รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

สำรวจยอดจดทะเบียนรถยนต์ EV ปี 2565 แค่ยอดรวม 10 เดือน ก็มากกว่า 10 ปีรวมกัน

“ภายในปี 2040 รถยนต์ทุกคันที่ขายบนโลกนี้จะกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า”  นี่คือคำสัมภาษณ์กับ CNBC ของ ‘Darren Woods’ ซีอีโอบริษัทน้ำมัน ExxonMobil ที่คาดการณ์ว่าในอนาคตโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานเชื้อเพลิงครั้งยิ่งใหญ่ หากเป็นในอดีตที่รถยนต์ทุกคันใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขับเคลื่อน อนาคตที่เต็มไปด้วยยานพาหนะไฟฟ้าอาจดูเหลือเชื่อไปเสียหน่อย แต่สำหรับปัจจุบันที่หลายค่ายรถยนต์เริ่มออกรถรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แถมคนรุ่นใหม่ก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น คำคาดการณ์ดังกล่าวคงไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป คอลัมน์ City by Numbers จึงขอหยิบเอายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมาให้ดูกัน เพื่อทำความเข้าใจทิศทางและความนิยมของรถประเภทนี้ และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของใครหลายคนในอนาคต รวมถึงชี้ให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าช้าไปสักหน่อย แต่ท้ายที่สุดคำกล่าวของ Darren Woods ก็อาจเกิดขึ้นได้ รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายประเภท จะมาเป็นเหมือนกันไม่ได้ นั่นก็รถยนต์ไฟฟ้า นี่ก็รถยนต์ไฟฟ้า  ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มักได้ยินคนพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าเต็มไปหมด แต่ถ้าพูดคุยหรืออธิบายลึกลงไปอีก ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘รถยนต์ EV (Electric Vehicle)’ ในมุมมองของเขาและคุณ ความหมายอาจจะไม่ตรงกันเสียทีเดียว เพราะความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ ถึงแม้ว่าทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ก็ล้วนมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น แต่บทความนี้จะขอเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV เพื่อทำให้เห็นถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดในไทย […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

สิ้นสุดการรอคอย! รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู เตรียมเปิดวิ่งฟรีบางส่วน ม.ค. 66

อีกไม่นานเกินรอสำหรับการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเหลืองและชมพู หลังจากใช้เวลาก่อสร้างมานานหลายปี เลื่อนเปิดใช้งานไปก็หลายครั้ง ล่าสุดจากการหารือกันระหว่างกรมการขนส่งทางราง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และตัวแทนภาคเอกชนผู้รับสัมปทาน ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปถึงแผนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ออกมาแล้ว  โดยรถไฟฟ้าทั้งสองสายจะมีการทดสอบระบบด้วยการเปิดให้ประชาชนติดต่อลงทะเบียนทดลองใช้บริการในรูปแบบ ‘เฉพาะกลุ่ม’ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปทดลองใช้บริการแบบฟรีๆ ในเดือนมกราคม 2566 แต่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วน (Partial) เท่านั้น ก่อนจะเริ่มเก็บค่าโดยสารช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบในช่วงกลางปีตามลำดับ ในช่วงทดลองวิ่ง สายสีเหลืองจะเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงสถานีสำโรง-สถานีภาวนา ส่วนสายสีชมพูคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ยกเว้นสถานีนพรัตน์ สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ เบื้องต้นค่าโดยสารรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสองสายจะอยู่ที่ประมาณ 15 – 45 บาทตามระยะทาง และสามารถใช้งานผ่านบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS ที่มีอยู่เดิมได้เลย ส่วนใครที่กำลังรอรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ ก็อาจรอกันต่อไปอีกหน่อย เพราะถึงแม้ว่าการก่อสร้างใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่มีกำหนดเปิดทดลองใช้งานออกมาอย่างเป็นทางการ Sources :3Plus News | t.ly/MWE4 ประชาชาติ | t.ly/0xLo

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ถนนราชดำเนิน ชม 8 อาคารในความทรงจำที่สูญหายผ่านโปรเจกต์ AR ‘ราษฎรดำเนิน’

‘ถนนราชดำเนิน’ ถือเป็นหนึ่งในถนนสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจากตัดผ่านพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารถาวรและชั่วคราวที่เต็มไปด้วยเรื่องราวความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยยุคหลังปี 2475 แม้สิ่งปลูกสร้างบางอาคารจะหายไป แต่ความทรงจำยังคงอยู่ Urban Ally และ คิดอย่าง ได้ร่วมมือกันปลุกประวัติศาสตร์ในย่านถนนราชดำเนินขึ้นอีกครั้งผ่านโปรเจกต์ ‘ราษฎรดำเนิน’ กับการจัดแสดงภาพด้วย Augmented Reality (AR) ที่รวมเอาสภาพแวดล้อมจริงเข้ากับวัตถุเสมือนในเวลาเดียวกัน ราษฎรดำเนินหยิบเอาเอกลักษณ์ของ AR ขึ้นมาใช้นำเสนอ เพื่อเล่าถึงอัตลักษณ์ของถนนราชดำเนินทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ราชดำเนินกลาง ราชดำเนินใน และราชดำเนินนอก โดยเจาะไปที่อดีตอาคารมรดกคณะราษฎรทั้งชั่วคราวและถาวรจำนวน 8 หลัง ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่บนเส้นทางราชดำเนิน ดังนี้ งานฉลองรัฐธรรมนูญ โรงละครเฉลิมชาติ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย  กลุ่มอาคารราชดำเนินกลาง ปั๊มน้ำมันสามทหาร ถนนราชดำเนินใน กลุ่มอาคารศาลยุติธรรม  เมรุปราบกบฏบวรเดช  งานฉลองรัฐธรรมนูญท้องสนามหลวง คนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สูญหายไปของถนนได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ผ่านเว็บไซต์ที่กดเลือกดูแบบอาคาร 3 มิติและประวัติของทั้ง 8 อาคาร หรือจะเทียบภาพ AR กับสถานที่จริงในปัจจุบันก็ได้ประสบการณ์ไปอีกแบบ ดูโปรเจกต์ […]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

THE LINE เมืองแนวตั้งแห่งแรกของโลกในซาอุดีอาระเบีย ปลอดรถยนต์และใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

ใครเคยวาดฝันเมืองแห่งอนาคตที่มีลักษณะเป็นแนวตั้ง เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี และอุปกรณ์ไฮเทคอย่างครบครัน เหมือนที่เราเคยเห็นในหนังไซไฟสุดล้ำ ฝันเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นจริงในอนาคตอันใกล้แล้ว! เพราะหลังจากที่ต้นปี 2564 ทางซาอุดีอาระเบียได้เปิดตัว ‘THE LINE’ แผนสร้างเมืองระยะทางยาว 170 กิโลเมตร ที่สามารถเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องใช้รถยนต์และไร้ถนน หนึ่งในโครงการ Saudi Vision 2030 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ urbancreature.co/saudiarabia-theline)  ล่าสุด เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอูด (Mohammed bin Salman Al Saud) มกุฎราชกุมาร ที่เหมารวบตั้งแต่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการโครงการ NEOM ที่ทำเกี่ยวกับนวัตกรรมเมืองแห่งอนาคต ได้เปิดเผยรายละเอียดของการออกแบบ THE LINE เมืองแนวตั้งแห่งแรกของโลกไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่อาจทำลายข้อจำกัดของผังเมืองแบบดั้งเดิมไปอย่างสิ้นเชิง เมืองแนวตั้งแห่งอนาคตนี้จะถูกสร้างขึ้นที่เมืองตะบูก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซาอุดีอาระเบีย ด้วยความกว้างเพียง 200 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร และยาวถึง 170 กิโลเมตร หากสร้างแล้วเสร็จ […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

1 2 3 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.