London Design Biennale 2021 ธีม Design in An Age of Crisis รวมศิลปะยุคโควิด-19 จากทั่วโลก

ข้ามโพ้นทวีปเดินเสพงานศิลป์ที่นิทรรศการ London Design Biennale 2021 จุดรวมพลของนักออกแบบ ภัณฑารักษ์ และสถาบันการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก ที่นำเสนองานในธีม ‘Design in An Age of Crisis’ เพื่อใช้ศิลปะและการออกแบบแก้ปัญหาความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศในยุคที่ทุกคนต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตระดับโลก  London Design Biennale 2021 รับผิดชอบโดย Es Devlin ศิลปินและนักออกแบบฉากชื่อดังจากลอนดอน โดยนำผลงานทั้งหมด 500 ชิ้น จาก 50 ประเทศมาตั้งโชว์ในนิทรรศการ ซึ่งเธอได้จำแนกงานศิลปะทั้งหมดออกเป็น 4 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม : เราจะออกแบบสถานที่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร สุขภาพ : งานดีไซน์จะช่วยให้คนมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายขึ้นอย่างไร สังคม : การออกแบบจะช่วยเราทุกคนได้อย่างไร ผลงาน : เราจะออกแบบผลงานให้มีความหมายได้อย่างไร ซึ่ง Sir John Sorrell CBE ผู้ก่อตั้งนิทรรศการ London […]

ความจุของรถเมล์ กทม. กับ Social Distancing ช่วง COVID-19 สะเทือนอะไรวงการขนส่งฯ บ้าง

รู้ตัวอีกที เราก็อยู่กับ COVID-19 มาครบ 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว 1 ปีที่หลายคนคงชินกับการใส่หน้ากากขึ้นรถสาธารณะไปแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญการระบาดซ้ำระลอก 3 ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังคงมูฟออนไม่ได้ หลายคนเลยต้องวนลูป Work from Home บางถนนหนทางห้างร้านตลาดกลับมาโล่งจนพ่อค้าแม่ขายใจหายไปตามๆ กัน ‘รถเมล์’ บริการสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้รับ-ส่งคนไปไหนมาไหนได้ครั้งละมากๆ จึงหนีไม่พ้นตกเป็นอีกหนึ่งวงการที่พลอยได้รับผลกระทบในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างในที่สาธารณะไปด้วย ย้อนกลับไปที่การระบาดระลอก 2 เมื่อต้นปี เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เป็นผู้โดยสารเพียง ‘หนึ่งเดียวคนนี้’ ตลอดทางที่นั่งรถเมล์ไปทำงาน ซึ่งระยะทางจากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ใกล้ๆ ไกลกันเกือบสิบกิโลฯ จากเดิมรถเมล์ที่เคยขึ้นจะมีเพื่อนร่วมทางหลายสิบคน…จนบางวันแทบปิดประตูไม่ได้ ก็กลายเป็นเหมือนผมเช่ารถเมล์ 1 คันไปต่อรถไฟฟ้า และเป็นอย่างนั้นอยู่ 3 วันติดๆ!!! คิดขำๆ ก็ดูจะเป็นการนั่งรถเมล์ที่สบายดี…แม้บรรยากาศจะดูเหงาๆ เข้าโหมดกระทำความหว่องหน่อยๆ แต่ก็รักษาระยะห่าง (Physical Distancing) กับคนบนรถตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่าเราควรห่างกัน 1.8 เมตรได้จริง… ว่าแต่ ตอนรถติดไฟแดงนิ่งๆ มีใครเคยเล่นนับที่นั่งบนรถเมล์กันบ้าง? นี่คือกิจกรรมแรกๆ ที่ผมฝึกสังเกตตอนนั่งว่างๆ อยู่บนรถ เริ่มกันที่รถเมล์รุ่นที่ผมชอบที่สุดอย่าง รถปรับอากาศ […]

เยี่ยมย่าน…ซอยนานา จากถิ่นจิ๊กโก๋ ตรอกขายยาจีน ผลัดใบสู่ย่านที่ไม่เคยหลับใหล

พาเยือนซอยนานาแห่งเยาวราช ในวันที่ต้องหยุดชะงักความคึกเพราะโควิด-19

เนเธอร์แลนด์ จับมือ Fieldlab ทดลองจัดอีเวนต์ช่วงโควิด-19 หาความเป็นไปได้ใหม่ช่วยฟื้นตัวเศรษฐกิจ

หลังจากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมของประเทศเนเธอร์แลนด์ทะลุ 1 ล้านคน เป็นชาติที่ 21 ของโลก รัฐบาลก็สานต่อโครงการที่เตรียมการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ร่วมกับคณะนักวิจัย Fieldlab องค์กรที่ดำเนินการวิจัยให้กับรัฐบาล เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการจัดงานอีเวนต์อย่างปลอดภัยช่วงการแพร่ระบาดนี้

‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง

ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน

40 วันกับชีวิตล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่เสี่ยง มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

บทความนี้เปรียบเสมือนบันทึกช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านเป็นเวลา 40 วัน ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดสมุทรสาคร สำหรับเรา การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อาจจะยุ่งยากไปบ้าง แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยในตลาดที่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีคนมาจับจ่ายซื้อของเหมือนที่เคย พวกเขาต้องขาดรายได้จุนเจือครอบครัวและจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้านแผงลอยบางรายต้องปรับวิธีการขายเป็นแผงลอยเคลื่อนที่เพื่อให้รอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้

Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา

ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

อ่าน E-book ฟรี! หอสมุดแห่งชาติ เปิดบริการหนังสือหาดูยากเกือบ 100 ปี ไปจนถึงหนังสือทั่วไปกว่า 2,300 เรื่อง

อ่าน E-book ฟรี! เวลาทองสำหรับเหล่าหนอนหนังสือ! เพื่อสนับสนุนคนไทยใช้เวลาว่างตอนกักตัวอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงที่ COVID-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่

FYI

คุยกับน้องฝึกงาน: เลือก ‘งานที่ฝัน’ หรือ ‘งานที่ทำให้อยู่รอด’

ชวนน้องฝึกงานรุ่นที่ 4 ของ Urban Creature ทั้ง 3 คนมาล้อมวงคุยถึงความกดดันต่างๆ ที่ต้องแบกไว้บนบ่า และเส้นทางการทำงานในวันข้างหน้าที่เรียกว่าเปรียบได้กับถนนซึ่งโรยด้วยเสี้ยนหนาม

ลายแทงเอกมัย หลังโควิด 10 สถานที่ไม่อยากให้พลาด

แจกลายแทงเอกมัยกับ 10 ร้านที่ไม่ควรพลาด ซึ่งนำทริปโดยชาวเอกเมี่ยน พาไปเดินตามตรอกซอกซอย หาของกินร้านอร่อย เสพศิลปะ จิบกาแฟชิลๆ คลายล็อกดาวน์ทั้งทีไม่เหงาอีกต่อไป มาขยับแข้งขยับขากันสักหน่อย ส่วนใครที่ไปมาแล้วก็มาอวดรูปถ่าย และแนะนำร้านอื่นๆ ที่อยากชวนเพื่อนไปกัน ลายแทงเอกมัยโดยชาวเอกเมี่ยนกับ 10 สถานที่ ที่อยากให้ไปสัมผัสสักครั้งหนึ่ง01 Bakery & Cafe’ Hanabachi : ปากซอยเอกมัยฝั่งสุขุมวิท02 แวะถ่ายรูปกับน้องหมา ที่ thingsmatter : ประมาณเอกมัยซอย 203 Good Old Days Barbershop 6 : ตรงข้ามเอกมัยซอย 404 หมูปิ้งป้าไฝ : หน้าคอนโด the ALCOVE เอกมัย ทองหล่อ 10 ถ. เอกมัย05 Stella Art Cafe’ : ระหว่างเอกมัยซอย 10 และ ซอย […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.