เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

เยี่ยมย่าน…ซอยนานา จากถิ่นจิ๊กโก๋ ตรอกขายยาจีน ผลัดใบสู่ย่านที่ไม่เคยหลับใหล

พาเยือนซอยนานาแห่งเยาวราช ในวันที่ต้องหยุดชะงักความคึกเพราะโควิด-19

ชีวิตดีๆ ที่ลงตัวเริ่มที่เราหรือรัฐ? | Soundcheck

เมืองที่ดีเกิดขึ้นได้ที่ตัวเราก่อนจริงหรือ ภาครัฐล่ะ
คำถามข้างต้นคงเป็นคำถามสำคัญแห่งยุคที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างกว้างขว้าง เพราะเมื่อเรากำลังจะพูดถึงการร่วมกันสร้างเมืองที่ดี เมืองที่ดีของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ตามสิ่งที่คนคนนั้นให้ความสำคัญ
แต่ในเชิงของเมืองที่ดี อย่างที่ควรเป็นเกิดขึ้นได้เพียงความต้องการของคนเดียวจริงหรือ หรือรัฐจะมีส่วนอย่างไร Soundcheck ตอนนี้เราจึงออกไปรับฟังเสียงเพื่อสะท้อนความในใจคนเมืองว่า เขาคิดเห็นกันอย่างไรต่อประเด็นนี้ ใน Soundcheck เมืองที่ดีใครสร้าง


กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 5 เมืองที่พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวได้ดีที่สุดในโลก ในช่วงการระบาดของ COVID-19

ในขณะที่การระบาดของโควิด-19 ทำให้โลกหยุดชะงักทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือประชากรโลกเอง ทุกอย่างเดินต่อด้วยความยากลำบาก แต่หลายเมืองก็ใช้ช่วงเวลานี้พัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่บางส่วนที่เคยวางแผนไว้จนสำเร็จ  World Economic Forum สภาเศรษฐกิจโลกจัดอันดับ 5 เมืองที่มีการพัฒนาและฟื้นฟูสวนสาธารณะในช่วงมีการระบาด ซึ่งแต่ละเมืองก็พัฒนาแตกต่างกันไป ดังนี้ 1. ปารีส ฝรั่งเศส : ปรับปรุง Champs-Élysées ให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ลดพื้นที่รถยนต์ เปลี่ยนถนนเป็นทางเดินเท้า และเพิ่มอุโมงค์ต้นไม้เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น 2. กรุงเทพฯ ไทย : มีแผนสร้างสวนสาธารณะเพิ่ม 11 แห่งในเมือง รวมถึงอุทยานเชิงนิเวศที่มีป่าชายเลน เพิ่มเส้นทางสีเขียวระยะทาง 15 กิโลเมตร และเมื่อมิถุนายน 2563 สวนใหม่ที่เปิดให้เราได้ใช้บริการกันก็คือ ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ 3. นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา : เพิ่มต้นไม้ใน Union Square Park และเปลี่ยนเป็นเขตปลอดรถยนต์  4. ไนโรบี เคนยา : มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงที่มีการระบาด […]

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

รอเช็กอิน! ศิลปะฝาท่อแบบไทย งานอาร์ตในเยาวราช-เจริญกรุง ที่ชวนให้ทุกคนมาปลุกประวัติศาสตร์ย่านเก่าให้มีชีวิตอีกครั้ง

เคยเห็นแต่ฝาท่อประเทศญี่ปุ่นที่มีลวดลายน่ารักจนต้องคว้ากล้องมาถ่ายรูป แถมยังต้องรีบไปเก็บลายอื่นๆ ในแต่ละย่านให้ครบคอลเลกชัน รู้ตัวอีกทีเราก็ได้ท่องเที่ยวในย่านต่างๆ และซึมซับวัฒนธรรมของแต่ละที่ไปอย่างแนบเนียน และสิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเราที่เยาวราช-เจริญกรุง เขตพระนคร

‘ค่ารถไฟฟ้าทะลุ 100’ ทำอย่างไรให้ราคาไม่พุ่ง ทุกคนจ่ายไหว

ทุกปีจะปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าขึ้นไปเรื่อยๆ และไม่มีทางจะลดลงง่ายๆ จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า จะมีแนวทางไหนที่ช่วยลดค่ารถไฟฟ้าได้บ้าง

อ่าน E-book ฟรี! หอสมุดแห่งชาติ เปิดบริการหนังสือหาดูยากเกือบ 100 ปี ไปจนถึงหนังสือทั่วไปกว่า 2,300 เรื่อง

อ่าน E-book ฟรี! เวลาทองสำหรับเหล่าหนอนหนังสือ! เพื่อสนับสนุนคนไทยใช้เวลาว่างตอนกักตัวอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงที่ COVID-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่

8 โปรเจกต์รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นใน ‘กรุงเทพฯ ปี 2564’

ขออาสาไปติดตามความคืบหน้าโปรเจกต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ สถานีขนส่งสาธารณะ ทางเท้า หรือแม้กระทั่งศาลาพักผู้โดยสารรถประจำทาง ว่าแล้วจะมีอันไหนอยู่ใกล้ตัวเพื่อนๆ บ้าง ตามไปส่องกันเถอะ!

1 3 4 5 6 7 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.