‘House of Music’ พื้นที่วัฒนธรรมกลางสวนสาธารณะบูดาเปสต์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

จะเป็นอย่างไรถ้าสวนสาธารณะจะมีพื้นที่ฟังดนตรี อ่านหนังสือ ดูศิลปะไปในตัว? เราชวนข้ามทวีปไปที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีที่เพิ่งเปิดใช้งาน ‘House of Music’ – พื้นที่จัดแสดงทางวัฒนธรรมดนตรีของฮังการีเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณะของเมืองหรือ ‘City Park’ นี่เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ใหญ่ของรัฐบาลฮังการีนำโดยนายกรัฐมนตรีอย่าง วิกเตอร์ ออร์บาน ที่ตั้งใจสร้างให้ฮังการีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น และตัว ‘House of Music’ นี้สร้างสรรค์โดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นชื่อ ‘โซ ฟูจิโมโตะ (Sou Fujimoto)’ สถาปนิกเลื่องชื่อที่มักจะสร้างโมเดลงานออกแบบจากสิ่งรอบตัวเช่นไม้จิ้มลูกชิ้นหรือฝอยขัดหม้อ ผู้เคยผ่านการออกแบบห้องสมุดในโตเกียว โครงการที่อยู่อาศัยในแคว้นกาตาลุญญาของสเปน  ฟูจิโมโตะเผยเบื้องหลังผลงานชิ้นนี้ว่าเขาอยาก “เปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นดั่งสถาปัตยกรรม” แต่การเข้าไปเปลี่ยนของเขาไม่ได้เป็นการบังคับทิศทางของพื้นที่สวนป่า กลับเป็นการสร้างสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของต้นไม้และธรรมชาติโดยรวม ภาพถ่ายจากมุมสูงจึงแสดงให้เห็นลักษณะอันโดดเด่นของ ‘House of Music’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากใบบัว เป็นเหมือนร่มไม้ที่มีรูให้แสงอาทิตย์ลอดผ่านและให้ต้นไม้อื่นเจริญเติบโตได้ ตัวเฮาส์ครอบคลุมพื้นที่ 900 ตารางเมตร ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 ชั้น เชื่อมถึงกันด้วยบันไดเกลียวซึ่งจำนวนชั้นที่ว่ามานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “การเคลื่อนไหวของสกอร์เพลง 3 รูปแบบ” ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่แสดงดนตรีที่มีฮอลล์คอนเสิร์ตย่อย 2 ห้อง ชั้นบนเป็นห้องสมุด คาเฟ่ ห้องสำหรับบรรยาย ส่วนชั้นล่างเป็นแกลเลอรีศิลปะ […]

FYI

VESPA LX PINK ROSA บิดสกู๊ตเตอร์คู่ใจไปกับงานศิลปะคอลเลคชันพิเศษจาก Benzilla และ Jirayu Koo

เกือบศตวรรษแล้วที่เวสป้าเป็นสัญลักษณ์ของการโลดแล่น-ลัดเลาะตามท้องถนนในเมือง และเป็นสกู๊ตเตอร์คู่ใจคนทุกรุ่นทุกวัย ตั้งแต่ไอคอนของเยาวรุ่นยุโรปที่เห็นอยู่เสมอในภาพยนตร์คลาสสิก หรือเป็นพาหนะขนของที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายช่วงวัยตามที่เราเห็นตามย่านชุมชนดั้งเดิมของไทย วันนี้เป็นอีกครั้งที่เวสป้าชวนเรามารู้จัก ‘Vespa LX 125 i-Get’ สกู๊ตเตอร์รุ่นยอดนิยมที่ทางเวสป้านำมาปรับโฉมและส่วนประกอบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ที่มาพร้อมกับสีใหม่ของตัวรถเป็นสีชมพู ‘PINK ROSA’ ที่โดดเด่นเหมาะกับทุกคน พร้อมด้วยพรีเมียมคอลเลกชัน ของใช้ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ออกแบบโดย Jirayu Koo และ Benzilla สองศิลปินไทยที่วาดลวดลายไว้มากมายในวงการศิลปะ  เบื้องหลังของสีชมพู ‘PINK ROSA’ นี้ก็ไม่ได้ยึดติดกับเพศของผู้ใช้ แต่เป็นสีใหม่ที่มีความเป็น Unisex เข้ากันได้กับทุกเพศ และเปล่งปลั่งสอดรับกับแบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่างเวสป้า Urban Creature ได้ทดลองขับกันไปแล้ว และถ้าใครอยากรู้ว่าเวสป้าโฉมใหม่ สีเฉียบนี้จะเป็นอย่างไร มีอะไรโดนใจผู้รักสกู๊ตเตอร์และนักขี่หน้าใหม่กันบ้าง สวมหมวกและขึ้นนั่งพร้อมกับเรากันได้เลย! ก่อนที่เราไปทำความรู้จักกับตัวรถ และสีใหม่อย่าง ‘PINK ROSA’ แล้วทางเวสป้ากระซิบมาว่า 400 คนแรกที่รับคูปองสั่งซื้อจะได้รับพรีเมียมคอลเลกชัน ทั้งหมวกกันน็อก ผ้าคลุมเบาะ กระเป๋า Tote Bag ผ้าเช็ดหน้า หน้ากากผ้า พวงกุญแจ และชุดสติกเกอร์ที่ทั้งหมดออกแบบลวดลายโดยศิลปินชาวไทย Jirayu Koo […]

‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

The Globe ตัวต่อเลโก้ลูกโลกที่ให้คุณสร้างโลกได้ด้วยตัวเอง

โอกาสเดียวที่แฟนๆ เลโก้จะได้ (ครอบ) ครองโลกมาถึงแล้ว!LEGO Ideas เปิดตัว The Globe ตัวต่อลูกโลกดีไซน์วินเทจสำหรับผู้ใหญ่ ที่สานฝันให้เราได้เป็นเจ้าของโลกทั้งใบ และสร้างโลกด้วยสองมือของตัวเอง The Globe เปิดตัวมาด้วยราคา 199.99 ดอลลาร์สหรัฐ และจะวางขายบนเว็บไซต์เลโก้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นต้นไป  ตัวต่อ 3 มิติชุดลูกโลกวินเทจจากเลโก้ชุดนี้ มีจำนวนทั้งหมด 2,585 ชิ้น เหมาะสำหรับอายุ 18 ปีเป็นต้นไป ลูกโลกทรงกลมมีขนาด 10 นิ้ว รวมขาตั้งแล้วมีความสูง 16 นิ้ว ภายในกลวงแต่สามารถยึดติดกันด้วยเทคนิคพิเศษ และเมื่อต่อเข้ากับขาตั้งแล้วมีฟังก์ชันหมุนได้เสมือนลูกโลกจริง ให้เราได้ย้อนวัยกลับไปท่องโลกบนแผนที่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีดีเทลน่ารักๆ ที่สามารถปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง เช่น เข็มทิศ เรือ และสัตว์ทะเล ที่เราสามารถย้ายไปต่อตรงไหนก็ได้ตามใจชอบ ที่สำคัญลูกโลกใบนี้ยังเรืองแสงในที่มืดได้ด้วยนะ จะตั้งโชว์หรือแต่งบ้านก็สวยและน่าสะสมจริงๆ  โมเดล The Globe ออกแบบโดย Guillaume Roussel แฟนคลับเลโก้ชาวฝรั่งเศสวัย […]

LOEWE x Spirited Away เปิดตัวคอลเลกชัน 2022 พร้อมป็อปอัปสโตร์

ปีนี้ LOEWE กลับมาคอลแลบกับสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) อีกครั้ง หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดตัวคอลเลกชันสุดคิวต์ My Neighbor Totoro ไปเมื่อมกราคมปี 2021 ปีนี้กลับมาพร้อมกับคอลเลกชัน LOEWE x Spirited Away เพิ่งเปิดตัวในเว็บไซต์ไปเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2022 Spirited Away หรือมิติวิญญาณมหัศจรรย์ ที่ฉายครั้งแรกในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2001 เป็นแอนิเมชันชื่อดังดีกรีรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมครั้งที่ 75 และกวาดมาแล้วหลายรางวัลทั่วโลก เป็นผลงานการเขียนบทและกำกับโดยฮายาโอะ มิยาซากิ ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อที่ครองใจแฟนๆ ทั่วโลกมาอย่างยาวนาน  LOEWE x Spirited Away กลับมาพร้อมกับการนำเอาตัวละครหลักของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ‘จิฮิโระ โอะงิโนะ’ เด็กหญิงชุดแดงที่เป็นตัวดำเนินเรื่อง ‘ฮากุ’ เทพารักษ์ประจำแม่น้ำโคฮากุ ‘ผีไร้หน้า’ สัมภเวสีขี้อายที่ต้องมีผ้าคลุมสีดำตลอดเวลา ‘ภูตไรฝุ่น’ ไรฝุ่นขนปุยสีดำที่จับตัวกันเป็นก้อนกลมๆ ‘ยูบาบา’ หญิงสูงวัยที่เป็นแม่มดมาโลดแล่นในโลกแฟชั่น  ตัวละครเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์เป็นลวดลายบนสินค้าขายดีของ LOEWE ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสะพาย Mini Heel […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

Eleftheria Square เมื่อ Zaha Hadid Architects เปลี่ยนคูน้ำเก่ากลางไซปรัสให้เป็นพื้นที่สาธารณะ

‘นิโคเซีย’ คือเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไซปรัส ที่เต็มไปด้วยตึกเก่าและสถาปัตยกรรมจากยุคกลาง แต่ล่าสุดเมืองโบราณแห่งนี้ได้แปลงโฉมคูน้ำเก่าแก่ใจกลางเมืองให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรกับคนทุกกลุ่ม สถาปัตยกรรมคอนกรีตทรงโค้งขนาดใหญ่แห่งนี้คือ ‘จัตุรัสเอเลฟเทเรีย’ (Eleftheria Square) ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของเมืองนิโคเซีย แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นคูน้ำเก่าที่แห้งสนิทไปแล้ว และอยู่ติดกับกำแพงเวนิส (Venetian Walls of Nicosia) กำแพงที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคกลางและต่อเติมอย่างกว้างขวางโดยชาวเวเนเชียนในศตวรรษที่ 16  แม้คูน้ำเก่าจะถูกพัฒนาและปรับปรุงใหม่ แต่ผู้ออกแบบยังคงเก็บรักษากำแพงเวนิสไว้ตามเดิม เนื่องจากกำแพงสีอิฐครีม-น้ำตาลเหล่านี้มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์​ เป็นกำแพงที่ล้อมรอบเขตเก่าที่สุดของนิโคเซียเอาไว้ และยังเป็นตัวแบ่งเขตเมืองโบราณออกจากเขตใหม่นอกกำแพงด้วย  โครงสร้างใหม่ถูกออกแบบให้อยู่คู่กำแพงเวนิสเซียโบราณอย่างลงตัว เพราะสถาปนิกต้องการสร้างให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมโยงและรวบรวมเมืองนิโคเซียให้เป็นหนึ่งเดียว  ผู้ออกแบบพื้นที่สาธารณะสุดล้ำแห่งนี้ก็คือ Zaha Hadid Architects บริษัทสถาปนิกระดับโลก ก่อตั้งโดย Zaha Hadid ตัวแม่ของวงการสถาปัตย์ แม้ว่าเธอเสียชีวิตในปี 2016 แต่บริษัทยังคงสานต่อสไตล์การออกแบบของเธออยู่ ผลงานที่โดดเด่นส่วนใหญ่เป็นดีไซน์เส้นโค้งและล้ำสมัย (Futuristic Architecture) รวมถึงจัตุรัสแห่งนี้ด้วย ซึ่งถ้าใครเป็นแฟนผลงานของเธอเห็นแล้วก็คงพอจะเดาได้ว่าเป็นผลงานของ Zaha Hadid แน่นอน คูเมืองเก่าถูกแปลงสภาพให้เป็นสวนสาธารณะรูปทรงแปลกตา พร้อมฟังก์ชันตอบโจทย์คนเมือง เพราะมีสะพานที่เชื่อมไปยังถนน ที่นั่ง น้ำพุ พื้นที่สีเขียว สนามเด็กเล่น ลานสำหรับจัดกิจกรรม ร้านกาแฟ บันได […]

สนุกกับประวัติศาสตร์นวัตกรรมผ่านโทรศัพท์กว่า 2,000 รุ่นที่ Mobile Phone Museum

เรามักได้ยินข่าวเปิดตัวโทรศัพท์ใหม่ พร้อมนวัตกรรมมากมายที่ชวนร้องว้าว เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์เครื่องหนึ่งทำอะไรได้มากมาย แต่คุณเคยสงสัยหรือนึกย้อนไปไหมว่าสมัยก่อนโทรศัพท์ที่เราใช้ๆ กันมีหน้าตายังไง ทำอะไรได้บ้าง เพราะนอกจากยี่ห้อดังๆ ที่คนไทยคุ้นเคยแล้ว ในโลกนี้ยังมีโทรศัพท์ยี่ห้ออื่นๆ และมีหน้าตาล้ำๆ อีกเยอะแยะเลย หากมีคำกล่าวว่าศิลปะสะท้อนถึงยุคสมัยได้ยังไง เราคิดว่าเทคโนโลยีก็ทำหน้าที่นี้ไม่ต่างกัน และหนึ่งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่บ่งบอกความสนใจ พฤติกรรมการใช้งานของผู้คน และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ดีที่สุดคงหนีไม่พ้นเจ้าโทรศัพท์หรือมือถือที่เปรียบเป็นอวัยวะอีกส่วนของร่างกายเราไปแล้ว ด้วยเหตุนี้ กลุ่มคนทำงานสาย Tech ผู้มีความหลงใหลในโทรศัพท์จึงได้รวมตัวกันทำ mobilephonemuseum.com หรือพิพิธภัณฑ์โทรศัพท์มือถือขึ้นมา Ben Wood คือผู้ริเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นในปี 2004 ก่อนจะจอยน์กับเพื่อนนักสะสมโทรศัพท์มือถือชื่อ Matt Chatterley และอีกหนึ่งปีต่อมาพวกเขาก็ทำงานร่วมกับทีมเล็กๆ กลายเป็นองค์กรนิติบุคคลไม่แสวงหากำไร เพื่อดูแลป้องกันคอลเลกชันโทรศัพท์ที่มี ทั้งยังช่วยกันจัดการเรื่องกองทุนด้วย ปัจจุบันโทรศัพท์ในคอลเลกชันมีมากกว่า 2,000 รุ่นจากมากกว่า 200 แบรนด์ทั่วโลก โดยนับเป็นจำนวนทั้งหมด 3,500 เครื่องเมื่อรวมรายการที่ซ้ำกันแล้ว ครอบคลุมย้อนหลังไปถึงเครื่องที่ผลิตตั้งแต่ปี 1984 Ben เล่าว่า เมื่อมีคนบริจาคโทรศัพท์มา ทางทีมจะนำไปจัดทำทะเบียน ติดฉลาก ถ่ายภาพ และย้ายไปยังพื้นที่ปลอดภัย ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีผู้บริจาคอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีบางรุ่นที่เป็นโทรศัพท์หายาก จึงจำเป็นต้องประกาศหาในเว็บไซต์ หากเข้าไปชมนิทรรศการ คุณจะได้พบกับเหล่าโทรศัพท์หลากหลายหน้าตาที่มีการจัดประเภทเป็นรุ่นแรก […]

‘สกลจังซั่น’ อีสานม่วนซื่น เทศกาลสร้างสรรค์ จ.สกลนคร

สกลนครเป็นจังหวัดสนุก ถ้าหน้าหนาวนี้ไม่มีแพลนไปไหน Urban Creature อยากชวนคุณไปเที่ยวย่านเมืองเก่าและพื้นที่โดยรอบจังหวัดนี้ให้หนำใจ เพราะปีนี้เมืองสกลมีเทศกาลงานสร้างสรรค์ชื่อ ‘สกลจังซั่น l SAKON JUNCTION’ ที่อยากชวนทุกคนมาม่วนซื่นกับกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจัดครั้งแรกในย่านเมืองเก่าแบบจุใจตั้งแต่วันที่ 9 – 12 ธันวาคม 2564  งานครั้งนี้จะนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ในท้องถิ่น ผ่านนิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้คนหยิบเอาความคิดสร้างสรรค์มาช่วยพัฒนามิติต่างๆ ของเมือง กิจกรรมทั้งหมดขับเคลื่อนด้วยฝีมือของกลุ่มภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และส่งเสริมการรวมกลุ่มของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่สืบต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  ด้วยความร่วมมือร่วมใจของศิลปิน ผู้คนจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ประกอบการ และเจ้าของธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ เพื่อยกระดับศักยภาพของพื้นที่ไปสู่การขับเคลื่อนเป็นเมืองครีเอทีฟ ร่วมสำรวจแต่ละย่าน และทำความรู้จักกับเรื่องราวหลากมิติในสกลนคร ผ่านกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นรอบๆ เมือง อาทิ ‘จังซั่น WALK’ ที่เดินสนุกตั้งแต่สี่แยกวัดพระธาตุเชิงชุม, สี่แยกเทศบาลเมือง และสี่แยกศรีนคร (ข้างร้านแมนคราฟท์) หรือจะเป็น ‘จังซั่น GALLERY’ นิทรรศการภาพวาดแสดงวิถีชีวิต สินทรัพย์ในย่านเมืองเก่า ผ่านประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของชาวสกลฯ  แต่ถ้าชอบงานดีไซน์ก็อยากชวนให้ไปเลาะเบิ่งที่โซน ‘จังซั่น DESIGN SHOWCASE’ นิทรรศการศิลปะ งานออกแบบ และงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่จะแสดงศักยภาพการต่อยอดวัสดุท้องถิ่น […]

‘Khudi Bari’ บ้านประกอบได้ราคาถูกและทำจากวัสดุธรรมชาติเพื่อรับมือกับวิกฤตภูมิอากาศ

คุณเคยย้ายที่อยู่อาศัยเพราะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไหม? เราอยากชวนจินตนาการนึกภาพตามว่าถ้าหากบ้านของคุณตั้งอยู่ในจุดที่ด้านขวามือคือทะเล และด้านซ้ายเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบกัน เป็นแหล่งสะสมตะกอนชั้นดีสำหรับเพาะปลูก หรือดำรงชีพด้วยการหาปลา แต่ผู้อยู่อาศัยก็ต้องโยกย้ายตามฤดูกาล คุณจะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้อย่างไร?  และหากน้ำทะเลด้านขวาเพิ่มสูงขึ้น แม่น้ำด้านซ้ายปริมาณมากขึ้นเพราะน้ำแข็งละลายจากบนเทือกเขา และท้องฟ้าด้านบนฝนตกหนักผิดวิสัย สถานการณ์วิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นนี้ทำให้ผู้อยู่อาศัยต้องเผชิญภัยธรรมชาติ บ้างต้องโยกย้ายที่อยู่บ่อยครั้งกว่าปกติ และบ้างต้องจำใจทิ้งวิถีชีวิตแบบเดิมเข้าไปหาเลี้ยงชีพในเมืองใหญ่และอาศัยอยู่ในสลัม นี่คือสถานการณ์ในบังกลาเทศจาก Marina Tabassum สถาปนิกชาวบังกลาเทศผู้ออกแบบโปรเจกต์ ‘Khudi Bari – บ้านจิ๋ว’ ขนาดรองรับสมาชิก 4 คนสำหรับผู้ที่อาศัยตามพื้นที่ลุ่มน้ำ  ความตั้งใจของ Tabassum คือจะใช้สถาปัตยกรรมที่เธอร่ำเรียนมาให้เป็นประโยชน์กับคนที่อาศัยตามพื้นที่ปากแม่น้ำ (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า ‘Char Dwellers’) อย่างไรให้ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และปรับให้เข้ากับบริบททางธรรมชาติเพื่อรองรับความผันแปรให้ได้มากที่สุด จากการเก็บข้อมูลของเธอ โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านสำหรับคนในพื้นที่ลุ่มน้ำอยู่ที่ราว 1,500 ปอนด์ (ประมาณ 60,000 บาท) และต้องใช้สถาปนิก 3 คน ช่างไม้ 1 คน เพื่อประกอบในเวลา 15 วันให้เป็นรูปร่าง โปรเจกต์ ‘Khudi Bari’ นี้ Tabassum […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

Beta Cinema โรงหนังในเวียดนามที่ผสมความเป็นท้องถิ่นกับดีไซน์ เพื่อเป็นแหล่งแฮงเอาต์คนรุ่นใหม่

ลืมภาพโรงหนังมืดๆ ทึมๆ ไปได้เลย สำหรับยุคปัจจุบันที่โรงหนังไม่ได้เป็นแค่สถานที่ดูหนังอีกต่อไป แต่ยังเป็นที่แฮงเอาต์สำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการพบปะ พูดคุย และเอนจอยช่วงวันหยุดหรือเวลาหัวค่ำด้วยกัน อาคารรูปทรงเรขาคณิต มีสีสันเด่นชัด ชวนให้นึกถึงสถานที่สุดล้ำในหนังสักเรื่องที่อยู่ในภาพคือ โรงหนัง Beta Cinema ที่เพิ่งเปิดให้บริการในโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ซึ่งออกแบบโดยบริษัท Module K ตามโจทย์ของ Minh Bui ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Beta Group ที่ต้องการโรงหนังที่ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่แค่ดีไซน์เก๋ไก๋ยังไม่พอ ความพิเศษที่อยู่เบื้องหลังการออกแบบโรงหนังแห่งนี้คือการหยิบเอาประวัติศาสตร์และความเป็นท้องถิ่นของไซง่อนมาผสมผสานกับการออกแบบ ทำให้โรงหนังขนาด 2,000 ตารางเมตร รองรับได้ 1,000 ที่นั่งแห่งนี้เต็มไปด้วยกลิ่นอายของไซง่อน โดยรายละเอียดการออกแบบแต่ละส่วนใน Beta Cinema ล้วนแล้วแต่อ้างอิงถึงสถานที่สำคัญๆ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ยกตัวอย่าง โดมสีเขียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากที่ทำการไปรษณีย์กลางในยุคอาณานิคม ฝูงนกพิราบที่ได้รับอิทธิพลจากเอเลเมนต์ที่พบตามโรงละครโอเปร่าและจัตุรัส Paris Commune เคาน์เตอร์ขายตั๋วที่ออกแบบโดยอ้างอิงจากตลาด Ben Thanh ไปจนถึงล็อบบี้ด้านข้างและโถงทางเดินก็ชวนให้นึกถึงตรอกซอกซอยกับชีวิตบนท้องถนนของเมืองโฮจิมินห์ Jade Nguyen ผู้อำนวยการแห่ง Module K เล่าว่าเขาได้หยิบเอาลักษณะสำคัญๆ ที่เป็นไอคอนของไซง่อนมาเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้วิธีลดทอนรายละเอียดให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต แล้วประยุกต์เทคนิคการใช้สีแบบที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกและการ์ตูน […]

1 2 3 4 5 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.