คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

Bedok & Siglap เที่ยวชายฝั่งตะวันออกสิงคโปร์ ย่านรวมกิจกรรมและร้านอาหารนานาชาติ

เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องเคยมาเที่ยวสิงคโปร์กันบ้างแล้ว ด้วยความที่ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่ที่ไม่ไกลจากบ้านเราเลย บินจากกรุงเทพฯ มาใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง (ขับรถเผชิญกับรถติดใน กทม. บางทีอาจจะนานกว่านั้น) แต่เราก็แอบมั่นใจว่าคนจำนวนไม่มากในหมู่คนที่เคยมาเที่ยวสิงคโปร์แล้วจะเคยลองออกเดินทางนั่งรถไฟหรือรถเมล์ไปสำรวจจุดอื่นๆ นอกจากในย่านเมืองหลัก เช่น ถนน Orchard, Gardens by the Bay และ Marina Bay Sands  วันนี้เราขออาสาพาคุณไปเดินสัมผัสย่าน Bedok (เบด็อก) และ Siglap (ซิกแลป) ย่านพักอาศัยทางตะวันออกของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ห่างจากสวนชายฝั่งตะวันออก (East Coast Park) และสนามบิน Changi เพียงเล็กน้อย เรามั่นใจว่าหลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบลง คุณจะต้องรู้สึกอยากลองไปเยี่ยมดูสักครั้งบ้างล่ะ  เล่าประวัติของ Bedok และ Siglap ย่านเล็กๆ สองย่านนี้ให้ฟังกันสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะเริ่มออกเดินทางกัน สองย่านที่ติดกันนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกของสิงคโปร์ โดยก่อนปี 1960 แหล่งรายได้หลักของชาวบ้านในสมัยนั้นก็คือมะพร้าว และการทำประมง ปัจจุบัน Bedok และ Siglap เป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาใหม่ในสิงคโปร์ ทำให้รอบบริเวณนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร และร้านค้าน่าสนใจมากมาย […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

กรุงเทพฯ 9 ดี จากชัชชาติ นโยบายหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. พัฒนาเมือง 9 มิติ ให้ตอบโจทย์ทุกคน

คนกรุงเทพฯ จะได้เลือกตั้งเมื่อไรยังไม่รู้แน่ชัด แต่ระหว่างนี้เราอยากชวนอ่านนโยบายจากผู้สมัครเพื่อหาตัวเลขในใจกันก่อน  เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา งาน “ชัชชาติ อาสา ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” ณ มิวเซียมสยาม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หนึ่งในผู้สมัครในปีนี้ ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ หลังใช้เวลากว่า 2 ปี ลงพื้นที่สำรวจปัญหา รับฟังความต้องการชาวกรุงเทพฯ หารือผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม ภายในงาน “ชัชชาติ อาสา ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” จึงมีการเปิดตัว 200 นโยบายหาเสียงภายใต้แนวคิด ‘กรุงเทพฯ 9 ดี’ ที่จะพัฒนาเมือง 9 มิติ เพื่อให้ตอบโจทย์คนกรุงทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวเครือข่าย “เพื่อนชัชชาติ” เบื้องหลังนโยบาย นำทีมโดย ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ และทีมงานคนรุ่นใหม่ ‘กรุงเทพฯ 9 ดี’ หรือนโยบาย 9 มิติ […]

Your Neighbor Clotheswap #2 งานแลกเสื้อผ้าฟรีจากเพื่อนบ้านอารีย์ 26 ก.พ. 65 ที่ The Yard Bangkok

Clotheswap จากเพื่อนบ้านอารีย์ กลับมาอีกแล้ว หลังจากที่เคยจัดไปเมื่อเดือน พ.ย. ปี 64 ครั้งนี้เพื่อนบ้านอารีย์กลับมาอีกครั้ง กับ Your Neighbor Clotheswap : Preloved Post-it มาในธีมของโพสต์อิตโพสต์ใจ เอาเสื้อผ้ามาแลกได้สูงสุด 10 ชิ้น พร้อมชวนเขียนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่เรานำมาสลับ ผ่านข้อความบนกระดาษ จะแปะโพสต์อิต จะหนีบ หรือใช้เข็มกลัดติดมาก็ได้ เพื่อให้ผู้รับได้รู้ว่านี่คือเสื้อผ้าที่มีเรื่องราว มีความผูกพันสั้นๆ หรือแม้แต่จะเขียนบอกว่า “ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้!” ก็ได้เหมือนกัน!  จะเขียนมาจากบ้าน หรือเขียนในงานก็ได้ ชอบเรื่องราวของตัวไหนก็แลกตัวนั้นกลับบ้านไปได้เลย หรือถ้าไม่อยากเขียนอะไรเลย ก็เอามาลงกระบะคุ้ยแบบเพลินๆ ได้  งานนี้เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม แต่เพื่อนบ้านอารีย์ขอจำกัดเสื้อผ้าที่เอามาได้ไม่เกิน 10 ชิ้น และเอาของคนอื่นกลับได้สูงสุด 10 ชิ้นต่อคน เพื่อให้หลงเหลือเสื้อผ้าจากงานน้อยที่สุด และที่สำคัญคืองานนี้รับเฉพาะเสื้อผ้าที่สภาพดีอยู่เท่านั้น  นอกจากได้แลกเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้ว ยังมีซุ้มของร้าน Pen Ake Sneaker Care มาเปิดให้บริการหน้างาน สามารถเอารองเท้าที่ต้องการซ่อมหรือทำความสะอาดมาส่งได้ และใครที่มีขยะพลาสติก PET หรือกระป๋องอะลูมิเนียม […]

Bangkok Shophouses หนังสือภาพสีน้ำที่ทำให้คุณรักตึกแถวในเมืองเก่าจาก Louis Sketcher

เวลาไปเดินเล่นย่านเมืองเก่า คุณเคยตกหลุมรักตึกไหนเป็นพิเศษจนต้องยกมือถือขึ้นมาเก็บภาพเอาไว้ไหม? Bangkok Shophouses คือหนังสือรวมภาพวาดสีน้ำตึกแถวในเมืองเก่ากรุงเทพฯ ผลงานของ ‘หลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา’ นักวาดภาพเมือง (Urban Sketcher) เจ้าของเพจ Louis Sketcher ที่อยากเล่าเรื่องเมืองผ่านภาพวาดจากดินสอ, ปากกา, สีน้ำ และลายเส้นของเขา เพื่อให้คุณได้เห็นกรุงเทพฯ ในอีกมุมมองหนึ่ง และอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนออกเดินทางตามรอยตึกแถวที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ หรือมองหาตึกโปรดในมุมมองของตัวเองสนุกขึ้น  หลุยส์เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นในการทำหนังสือเล่มนี้มาจากที่เขาเรียนสถาปัตย์ และชอบตึกเก่าอยู่แล้ว แต่ยังไม่เคยเห็นใครทำหนังสือแบบนี้เพื่อเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ในมุมนี้มาก่อน ประจวบกับได้เห็นหนังสือ Tokyo Storefronts ของ Mateusz Urbanowicz ที่รวบรวมผลงานภาพวาดตึกแถวและหน้าร้านในญี่ปุ่นของตัวเองเอาไว้ จึงเป็นแรงผลักดันให้หลุยส์ทำโปรเจกต์นี้อย่างจริงจังมากขึ้น เขาเลือกเล่าเรื่องราวของ Shophouse หรือที่เราเรียกกันว่าตึกแถวและอาคารพาณิชย์ มักจะใช้เป็นทั้งที่พักอาศัยและค้าขาย ในย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ เพราะเป็นพื้นที่ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ตั้งแต่เทเวศร์ เยาวราช ฝั่งธนฯ วังหลัง ไปจนถึงท่าดินแดง นอกจากจะสเก็ตช์ภาพตึกแถวแล้ว ยังสอดแทรกมุมมอง Cityscape และจุดเด่นของแต่ละย่านเข้าไปด้วย  หลุยส์ตั้งใจจะให้คนอ่านได้สัมผัสเสน่ห์ที่แตกต่างกันไปในแต่ย่านเหมือนที่เขาได้เจอมา จึงเล่าเรื่องราวอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ พื้นที่นั้นเข้าไปด้วย เช่น […]

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมรณรงค์หยุดปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำเทมส์และตรวจคุณภาพน้ำ ให้สะอาดพร้อมว่ายเล่น

กลุ่มรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศอังกฤษ – ‘Sewage Free Thames’ และเครือข่าย เรียกร้องให้ยุติการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำและเสนอต่อภาครัฐให้ขึ้นทะเบียนสายของแม่น้ำเทมส์ที่ไหลผ่านเมืองออกซ์ฟอร์ดให้คนทั่วไปลงเล่นตามธรรชาติน้ำได้ สำนักข่าว The Guardian ของอังกฤษรายงานวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากการผลักดันของเครือข่ายสิ่งแวดล้อม ทางรัฐบาลเปิดเผยว่ามีโอกาสที่แม่น้ำเทมส์จะขึ้นทะเบียนประกาศเป็นจุดลงเล่นน้ำสาธารณะได้เป็นจุดที่สองของสหราชอาณาจักร และตอนนี้ประชาชนกำลังถูกเชิญให้มาร่วมเสนอความเห็นอยู่ หากการประกาศสำเร็จแล้ว ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบคุณภาพ และปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่อให้ลงเล่นได้อย่างปลอดภัย นอกเหนือจากแม่น้ำเทมส์ที่ไหลผ่านทางตอนใต้รวมถึงกรุงลอนดอนที่เป็นจุดท่องเที่ยวอย่างสะพานหอคอย (London Bridge) หรือลอนดอนอาย (London Eye) แล้ว แม่น้ำสายแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นจุดอนุญาตลงเล่นน้ำได้ก็คือ แม่น้ำวอร์ฟ (Wharfe) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ แต่เมื่อเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมามีการตรวจสอบคุณภาพน้ำในบริเวณนั้น กลับพบว่าอยู่ในระดับ ‘แย่’ เพราะการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงแม่น้ำ  ประเด็นคุณภาพแม่น้ำและมลพิษทางน้ำนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในอังกฤษเลยทีเดียว ด้วยความที่ลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเกาะ มีแม่น้ำไหลผ่านเชื่อมต่อกับทะเล ซึ่งทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมก็ทำให้ผู้คนเชื่อมโยงกับสายน้ำและธรรมชาติ ทำให้ประเด็นนี้ปล่อยผ่านไปไม่ได้ง่ายๆ รายงานล่าสุดจากคณะกรรมการตรวจสอบด้านสภาพแวดล้อม (Environmental Audit Committee) ของอังกฤษเผยว่า เมื่อวันที่ 2 – 3 ตุลาคม 2020 มีน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดถูกปล่อยลงแม่น้ำเทมส์กว่า 2 พันล้านลิตรเทียบเท่ากับสระน้ำมาตรฐานโอลิมปิกกว่า […]

Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์

ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]

จอดทับทางม้าลาย ปรับ-จับจริง เริ่ม 1 ก.พ. 65 ที่แยกอโศกเป็นที่แรก มี AI จับภาพ พร้อมส่งใบสั่งให้ถึงที่บ้าน

หลังจากที่มีการถกเถียงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายในกรุงเทพฯ กันมาสักพัก ตอนนี้ กทม. เริ่มเอาจริงกับการบังคับใช้กฎหมายที่แยกอโศกมนตรีเป็นที่แรก โดยใช้กล้องที่มีเทคโนโลยี AI จับภาพรถที่จอดทับทางม้าลาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปรับและจับจริงตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 65 เป็นต้นไป ใครทำผิดกฎหลังจากนี้รอรับใบสั่งส่งตรงถึงบ้านได้เลย  วันที่ 25 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการปรับปรุงทางม้าลายบริเวณแยกอโศกมนตรี ผ่านเพจ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang เอาไว้ว่า ต้อง “จับ” “ปรับ” ถึง “เปลี่ยน” พฤติกรรมคนได้ และมีแนวทางในการแก้ไขทางม้าลายให้สะดวก ปลอดภัย จะต้องแก้ด้วย 2 วิธีคือ 1. การแก้ไขทางกายภาพ ด้วยการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และ 2. การแก้ไขพฤติกรรมวินัยจราจร ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในขณะนี้บริเวณแยกอโศกมนตรี แยกขนาดใหญ่ที่มีคนเดินเท้าใช้กันเป็นประจำ […]

‘House of Music’ พื้นที่วัฒนธรรมกลางสวนสาธารณะบูดาเปสต์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

จะเป็นอย่างไรถ้าสวนสาธารณะจะมีพื้นที่ฟังดนตรี อ่านหนังสือ ดูศิลปะไปในตัว? เราชวนข้ามทวีปไปที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีที่เพิ่งเปิดใช้งาน ‘House of Music’ – พื้นที่จัดแสดงทางวัฒนธรรมดนตรีของฮังการีเมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อนซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณะของเมืองหรือ ‘City Park’ นี่เป็นหนึ่งในโปรเจกต์ใหญ่ของรัฐบาลฮังการีนำโดยนายกรัฐมนตรีอย่าง วิกเตอร์ ออร์บาน ที่ตั้งใจสร้างให้ฮังการีมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น และตัว ‘House of Music’ นี้สร้างสรรค์โดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่นชื่อ ‘โซ ฟูจิโมโตะ (Sou Fujimoto)’ สถาปนิกเลื่องชื่อที่มักจะสร้างโมเดลงานออกแบบจากสิ่งรอบตัวเช่นไม้จิ้มลูกชิ้นหรือฝอยขัดหม้อ ผู้เคยผ่านการออกแบบห้องสมุดในโตเกียว โครงการที่อยู่อาศัยในแคว้นกาตาลุญญาของสเปน  ฟูจิโมโตะเผยเบื้องหลังผลงานชิ้นนี้ว่าเขาอยาก “เปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นดั่งสถาปัตยกรรม” แต่การเข้าไปเปลี่ยนของเขาไม่ได้เป็นการบังคับทิศทางของพื้นที่สวนป่า กลับเป็นการสร้างสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับพื้นที่และการเจริญเติบโตของต้นไม้และธรรมชาติโดยรวม ภาพถ่ายจากมุมสูงจึงแสดงให้เห็นลักษณะอันโดดเด่นของ ‘House of Music’ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากใบบัว เป็นเหมือนร่มไม้ที่มีรูให้แสงอาทิตย์ลอดผ่านและให้ต้นไม้อื่นเจริญเติบโตได้ ตัวเฮาส์ครอบคลุมพื้นที่ 900 ตารางเมตร ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 ชั้น เชื่อมถึงกันด้วยบันไดเกลียวซึ่งจำนวนชั้นที่ว่ามานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “การเคลื่อนไหวของสกอร์เพลง 3 รูปแบบ” ชั้นพื้นดินเป็นพื้นที่แสดงดนตรีที่มีฮอลล์คอนเสิร์ตย่อย 2 ห้อง ชั้นบนเป็นห้องสมุด คาเฟ่ ห้องสำหรับบรรยาย ส่วนชั้นล่างเป็นแกลเลอรีศิลปะ […]

‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

1 2 3 4 5 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.