THE LINE เมืองแนวตั้งแห่งแรกของโลกในซาอุดีอาระเบีย ปลอดรถยนต์และใช้พลังงานหมุนเวียน 100%

ใครเคยวาดฝันเมืองแห่งอนาคตที่มีลักษณะเป็นแนวตั้ง เต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี และอุปกรณ์ไฮเทคอย่างครบครัน เหมือนที่เราเคยเห็นในหนังไซไฟสุดล้ำ ฝันเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นจริงในอนาคตอันใกล้แล้ว! เพราะหลังจากที่ต้นปี 2564 ทางซาอุดีอาระเบียได้เปิดตัว ‘THE LINE’ แผนสร้างเมืองระยะทางยาว 170 กิโลเมตร ที่สามารถเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องใช้รถยนต์และไร้ถนน หนึ่งในโครงการ Saudi Vision 2030 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ urbancreature.co/saudiarabia-theline)  ล่าสุด เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอูด (Mohammed bin Salman Al Saud) มกุฎราชกุมาร ที่เหมารวบตั้งแต่ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และประธานคณะกรรมการโครงการ NEOM ที่ทำเกี่ยวกับนวัตกรรมเมืองแห่งอนาคต ได้เปิดเผยรายละเอียดของการออกแบบ THE LINE เมืองแนวตั้งแห่งแรกของโลกไว้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่อาจทำลายข้อจำกัดของผังเมืองแบบดั้งเดิมไปอย่างสิ้นเชิง เมืองแนวตั้งแห่งอนาคตนี้จะถูกสร้างขึ้นที่เมืองตะบูก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซาอุดีอาระเบีย ด้วยความกว้างเพียง 200 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตร และยาวถึง 170 กิโลเมตร หากสร้างแล้วเสร็จ […]

ตั๋วหนังราคาแพง เพราะต้นทุนสูงหรือถูกผูกขาด?

หลังจากกรุงเทพมหานครเริ่มจัดเทศกาล ‘กรุงเทพฯ กลางแปลง’ ตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง ปรากฏว่าเสียงตอบรับดีเกินคาด ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ ตบเท้าเข้าชมภาพยนตร์กลางแจ้งฟรีกันอย่างคึกคัก ต่อให้ฝนตกหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น กระแสจากการฉายหนังกลางแปลงครั้งนี้จึงอาจเป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนไทยนิยมและชื่นชอบการดูภาพยนตร์กันมากเหมือนกัน แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะชอบการดูหนังบนจอขนาดยักษ์ แต่มันไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะยอมจ่ายเงินซื้อตั๋วเพื่อเข้าไปดูหนังในโรง เพราะข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เผยว่า คนไทยดูหนังในโรงภาพยนตร์เฉลี่ยคนละ 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี และมีอัตราที่ลดน้อยลงเมื่อเทียบกับจำนวนโรงหนังที่เพิ่มขึ้น  หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยเข้าโรงหนังน้อยลงอาจเป็นเพราะค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันตั๋วหนังหนึ่งที่นั่งมีราคาเฉลี่ยราว 220 – 280 บาทต่อเรื่อง หากรวมกับค่าเดินทางไปกลับ หรือซื้อน้ำดื่มและป็อปคอร์นเข้าไปกินในโรงหนังด้วย เผลอๆ แบงก์ 500 ก็ยังไม่พอจ่ายด้วยซ้ำ แม้มีความตั้งใจไปดูภาพยนตร์ในโรงสักเรื่อง แต่เมื่อเจอค่าใช้จ่ายต่อครั้งที่สูงขนาดนี้ การดูหนังแต่ละทีจึงกลายเป็นความบันเทิงราคาแพงที่คนหาเช้ากินค่ำหรือเด็กจบใหม่ยากจะเอื้อมถึง เพราะค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่ระหว่าง 313 – 336 บาทต่อวัน แทบไม่ครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศไทย ที่ดัชนีอาหารจานเดียวเพิ่มสูงขึ้น 6.7 เปอร์เซ็นต์ จนราคาข้าวผัดกะเพราแตะจานละ 60 บาทเข้าไปแล้ว  วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ราคาตั๋วหนังในประเทศไทยแพงขนาดนี้ และเมื่ออ่านจบแล้ว เราอยากชวนทุกคนคิดต่อว่าสาเหตุเหล่านี้สมเหตุสมผลหรือไม่ และในอนาคตประเทศไทยควรทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนการดูหนังในโรงภาพยนตร์ให้กลายเป็นความบันเทิงที่คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ […]

MRT สายสีน้ำเงินจ่อขึ้นค่าโดยสาร ตรึงราคาเดิม 17 – 42 บาท ถึงสิ้นปี 65 ปรับขึ้น 1 บาท เริ่ม ม.ค. 66

ช่วงนี้ค่าใช้จ่ายทุกอย่างปรับตัวขึ้นพร้อมกันอย่างถ้วนหน้า แม้แต่ 1 บาท แต่หากเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องใช้จ่ายทุกวันก็กระทบกับชีวิตประจำวันแล้ว ล่าสุด MRT สายสีน้ำเงินยังยืนยันจะตรึงราคาเดิมไว้ที่ 17 – 42 บาท ต่อไปจนถึงสิ้นปี 65 และอาจจะปรับราคาขึ้นอีกครั้งในปี 66  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการประชุม เรื่องมาตรการเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ในฐานะผู้รับสัมปทาน  ล่าสุด ยืนยันจะคงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ในราคาเดิม เริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 42 บาท (ก่อนหน้านี้ปรับจาก 16 บาท ขึ้นเป็น 17 บาทแล้วเมื่อ 1 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา) พร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50 […]

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติไฟไหม้ปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ที่สีลมซอย 2 บ่อนไก่ ไปจนถึงสำเพ็ง ซึ่งแต่ละครั้งห่างกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ‘ไฟไหม้’ จึงเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่คนกรุงต้องระวังและควรมีแผนป้องกันในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งคือความสูญเสียของประชาชนที่ประเมินค่าไม่ได้  หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมช่วงนี้ถึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีไฟไหม้บ่อยมาก ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่เป็นข่าวเท่านั้น Urban Creature จึงอยากพาไปดูตัวเลขจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าแต่ละปีกรุงเทพฯ ไฟไหม้ไปกี่ครั้ง และเกิดขึ้นที่เขตไหนบ้าง  ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง? ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้งปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้งปี […]

มัลดีฟส์ กำลังสร้างเมืองลอยน้ำ แก้ปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และป้องกันเมืองจมน้ำในอนาคต

“รีบไปเที่ยวมัลดีฟส์นะ ก่อนที่มันจะจม” ประโยคนี้แทบจะเป็นประโยคคลาสสิกสำหรับใครก็ตามที่บ่นอยากไปเที่ยวเกาะมัลดีฟส์สักครั้งในชีวิตที่ต้องเคยได้ยิน เป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้เมื่อปี 2563 ได้มีรายงานว่าหมู่เกาะมัลดีฟส์กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะจมน้ำในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ส่งผลให้ 80 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เกาะทั้งหมดสูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่ถึง 1 เมตร  แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะถูกแก้ไขโดยนวัตกรรมเมืองลอยน้ำ (Floating City) ที่ตอบสนองต่อภัยคุกคามจากน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในมัลดีฟส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการร่วมมือของบริษัทสถาปัตยกรรม Waterstudio นักพัฒนาท้องถิ่น Dutch Docklands และรัฐบาลท้องถิ่นของมัลดีฟส์ เมืองลอยน้ำจะถูกสร้างห่างจากเมือง Male เพียง 10 นาที และเป็นการประกอบของส่วนโมดูลาร์หกเหลี่ยมที่ทนทานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ จนมีรูปร่างคล้ายปะการังสมอง (Brain Coral) สร้างความสะดวกสบายและความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัย และกระทบต่อแนวปะการังข้างใต้อย่างน้อยที่สุด ตามรายงานของ CNN เมืองจะเปิดยูนิตแรกให้รับชมในเดือนมิถุนายนนี้ โดยราคาเริ่มต้นสำหรับที่พักแบบสตูดิโอจะอยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์ (5.3 ล้านบาท) และสูงถึง 250,000 ดอลลาร์ (8.8 ล้านบาท) สำหรับบ้านขนาดครอบครัว  นักพัฒนาคาดว่า ผู้อยู่อาศัยจะเริ่มย้ายเข้ามาในบริเวณเมืองลอยน้ำแห่งใหม่ได้ในต้นปี 2567 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2570 ซึ่งหลังจากนี้ […]

Rainbowtopia by SPECTRUM อีเวนต์รวมกิจกรรมเพื่อความหลากหลาย ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ 17 – 19 มิ.ย. 65

ใน ‘Pride Month’ หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ประเทศไทยได้จัดกิจกรรมหลากประเภทเพื่อเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลาย และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ผ่านธงสีรุ้ง การออกแคมเปญรณรงค์ รวมไปถึงการจัดไพรด์พาเหรดครั้งยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ  อีกหนึ่งกิจกรรมน่าสนใจที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ ‘Bangkok Pride 2022 Rainbowtopia By SPECTRUM’ อีเวนต์ไพรด์เต็มรูปแบบเพื่อเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจและทุกอัตลักษณ์ของ LGBTQIA+ จัดขึ้นครั้งแรกโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานเรื่องเพศอย่างเข้มข้น พร้อมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ กลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ นักดนตรี และบุคคลจากวงการภาพยนตร์ ธีมของ ‘Bangkok Pride’ ปีแรกคือ ‘Rainbowtopia’ ที่ผู้จัดอยากชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียมที่คนทุกเพศ ทุกวัย และทุกเชื้อชาติ มีพื้นที่ปลอดภัยในการเป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ และได้รับสิทธิและสวัสดิการอย่างเท่าเทียมเสมอกันถ้วนหน้า  โดยธีมย่อยของงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้ง 6 สีบนธงไพรด์ ออกแบบโดย กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความเท่าเทียม ความหมายของรุ้งแต่ละสี ได้แก่ สีแดงคือชีวิต สีส้มคือการรักษา สีเหลืองคือดวงอาทิตย์ สีเขียวคือธรรมชาติ สีครามคือความสงบ […]

สิงคโปร์สร้าง SimCity ในชีวิตจริง วางแผนจำลองผังเมืองคาดการณ์อนาคตด้วยเทคโนโลยี Digital Twins

ถ้าชีวิตเรามีปุ่ม Undo เหมือนเวลาพิมพ์งานผิด หรือกลับไปที่จุด Check Point ได้ตลอดเพื่อเริ่มต้นใหม่หลังจากเล่นเกมพลาด อะไรๆ ในชีวิตก็คงง่ายขึ้นไม่น้อย แต่ถึงแม้ว่าชีวิตจริงของเราจะทำอย่างนั้นไม่ได้ แต่ปัจจุบันในเทคโนโลยีการวางผังเมืองทำได้แล้ว ด้วยนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘Digital Twins’  Digital Twins เป็นการใช้เทคโนโลยี AI Algorithm, IoT, Cloud Computing และเทคโนโลยีอื่นๆ ประกอบกันในการสร้างแบบจำลองเสมือนที่รายละเอียดเทียบเท่าของจริง แต่สิ่งที่พิเศษไปกว่านั้นคือ ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่แสดงรูปแบบในอดีตและบอกข้อมูลถึงสิ่งที่อาจเกิดในอนาคตได้อีกด้วย หรือถ้าอธิบายแบบง่ายๆ ก็คงไม่ต่างกับการสร้างเมืองในเกม SimCity ที่เราวางแผนจำลองรายละเอียดภายในเมืองขึ้นมาได้ รวมถึงกำหนดพื้นที่ให้ประชาชนสร้างบ้าน อาคาร หรือตึก ตามที่ต้องการได้ โดยที่ผู้เล่นไม่ได้มองจากมุมมองพระเจ้า แต่อยู่ในบทบาทของนายกเทศมนตรี ที่ถ้าบริหารดี เมืองของเราก็เติบโต โดยในชีวิตจริง โครงการ Virtual Singapore เป็นหนึ่งในโครงการแรกๆ ที่ใช้แบบจำลอง Digital Twins ได้อย่างเห็นผลที่สุด เพราะนอกจากจะสร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อวางแผนนโยบาย สิงคโปร์ยังมีห้องปฏิบัติการเสมือนสำหรับเฝ้าติดตามเมือง และคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้วางแผนลดการใช้พลังงานและคาดการณ์การรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที  และหลังจากที่สิงคโปร์เป็นผู้นำร่องการใช้เทคโนโลยี Digital Twins ในการวางผังเมืองแล้ว […]

ไทยเตรียมยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย หลังพิจารณาโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น คาดกลาง มิ.ย. 65 เริ่มถอดเฉพาะพื้นที่นำร่อง

คนไทยเตรียมตัวปลดแมสก์! หลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทยอยยกเลิกกฎข้อบังคับการใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะกันเรื่อยๆ คนไทยได้แต่อิจฉาว่าเมื่อไรจะถึงคิวเราบ้างนะ  ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ปลัด สธ. เผย กลาง มิ.ย.นี้ จะมีการยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย (เฉพาะในพื้นที่นำร่อง) และยังคงบังคับให้ใส่ใน 3 กรณี คือ ผู้ป่วยหนัก สถานที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท และกิจกรรมที่คนร่วมเยอะ  นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนอกสถานที่ ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานสำคัญ รวมทั้งการเตรียมการของพื้นที่เพื่อรับการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยระบุว่า ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องและเร็วกว่าที่คาดการณ์ มั่นใจว่าจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นตามเวลาที่วางแผนไว้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงต้องมีการบริหารด้านสังคมร่วมด้วย โดยนำร่องกิจกรรมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชน ทั้งนี้ ประมาณกลางเดือนมิถุนายน จะนำร่องปรับคำแนะนำในบางพื้นที่ที่มีความพร้อม ให้สวมหน้ากากอนามัยใน 3 กรณี คือ 1. กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง 608 2. อยู่ในสถานที่ปิด […]

‘สุขสำราญ’ เรือนำเที่ยวไฟฟ้าที่พาสำรวจวิถีชีวิตตามสายน้ำ ให้สุขสำราญใจเหมือนชื่อเรือ

‘ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ยุคสมัยหนึ่งเขาเคยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ของมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กร NGO ที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการขับเคลื่อนสังคม เขายังใช้ชีวิตแบบ ‘กรีน’ ทั้งการปั่นจักรยานไปไหนมาไหน แยกขยะ ไม่ใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฯลฯ หลังจากเขามีลูกเล็ก ก็ตกลงกับภรรยาว่าตนเองจะลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลลูกเต็มเวลา แต่ ‘ศิระ’ ก็ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ผูกพัน และสังคมที่อยากเห็น  ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังพักภารกิจประจำ ตอนนี้เขาทำธุรกิจเรือไฟฟ้าเช่าเหมาลำ ‘สุขสำราญ’ บริการนำท่องเที่ยวแบบไม่เหลือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณคลองบางหลวง สายน้ำเล็กๆ ที่มีวัดปากน้ำภาษีเจริญ องค์พระใหญ่ที่เป็นจุดแลนด์มาร์ก และมีตลาด ชุมชนที่อยู่อาศัย อู่ต่อเรือ หรือโรงสีข้าว ที่ล้วนพัฒนามาจากรากฐานประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เรานัดคุยกับเขาในปลายเดือนมีนาคม ตรงกับวันที่ศิระตกลงอาสาเป็นคนขับเรือ รับส่งผู้คนข้ามฟากในงานประเพณีประจำปีของ ‘ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ้วง’ และ ‘ศาลเจ้ากวนอู’ บริเวณตลาดพลูซึ่งมีสายน้ำของคลองบางหลวงคั่นกลาง ในวันที่เทรนด์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือเรือไฟฟ้ามาแรง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตสภาพแวดล้อมตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ศิระ’ เป็นผู้มาก่อนกาลอยู่เหมือนกันที่ลงมือเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลของเรือให้เป็นระบบไฟฟ้าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน  ทั้งแนวทางธุรกิจ […]

‘Steinway Tower’ ตึกบางที่สุดในโลกเปิดให้เข้าอาศัย พร้อมวิวนิวยอร์ก 360 องศา

ลองจินตนาการว่าคุณอยู่บนตึกสูงเสียดฟ้า และมองไปด้านไหนก็จะเห็นวิวของกรุงนิวยอร์ก ทั้งตึกสูงข้างๆ กัน และสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมืองอย่าง Central Park  แต่ถ้ามองจากภายนอกแล้ว ตึกที่คุณอยู่นี้จะเป็นเหมือนดินสอหรือไม้คนกาแฟ เพราะมีความกว้างที่บางเฉียบถ้าเทียบกับตึกทั่วไป นั่นคือกว้างไม่ถึง 20 เมตร เรากำลังพูดถึง ‘Steinway Tower’ ตึกระฟ้าในเมืองแมนแฮตตัน กรุงนิวยอร์ก หลังจากสร้างเสร็จในปี 2021 ตึก Steinway แห่งนี้ก็ถูกนับว่าเป็นตึกระฟ้าที่บางที่สุดในโลกทันที ด้วยความกว้าง 18 เมตร และความสูง 1,426 ฟุต (หรือ 434 เมตร ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกภาพตึกมหานครในกรุงเทพฯ ที่สูง 314 เมตร) ตึกแห่งนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ บ้านในอดีตของครอบครัวนักสร้างเปียโนแบรนด์ชื่อดังอย่าง ‘Steinway’ และฮอลล์คอนเสิร์ตที่สร้างเสร็จในปี 1925 และส่วนที่ต่อเติมขึ้นมาและเพิ่งสร้างเสร็จเป็นโซนอะพาร์ตเมนต์หรูซึ่งมี 84 ชั้น และแบ่งเป็น 46 ห้อง ซึ่งเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2015  แต่ละชั้นจะมีเพียงอะพาร์ตเมนต์ห้องเดียวเท่านั้น และในแต่ละห้องนั้นจะมองเห็นวิวของเมืองนิวยอร์กได้รอบ 360 องศา เลยทีเดียว  […]

รถไฟ JR ญี่ปุ่นทดลองวิ่งไร้คนขับช่วงกลางวันเป็นครั้งแรก!ตั้งเป้าพัฒนาใช้จริงปี 2027

หลายคนคงคุ้นเคยและได้ยินเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ (driverless) กันมาบ้างแล้ว แต่จะเป็นอย่างไร ถ้ามีขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟที่ขับเคลื่อนบริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีนี้บ้างล่ะ? อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศที่ขนส่งทางรางเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันอย่างญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รถไฟ JR สายตะวันออกได้ทดลองวิ่งด้วยระบบไร้คนขับเป็นครั้งแรกในช่วงเวลากลางวัน ก่อนเริ่มให้บริการรอบแรกของวัน การทดลองวิ่งเป็นไปตามเส้นทางวงกลม 34.5 กิโลเมตรตลอดสายยามาโนเตะ (Yamanote Line) ซึ่งเป็นเส้นเลือดสำคัญที่วิ่งรอบโตเกียวและมีผู้ใช้บริการกว่า 3.5 ล้านคนต่อวัน  การทดลองวิ่งครั้งนี้ไม่มีผู้โดยสารอยู่ในตัวรถ มีเพียงคนขับรถคอยตรวจตราความเร็ว หรือความตรงเวลาของระบบ แต่ก็นับเป็นหมุดหมายสำคัญได้เลย เพราะการทดลองวิ่งแบบไร้คนขับครั้งที่ผ่านมานั้นทดสอบในช่วงเวลากลางคืน และการทดลองใช้เทคโนโลยีนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงในปี 2027 หรืออีก 5 ปีข้างหน้านั่นเอง  ทำไมทางญี่ปุ่นถึงต้องนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับรถไฟ คำตอบคือ ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่คนวัยทำงาน ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานที่จะเข้ามาทำงานในขนส่งสาธารณะอย่างการขับรถไฟ และพนักงานส่วนใหญ่ก็จะเกษียณอายุงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้  แม้ทางบริษัท JR จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างพนักงานที่เกษียณไปแล้วมาทำงาน แต่นั่นก็เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้า และคำถามสำคัญเมื่อนำเทคโนโลยีไร้คนขับมาใช้กับขนส่งสาธารณะคือประเด็นเรื่องความปลอดภัย เช่น การหยุดรถกะทันหันหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด รถจะจอดตรงจุดจอดสถานีหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้คือโจทย์ที่รัฐต้องร่วมกันอุดช่องโหว่กันต่อไป Sources Mainichi | https://bit.ly/3t3UZuU Nikkei Asia […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

1 2 3 4 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.