5 ดีไซน์ ‘ที่ล้างมือ’ สะอาด สนุก ใน 20 วิ !

หากพูดถึงการล้างมือในช่วงการปรับตัวแบบ new normal นี้ สบู่กลายเป็นของจำเป็นสำหรับยุค Covid-19 ที่ขาดไม่ได้ ซึ่งการล้างมือบ่อยๆ ได้กลายเป็นด่านแรกของการป้องกันการแพร่กระจายไวรัสนี้ เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคออกจากมือของเราได้มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 90% แต่มีทริคเล็กน้อยว่าจะต้องล้างมือประมาณ 20 วินาทีขึ้นไปจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด

สนามเด็กเล่นบัวกระด้ง สนุกห่างๆ อย่างปลอดเชื้อ

การมีพื้นที่สาธารณะดีๆ อย่าง ‘สนามเด็กเล่น’ ให้เด็กได้เล่นกัน นอกจากร่างกายจะแข็งแรงขึ้นแล้ว คุณภาพชีวิตก็ยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่ในช่วงนี้ที่ไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาด พื้นที่เหล่านี้เลยต้องถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างไร้ประโยชน์ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มี ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เด็กจะได้สนุกเหมือนเดิม แต่ก็ต้องมีอะไรมาป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วยล่ะ ? นี่คือโจทย์ที่ Martin Binder และ Claudio Rimmele นักออกแบบชาวเยอรมันใช้เพื่อดีไซน์ ‘สนามเด็กเล่นปลอดเชื้อ’ สนามเด็กเล่นที่ว่านี้ชื่อ ‘Rimbin’ ซึ่งมาจากชื่อของ 2 นักออกแบบ โดยพวกเขาตั้งใจให้มีรูปทรงคล้ายบัวกระด้ง เพราะนอกจากจะเป็นรูปทรงที่รองรับน้ำหนักได้มากแล้ว ยังดูเป็นสัดส่วน และแบ่งเป็นโซนชัดเจน ซึ่งเข้ากับสถานการณ์ที่เด็กยังถึงเนื้อถึงตัวกันไม่ได้มาก เด็กๆ จะมีโซนเล่นเป็นของตัวเอง และมีทางเดินที่พาไปสู่การแยก ทำให้ไร้กังวลเรื่องการสัมผัสตัวกัน แต่ยังสามารถพูดคุยและมองเห็นกันได้ในระยะที่ปลอดภัย และในจุดที่ต้องมีการสัมผัส ก็จะมีการติดตั้งตู้จ่ายน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยทำความสะอาด “ตอนนี้ในเยอรมนีจะเปิดให้ใช้สนามเด็กเล่นแล้ว แต่หลายคนก็ยังกลัวเสี่ยงติดเชื้ออยู่ อย่างไรก็ตามเด็กยังจำเป็นต้องมีพื้นที่กลางแจ้งเพื่อเล่นสนุกและโต้ตอบกัน เพราะมันสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และสังคม” นักออกแบบกล่าว แม้สวนสนุกรูปกระด้ง Rimbin จะยังเป็นเพียงไอเดีย แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนาด้านวัสดุที่จะนำมาใช้ให้มีความคงทน แข็งแรง และที่สำคัญต้องเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ซึ่งเหล่านี้เป็นความตั้งใจของนักออกแบบที่คิดในระยะยาว และมองว่าโรคระบาดอาจกลับมาอีกในอนาคต SOURCE […]

The New York Times ขึ้นหน้าหนึ่ง รายชื่อผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เพราะคนไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่เขามีตัวตน

ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์มีแต่ตัวหนังสือ แทนที่จะเป็นภาพถ่ายหรือกราฟิกดึงดูดสายตา แต่หนังสือพิมพ์รายวันแห่งนครนิวยอร์กอย่าง The New York Times ฉบับวันอาทิตย์ กลับแสดงลิสต์รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งตัวเลขในอเมริกาขณะนี้ใกล้จะแตะหลักแสนแล้ว

10 คำถามคาใจ อะไรจะเปลี่ยนไปหลังโควิด-19 จบลง

Urban Creature จึงเกิด 10 คำถามคาใจที่อยากชวนทุกคนมาร่วมแก้ไขหาคำตอบด้วยกัน ตั้งแต่รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป ? การปรับตัวของอาคารสำนักงาน ? ผู้คนจะหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น ? หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ สเปรย์ฆ่าเชื้อ จะกลายเป็นของที่ทุกคนมีติดกระเป๋า ? การดีไซน์เมืองจะเปลี่ยนไป ? รวมถึงร้านอาหารที่นั่งน้อยลง เน้นส่งเดลิเวอรี่ ? ไปจนถึงพลังงานทดแทนจะเข้าถึงง่ายขึ้น ?

แปลงโฉม ‘เต็นท์’ เป็น ‘ห้องเรียน’ แบบมีระยะห่างทางสังคม

‘Curl la Tourelle Head Architecture’ กับโปรเจกต์การออกแบบพื้นที่ในโรงเรียนรูปแบบเต็นท์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19

Zakka Shop & Cafe คู่รักนักปั่น – นักชง ไกลแค่ไหนก็ปั่นไปส่งไม่มีหวั่น

หลายคนที่คุ้นเคยกับโลกทวิตเตอร์คงอาจเคยผ่านตากับโพสต์ที่มีเจ้าของร้านขายน้ำปั่นจักรยานจากเอกมัยไปส่งของถึงปากน้ำ และพวกเขาคือ Zakka Shop & Cafe’

6 ห้องเรียนแห่งโลกกว้าง ตะลุยหาความรู้แบบไม่มีขีดจำกัด

6 ห้องเรียนแห่งโลกกว้างผ่านช่องทางออนไลน์ที่จะพาไปตะลุยหาความรู้แบบไม่มีขีดจำกัดแม้ในสถานการณ์โควิด-19

โควิด-19 ทำพิษเศรษฐกิจไทย หรือเราถดถอยมานานแล้ว ?

เจ้าโควิดถูกเอ่ยถึงบ่อยๆ และตกเป็นจำเลยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยนั้นต้องหยุดชะงักกันเป็นแถว อยากให้หลายๆ คนมองกันเสียใหม่ ว่าก่อนจะเกิดไวรัสตัวปัญหานี้ขึ้น แท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยนั้นเริ่มถดถอยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ร่วมพูดคุยกับ ‘ดร.เดชรัตน์ สุขกําเนิด’

จัดการใจให้สตรอง พร้อมรับมือ COVID-19 ฟังจิตเเพทย์กับ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’

ชวนทุกคนมาฟังจิตแพทย์ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’ คุยเรื่องวิธีการรับมือกับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วง COVID-19 ไปได้ และข้อคิดที่ช่วยให้เรามองโลกนี้อย่างมีความสุขมากกว่าเคย

RAY Thesis Exhibition ธีสิสปล่อยของยุคโควิดของชาวโฟโต้อาร์ตเชียงใหม่

Urban Showcase พื้นที่เล็กๆ ที่จะให้น้องนิสิตนักศึกษามาโชว์ผลงานแบบไม่จำกัดมหาวิทยาลัย เพื่อให้สปอตไลท์ได้ส่องไปถึงความสามารถของทุกคนมากยิ่งขึ้น

‘ค่าไฟแพง’ ขอแรงลดค่าไฟ

ประเด็นร้อนไม่แพ้อุณหภูมิเดือนเมษายน คงหนีไม้พ้นค่าไฟแพงทะลุมิเตอร์ จนพี่น้องประชาชนแคลงใจว่า ตัวเลขในบิลที่พุ่งกระฉูดนั้นมาจากไหน ?

ZAAP กับการเผชิญ COVID-19 ของคนอีเวนต์

บาส-เทพวรรณ คณินวรพันธุ์ CEO และผู้ก่อตั้ง ZAAP ออร์แกไนเซอร์แถวหน้าของไทยที่ผ่านงานใหญ่ๆ มามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Single Festival, Waterzonic, G19, S2O, บางกอก FEST ฯลฯ ในวันที่อุตสาหกรรมอีเวนต์ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ทำให้งานต่างๆ ถูกยกเลิกทั้งหมด ZAAP ต้องปรับตัวตามสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งการทำงาน วิธีการคิด และเป้าหมายของทีมในระยะสั้น สำหรับ บาส-เทพวรรณ ในฐานะ CEO วัย 29 ปี สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือการยอมรับความจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นให้ทีมว่าเราจะต้องผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันให้ได้ “ความยากที่สุดของคนทำอีเวนต์ คือไม่รู้ว่าวิกฤตนี้มันจะจบเมื่อไหร่” ในวันที่วงการอีเวนต์ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 ที่เป็นเสมือนพายุคลื่นลูกใหญ่ จนทำให้เหล่าวัยรุ่นไม่ได้ออกไปสนุกสุดเหวี่ยงที่ไหน ซึ่งถือเป็นฤกษ์ไม่งามยามไม่ดี แต่เป็นโอกาสที่ทำให้เราได้คุยกับ พี่บาส-เทพวรรณ คณินวรพันธุ์ แห่ง ZAAP ถึงเบื้องหลังคนทำอีเวนต์ และการปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก หลายคนคงรู้จักพี่บาสในฐานะปาร์ตี้บอยชื่อดังที่เคยผิดหวังจากการจัดอีเวนต์ครั้งแรกเมื่อสมัยที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนั้นเขาได้เป็นทูตของมหาวิทยาลัย และได้มีโอกาสจัดงานการกุศลเพื่อช่วยเหลือปัญหาน้ำท่วมใหญ่ แต่ดูเหมือนโชคจะไม่เข้าข้าง เพราะจากการจัดงานในครั้งนั้น ทำให้เขาต้องมีหนี้ติดตัวเกือบล้านบาท เขาใช้การจัดปาร์ตี้เพื่อลบล้างหนี้ที่เกิดขึ้น […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.