EAT

‘พาสต้าเส้นจิ้งหรีด’ จาก Bugsolutely สตาร์ทอัปที่จับจิ้งหรีดในฟาร์มไทยแปลงร่างเป็นแหล่งโปรตีนโลก

‘ปี๊บๆ’ เสียงบีบแตรจากรถเข็นขายแมลงทอดที่จอดอยู่ข้างถนนเรียกคนเข้าไปมุงดู ในถาดมีแมลงทอดกรุบกรอบอยู่ 4-5 ชนิดโชยกลิ่นหอมเตะจมูก หนึ่งในนั้นคือจิ้งหรีดที่เราโปรดปราน แมลงทอดถุงละ 20 บาทที่เป็นเหมือน ‘ของแปลก’ ในสายตาชาวเมือง แต่แถวบ้านนอกนั้นเรียกว่าเป็นอาหารสุดโอชะ

5 ดีไซน์เล้าไก่ คนสุขใจ ไก่อารมณ์ดี

“บ้าน” คงเป็นที่ซุกตัวและชาร์ตพลังได้ดี เวลาที่ชีวิตในเมืองทำเอาเราแบตหมดง่ายไปดื้อๆ และหากได้เลี้ยงสัตว์คู่ใจคงจะดีไม่ใช่น้อย บางบ้านคงเลี้ยงสุนัข แมว หรือปลา แต่บางบ้านหากมีพื้นที่เหลือลองเลี้ยงไก่ดูไหม ? เพราะมีไข่ให้กินอยู่ตลอดแน่นอน เราจึงหอบงานดีไซน์เล้าไก่กว่า 5 แบบมาให้เลือกสรร ที่จะเนรมิตเล้าไก่ธรรมดาที่เป็นภาพติดตามาโดยตลอด ให้ดูมีสไตล์ที่เรามองทีไร ก็สุขใจ และไก่คงจะแฮปปี้ไม่แพ้กัน | เล้าไก่ไม้โอ๊ค แบ่งเป็นสัดส่วน บ้านเดี่ยวสำหรับไก่ที่อยู่รวมกันได้ถึง 800 ตัว ออกแบบโดย SO สตูดิโอ โดยมี Kutluğ Ataman เป็นศิลปินที่ช่วยออกแบบ ซึ่งเล้าไก่นี้อยู่ที่ฟาร์มในประเทศตุรกี ซึ่งถูกสร้างด้วยวัสดุเรียบง่าย ซุ้มของเล้าทำจากไม้โอ๊คอัด แผงโลหะออกซิไดซ์ และหลังคาโลหะลูกฟูก หากวันข้างหน้ามีจำนวนไก่ที่เยอะขึ้น ก็จะมีพื้นที่สำหรับต่อเติมโครงสร้างเพื่อขยายเล้าได้ ส่วนตัวหลังคาจะลาดเอียง เพื่อทำให้เกิดร่มเงาภายใต้อาคาร สำหรับไก่ที่ต้องการพักผ่อนจะรู้สึกสบายตัว แม้วันนั้นอากาศจะร้อนแค่ไหนก็ตาม วัสดุที่เลือกจะเป็นไม้ซะส่วนใหญ่ เนื่องจากง่ายต่อการรักษา ไม้จึงเป็นทางเลือกที่เป็นวัสดุธรรมชาติ สำหรับที่พักอาศัยของสัตว์ ส่วนถึงเวลาเก็บไข่ คนเลี้ยงก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไป เพราะในเล้าจะมีช่องสำหรับให้คนเก็บไข่ และส่วนด้านในจะมีช่องไม้ทอดยาว แบ่งโซนชัดเจนเพื่อเป็นที่ให้ไก่เตรียมฟักไข่ ซึ่งเล้าไก่หลังนี้ยังใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย อย่างการสำรวจพฤติกรรมของไก่ และคนในท้องถิ่นที่เคยดูแลไก่มาแล้ว จึงรู้ว่า “ถ้าไก่ไม่ชอบบ้านของตัวเอง […]

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

ถ้าต้อง ‘เวฟพิซซ่า’ ยอมกินเย็นๆ ดีกว่าไหม

พิซซ่านั้นหาทานได้ง่าย แค่กดโทรศัพท์ก็ได้กินแล้ว แต่ถาดเดียวมาทีหลายๆ ชิ้น หากเอาความเป็นจริงบางคนแค่ 2 ชิ้นก็เกือบเต็มท้องแล้ว ทำให้การเก็บพิซซ่าแช่ในตู้เย็นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปเลย พอถึงวันถัดไปบางคนชอบอุ่นกินอีกครั้ง แต่กว่าจะได้กินต้องทำการอุ่นกันสักหน่อย บ้างก็จับเข้าไมโครเวฟ หรือเตาอบเสียเลย แต่รู้หรือเปล่าว่า แบบนั้นไม่ควรทำ ! เว็บไซต์ Eater ได้ออกมาแนะนำแล้วว่า การที่เอาพิซซ่าเข้าไมโครเวฟนั้นจะทำให้เนื้อสัมผัสเปียกเกินไป หรือหากเอาไปใส่เตาอบกว่าเตาจะร้อนและอุ่นให้เรากินได้ ก็ใช้เวลาเกือบ 10 นาที อาจจะทำให้พิซซ่าแข็งและแห้งเกินไปด้วยซ้ำ ความชุ่มฉ่ำซอสเหรอ ไม่ต้องหวังกันแล้ว  แล้วจะทำอย่างไรกันดีล่ะ ? ที่พอจะมีทางออกให้เรานั้นอุ่นแป้งโดว์ ชีส และซอสออกมายังอร่อยอยู่ สิ่งที่ต้องเตรียมคือกระทะ และฝาปิด จากนั้นเปิดไฟต่ำๆ วอร์มกระทะให้อุ่นเล็กน้อย นำพิซซ่าลงไปวางและหยดน้ำลงไปสัก 2-3 หยด ให้เสียงกระทะนั้นดังฉ่าขึ้นมา จากนั้นปิดฝากระทะลงเพื่อให้ไอน้ำนั้นค่อยๆ ก่อตัวและช่วยละลายชีส ที่ก่อนหน้านี้อาจจะแข็งและเหมือนแผ่นพลาสติกไปแล้ว เมื่อชีสกลับมาเหนอะหนะเหมือนเดิม ประมาณ 5-7 นาที ให้เอาฝาปิดออกแล้วปล่อยให้ก้นกระทะอุ่นแป้งพิซซ่าให้ชุ่มอีกสักหน่อย จากนั้นปิดไฟ แค่นี้ก็ได้กินพิซซ่าทำสดๆ ใหม่ๆ  การทำให้ร้อนแบบนี้ไม่ใช่ทางลัดหรือเคล็ดลับมือโปรขนาดนั้น แต่เขาได้ลองเวฟพิซซ่ามากว่า 20 ปี นอกจากจะได้ยินเสียงแป้งกระทบกับจานอบแล้ว […]

รีไซเคิลถ่านเก่าใช้แล้วทิ้ง เป็นปุ๋ยปลูกต้นไม้

ถ่านอัลคาไลน์ที่เรามักซื้อกันอยู่เรื่อยๆ เมื่อถ่านหมดก็เปลี่ยนใช้ใหม่   แต่ใครจะคิดว่าถ่านที่เราใช้กันทั่วไป ซึ่งนับเป็นวัสดุทางอิเล็กทรอนิกส์ จะสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ‘ปุ๋ย’ ได้ ด้วยฝีมือนักรีไซเคิลและทีมผู้จัดหาแบตเตอรี่ บริษัท Lithium Australia และนักรีไซเคิลทำงานร่วมกัน โดยเริ่มจากการรวบรวมเหล่าถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้แล้วทิ้งจากจุดรับขยะทั่วประเทศ ก่อนนำมาย่อยสลาย และทดสอบดูว่าสารต่างๆ ในถ่านสามารถทำอะไรอย่างอื่นได้ไหม กลายเป็นว่าเจอแร่ธาตุที่เป็นแหล่งอาหารชั้นดีเยี่ยมให้กับดินและพืช ไม่ว่าจะเป็นสังกะสี และแมงกานีส การทดลองระยะสั้นจึงเกิดขึ้น ทาง Lithium Australia นำธาตุอาหารที่พบเจอในถ่านอัลคาไลน์ไปใช้เป็นปุ๋ยสำหรับปลูกข้าวสาลีในเรือนกระจก ปรากฎว่ามันมีคุณภาพสูง สามารถดูดซึมได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเกลือแร่ทั่วไป  ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ทางบริษัทมุ่งมั่นที่จะทดสอบต่อไป เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของโลหะสกัดกับผลิตภัณฑ์ปุ๋ย เนื่องจากยอดขายถ่านอัลคาไลน์ตกปีละ 6,000 ตันทั่วประเทศ และถ่านอัลคาไลน์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปมีการรีไซเคิลต่ำกว่ามาตรฐาน และกว่า 97% ต้องไปอยู่ในหลุ่มฝังกลบอย่างน่าเสียดาย Source : www.bloomberg.com | https://bloom.bg/3go7xVO

ได้ใช้เมื่อไหร่ ? ‘ฟ้าทะลายโจร’ ความหวังยุคโควิด-19

‘สมุนไพรฟ้าทะลายโจร’ ทีมแพทย์ของไทยเองนเล็งเห็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร จึงหยิบนำมาศึกษาในหลอดทดลอง ปรากฎว่าสามารถต้านและยับยั้งไวรัสได้ ขั้นตอนต่อไปคือทดลองในผู้ป่วยจริง อย่างนี้แล้วคนไทยจะมียารักษาโควิด-19 เร็วๆ นี้ไหม ?

How-to แช่แข็งอาหาร 6 ชนิด ทำยังไงให้อยู่ได้นาน

แช่แข็งอาหารให้อยู่ได้นานเพื่อฝ่าวิกฤตไวรัส COVID-19 อาหารการกินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ ราจึงมีวิธีแช่แข็งอาหารที่ถูกต้องมาแนะนำ เพราะการเก็บอาหารไว้ในความเย็นอย่างถูกวิธีนั้น จะช่วยรักษารสชาติและความสดเอาไว้ได้มากที่สุด

รวม 5 เสบียงฉุกเฉินสำหรับปฏิบัติการณ์พิเศษ

จากคลิปเหตุการณ์ปะทะระหว่างหน่วยปฏิบัติการพิเศษกับคนร้ายในเหตุกราดยิงโคราช มีคนพบเห็น ‘กล้วยตาก’ ที่วางเป็นเสบียงฉุกเฉินไว้ไม่ห่างมือ เพื่อการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน ซึ่งต้องเป็นของที่ทำให้อิ่มท้อง น้ำหนักเบา พกง่าย และเก็บไว้ได้นาน จึงเป็นเรื่องท่ีน่าสนใจว่านอกจาก ‘กล้วยตาก’ แล้ว ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ ยังมีอาหารประเภทไหนเป็นเสบียงได้อีกบ้าง ? กล้วยตาก เริ่มจาก ‘กล้วยตาก’ เรียกได้ว่าเป็น ‘Energy bar’ แบบไทยๆ ที่ไม่ได้มีดีแค่การถนอมอาหารเท่านั้น เพราะประโยชน์ของกล้วยตากนั้นมีเยอะมาก โดยกล้วยตาก 1 ลูก ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี ทั้งยังมีคาร์โบไฮเดรต รวมถึงน้ำตาลฟรุกโทส ชูโครส และกลูโคส ในปริมาณเหมาะสม ที่ส่งพลังงานโดยตรงแก่ร่างกาย และสมอง นอกจากนี้ มีเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งช่วยทำให้จิตใจสบาย ไม่หงุดหงิดง่าย และไฟโตเคมิคอล (Phytochemical) ที่ช่วยชะลอความแก่ได้ จึงไม่แปลกใจว่า ทำไมการกินกล้วยตากถึงสามารถทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แถมยังสามารถหยิบกินได้อย่างง่าย สะดวกต่อการทำงานอีกด้วย หมากฝรั่ง (Mililtary Energy Gum) อีกหนึ่งเสบียงฉุกเฉินที่ขาดไม่ได้คือ ‘หมากฝรั่ง’ […]

ปากเหม็น แมงกินฟัน ! มาดูวิธีแก้ปัญหากลิ่นปากแบบชาวญี่ปุ่น 

เชื่อว่าหลายคน คงเคยมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก แต่รู้ไหมว่าปัญหาหลักของกลิ่นปากกว่า 90% เกิดจากอาหารที่เรากินเข้าไป ส่งผลให้เจ้าแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema denticola และ Porphyromonas gingivalis ที่มีอยู่กว่า 100,000-600,000 ล้านตัว ก่อร่างสร้างตัวเปลี่ยนเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในปากเราให้กลายเป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ !  เอาเป็นว่าใครได้กลิ่นต้องร้องอี๋ โดยเฉพาะในซอกเหงือก ซอกฟันที่เแปรงสีฟันไม่สามารถซอกซอนเข้าไปได้ ดังนั้นการบ้วนปากด้วย ‘น้ำยาบ้วนปาก’ ก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง สำหรับการรักษาสุขภาพช่องปากไม่ให้มีกลิ่น และสามารถกอบกู้กลิ่นปากไม่ให้ออกไปทำร้ายใครต่อใครได้  นอกจากใช้น้ำยาบ้วนปากแล้ว วิธีบ้วนปากก็สำคัญไม่น้อย เพราะถ้าเราบ้วนๆ อมๆ น้ำยาบ้วนปากแบบไม่ถูกหลัก คงไม่ช่วยอะไรแต่การบ้วนปากไม่ได้ยากอย่างที่คิด รายการญี่ปุ่นชื่อ Sekai Ichi Uketai Jugyo โดยมีคุณ Teruyama เป็นทันตแพทย์เป็นผู้แนะนำ คนญี่ปุ่นในวัยผู้ใหญ่นั้นมักจะเป็นโรคเกี่ยวกับช่องปาก และจากการสำรวจชาวต่างชาติในญี่ปุ่นแล้วลงมติว่า ‘เคยประสบกับกลิ่นปากแย่ๆ จากคนญี่ปุ่น กว่า 70%’ แต่ที่ในญี่ปุ่นค่ารักษาฟันค่อนข้างสูง เหตุผลนี้อาจจะทำให้คนญี่ปุ่นละเลยสุขภาพช่องปากก็เป็นได้ คุณหมอ Teruyama ได้แนะนำ ‘วิธีบ้วนปากที่ดีที่สุด’ กันบ้าง  ขั้นตอนที่ 1 เพียงใช้น้ำเปล่าปริมาณ 30 […]

กินถั่วเน่าญี่ปุ่นวันละแพ็ค ลดอัตราการตายได้ถึง 10%

ใครเป็นแฟนคลับตัวยงของถั่วเน่าญี่ปุ่น หรือ นัตโตะ ยกมือขึ้น ! แต่ใครไม่ชอบก็คงร้องยี้ เพราะเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงด้านกลิ่นเหม็น ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า นัตโตะเป็นอาหารพื้นเมืองรสเลิศของชาวญี่ปุ่นที่นิยมกินกันตอนเช้า ทำจากถั่วเหลืองนำไปหมักกับเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อว่า Bacillus Subtilis สายพันธ์ุนัตโตไคเนส ในอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส จะได้ถั่วหมักที่มาพร้อมเมือก แถมยังมีกลิ่นแรง แต่เทคโนโลยีการผลิตเดี๋ยวนี้สามารถลดกลิ่นได้บ้างแล้ว. กินนัตโตะตายช้ากว่าเดิม แต่อย่างก็ตามนัตโตะถูกยกให้เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสำหรับทุกวัย ทำให้ศูนย์มะเร็งแห่งชาติเข้ามาทำการวิจัยศึกษากว่า 25 ปี เกี่ยวกับอาหารและอัตราการตายกับกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายกว่า 90,000 คน ในญี่ปุ่น จากการสำรวจและติดตามได้ข้อสรุปว่า  ‘พบว่าผู้ชายและผู้หญิงที่บริโภคถั่วเหลืองหมักหรือนัตโตะ ประมาณ 50 กรัม ลดอัตราการตายถึง 10 % เทียบกับผู้ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอื่นๆ’ นัตโตะมีสารอาหารป้องกันโรค ศูนย์มะเร็งแห่งชาติยังบอกอีกว่านัตโตะมีแร่ธาตุ และสารอาหารมากมาย ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยป้องกันโรคหัวใจ และลดโอกาสเส้นเลือดสมองแตก แถมยังมีข้อมูลเสริมอีกว่าในนัตโตะนั้นมีโปรตีน โปรไบโอติกส์ วิตามินบี 12 สารต้านอนุมูลอิสระ และยังมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็งหลายชนิดได้อีกด้วย  ส่วนนัตโตะสามารถปรับไปเป็นเมนูอื่นได้ตามใจชอบ เพื่อการกินได้ง่ายขึ้นชาวญี่ปุ่นจึงมักนำเอาไปผสมกับโชยุหรือซี่อิ๊วญี่ปุ่น ใส่ต้นหอมซอย หัวไชเท้าฝอย ไข่ดิบ หรือนำไปทำเป็นราเม็งนัตโตะ ข้าวผัดนัตโตะ ซูชินัตโตะ […]

ร้านข้าวแกง ร้านโชห่วย งดพลาสติกเหมือนห้างฯ ได้ไหม?

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีการรณรงค์ให้ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อกว่า 80 บริษัท ‘งดแจกถุงพลาสติก’ ทำให้การใช้ถุงพลาสติกลดลงถึง 9,000 ล้านใบต่อปี  แต่ร้านค้าทั่วไปยังที่ไม่สามารถงดใช้พลาสติกอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านขายของชำ โชห่วย และตลาดสด ทำให้พลาสติกยังคงเป็นปัญหาของบ้านเรา แต่หากร้านค้าเหล่านี้จะหันมาเปลี่ยนถุงหูหิ้ว ถุงแกงร้อน หรือกล่องข้าว มาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคงใช้ต้นทุนที่สูงเอาเรื่อง งดแจกถุง = ขยะที่ลดลง ? นับเป็นเรื่องท้าทาย เพราะถึงแม้ห้างฯ จะงดแจกถุงพลาสติก แต่ปัญหาจริงๆ นั้น ถุงพลาสติกมีที่มาจากหลายแหล่ง  โดยแบ่งสัดส่วนออกเป็น ร้านค้ารายใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต  30%, ร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านโชห่วย ร้านค้าภายในชุมชน 30% และตลาดสด 40% รวมทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตันต่อปี หรือ 30,000 ล้านใบต่อปี ดังนั้น การที่ร้านค้ารายใหญ่งดแจกถุงพลาสติก จึงคิดเป็นเปอร์เซ็นเพียง 20% เท่านั้น จะเห็นได้ว่าร้านค้ารายย่อยและตลาดสด ยังคงเป็นแหล่งหลักที่กระจายถุงพลาสติกสู่มือประชาชน […]

กล่องอาหารใช้ซ้ำได้พันครั้ง ! ไอเดียสุดเจ๋งจากสตาร์ทอัพอาหารเดลิเวอรีในนิวยอร์ก

สนามการแข่งขันส่งอาหารแบบเดลิเวอรี ทั้งผู้ผลิต และเว็บไซต์ต่างๆ ช่วงชิงความเป็นที่หนึ่งเพื่อให้ลูกค้านั้นพึ่งพอใจมากที่สุด แน่นอนว่าการแข่งขันด้านราคาคืออันดับแรกที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญ แต่ลึกลงไปกว่านั้น ยังมีผู้ผลิตที่ส่งอาหารแบบใส่ใจโลกอีกด้วย เราพามาทำความรู้จักกับ ‘DeliverZero’ สตาร์ทอัพจากนิวยอร์ก ที่เลือกใช้ภาชนะรีไซเคิล DeliverZero ส่งอาหารแบบไร้ขยะ สตาร์ทอัพ DeliverZero จากนิวยอร์กได้เริ่มขึ้นแล้ว เปิดบริการส่งอาหารให้กับลูกค้าซึ่งเป็น Food delivery ที่ไร้ขยะ เพราะภาชนะบรรจุอาหารของเขานั้น ลูกค้าสามารถส่งกลับคืน เพื่อใส่อาหารครั้งถัดไปได้ หรือจะเก็บไว้ใช้เองก็ได้เช่นกัน โดย DeliverZero คือไอเดียของ Adam Farbiarz, Lauren Sweeney และ Byron Sorrells สามผู้ประกอบการซึ่งมีแนวคิดตรงกัน คืออยากเชิญชวนลูกค้าให้มาสนใจเรื่องขยะ แต่ไม่บังคับให้เขาเปลี่ยนนิสัยของตัวเอง จึงให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารอยู่บ้านได้อย่างสบาย แต่แค่ปรับภาชนะให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ภาชนะใช้ได้มากกว่า 1,000 ครั้ง ความพิเศษของกล่องนอกจากมีหลากหลายไซซ์แล้ว เนื้อในของมันเองทำมาจากโพลีโพรพีลิน ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีความทนทานสูง ใส่อาหารร้อนได้ ปลอดภัยสำหรับใช้กับไมโครเวฟและเครื่องล้างจาน ลักษณะพิเศษที่สุดคือสามารถนำกลับมาใช้งานได้มากกว่า 1,000 ครั้ง โดยผ่านการรับรองจาก NSF International เป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่บริษัททำอยู่นั้น สอดคล้องกับประกาศของเมืองนิวยอร์กเมื่อปี พ.ศ. […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.