พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

#อ่านเปลี่ยนโลก หนังสือ 21 เล่มที่ยืมอ่านได้ฟรีจากคณะก้าวหน้า

อยากอ่านหนังสือดี แต่ยังไม่อยากซื้อ คณะก้าวหน้ามีให้ยืมฟรีได้ถึง 30 วัน ‘อ่านเปลี่ยนโลก (Reading Revolution)’ คือโครงการส่งต่อหนังสือ ให้ยืมหนังสืออ่านฟรี เพื่อขยายพรมแดนความรู้ เปิดจินตนาการความเป็นไปได้ใหม่ๆ ผ่านการอ่านของ Common School โดยคณะก้าวหน้า เพราะสังคมอุดมปัญญาจะเกิดขึ้นได้จริงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าพร้อมๆ กับเสรีภาพในการแสวงหาความรู้และวิพากษ์วิจารณ์ไปพร้อมกัน คณะก้าวหน้าจึงคัดเลือกหนังสือที่กระตุ้นให้เกิดจินตนาการความเป็นไปได้ใหม่ๆ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาการเมือง ศิลปะ และวรรณกรรม ทั้งหมดจำนวน 21 ปก จาก 12 สำนักพิมพ์ เพื่อนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านในรูปแบบการยืมและส่งต่อ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หนังสือทั้งหมด 21 เล่ม ได้แก่  • เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ (ยูวัล โนอาห์ แฮรารี) • เสรีนิยมกับประชาธิปไตย (นอร์แบร์โต บ๊อบบิโอ) • ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร (ชาตรี ประกิตนนทการ) • ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (คริส […]

ความสัมพันธ์และอำนาจภายใต้เถ้าถ่านความรักใน ‘WALTZ เต้นรำในวอดวาย’

ทำไมเขาไม่รักฉัน ทำไมความสัมพันธ์ของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป เหตุใดถึงคบใครไม่ได้นาน ทำไมโสด พอมีคนเข้ามาก็ไม่ถูกใจ ทำไมเธอคบเผื่อเลือก นอกใจเป็นเรื่องควบคุมได้หรือเปล่า ชู้รักคือหอกแหลมคมหรือหยาดน้ำวาบหวาม แล้วอะไรบันดาลให้สองคนอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระยะยาวไม่น่าเบื่อเกินทน  เพราะอะไรจึงต่างสร้างบาดแผลให้กันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำไมผู้เป็นพ่อมีอำนาจเหนือทุกคนในบ้าน ทำไมจึงใช้ความรุนแรง ความรักเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ และหรือสถาบันย่อยอย่างครอบครัวบ่มเพาะปูดปมลึกร้าวเพียงใดในการสร้างคนออกสู่สังคม แล้วสังคมล่ะ-โครงสร้างของมันกดทับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ คำถามทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงคำถามที่คิดออกอย่างฉับพลัน ซึ่งเชื่อว่าหากได้ลองนั่งคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับปัญหาในแง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เราคงได้คำถามชนิดที่ไม่หวาดไม่ไหวจะนับ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พาผมเดินทางมาพบ เติร์ก-บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น WALTZ เต้นรำในวอดวาย ผลงานจากสำนักพิมพ์ที่ประกาศกร้าวยืนหนึ่งเรื่องความสัมพันธ์ P.S. Publishing เริ่มบรรเลง หนึ่งในสิ่งซึ่งชวนแปลกใจ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือต่อให้ผ่านความเจ็บร้าวปวดแปลบมากเพียงใด ก่อกำแพงในใจสูงลิ่วแค่ไหน เมื่อแผลสดสมานกลายเป็นแผลเป็น ไม่มากก็น้อย แนวโน้มที่คนเราจะสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่งแบบใดขึ้นใหม่ก็ยังไม่เท่ากับศูนย์ WALTZ เต้นรำในวอดวาย จะพาผู้อ่านไปสำรวจฟลอร์ของเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่แก่นแกนอาจกล่าวได้ว่ามักเคลือบหวานที่ท่อนแรกเริ่ม แต่ซ่อนขมตรมที่ปลายเพลง นิยามของบ้านภายในจิตใจ และการเผาไหม้ใครสักคนจนวายวอดในขณะที่บทเพลงเต้นรำบรรเลงถึงโน้ตตัวสุดท้าย  จริงอยู่-ถึงที่สุดแล้วไม่มีความสัมพันธ์ใดเทียบเคียงกันได้ ด้วยความซับซ้อนของมนุษย์ กระนั้น หลังจากอ่านหน้าสุดท้าย เรื่องราวแต่ละเรื่องในหนังสือก็ชวนให้ขยับถอยออกมามองหาทุกโครงสร้างที่มีผลต่อความสัมพันธ์ เมื่อเราต่างไม่อาจเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับใครสักคน-สักรูปแบบ จะเป็นไปได้ไหม-ที่การเต้นรำจะมอบเปลวไฟอบอุ่นแก่เรา โดยไม่ผลาญทำลาย หรือหากต้องผลาญทำลาย-จะมีบ้างไหม บางสิ่งซึ่งยังเหลือในกองเถ้าถ่าน ผมนึกถึงหลายคำถาม […]

ชวนอ่าน ‘Her name is ชื่อของเธอคือ…’ หนังสือที่สอนให้ผู้หญิงใช้ชีวิตเพื่อตัวเธอเอง

เรื่องราวทั้ง 28 เรื่องในหนังสือเล่มนี้ เล่าถึงชีวิตจริงของผู้หญิงเกาหลีใต้ที่ต้องเผชิญการกดทับในสังคมชายเป็นใหญ่ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิต ด้วยวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ฟูมฟายอย่างที่บทนำเขียนไว้ แต่ยิ่งอ่าน ยิ่งสะสมความรู้สึกอัดอั้นรอวันระเบิด เช่นเดียวกับที่ผู้หญิงในเกาหลีใต้เผชิญมาตลอด

อ่าน E-book ฟรี! หอสมุดแห่งชาติ เปิดบริการหนังสือหาดูยากเกือบ 100 ปี ไปจนถึงหนังสือทั่วไปกว่า 2,300 เรื่อง

อ่าน E-book ฟรี! เวลาทองสำหรับเหล่าหนอนหนังสือ! เพื่อสนับสนุนคนไทยใช้เวลาว่างตอนกักตัวอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงที่ COVID-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่

‘สำนักพิมพ์แซลมอน’ ปลาที่แข็งแรงผู้ว่ายทวนกระแสการเปลี่ยนแปลงของวงการสื่อสิ่งพิมพ์

สำนักพิมพ์แซลมอนว่าด้วยการเกิดขึ้นใหม่การเปลี่ยนแปลงและการหายไปของบางอย่างในแวดวงสิ่งพิมพ์

‘E-Book’ ไม่ได้มาเเทนที่หนังสือ แต่คือตัวเชื่อมคนเขียนและคนอ่านผ่านแอปฯ ‘meb’

คุยกับ ‘คุณไช้ รวิวร มะหะสิทธิ์’ ผู้สร้างแอปฯ meb ที่จะมาเล่าชีวิตและมุมมองของเขา เริ่มต้นจากการเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ จนกระทั่งก่อตั้งแพลตฟอร์มสำหรับ E-Book มานานกว่า 9 ปีแล้ว

“ถ้ารัฐใส่ใจพัฒนาประชาชน ทุกคนจะเข้าถึงหนังสือ” – เพจรองขาโต๊ะ

เปิดเล่มความคิดเรื่องการเข้าถึงหนังสือกับแอดมิน ‘รองขาโต๊ะ’ เพจรีวิวหนังสือที่เกิดจากความขี้เล่นแกมเสียดสีของนักอ่านตัวยง ผู้รีวิวความน่าอ่านตามความน่านำไปรองขาโต๊ะ แม้วิธีการให้คะแนนหนังสืออาจดูใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แต่เขากลับมองวงการหนังสือไปถึงภาพกว้างระดับสังคม ด้วยความเชื่อที่ว่า “นิสัยรักการอ่านควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ที่บ้าน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมอย่างทั่วถึงจากภาครัฐ”

คนไทยไม่อ่านหนังสือ หรือพื้นที่การอ่านมีไม่มากพอ?

บรรยากาศห้องสมุดที่เราคุ้นเคยคงเป็นสถานที่น่าเบื่อเชยๆ ไว้ค้นคว้ารายงานส่งครู ขณะที่ห้องสมุดในต่างประเทศกลับมีรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุดที่หรูหราโอ่อ่าราวขุมทรัพย์ ไปจนถึงห้องสมุดจิ๋วในตู้โทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งเปิดกว้างให้นักอ่านทุกประเภท ชวนเราย้อนคิดว่า ทำไมบ้านเราถึงมีภาพจำว่า ห้องสมุดมีไว้สำหรับการเรียนการสอน หรือนักวิชาการเท่านั้น ?

ตามกลิ่นกระดาษ และออกเดินทางไป 6 เมืองแห่งหนังสือ ที่คอยขับเคลื่อนเมืองให้มีชีวิต

พาไป 6 เมืองทั่วโลก ที่ยกให้หนังสือและกลิ่นกระดาษเป็นใหญ่ และขับเคลื่อนเมืองให้มีชีวิต

‘นิทานเด็ก’ ไม่ได้สอนแค่เด็ก แต่ยังสอนให้ ‘ผู้ใหญ่’ เปิดโลกของเด็กให้กว้างขึ้น

ชวนหนูๆ และผู้ใหญ่มาท่องโลกนิทานเด็กกับ ‘ณิชา พีชวณิชย์’ นักเขียนนิทานเด็กที่สร้างสรรค์นิทานจนคว้ารางวัลหนังสือดีเด่นมาแล้ว บทสนทนาครั้งนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของการทำงานเป็นนักเขียนนิทาน ตลอดจนความสำคัญของนิทานเด็กที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรรู้ให้มากขึ้นเพื่อเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และสอนเขาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า

ตะลุยตามหา ‘ร้านหนังสืออิสระในไทเป’ ฉบับเจ้าถิ่น

ตามประสามนุษย์หนังสือไม่ว่าจะเดินทางไปเมืองไหน เรามักจะปักหมุดร้านหนังสืออิสระของแต่ละเมืองไว้เป็นหนึ่งในลิสต์สถานที่ที่ต้องไปเยือนเสมอ และถ้าเป็นไปได้ก็จะหยิบหนังสือสักเล่มติดไม้ติดมือกลับมาอ่าน รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็ได้ดูภาพประกอบและเลย์เอาต์ของหนังสือไปพลาง ก็เหมือนได้ทำความรู้จักประเทศนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น หากพูดถึงที่ประเทศไต้หวัน นอกจากร้านหนังสือเชนสโตร์อย่าง ‘Eslite Bookstore’ ที่มีสาขากระจายตัวอยู่ทั่วไทเปและหลายเมืองแล้ว ความโดดเด่นของวงการหนังสือและสิ่งพิมพ์ไต้หวันคือยังมีคนตัวเล็กๆ ที่ปลุกปั้นร้านหนังสืออิสระในแบบเฉพาะของพวกเขาซึ่งซุกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ทั้งใน Creative Park บ้าง แอบอยู่บนชั้นสองของตึกแถวเล็กๆ ในซอยที่ไม่ค่อยมีคนพลุกพล่าน วันนี้เราเลยรวบรวมมาเป็นลิสต์เบื้องต้นสำหรับเหล่าหนอนหนังสือที่มาเยือนไทเปก็ไม่ควรพลาดไปแวะชมร้านหนังสือเหล่านี้ 青鳥 Bleu&Book สาขาหลักของร้านนี้อยู่ที่ Huashan 1914 Creative Park ทันทีที่ผลักบานประตูสีเขียวเข้าไป โลกแห่งความสงบภายในก็รอให้เราได้มาสัมผัส ‘Bleu&Book’ เป็นร้านหนังสืออิสระขนาดใหญ่ที่คัดสรรหนังสือหลากหลายประเภท แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาจีน แต่เราก็เพลิดเพลินไปกับการไล่สายตาดูหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้บนชั้นที่คัดสรรมาอย่างดีได้นานพอดู หรือใครที่เดินเที่ยวมาเหนื่อยๆ ร้านนี้ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการหลบมานั่งพักดื่มกาแฟ และที่นี่ยังมักจะจัดเสวนาเปิดตัวหนังสือหรือชักชวนนักเขียนชาวไต้หวันมาพูดคุยใกล้ชิดกับนักอ่านอยู่บ่อยๆ เรียกว่าเป็นอีกบรรยากาศที่น่าลองไปสัมผัสดูเหมือนกัน Sources: https://bleu.com.tw/www.facebook.com/bleubook/ 浮光書店 Illumination Books สิ่งที่ทำให้เราประทับใจร้านหนังสือแห่งนี้ตั้งแต่การไปครั้งแรก คือถึงแม้จะตั้งอยู่ในย่านวัยรุ่นสุดฮิปอย่าง Zhongshan แต่การต้องปีนบันไดสุดชันขึ้นไปบนชั้นสองของห้องแถวที่ล้อมรอบไปด้วยธุรกิจเซียงกงก็ทำให้เราตื่นเต้นไม่น้อย สำหรับเอกลักษณ์ของร้านนี้เน้นหนังสือ non-fiction สไตล์สังคมศาสตร์ ปรัชญา และการเมืองซึ่งถือว่าเฉพาะตัวมากๆ Jc Chen […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.