รวมข้อมูลเส้นทางและกำหนดการเบี่ยงการจราจรเพื่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม กระทบเส้นทางและผู้อาศัยหลายย่านในกรุงเทพฯ

อย่างที่ทราบกันว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มคือรถไฟฟ้าช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่มีทั้งหมด 12 สถานี เริ่มต้นจากสถานีบางขุนนนท์ เป็นอุโมงค์วิ่งตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช ผ่านพื้นที่ย่านราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยมราช เพชรบุรี ประตูน้ำ ดินแดง ก่อนเชื่อมต่อไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินได้ เพื่อเตรียมเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีส้มในปี 2573 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงปิดเบี่ยงจราจร ชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ตลอด 24 ชั่วโมง ในบริเวณถนนรอบ 5 สถานี คือ สถานีบางขุนนนท์ สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ยกเว้นสถานีศิริราช เพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยประชาชนยังสามารถเดินทางได้ตามปกติ ส่วนใครที่อยากรู้ว่าตัวเองได้รับผลกระทบมาก-น้อยแค่ไหน และช่วงเวลาในการเบี่ยงการจราจรจะลากยาวถึงเมื่อไร […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

หนังสือภาพ ‘Moments in Chiang Mai’ บอกเล่าความประทับใจและเสน่ห์ในเชียงใหม่ ผ่านลายเส้นของ Louis Sketcher

หลังจากที่ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากหนังสือ ‘Bangkok Shophouses ตึกแถวกรุงเทพฯ และชีวิตชาวย่าน’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘หลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา’ นักวาดภาพเมือง (Urban Sketcher) เจ้าของเพจ Louis Sketcher ที่พาทุกคนไปพบกับความสวยงามของตึกเก่าในกรุงเทพฯ ครั้งนี้หลุยส์อยากแบ่งปันความประทับใจจากอาหารการกิน สถาปัตยกรรม และภาษาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ในจังหวัด ‘เชียงใหม่’ ที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา จนทำให้กลายเป็นจังหวัดที่ชวนให้เขากลับไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในวันที่เติบโตขึ้น การเตรียมพร้อมไปเชียงใหม่ของเขานั้นจะต้องมีสมุดสเก็ตช์ อุปกรณ์วาดรูป และแพสชันในการบันทึกความประทับใจที่เจอออกมาเป็นลายเส้นที่เต็มไปด้วยสีสัน ความประทับใจเหล่านั้นได้รวบรวมออกมาเป็นหนังสือ ‘Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ’ ที่จะพาเราออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละช่วงเวลา ผ่านภาพวาดที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของ Louis Sketcher ด้วยดินสอ ปากกา สีน้ำ และลายเส้นเฉพาะตัว จำนวน 160 หน้า พิมพ์สีทั้งเล่ม และมาพร้อมกับเนื้อหาสองภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ เปิดให้ Pre-order […]

รู้จักการสร้างเมืองให้ปังด้วย CITY BRANDING

เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมเมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่น แม้จะมีอาคารสมัยใหม่และมีความเป็นเมืองมากมาย แต่สิ่งที่เราจำได้กลับไม่ใช่อาคารเหล่านี้ หากแต่เป็นบ้านไม้โบราณและวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นแทน เครื่องมือหนึ่งที่สร้างกระบวนการให้เมืองมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองนี้มีชื่อว่า ‘City Branding’ ซึ่งทำให้คนในชุมชนนั้นเห็นคุณค่าและศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่ เพื่อที่จะกลายเป็นจุดขายของเมืองให้ดึงดูดคนเข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อีกด้วย Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : urbancreature.co/city-branding #UrbanCreature #Scoop #ThinkThoughtThought #CityBranding #City #Architecture #สถาปัตย์ #สถาปัตยกรรม #สร้างเมืองให้ปัง

เจาะลึกนโยบายพัฒนาเมือง กับนักผังเมืองพรรคก้าวไกล | Unlock the City EP.28

เมื่อพรรคก้าวไกลคือพรรคที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล Urban Creature ชวนนักผังเมืองรุ่นใหม่ไฟแรง ‘ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ว่าที่ ส.ส. เขต 21 กรุงเทพฯ มาคุยกันถึงเรื่องนโยบายผังเมืองให้ประชาชนเห็นภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาพใหญ่ของพรรค และนโยบายภาพย่อยของเขต

Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

สำรวจยอดจดทะเบียนรถยนต์ EV ปี 2565 แค่ยอดรวม 10 เดือน ก็มากกว่า 10 ปีรวมกัน

“ภายในปี 2040 รถยนต์ทุกคันที่ขายบนโลกนี้จะกลายเป็นรถยนต์ไฟฟ้า”  นี่คือคำสัมภาษณ์กับ CNBC ของ ‘Darren Woods’ ซีอีโอบริษัทน้ำมัน ExxonMobil ที่คาดการณ์ว่าในอนาคตโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้พลังงานเชื้อเพลิงครั้งยิ่งใหญ่ หากเป็นในอดีตที่รถยนต์ทุกคันใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขับเคลื่อน อนาคตที่เต็มไปด้วยยานพาหนะไฟฟ้าอาจดูเหลือเชื่อไปเสียหน่อย แต่สำหรับปัจจุบันที่หลายค่ายรถยนต์เริ่มออกรถรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แถมคนรุ่นใหม่ก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น คำคาดการณ์ดังกล่าวคงไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไป คอลัมน์ City by Numbers จึงขอหยิบเอายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมาให้ดูกัน เพื่อทำความเข้าใจทิศทางและความนิยมของรถประเภทนี้ และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของใครหลายคนในอนาคต รวมถึงชี้ให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าช้าไปสักหน่อย แต่ท้ายที่สุดคำกล่าวของ Darren Woods ก็อาจเกิดขึ้นได้ รถยนต์ไฟฟ้ามีหลายประเภท จะมาเป็นเหมือนกันไม่ได้ นั่นก็รถยนต์ไฟฟ้า นี่ก็รถยนต์ไฟฟ้า  ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ก็มักได้ยินคนพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าเต็มไปหมด แต่ถ้าพูดคุยหรืออธิบายลึกลงไปอีก ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ หรือ ‘รถยนต์ EV (Electric Vehicle)’ ในมุมมองของเขาและคุณ ความหมายอาจจะไม่ตรงกันเสียทีเดียว เพราะความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้ ถึงแม้ว่าทั้ง 4 ประเภทจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน แต่ก็ล้วนมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งสิ้น แต่บทความนี้จะขอเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV เพื่อทำให้เห็นถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดในไทย […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

สิ้นสุดการรอคอย! รถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู เตรียมเปิดวิ่งฟรีบางส่วน ม.ค. 66

อีกไม่นานเกินรอสำหรับการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเหลืองและชมพู หลังจากใช้เวลาก่อสร้างมานานหลายปี เลื่อนเปิดใช้งานไปก็หลายครั้ง ล่าสุดจากการหารือกันระหว่างกรมการขนส่งทางราง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และตัวแทนภาคเอกชนผู้รับสัมปทาน ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปถึงแผนการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว–สำโรง และสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ออกมาแล้ว  โดยรถไฟฟ้าทั้งสองสายจะมีการทดสอบระบบด้วยการเปิดให้ประชาชนติดต่อลงทะเบียนทดลองใช้บริการในรูปแบบ ‘เฉพาะกลุ่ม’ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หน่วยงาน หรือกลุ่มประชาชนที่สนใจ ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ ก่อนจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปทดลองใช้บริการแบบฟรีๆ ในเดือนมกราคม 2566 แต่จะเปิดให้บริการเป็นบางส่วน (Partial) เท่านั้น ก่อนจะเริ่มเก็บค่าโดยสารช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบในช่วงกลางปีตามลำดับ ในช่วงทดลองวิ่ง สายสีเหลืองจะเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงสถานีสำโรง-สถานีภาวนา ส่วนสายสีชมพูคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่สถานีมีนบุรี-สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ยกเว้นสถานีนพรัตน์ สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ เบื้องต้นค่าโดยสารรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสองสายจะอยู่ที่ประมาณ 15 – 45 บาทตามระยะทาง และสามารถใช้งานผ่านบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS ที่มีอยู่เดิมได้เลย ส่วนใครที่กำลังรอรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อยู่ ก็อาจรอกันต่อไปอีกหน่อย เพราะถึงแม้ว่าการก่อสร้างใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่มีกำหนดเปิดทดลองใช้งานออกมาอย่างเป็นทางการ Sources :3Plus News | t.ly/MWE4 ประชาชาติ | t.ly/0xLo

District Cooling System ทางออกการลดอุณหภูมิแบบรักษ์โลกของสิงคโปร์  

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีสาเหตุมาจากการสะสมความร้อนของเมือง อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง ทำให้แต่ละเมืองเริ่มมองหาเครื่องมือหรือนโยบายต่างๆ ที่จะช่วยบรรเทาให้ความร้อนในเมืองลดลง หนึ่งในนั้นคือ ‘สิงคโปร์’ ที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดตั้งโครงการ ‘Cooling Singapore’ ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์เกาะความร้อนโดยตรง ผ่านการออกแบบเมือง เพิ่มพื้นที่สีเขียว และนำนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘District Cooling System (DCS)’ เข้ามาช่วย ดับร้อนด้วย Cooling Singapore ปรากฏการณ์ UHI ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเป็นทุนเดิม มีอุณหภูมิเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุเกิดจากการเพิ่มจำนวนป่าคอนกรีตบริเวณใจกลางเมือง จนทำให้อุณหภูมิในตัวเมืองสิงคโปร์สูงกว่านอกเมืองถึง 7 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 1.4 – 4.6 องศาเซลเซียสภายในปี 2100 จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกด้วย ซึ่งถ้าสิงคโปร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ หมายความว่าผู้คนอาจต้องใช้พลังงานในการสร้างความเย็นมากกว่าเดิม ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้น ดังนั้นสิงคโปร์จึงต้องหาวิธีควบคุมอุณหภูมิเมืองไม่ให้ร้อนขึ้น เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้มากที่สุด สิงคโปร์จึงจัดตั้งทีมวิจัยสำหรับดำเนินโครงการ […]

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ถนนราชดำเนิน ชม 8 อาคารในความทรงจำที่สูญหายผ่านโปรเจกต์ AR ‘ราษฎรดำเนิน’

‘ถนนราชดำเนิน’ ถือเป็นหนึ่งในถนนสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เนื่องจากตัดผ่านพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารถาวรและชั่วคราวที่เต็มไปด้วยเรื่องราวความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยยุคหลังปี 2475 แม้สิ่งปลูกสร้างบางอาคารจะหายไป แต่ความทรงจำยังคงอยู่ Urban Ally และ คิดอย่าง ได้ร่วมมือกันปลุกประวัติศาสตร์ในย่านถนนราชดำเนินขึ้นอีกครั้งผ่านโปรเจกต์ ‘ราษฎรดำเนิน’ กับการจัดแสดงภาพด้วย Augmented Reality (AR) ที่รวมเอาสภาพแวดล้อมจริงเข้ากับวัตถุเสมือนในเวลาเดียวกัน ราษฎรดำเนินหยิบเอาเอกลักษณ์ของ AR ขึ้นมาใช้นำเสนอ เพื่อเล่าถึงอัตลักษณ์ของถนนราชดำเนินทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ราชดำเนินกลาง ราชดำเนินใน และราชดำเนินนอก โดยเจาะไปที่อดีตอาคารมรดกคณะราษฎรทั้งชั่วคราวและถาวรจำนวน 8 หลัง ที่ครั้งหนึ่งเคยมีอยู่บนเส้นทางราชดำเนิน ดังนี้ งานฉลองรัฐธรรมนูญ โรงละครเฉลิมชาติ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย  กลุ่มอาคารราชดำเนินกลาง ปั๊มน้ำมันสามทหาร ถนนราชดำเนินใน กลุ่มอาคารศาลยุติธรรม  เมรุปราบกบฏบวรเดช  งานฉลองรัฐธรรมนูญท้องสนามหลวง คนรุ่นใหม่สามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่สูญหายไปของถนนได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ผ่านเว็บไซต์ที่กดเลือกดูแบบอาคาร 3 มิติและประวัติของทั้ง 8 อาคาร หรือจะเทียบภาพ AR กับสถานที่จริงในปัจจุบันก็ได้ประสบการณ์ไปอีกแบบ ดูโปรเจกต์ […]

1 2 3 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.