ่งหนึ่งของการดักจับอากาศโดยตรง และส่วนที่เหลือเราก็เลือกที่จะใช้พลังงานหมุนเวียน” Klaus ยังมองว่าการดักจับอากาศโดยตรงเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่เราไม่ควรพึ่งพาวิธีการนี้เพียงอย่างเดียว และมองว่าการที่บริษัทดักจับคาร์บอน จำหน่าย Carbon Offset หรือการชดเชยคาร์บอนในราคา 500 – 1,000 เหรียญฯ ต่อตัน เป็นราคาที่สูงเกินไป  หลังจากนี้ Klaus […]

ปลูกป่าไม่ทันใจ Climeworks เลยใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 ในอากาศแทนต้นไม้ 4 แสนต้นซะเลย

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (IPCC) ออกรายงานเตือนว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ภายในปี 2040 ตัวเลขที่ฟังดูอาจจะเหมือนน้อย แต่จะทำให้ประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเผชิญความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า รวมไปถึงวิกฤติการณ์ขาดแคลนอาหาร ดังนั้นทุกหน่วยงานทั่วโลกจึงต้องเร่งดำเนินการช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้  เราจึงอยากพาไปรู้จักกับ ‘Climeworks’ บริษัทที่มีเป้าหมายเป็นการรักษาสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยสองผู้ก่อตั้งผู้หลงรักการเล่นสกีที่ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนขณะกำลังไถลตัวอยู่บนพื้นหิมะ จนตัดสินใจร่วมกันสร้างทางออกให้ปัญหานี้ พัฒนาเทคโนโลยีจนกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศได้โดยตรงแบบที่ยังไม่มีใครทำได้ และทำให้ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมภารกิจกู้โลกนี้ได้ในราคาเริ่มต้นเพียง 1 ยูโรต่อเดือนผ่านระบบสมาชิก ไปจนถึงการเตรียมสร้างโรงงานดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใหญ่ที่สุดในโลก ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ถึง 4,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 400,000 ต้น  โลกซวยด้วยมือเรา หลักการวิทยาศาสตร์เบื้องต้นคือ คนและสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนพืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนออกมาเป็นออกซิเจน กระบวนการนี้คือวัฏจักรที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกอยู่ร่วมกันได้ราวหยินหยางที่สมดุลกัน นอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของโลก เพื่อกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้อุณหภูมิของโลกเย็นเกินกว่าที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ แต่ปัจจุบันความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับโลกในยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม และสูงที่สุดในรอบ 8 แสนปี จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า การเผาไหม้จากระบบขนส่งมวลชน จนถึงการเพาะปลูกขนาดใหญ่ ทั้งหมดล้วนเป็นฝีมือมนุษย์อย่างไม่ต้องสงสัย  ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ถูกกักเก็บไว้มากเกินไป โลกจึงร้อนขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว […]

MUD Jeans แบรนด์ที่รีไซเคิลเดนิมเป็นตัวใหม่ ให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion

แบรนด์ยีนส์ที่รีไซเคิลเดนิมให้เป็นตัวใหม่ และมีระบบให้เช่ายีนส์รายเดือน เพื่อลดขยะ Fast Fashion

‘สวีเดน’ ตัดต้นไม้เยอะยังไง ให้เป็นตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อม

วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’  แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ  “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก”  แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ  เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]

ขุดคริปโตใช้ ‘ไฟฟ้า’ มากกว่าเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศ

นอกจากข่าวสารอัปเดตเรื่องโควิด-19 นาทีนี้ต้องยกให้กระแสการลงทุนในคริปโตหรือสกุลเงินดิจิทัลที่มาแรงแซงขวา ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ได้ยินศัพท์แปลกๆ ทั้ง “ตกรถ” “ติดดอย” “Moon” หรือ “HODL” เต็มไปหมด

อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี หรือเราอยู่ในจุดที่ไม่มีทางย้อนกลับ?

ขณะที่โลกหมุนไป ความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมกระจายออกไปทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่พุ่งสูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่อยู่เบื้องหลังภาวะโลกร้อน

รัสเซียมีแผนใช้ป่าในประเทศ เป็นศูนย์กลางดักจับมลพิษขนาดใหญ่ ที่คาดว่าดูดซับคาร์บอนฯ ได้ 620 ล้านตัน

ปัจจุบันรัสเซียเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษมากที่สุดในโลกเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เอง รัสเซียจึงมีแผนที่จะใช้ป่าในประเทศ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงสองเท่า หรือคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งโลก ให้เป็นศูนย์กลางดักจับคาร์บอนฯ ขนาดใหญ่ โดยคาดว่าจะดูดซับคาร์บอนฯ ได้เกือบ 620 ล้านตันเทียบเท่าปี 2018 ซึ่งเพียงพอที่จะชดเชยการปล่อยมลพิษในประเทศได้ราว 38 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ ยังมีแผนเปิดแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรวบรวมข้อมูลดาวเทียมและโดรนเกี่ยวกับความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ของป่าไม้ในประเทศอีกด้วย หลายฝ่ายมองว่าการปลูกต้นไม้ไม่สามารถช่วยลดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ พวกเขาแค่ต้องการลบคำครหาที่ว่าเป็นผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ที่สุดของโลก และต้องการสร้างรายได้โดยการให้องค์กรอื่นๆ เช่าพื้นที่ตรงนี้ เพื่อปลูกป่าชดเชยที่ปล่อยคาร์บอนฯ ค่อนข้างน่าจับตามองว่า หลังจากนี้รัสเซียจะเดินหน้าต่ออย่างไรท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ถ้าพวกเขาทำได้จริงๆ ก็ถือเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง Sources :Bloomberg | https://bloom.bg/3sZg5IyEarth | https://bit.ly/3wJhaGD 

กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ  World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์  4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]

สิงคโปร์สร้างเมืองยั่งยืน ภายใน 2030 ด้วยการเพิ่มต้นไม้ ขยายพื้นที่ปั่นจักรยาน ลดการฝังกลบขยะและแบนรถยนต์ดีเซล

การให้เมืองและพื้นที่สีเขียวอยู่รวมกันอาจฟังดูเป็นเรื่องยากที่จะให้ทั้ง 2 อย่างเดินหน้าไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน แต่คงไม่เกินความสามารถของประเทศเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพอย่างสิงคโปร์แน่นอน ‘Singapore Green Plan 2030’ คือแผนพัฒนาเมืองสิงคโปร์ให้อยู่ร่วมกับพื้นที่สีเขียวได้อย่างยั่งยืน โดยการปลูกต้นไม้เพิ่มกว่า 1 ล้านต้น ขยายพื้นที่ปั่นจักรยานให้มากขึ้น แบนรถที่ใช้น้ำมันดีเซลให้ได้ภายในปี 2025 ลดปริมาณขยะฝังกลบต่อครัวเรือนลง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วหันมาพัฒนาโครงสร้างการรีไซเคิลขยะแทน ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้บริษัทต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อขยะที่พวกเขาสร้าง รวมไปถึงเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขึ้น 5 เท่า นอกจากนี้ ตึกที่สร้างภายในปี 2030 จะต้องใช้พลังงานต่ำสุดตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด  ด้วยแผนนี้เอง สิงคโปร์จะกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก พื้นที่ 1 ใน 3 ของเมืองจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดมลพิษแล้ว ยังนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย

‘CloudFisher’ อวนจับหมอกที่สามารถเปลี่ยนความชื้นเป็นน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในโมร็อกโก

ในช่วงหน้าร้อน หลายพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหาน้ำไม่พอใช้อยู่บ้าง แต่ที่ดูได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นเกษตรกร เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘CloudFisher’ อวนจับหมอกขนาดใหญ่สุดเจ๋ง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในโมร็อกโก ในเขต Aït Baamrane ภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของโมร็อกโกที่ผู้คนทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ เป็นพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง แต่มีหมอกเป็นจำนวนมากเพราะได้รับอิทธิพลจากหมู่เกาะคานารี Dar Si Hmad องค์กรไม่แสวงหากำไรจึงปิ๊งไอเดียทำ ‘CloudFisher’ อวนจับหมอกที่จะเปลี่ยนความชื้นเป็นน้ำ ให้ไหลลงสู่ภาชนะพลาสติกด้านล่าง ผ่านระบบท่อไปยังอ่างเก็บน้ำ แล้วส่งไปยังหมู่บ้านในพื้นที่ เนื่องจากหมอกไม่มีมลพิษ ทำให้น้ำสะอาดและพร้อมใช้งาน โดย ‘CloudFisher’ เก็บน้ำสะอาดได้มากถึง 1,600 แกลลอนต่อวัน โครงการนี้ใช้เวลาศึกษาและทดลองกว่า 10 ปีและยังได้รับรางวัล Momentum for Change จาก UN ในปี 2016 เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่น่านำมาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในเมืองที่มีปัญหาคล้ายๆ กัน Sources : Fieldstudy | https://bit.ly/3r6dFWH Weather | https://bit.ly/3c5oNz4

KAANI ครีมกันแดด Reef-safe ไทยกับมาตรฐานสารเคมีเข้มงวดสูงสุดเท่าประเทศปาเลา

ภาพหาดทรายสีขาวนวลทอดยาวตลอดแนวชายหาด เหล่าเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวซัดเข้าฝั่งเป็นระยะ หรือผืนน้ำสีฟ้าครามที่เปล่งแสงระยิบระยับ พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเส้นผมให้ปลิวไสว ตามด้วยไออุ่นจากแสงแดด ล้วนชวนให้หลงเสน่ห์ของทะเล จนอยากฉุดร่างกายให้ลุกขึ้นไปเติมความสดชื่นอย่างเต็มที่  เชื่อว่าความงามเหนือผิวน้ำที่เรามองเห็น คงเทียบไม่ได้กับการเห็นหมู่มวลปลาเล็ก-ใหญ่ และสีสันอันสดใสของปะการังที่ขึ้นเรียงรายตามโขดหินในโลกใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด แต่ความจริงแล้ว สีสันเหล่านั้นถูกกลืนหายจนกลายเป็น ‘สีขาว’ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนจากน้ำจืด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ครีมกันแดด’ บนร่างกายมนุษย์ #Saveปะการัง ด้วยพลังของเพื่อนซี้ ในวันที่การบีบครีมกันแดดเพียง 1 ข้อนิ้ว สะเทือนถึงโลกใต้ท้องทะเล เพราะมีส่วนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว สามเพื่อนซี้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จึงผุดไอเดียแบรนด์ ‘KAANI (คานิ)’ ครีมกันแดดรักษ์ปะการัง หรือที่เรียกว่า ‘Reef-safe’ คือ ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลท้องทะเล “ตัวผมดำน้ำมาตั้งแต่ยังเล็กที่หินแดงหินม่วงในจังหวัดภูเก็ต ตอนนั้นผมเห็นสีแดงและสีม่วงบนปะการังละลานตาเต็มไปหมด แต่เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ผมกลับไปดำน้ำอีกครั้ง ผมเห็นแค่โขดหินเท่านั้นเอง” จีน-พชร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAANI (คานิ) เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กที่เขาได้ชื่นชมความสวยงามของปะการังที่ปัจจุบันคล้ายกับตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์สีขาวโพลน ซึ่งก่อนหน้านั้นตัวเขาเองใช้ครีมกันแดดสูตร Reef-safe จากต่างประเทศ แต่กลับพบว่าไม่ตอบโจทย์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกัน […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.