ธรรมชาติกำลังฟื้นตัว! หลังทีมสำรวจ พบแนวปะการังใหม่ที่เกาะไหง จ.กระบี่ เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 ตร.ม.

เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย หลังความพยายามพัฒนาการสำรวจแนวปะการังบริเวณเกาะไหงกว่า 4 ปีของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เป็นผล เพราะต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีแนวปะการังใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 ตร.ม. ทีมงานใช้โดรนบินสำรวจบริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะไหง ที่มีความยาวหาดกว่า 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะใช้คนว่ายสำรวจ ก่อนจะพบว่าพื้นทรายโล่งที่เคยมาสำรวจเมื่อปี 2557 มีหย่อมปะการังกิ่งสั้นคล้ายกับเกาะยูงขึ้นอยู่มากกว่า 10 หย่อมหรือคิดเป็นพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม. ทางทีมสำรวจคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันสั้น แนวปะการังบนพื้นที่นี้จะขยายตัวเพิ่มเป็น 10,000 ตร.ม. เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าธรรมชาติกำลังจะฟื้นตัวและเราจะมีที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเพิ่มเป็นจำนวนมาก Source : Thon Thamrongnawasawat

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

ไลฟ์สไตล์กรีน ‘ชุดชั้นในเก่าที่รีไซเคิลไม่ได้’ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน เพียงส่งไปบริษัทกำจัดขยะ N 15

หากใครต้องการทิ้งกางเกงใน ชุดชั้นใน เสื้อกล้าม หรือถุงเท้าที่มีสภาพเก่าจนบริจาคไม่ไหว สามารถนำไปบริจาคได้ที่ ‘N 15 Technology’ บริษัทกำจัดของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม

หมดปัญหาไม่รู้จะทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหน ฝากพี่ไปรษณีย์ไทยไปทิ้งได้

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชนสูงถึง 380,000 ตัน/ปี แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ถูกนำกลับรีไซเคิลอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนที่เหลือก็จะปะปนไปกับขยะมูลฝอยอื่นๆ รอการฝังกลบ และปล่อยสารเคมีอันตรายอย่างปรอท ตะกั่ว ดีบุก สะสมต่อไปในห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น AIS และไปรษณีย์ไทยจึงจับมือกันสร้างโครงการ ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่จะช่วยให้เราจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขยะอันตรายจะถูกนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลแบบ ‘Zero Landfill’ หรือการรีไซเคิลแบบไม่มีการฝังกลบเลย ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับฝากทิ้ง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ สำหรับคนที่สนใจก็นำเจ้าพวกนี้ใส่กล่องพร้อมกับเขียนหน้ากล่องว่า ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มอบให้บุรุษไปรษณีย์ที่แวะเวียนมาส่งจดหมายแถวบ้านได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

อาลัยรักแด่คนที่จากไป ด้วย ‘ปักกิ่งดี’ ธุรกิจหรีดต้นไม้ช่วยลดขยะพวงหรีด นำกลับบ้านไปปลูกต่อได้

ในวันที่คนสำคัญสิ้นสุดลมหายใจ ภาพงานศพเคล้าน้ำตาในวัดและพวงหรีดดอกไม้ที่วางหน้าโลงศพเป็นสิ่งที่พบง่ายเกือบทุกงานศพไทย แต่เคยตงิดใจกันบ้างไหมว่าดอกไม้แสนสวยบนพวงหรีด จบพิธีแล้วไปไหน ไปเป็นขยะหรือเปล่าหว่า จินา โอสถศิลป์ ผู้บริหารค่ายหนังอารมณ์ดี GDH เจ้าของธุรกิจต้นไม้ ‘ปักกิ่งดี’ มองเห็นปัญหาการสร้างขยะหลังงานศพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพวงหรีดดอกไม้ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะนำไปปลูกต่อไม่ได้ เธอจึงใช้ความอารมณ์ดีผสมความใจดี (ต่อโลก) ทำพวงหรีดจากต้นไม้พร้อมจัดส่งให้ถึงงานศพในชื่อ ‘หรีดต้นไม้’ หรือ Wreath for Breath โดยต้นไม้ที่เลือกใช้จะเป็นไม้กระถาง เจ้าของงานหรือแขกเรือนสามารถนำกลับไปปลูกต่อทั้งหมด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนดีๆ แทนของชำร่วยให้คนที่ยังอยู่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น นอกจากต่อลมหายใจให้คน ที่นี่ยังมีบริการรับดูแลต้นไม้ต่อในกรณีที่เจ้าภาพบางคนแบกกลับบ้านไม่ไหว โดยรายได้ 5% จากการขายหรีดต้นไม้ยังมอบให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อนำไปปลูกป่าเพื่อต่อลมหายใจให้ผืนป่าอยู่กับเราไปนานๆ อีกด้วย ป.ล. สำหรับแฟนเพจ Urban Creature เพียงแจ้งปักกิ่งดีว่าตามมาจากเพจเรา รับส่วนลดไปเลย 10% ทุกรายการ ตลอดเดือนมีนาคม ปี 2564 รายละเอียดเพิ่มเติม : www.packkingdee.com

พื้นที่คุ้มครองทางทะเลของสเปน ถูกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกของวาฬแห่งแรกในทวีปยุโรป

เตเนริเฟ (Tenerife) คือ 1 ใน 7 หมู่เกาะคะแนรีของประเทศสเปน ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งดูวาฬและโลมาในธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

Ira แบรนด์ผ้าอนามัยย่อยสลายได้ ไร้สารเคมี และอ่อนโยนกับจุดซ่อนเร้น

เพราะผ้าอนามัย 1 แผ่น เทียบเท่ากับถุงพลาสติก 4 ถุง แถมยังใช้เวลาย่อยสลาย 500 – 800 ปี! และต่อรอบประจำเดือนต้องใช้มากถึง 21 แผ่น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่รุ้งไม่อยากผลิตผ้าอนามัยที่ใช้วัสดุหลักเป็นพลาสติก แต่หยิบเอา ‘ใยไม้ไผ่’ มาทดแทน แถมยังดีไซน์แพกเกจจิ้งให้ ‘คนทุกเพศ’ ถือได้อย่างไม่เคอะเขิน

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

ทำไมการซักผ้าถึงทำให้โลกร้อน

เวลาที่ใครถาม “ทำไมไม่ชอบซักผ้า ?” จงตอบกลับไปว่า “มันสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ !” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องจ้อจี้ แต่ที่ไหนได้มันคือเรื่องจริง !! เมื่อวารสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการของ Jay S. Golden ระบุว่า กระบวนการซักผ้าเฉพาะสหรัฐอเมริกาสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากกว่า 225 ล้านเมตริกตันต่อปี มีการใช้ไฟฟ้า 191,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง (GWh) และใช้น้ำมากกว่า 847 ล้านแกลลอน ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้น้ำร้อนซักผ้าด้วยละก็จะยิ่งผลิตคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติอีก 1.59% เลยทีเดียว แม้ตัวเลขเหล่านี้จะมาจากอเมริกันชน แต่คนไทยอย่างเราก็ไม่ควรมองข้าม เพราะขั้นตอนการซักผ้าแทบจะคล้ายกันทั้งหมด เผลอๆ เหมือนกันทั้งโลกเลยด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแยกผ้า โยนเสื้อผ้าลงถัง ไปจนถึงการใช้เครื่องอบผ้าก็ตาม ซึ่งขั้นตอนที่สร้างคาร์บอนมากสุด คือ ‘การอบ’ เพราะต้องอาศัยไฟฟ้าอย่างหนักเพื่อทำให้ผ้าแห้ง โดยคิดเป็น 5.8% ต่อการปล่อยคาร์บอนฯ ในการซักผ้าหนึ่งครั้ง เห็นว่าหลายบ้านเลือกใช้ ‘เครื่องอบผ้า’ แทนการแขวนบนราวตากผ้า โดยเฉพาะคนอเมริกันที่เรามักจะเห็นภาพห้องซักรีดใต้ดินแบบ 3 in 1 คือ ซัก อบ […]

Hugely แบรนด์ที่เปลี่ยนสายดับเพลิงเก่า ให้เป็นกระเป๋าที่ทิ้งร่องรอยความถึกทนเอาไว้

ชวนสัมผัสเบื้องหลังกระเป๋าสุดอึด ถึก ทน Hugely ที่นักออกแบบหยิบสายดับเพลิงเก่ามาแปลงร่างจนน่าใช้

This is grown รองเท้าจากเส้นด้ายจุลินทรีย์ วัสดุอนาคตแห่งวงการแฟชั่น

เพราะจุลินทรีย์ไม่ได้มีแค่ในนมเปรี้ยว แต่เอามาสร้างความเฟี้ยวเป็น ‘รองเท้าผ้าใบ’ ได้เหมือนกัน! ‘Jen Keane (เจน คีน)’ อดีตนักออกแบบชุดกีฬาให้กับ Adidas ผู้ผันตัวออกมาเป็น ‘นักวิจัย’ แบบฟูลไทม์ เพื่อเฟ้นหาวัสดุใหม่ๆ สำหรับใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอ จึงได้คิดค้น ‘This is grown’ โปรเจกต์รองเท้าผ้าใบที่มีแรงจูงใจมาจากวิกฤตพลาสติก ซึ่งเป็นวัสดุที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก Keane ได้เอางานถนัดเรื่องความยั่งยืน และความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางชีวภาพของตัวเองมาพัฒนาวัสดุ โดยใช้สิ่งมีชีวิตอย่าง ‘จุลินทรีย์’ มาทำกระบวนการที่มีชื่อว่า ‘Komagataeibacter rhaeticus’ คือการปล่อยให้จุลินทรีย์เติบโตตามธรรมชาติ แต่ถูกควบคุมด้วยชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อให้เส้นด้ายออกมาตรงตามสเป็คที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแรง ความหนา หรือน้ำหนัก หลายคนอาจกำลังงงว่าใช้ถักรองเท้าทั้งหมดเลยหรือเปล่า ? คำตอบคือ This is grown จะถูกใช้บริเวณส่วนบนของรองเท้า (Vamp) เท่านั้น โดยเป็นเส้นด้ายยาวต่อเนื่องกันหลายเมตร สานไขว้กันไปมาจนเกิดเป็นลวดลายบนรองเท้าผ้าใบเฉพาะตัว ที่แม้แต่เทคนิคการถอผ้าทั่วไปก็ไม่สามารถทำได้ แถมเราไม่ต้องง้อเข็มกับด้ายอีกด้วย ! อีกทั้งมันยังช่วยให้ขึ้นรูปได้ตามแบบที่ต้องการ โดยเหลือวัสดุน้อยที่สุด หรือแทบไม่มีเหลือเลย ถึงแม้จะยังไม่มีวางขาย แต่ Keane […]

VINNA เครื่องประดับสุดยูนีคที่เกิดจาก “ขยะ” ต้นองุ่นในไร่ไวน์หลังบ้าน

แนวคิด Fast Fashion หรือการผลิตสินค้าแฟชั่นด้วยต้นทุนที่ถูกที่สุด ผลิตให้ได้ปริมาณมากที่สุด และเร่งขายให้รวดเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ มีกระแสต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและทำลายโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.